Lockdown ยาวนาน แต่เศรษฐกิจไม่พัง
"รัฐบาลเยอรมันทำได้อย่างไร"
ถ้าใครติดตามข่าวจะเห็นได้ว่ารัฐบาลเยอรมันนั้นได้ใช้นโยบาย Lockdown มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแน่นอนครับว่าก็มีพลาดบ้าง ผิดบ้าง จนถึงขนาดที่ผู้นำประเทศอย่าง Angela Merkel ก็ออกมาขอโทษ และปรับเปลี่ยนนโยบายทันทีก็มี
ซึ่งก็เป็นสิ่งที่แสดงได้ว่าเยอรมนีนั้นได้ผ่านอะไรมาหลายรูปแบบมาก แต่มีสิ่งนึงที่น่าสนใจก็คือ ถึงแม้จะมีการ Lockdown อย่างยาวนาน
หากแต่ว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนั้น ถึงจะมีหลายกิจการที่ต้องปิดตัวลงหรือพังก็ตาม เพราะเนื่องจากได้รับผลกระทบหนัก
แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้วในภาพรวมเยอรมันผลกระทบถือว่าไม่ได้สูงมากนัก และก็มีหลายอย่างในภาพรวมที่ทำได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว ดังนั้น!
"มาครับมาพ่อบ้านจะเล่าให้ฟังว่าเค้าทำได้อย่างไร"
1. ต้องเน้นรักษางานของประชาชนให้ได้มากที่สุด
ที่เยอรมนีนั้นมีนโยบายและข้อกฏหมายเอาไว้รองรับการตกงานไว้เป็นจำนวนมากดังนี้
- Kurzarbeit นี่คือนโยบายที่จะช่วยให้นายจ้างและลูกจ้างสามารถรักษาตำแหน่งงานไว้ได้ โดยนโยบายนี้จะถูกใช้เมื่อนายจ้างไม่สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายของพนักงานในช่วงภาวะวิกฤต
ดังนั้นนายจ้างก็อาจจะลดการทำงานของพนักงานลง หรือไม่ก็ให้พนักงานอยู่ที่บ้านไม่ต้องทำงานเลยไปช่วงระยะนึง
"โดยทางรัฐจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนของเงินเดือนของพนักงานประมาณ 60% - 87% ของรายได้หลังหักภาษี"
ซึ่งวิธีนี้ก็จะสามารถช่วยลดต้นทุนของบริษัท และทำให้ประชาชนไม่ตกงาน และเมื่อพ้นวิกฤต ก็สามารถเรียกพนักงานกลับมาทำงานได้ทันที
- Arbeitslosengeld สำหรับในกรณีที่บริษัทมีความจำเป็นที่ต้องปลดพนักงานออกจริงๆ นอกจากเงินชดเชยที่พนักงานจะได้รับแล้ว
คนที่ตกงานสามารถไปทำเรื่องขอรับเงินตกงานชั่วคราวได้ และในระหว่างที่รับเงินนั้นทางรัฐก็จะช่วยเหลือและสนับสนุนในการหางานให้กับคุณอีกด้วย
- นอกจากนี้การที่คุณต้องกักตัวเพราะต้องสงสัยหรือติดเชื้อนั้นที่เยอรมัน ทางกฎหมายก็ให้การคุ้มครองและนายจ้างไม่มีสิทธิไล่พนักงานออกด้วยสาเหตุนี้นะครับ
2. นโยบายเงินช่วยเหลือฉุกเฉิน
นโยบายในกลุ่มนี้ถูกออกมาเพื่อช่วยเหลือกิจการที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งแน่นอนว่ารวมไปถึงในกลุ่มของ ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระที่จดทะเบียนอย่างถูกต้อง หรือกิจการเล็กๆ อย่างเจ้าของคนเดียว จนไปถึงกิจการขนาดใหญ่ โดยใช้งบประมาณสูงนับหมื่นล้านยูโรเลยทีเดียว
- เงินสนับสนุนกิจการต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ (ตั้งแต่ Soforthilfe จนมาถึง Überbrückungshilfe III ) ที่จะอัดฉีดเงินสนับสนุนไปยังกิจการประเภทต่างๆ ตามที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต ซึ่งแต่ละกิจการนั้นมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือสูงถึงหลักหลายหมื่นยูโรต่อกิจการเลยทีเดียว
- เงินกู้ในรูปแบบต่างๆ ที่ทางรัฐได้อัดฉีดวงเงินพิเศษ อย่างเช่น Kfw-Schnellkredit พร้อมดอกเบี้ย ที่มีอัตราต่ำเป็นพิเศษและมีระยะเวลาที่ใช้คืนค่อนข้างนาน เพื่อมีจุดประสงค์ให้แต่ละธุรกิจนั้นพอที่จะพยุงกิจการไปได้
3. นโยบายช่วยเหลือทางภาษี
นโยบายในกลุ่มนี้มีออกมาช่วยเหลือทั้งภาคธุรกิจและประชาชน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- ลดค่าครองชีพของประชาชนโดย ทำการลดภาษีมูลค่าเพิ่มถ้วนหน้า โดยกิจการประเภทไหนเคยเสีย 19% จะลดเหลือ 16% และ ใครที่เสีย 7% ให้ลดเหลือ 5%
จึงทำให้สามารถช่วยธุรกิจได้เพราะสินค้ามีราคาถูกลง และประชาชนก็สามารถซื้อสินค้าต่างๆ ได้ในราคาที่ถูกลง เพราะภาษีนั้นหายไปส่วนนึง
- ลดภาษีมูลค่าเพิ่มแบบพิเศษให้กับกิจการต่างๆ อาทิ ร้านอาหาร ได้ลดภาษีจากเดิม 19% ให้เหลือ 7% เพราะเนื่องจากได้รับผลกระทบหนักมากกว่ากิจการประเภทอื่นๆ เป็นต้น
- ให้การยืดหยุ่นในด้านภาษีแก่กิจการ อาทิ อนุญาตให้ลดปริมาณการส่งเงินภาษีล่วงหน้าแต่ละเดือนลงได้ หรือถ้าไม่มีเงินในการจ่ายภาษีก็สามารถทำเรื่องในการผ่อนผันการจ่ายได้ในกรณีพิเศษ
4. ลักษณะโดยทั่วไปของวินัยทางการเงินของคนเยอรมัน
ถ้าคุณได้รู้จักคนเยอรมัน หรือทำธุรกิจร่วมกับคนเยอรมัน จะเห็นได้เลยว่าทั้งคน และบริษัทเยอรมัน นั้นมักจะดำเนินนโยบายการเงินในลักษณะที่เรียกได้ว่า Conservative หรือก็คือ
"ไม่ชอบเสี่ยง มีวินัย ไม่เน้นหวือหวา มีเงินสดสำรองเยอะๆ"
ซึ่งนี่ก็คือลักษณะโดยทั่วไปของการใช้ชีวิตของคนเยอรมัน ที่ช่วยให้พวกเค้าผ่านพ้นวิกฤตทางเศรษฐกิจมาได้หลายครั้งนั่นเองครับ
และด้วยเหตุนี้จึงทำให้ถึงแม้ว่าเยอรมันจะมีการ Lockdown ที่ยาวนาน หากแต่ว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจในส่วนของ GDP ในปี 2020 นั้นเฉลี่ยลดลงอยู่ที่ 5% ซึ่งถือว่าลดลงน้อยกว่าวิกฤต ซับไพรม์ในปี 2009 เสียอีก และในไตรมาสแรกของปี 2021 ก็ลดลงอยู่ที่ 1.7%
และนอกจากนี้ตัวเลขในส่วนของ Unemployment rate นั้นก็เพิ่มเล็กน้อยจากก่อนวิกฤตเล็กน้อยในปี 2019 ที่ตัวเลขเฉลี่ย 5% เป็นเฉลี่ย 5.9% ในปี 2020 และ 6.1% เฉพาะในส่วนไตรมาสแรกของปี 2021
"คุณคิดอย่างไร กับนโยบายต่างๆ ข้างต้นบ้างครับ? มีอะไรที่ควรต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงมั้ย?"
"ส่วนตัวพ่อบ้านชอบนโยบายในส่วนของการรักษางานและลดภาษี VAT ของประชาชน แต่ขอติในส่วนของความช้าของเงินช่วยเหลือที่บางคนก็ได้เร็วแต่บางคนก็ได้ช้าครับ แต่ก็ถือยังยังดีที่ได้เนอะ"
"ไม่อยากจะนึกเลยว่ารัฐบาลเยอรมันทุ่มเงิน หมดเงินไปไม่รู้เท่าไหร่สำหรับนโยบายข้างต้น"
"ลองมาแชร์ข้อมูลและความเห็นของคุณกันดูนะครับ"
ขอบคุณทุกๆ มุมมองครับ ☺️👍
#พ่อบ้านเยอรมัน #เยอรมัน #เยอรมนี #Germany #German #Lockdown
ข้อมูลอ้างอิง:
https://www.bundesfinanzministerium.de/Web/EN/Issues/Priority-Issues/Corona/corona.html
https://www.destatis.de/EN/Press/2021/01/PE21_020_811.html
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1683624535123213&id=191168457702169
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1619511168201217&id=191168457702169
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1700729653412701&id=191168457702169
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1652892451529755&id=191168457702169
https://www.facebook.com/Germanhousehusbands/posts/313739830318380
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1619511168201217&id=191168457702169
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過75萬的網紅志祺七七 X 圖文不符,也在其Youtube影片中提到,本集節目由 行政院國家發展委員會 獨家贊助播出 龔主委現身說法,破除台灣經濟發展2大迷思: 1️⃣ 台灣經濟發展一定要仰賴中國市場? 2️⃣ 台灣很小無法影響世界? #後疫情時代經濟發展 #國發會 國家發展委員會 Facebook粉絲專頁: https://www.facebook.com/n...
unemployment rate 2020 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
สหรัฐอเมริกา ทำ QE อย่างหนัก แต่ทำไมเงินไม่เฟ้อ ในปีที่ผ่านมา /โดย ลงทุนแมน
Quantitative Easing หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า QE
เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญ ที่ธนาคารกลางทั่วโลกหยิบมาใช้
อธิบาย QE แบบง่าย ๆ ก็คือ การอัดฉีดเงินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบเศรษฐกิจ
โดยหลักการแล้ว การเพิ่มปริมาณเงินเข้าสู่ระบบจำนวนมาก
สิ่งที่มักจะตามมาก็คือ การเกิด “ภาวะเงินเฟ้อ”
ที่น่าสนใจคือ ในปีที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED (Federal Reserve)
ได้ทำ QE อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงินจำนวนมหาศาล
แต่รู้ไหมว่า.. อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาในปี 2020 ที่ผ่านมา กลับลดลง
ทำไมเรื่องนี้ ถึงสวนทางความเข้าใจของหลายคน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด 19
ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED ได้อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้รัฐบาลท้องถิ่น และตราสารหนี้เอกชน เพื่อให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีสภาพคล่อง มีเงินไปกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และอัดเข้าสู่ระบบต่อไป
ซึ่งกระบวนการที่กล่าวมานี้คือ สิ่งที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า QE
เราลองมาดูจำนวนเงินที่ FED ใช้สำหรับมาตรการ QE ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
- ปี 2019 จำนวนเงินที่ใช้สำหรับมาตรการ QE เท่ากับ 131 ล้านล้านบาท
- ปี 2020 จำนวนเงินที่ใช้สำหรับมาตรการ QE เท่ากับ 228 ล้านล้านบาท
โดยปีที่ผ่านมา ปริมาณเงินที่ FED อัดฉีดเข้าสู่ตลาดการเงินนั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 97 ล้านล้านบาท ซึ่งมูลค่านี้มากพอ ๆ กับ GDP ของสหราชอาณาจักร
โดยเป้าหมายของ FED ก็เพื่อที่จะเพิ่มปริมาณเงินในมือของภาครัฐและภาคเอกชน จนส่งผลให้เกิดการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ การเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของ FED นั้น ยังเป็นการกดให้ Yield หรือผลตอบแทนของพันธบัตรลดต่ำลงมา ซึ่งจะส่งผลไปยังดอกเบี้ยในตลาดการกู้ยืมให้ลดลง จนเกิดแรงจูงใจให้ภาคเอกชนมากู้ยืมเงินไปลงทุนและจ้างงานในระบบเศรษฐกิจต่อไป
อย่างไรก็ตาม ความกังวลที่มาพร้อมกับการใช้มาตรการ QE
ก็คือ อัตราเงินเฟ้อ ที่อาจเพิ่มสูงขึ้น จากปริมาณเงินที่ถูกอัดฉีดเข้าสู่ระบบอย่างมหาศาล
แล้วที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา ปรับเพิ่มขึ้นไหม ?
- สิ้นปี 2019 อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา 1.81%
- สิ้นปี 2020 อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา 1.25%
เห็นแบบนี้หลายคนอาจจะแปลกใจว่า ทำไมผลที่ออกมาไม่ตรงตามทฤษฎี
ทำไม FED อัดฉีดเข้าสู่ตลาดการเงินจำนวนมาก
แต่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกากลับลดลง ในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา
ที่เป็นแบบนี้ ปัจจัยสำคัญก็คือ “ความเปราะบางทางเศรษฐกิจ”
โดยตัวเลขที่ชี้ให้เห็นเรื่องนี้ได้ดี ก็อย่างเช่น อัตราการว่างงาน
หลังการระบาดหนักของโควิด 19 ในสหรัฐอเมริกา
อัตราการว่างงานในสหรัฐอเมริกา เคยขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 14.7% ในเดือนพฤษภาคม ปีที่ผ่านมา
ซึ่งเป็นอัตราที่สูงสุด นับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในช่วงปี 1930
อัตราการว่างงานที่สูง ทำให้กำลังซื้อของชาวอเมริกันลดลงอย่างมาก
อีกประเด็นคือ ความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ชาวอเมริกันเอาเงินไปฝากธนาคารมากขึ้น เพื่อเก็บเงินสดไว้ใช้ แม้แทบจะไม่ได้ดอกเบี้ยเลยก็ตาม
ซึ่งเรื่องนี้ สะท้อนได้จาก การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา
โดยในช่วงมีนาคมถึงพฤษภาคม 2020 เงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นกว่า 62 ล้านล้านบาท
เมื่อคนเก็บเงินมากขึ้น รวมถึงคนที่มีกำลังซื้อลดลงจากการไม่มีงานทำ
ก็ย่อมหมายถึงการใช้จ่ายในประเทศที่ลดลง
พอคนใช้จ่ายลดลง ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในภาพรวม ก็ลดลงตามไปด้วย
จึงเป็นที่มาให้ อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 2020 ลดลงนั่นเอง
ซึ่งตัวชี้วัดหนึ่งของเรื่องนี้ก็คือ “Output Gap”
Output Gap คือส่วนต่างระหว่างมูลค่า GDP ที่เกิดขึ้นจริง เทียบกับ ค่าคาดการณ์ หรือมูลค่าที่ควรจะเป็น ของ GDP ในช่วงเวลานั้น ๆ
- ถ้าค่า Output Gap เป็นบวก หมายความว่า มูลค่า GDP ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงนั้น ดีกว่า ศักยภาพที่ควรเป็น
- ถ้าค่า Output Gap เป็นลบ หมายความว่า มูลค่า GDP ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงนั้น แย่กว่า ศักยภาพที่ควรเป็น
ซึ่งถ้าลองมาดู Output Gap ของสหรัฐอเมริกาในปี 2020
- ไตรมาส 1/2020 Output Gap -0.55%
- ไตรมาส 2/2020 Output Gap -9.90%
- ไตรมาส 3/2020 Output Gap -3.48%
- ไตรมาส 4/2020 Output Gap -2.77%
จะเห็นว่าทั้ง 4 ไตรมาสในปี 2020 เปอร์เซ็นต์ Output Gap ของสหรัฐอเมริกา ติดลบต่อเนื่อง
หมายความว่า เศรษฐกิจของประเทศ ยังไม่ฟื้นตัวมาอยู่ในระดับที่ควรจะเป็น
ซึ่งมันก็สะท้อนได้ถึง การจ้างงานและการจับจ่ายของภาคเอกชน ที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ซึ่งนี่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ยังกดดันอัตราเงินเฟ้อให้ไม่สูงขึ้นด้วยนั่นเอง
สรุปแล้ว ที่สหรัฐอเมริกาทำการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบมหาศาล แต่เงินยังไม่เฟ้อนั้น
ปัจจัยสำคัญเพราะ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังคงเปราะบาง
การจ้างงานในประเทศในปีที่ผ่านมายังไม่ฟื้นตัวกลับมาเหมือนเดิม
และแม้ภาครัฐจะพยายามอัดฉีดเงินช่วยเหลือ และกระตุ้นให้คนเอาเงินออกมาใช้ แต่คนในประเทศจำนวนมาก ก็ยังคงเลือกเก็บเงินสดจำนวนมากเอาไว้เผื่อยามจำเป็น
กำลังซื้อที่ยังไม่ค่อยฟื้นตัว บวกกับคนไม่ค่อยกล้าเอาเงินออกมาใช้
ก็เลยทำให้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายปี 2020 ยังไม่ได้สูงขึ้น
แม้ธนาคารกลางจะอัดเงินเข้าระบบอย่างหนัก นั่นเอง
อย่างไรก็ตามมีหลายคนคาดการณ์ว่า ในปี 2021 เป็นต้นไป เงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาจะค่อย ๆ ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว จากการที่ประชากรได้ฉีดวัคซีนกัน และสามารถควบคุมโรคระบาดได้แล้ว..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
แม้ว่า การทำ QE ของ FED จะไม่ได้ทำให้อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาปรับตัวขึ้นมาก
แต่สภาพคล่องในส่วนนี้ กลับไหลไปทำให้ราคาสินทรัพย์การเงินหลายตัว ปรับตัวขึ้นอย่างมาก จนนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Asset Price Inflation”
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.atlanticcouncil.org/blogs/econographics/global-qe-tracker/
-https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_27Jul2020.aspx
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
-https://www.macrotrends.net/countries/USA/united-states/inflation-rate-cpi
-https://www.youtube.com/watch?v=3-dvi1f_2vA
-https://www.washingtonpost.com/business/2020/05/08/april-2020-jobs-report/
-https://fred.stlouisfed.org/series/DPSACBW027SBOG
-https://www.brookings.edu/blog/up-front/2021/02/22/what-is-potential-gdp-and-why-is-it-so-controversial-right-now/
-https://ycharts.com/indicators/us_percent_gdp_gap#:~:text=US%20Output%20Gap%20is%20at,term%20average%20of%20%2D0.65%25.
-https://tradingeconomics.com/united-states/unemployment-rate
-https://tradingeconomics.com/united-states/non-farm-payrolls
unemployment rate 2020 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
เบอร์ลิน เมืองเศรษฐกิจซบเซา ที่ก้าวขึ้นมาเป็น ศูนย์กลางสตาร์ตอัป /โดย ลงทุนแมน
เราอาจคุ้นเคยกับความคิดที่ว่า เมืองหลวงของประเทศ
จะเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ
แต่นั่นอาจไม่ใช่สำหรับประเทศเยอรมนี
ศูนย์กลางการเงินและการบินของประเทศนี้ อยู่ที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต
ศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ อยู่ที่เมืองมิวนิก ชตุทท์การ์ท และโวล์ฟสบวร์ก
ส่วนเมืองฮัมบวร์กทางตอนเหนือ เป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุด และศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญ
แต่กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของเยอรมนี
กลับไม่โดดเด่นมากนักในแง่เศรษฐกิจ เมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ของประเทศ
และยังพ่วงด้วยอัตราว่างงานที่เคยสูงถึงเกือบ 15%
แต่นั่นกำลังจะกลายเป็นอดีต
เพราะในวันนี้ เบอร์ลินคือเมืองที่กำลังคึกคักไปด้วยบริษัทสตาร์ตอัป
เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทระดับโลกอย่าง Delivery Hero เจ้าของแอปดิลิเวอรี Foodpanda และ Zalando สตาร์ตอัปยูนิคอร์นตัวแรก ของเยอรมนี
อะไรที่ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้ พลิกฟื้นจากเมืองที่เศรษฐกิจซบเซา
จนก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางสตาร์ตอัปของยุโรป ได้สำเร็จ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
กรุงเบอร์ลิน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี
เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วยจำนวนประชากรราว 3.7 ล้านคน
และจัดเป็นรัฐหนึ่งในจำนวน 16 รัฐ ของประเทศเยอรมนี
ครั้งหนึ่งในช่วงสงครามเย็น เบอร์ลินเคยถูกแบ่งออกเป็น 2 เมือง ใน 2 ประเทศ
และถูกแบ่งแยกจากกันด้วยกำแพงเบอร์ลิน
เบอร์ลินตะวันตก อยู่ในเยอรมนีตะวันตก มีเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี
และเบอร์ลินตะวันออก อยู่ในเยอรมนีตะวันออก มีเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
เมื่อเยอรมนีตะวันตก และเยอรมนีตะวันออกรวมกันเป็นประเทศเยอรมนีหนึ่งเดียวในปี 1990 เบอร์ลินก็กลับมารวมกันอีกครั้ง และได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของเยอรมนี
ในช่วงแรกของการรวมเมือง ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อฟื้นฟูเบอร์ลินฝั่งตะวันออกที่เคยเป็นเขตคอมมิวนิสต์ ในขณะที่ประชาชนในฝั่งตะวันออก ต่างก็อพยพไปทำงานที่เมืองอื่นๆ ในเยอรมนีฝั่งตะวันตก ที่มีเศรษฐกิจดีกว่า เช่น แฟรงก์เฟิร์ต มิวนิก และชตุทท์การ์ท
เนื่องจากเบอร์ลินไม่มีอุตสาหกรรมที่โดดเด่นเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ของเยอรมนี
ประชากรวัยแรงงานของเบอร์ลินจึงอพยพออกจากเมืองไปหาชีวิตที่ดีกว่า
คนที่ยังอยู่ก็ประสบปัญหาว่างงาน เมืองเต็มไปด้วยภาพของความซบเซา
อัตราว่างงานของเบอร์ลินพุ่งสูงเกือบ 15%
ท่ามกลางความสิ้นหวัง สิ่งเดียวที่ฝ่ายบริหารของรัฐเบอร์ลินมองเห็นก็คือ “ศิลปะ”
เบอร์ลินเป็นเมืองเก่าแก่ ก่อตั้งมานานตั้งแต่ศตวรรษที่ 13
ถึงแม้จะผ่านมรสุมมาหลายยุคหลายสมัย แต่ก็มีพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ โรงละคร
และแกลเลอรีศิลปะมากมาย ศิลปะจึงกลายเป็นนโยบายหลักที่ใช้ส่งเสริมเศรษฐกิจในช่วงแรกของการรวมเมือง
โดยมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปะหลากแขนง
และที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ก็อย่างเช่น
- Berlin International Film Festival งานนิทรรศการภาพยนตร์ที่จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 1951
ที่นำเสนอภาพยนตร์จากทุกภูมิภาคทั่วโลก จนกลายเป็น 1 ใน 3 งานเทศกาลภาพยนตร์ชั้นนำของโลก
- 48 Stunden Neukölln งานศิลปะที่จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 1999 โดยการเนรมิตย่าน Neukölln ซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัยของผู้อพยพ ให้กลายเป็นพื้นที่ทดลองสำหรับงานศิลปะประเภทต่างๆ ภายในช่วงเวลา 48 ชั่วโมง
งานเทศกาลศิลปะที่จัดขึ้น กลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดศิลปินจากทั่วเยอรมนีและทั่วโลก
จนเบอร์ลินกลายเป็นสวรรค์ของศิลปะแทบทุกแขนง จนเรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางความฮิปสเตอร์ของยุโรป
Klaus Wowereit อดีตผู้ว่าการแห่งรัฐเบอร์ลินในช่วงทศวรรษ 2000s
เคยกล่าวคำขวัญเล่นๆ ให้กับกรุงเบอร์ลินว่า “Poor But Sexy”..
เมื่อศิลปะเริ่มเบ่งบาน สิ่งที่ฝ่ายบริหารเริ่มมองหาก็คือ
จะต่อยอดอย่างไรจากการเป็นเมืองแห่งความคิดสร้างสรรค์
โดยเริ่มต้นคือการมองหาจากสิ่งที่โดดเด่นของเบอร์ลิน แล้วก็พบว่ามีจุดเด่นอยู่ 3 ประการ
ประการที่ 1 ค่าครองชีพถูก
ด้วยความที่เศรษฐกิจซบเซา เมืองแห่งนี้จึงมีแต่ผู้อพยพออก อาคารบ้านเรือน สำนักงานหลายแห่งจึงถูกทอดทิ้งเป็นจำนวนไม่น้อย กลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เบอร์ลินมีค่าเช่าถูกกว่าที่อื่น ค่าใช้จ่ายในหลายๆ ด้านของเบอร์ลิน ไปจนถึงค่าครองชีพจึงถูกกว่าเมืองอื่นๆ ในเยอรมนีฝั่งตะวันตกมาก
ประการที่ 2 ทำเลที่ตั้งที่อยู่ใจกลางทวีปยุโรป
เบอร์ลินมีเส้นทางขนส่งเชื่อมโยงกับหลายประเทศ และเชื่อมระหว่างยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะเมื่อประเทศในยุโรปตะวันออกเข้าร่วมสหภาพยุโรปในปี 2004 เบอร์ลินซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของสหภาพยุโรป จึงดึงดูดแรงงานผู้อพยพจากยุโรปตะวันออก เช่น โปแลนด์ เช็ก และ ฮังการี
ประการที่ 3 ผู้คนเปิดกว้าง และเปิดรับวัฒนธรรมใหม่ๆ
เมื่อเบอร์ลินก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางศิลปะทุกแขนง ก็ยิ่งดึงดูดศิลปิน นักคิด ไปจนถึงผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้มาใช้ชีวิตและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้กับเมืองแห่งนี้
เมื่อมองเห็นจุดเด่น สิ่งที่ฝ่ายบริหารทำเป็นประการแรก คือ การดึงดูดผู้ประกอบการรุ่นใหม่เข้ามาเริ่มต้นธุรกิจในเมือง
โดยเริ่มจากการดำเนินนโยบายแก้ไขทางกฎหมาย เพื่อดึงดูดผู้อพยพที่มีความสามารถ เช่น การผ่อนปรนข้อจำกัดของวีซ่าให้มีขั้นตอนที่สะดวกมากขึ้น ทั้งอายุของวีซ่า ไปจนถึงการขอวีซ่าระยะยาว
การให้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยใช้ภาษาอังกฤษได้
เพื่อเพิ่มความเป็นนานาชาติ และดึงดูดผู้ประกอบการจากประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาเยอรมัน
ในขณะที่องค์กรภายในเมืองก็ได้ร่วมมือกับภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการหน้าใหม่อย่างเต็มที่ในทุกๆ ด้าน
ทั้ง Investitionsbank Berlin ธนาคารเพื่อการพัฒนา ที่ก่อตั้งโดยรัฐเบอร์ลิน ที่คอยให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน และมอบเงินทุนให้กับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีแผนธุรกิจน่าสนใจ
Berlin Partner องค์กรเอกชนที่ภาครัฐก่อตั้งขึ้นมา
เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านนวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา และการตลาดแก่ผู้ประกอบการหน้าใหม่
กระทรวงเศรษฐกิจและพลังงาน คอยให้ความช่วยเหลือด้านการทำตลาดกับต่างประเทศ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีให้พร้อมสำหรับธุรกิจยุคใหม่
นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกันระหว่าง ฝ่ายบริหาร สถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชนชั้นนำ เช่น
Technische Universität Berlin, บริษัท Siemens, Deutsche Telekom
เพื่อพัฒนาพื้นที่อาคาร และสำนักงานที่ว่างเปล่าหลายแห่งในเมืองให้เป็น Co-Working Space และ Startup Incubator หรือศูนย์บ่มเพาะบริษัทสตาร์ตอัปในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ
เมื่อปัจจัยทุกอย่างเอื้อให้เกิดการพัฒนา เบอร์ลินจึงค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นเมืองแห่งบริษัทสตาร์ตอัป และเริ่มมีบริษัทหน้าใหม่เกิดขึ้น ณ เมืองแห่งนี้ ในช่วงทศวรรษ 2000s-2010s
ยกตัวอย่างเช่น
- Rocket Internet ก่อตั้งในปี 2007
บริษัทให้บริการด้านต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น บริการช่วยเหลือด้าน IT, บริการด้านการตลาดออนไลน์ และเป็น Venture Capital ที่คอยให้เงินทุนกับบริษัทสตาร์ตอัปเล็กๆ รายอื่น
- Zalando ก่อตั้งในปี 2008
สตาร์ตอัปที่ให้บริการด้าน E-Commerce ที่มีผู้ใช้บริการทั่วสหภาพยุโรป
เป็นสตาร์ตอัปที่มีมูลค่ามากกว่า 30,000 ล้านบาท ภายใน 6 ปีหลังก่อตั้ง
ซึ่งนับเป็นสตาร์ตอัปยูนิคอร์นตัวแรกของเยอรมนี
โดยปัจจุบัน Zalando จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แฟรงก์เฟิร์ต
- Delivery Hero ก่อตั้งในปี 2011 และ Foodpanda ก่อตั้งในปี 2012
แพลตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์ที่ขยายจากในประเทศเยอรมนีไปทั่วโลก
ซึ่งต่อมาในปี 2016 Foodpanda ก็กลายมาเป็นแพลตฟอร์มภายใต้บริษัท Delivery Hero
เมื่อมีกิจการใหม่ๆ มากมาย GDP ต่อหัวของคนในเบอร์ลินก็ค่อยๆ สูงขึ้น
จนตอนนี้ GDP ต่อหัวของผู้คนในรัฐเบอร์ลินอยู่ที่ปีละ 1.5 ล้านบาท
สูงกว่าผู้คนในรัฐนอร์ทไรน์ เวสต์ฟาเลีย ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมเหล็ก และเคมีที่สำคัญของเยอรมนีฝั่งตะวันตกแล้ว
ในขณะที่อัตราว่างงานของผู้คนในเบอร์ลินก็ลดต่ำลงเรื่อยๆ
จากราว 15% ในช่วงปลายทศวรรษ 1990s หลังจากรวมประเทศ
ค่อยๆ ลดลงจนเหลือ 8% เมื่อต้นปี 2020
ทุกวันนี้ เบอร์ลินยังคงเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกให้เข้ามาริเริ่มธุรกิจใหม่ๆ
และกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสตาร์ตอัปที่สำคัญทั้งของเยอรมนีและสหภาพยุโรป
จนเคยมีคำกล่าวว่า ในทุกๆ 20 นาที เบอร์ลินจะมีบริษัทสตาร์ตอัปก่อตั้งขึ้นอย่างน้อย 1 แห่ง
เรื่องราวของเบอร์ลินจึงเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
ฝ่ายบริหารของเมืองสามารถพัฒนาจากเมืองที่เงียบเหงา
ให้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งบริษัทสตาร์ตอัปที่คึกคัก
โดยหัวใจสำคัญที่สุดบนเส้นทางพัฒนาของเมืองหลวงแห่งนี้
คือการมองเห็นข้อดีของตัวเอง และร่วมมือกันเพื่อพัฒนาต่อยอดจากข้อดีเหล่านั้น
แต่หากสังเกตให้ดีๆ แล้ว ข้อได้เปรียบของเบอร์ลินทั้ง 3 ประการ
คือ ค่าครองชีพต่ำ ทำเลที่ดี และผู้คนที่เปิดกว้าง
ก็ล้วนเป็นข้อได้เปรียบ ที่คล้ายคลึงกับเมืองหลวงของประเทศไทย ไม่น้อยเลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.uktech.news/news/berlin-becoming-europes-number-one-tech-hub-20180905
-https://www.entrepreneur.com/article/317079
-https://hexgn.com/moving-to-berlin-a-guide-for-entrepreneurs-and-startups/
-https://www.berlin-partner.de/en/about-us/
-https://www.ceicdata.com/en/germany/registered-unemployment-rate/registered-unemployment-rate-east-germany-berlin
unemployment rate 2020 在 志祺七七 X 圖文不符 Youtube 的最佳貼文
本集節目由 行政院國家發展委員會 獨家贊助播出
龔主委現身說法,破除台灣經濟發展2大迷思:
1️⃣ 台灣經濟發展一定要仰賴中國市場?
2️⃣ 台灣很小無法影響世界?
#後疫情時代經濟發展
#國發會
國家發展委員會 Facebook粉絲專頁: https://www.facebook.com/ndc.gov.tw/
--
✔︎ 成為七七會員(幫助我們繼續日更,並享有會員專屬福利):http://bit.ly/shasha77_member
✔︎ 購買黃臭泥周邊商品: https://reurl.cc/Ezkbma 💛
✔︎ 訂閱志祺七七頻道: http://bit.ly/shasha77_subscribe
✔︎ 追蹤志祺IG :https://www.instagram.com/shasha77.daily
✔︎ 來看志祺七七粉專 :http://bit.ly/shasha77_fb
✔︎ 如果不便加入會員,也可從這裡贊助我們:https://bit.ly/support-shasha77
(請記得在贊助頁面留下您的email,以便我們寄送發票。若遇到金流問題,麻煩請聯繫:service@simpleinfo.cc)
各節重點:
00:00 前導
01:34 世界各國2020年的經濟表現
03:05 疫情如何影響經濟?
04:44 疫情還帶來哪些改變?
06:56 主委來了!
07:09 國發會是一個怎麼樣的政府單位?
08:12 疫情期間,台灣經濟、產業有哪些舉措?
11:20 後疫情時代,台灣會有哪些因應的政策呢?
13:37 台灣經濟發展一定要依賴中國市場嗎?
14:23 台灣很小,無法為世界帶來影響或貢獻?
15:27 結尾
【 製作團隊 】
|客戶/專案經理:Pony
|企劃:冰鱸、宇軒
|腳本:冰鱸、宇軒
|編輯:土龍
|剪輯後製:Pookie
|剪輯助理:歆雅、珊珊
|演出:志祺
——
【 本集參考資料 】
→《後疫情時代的關鍵趨勢》:Ivan Krastev 著 /三采文化出版
→《後疫情時代的新經濟》:Daniel Stelter 著 / 商周出版
→《一口氣讀懂經濟指標》 :The Economist 著 /臉譜出版
→【安倍辭職之後】世界第三大經濟體的淪落,日本政府不願面對的巨額負債:https://bit.ly/3dD381T
→Unemployment rate (OECD):https://bit.ly/3v7qYbT
→Gross debt position % of GDP (IMF):https://bit.ly/3n7C8L4
→World Economic Situation And Prospects: February 2021 Briefing, No. 146:https://bit.ly/3grxbvb
→Coronavirus: How the pandemic has changed the world economy:https://bbc.in/3sGW88q
→World Economic Outlook Update:https://bit.ly/3sCwRwb
→武漢一週年:新冠疫情受控背後中國的「制度優勢」與個體代價:https://bbc.in/3xbKYMo
→經濟前景樂觀 主計長籲企業調薪分享經濟果實:https://bit.ly/3sEd7bB
→疫情使各國債務飆增 台灣防疫得當表現穩健:https://bit.ly/3tFQbKd
→台灣2020年失業率3.85%創4年新高 但優於美、加及南韓:https://bit.ly/3gtS9ts
→IMF上調今年全球經濟成長:https://bit.ly/3tETgdF
→OECD上修全球經濟成長預測:https://bit.ly/3vl8jK3
→全球摔跤,台灣起跑!疫後天時地利人和,重返四小龍第一:https://bit.ly/2QLXC3P
→四張圖看懂:台灣GDP「坐4望5」的真相:https://bit.ly/3sCa4R2
→抗疫週年/疫情與貿易戰淬鍊下 台灣成為世界最重要地方:https://bit.ly/3tJjbRy
→台灣2020年經濟表現亞洲居首 外媒:半導體業帶動:https://bit.ly/3asXbCH
→今年經濟成長率估4.64% 大幅上修創7年新高:https://bit.ly/2P6qzai
→經濟和疫情,今晚,你選哪一道?經濟學家找出各國的「最佳防疫政策」:https://bit.ly/3n7CHEG
→新冠全球大流行 聯合國哪裡去了?:https://bit.ly/3atdXBE
\每週7天,每天7點,每次7分鐘,和我們一起了解更多有趣的生活議題吧!/
🥁七七仔們如果想寄東西關懷七七團隊與志祺,傳送門如下:
106台北市大安區羅斯福路二段111號8樓
🟢如有引用本頻道影片與相關品牌識別素材,請遵循此規範:http://bit.ly/shasha77_authorization
🟡如有業務需求,請洽:hi77@simpleinfo.cc
🔴如果影片內容有誤,歡迎來信勘誤:hey77@simpleinfo.cc
unemployment rate 2020 在 United States Unemployment Rate - January 2022 Data 的相關結果
The US unemployment rate dropped to 3.9 percent, the lowest since February 2020, pointing to a sustained recovery in the job market helped by a ... ... <看更多>
unemployment rate 2020 在 • United States - unemployment rate 2020 | Statista 的相關結果
This statistic shows the unemployment rate in the United States from 1999 to 2020. In 2020, the unemployment rate among the United States population ranged at ... ... <看更多>
unemployment rate 2020 在 The Employment Situation - December 2021 - Bureau of ... 的相關結果
In February 2020, prior to the coronavirus. (COVID-19) pandemic, the unemployment rate was 3.5 percent, and unemployed persons numbered 5.7. ... <看更多>