สหรัฐอเมริกา ทำ QE อย่างหนัก แต่ทำไมเงินไม่เฟ้อ ในปีที่ผ่านมา /โดย ลงทุนแมน
Quantitative Easing หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า QE
เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญ ที่ธนาคารกลางทั่วโลกหยิบมาใช้
อธิบาย QE แบบง่าย ๆ ก็คือ การอัดฉีดเงินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบเศรษฐกิจ
โดยหลักการแล้ว การเพิ่มปริมาณเงินเข้าสู่ระบบจำนวนมาก
สิ่งที่มักจะตามมาก็คือ การเกิด “ภาวะเงินเฟ้อ”
ที่น่าสนใจคือ ในปีที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED (Federal Reserve)
ได้ทำ QE อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงินจำนวนมหาศาล
แต่รู้ไหมว่า.. อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาในปี 2020 ที่ผ่านมา กลับลดลง
ทำไมเรื่องนี้ ถึงสวนทางความเข้าใจของหลายคน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด 19
ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED ได้อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้รัฐบาลท้องถิ่น และตราสารหนี้เอกชน เพื่อให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีสภาพคล่อง มีเงินไปกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และอัดเข้าสู่ระบบต่อไป
ซึ่งกระบวนการที่กล่าวมานี้คือ สิ่งที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า QE
เราลองมาดูจำนวนเงินที่ FED ใช้สำหรับมาตรการ QE ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
- ปี 2019 จำนวนเงินที่ใช้สำหรับมาตรการ QE เท่ากับ 131 ล้านล้านบาท
- ปี 2020 จำนวนเงินที่ใช้สำหรับมาตรการ QE เท่ากับ 228 ล้านล้านบาท
โดยปีที่ผ่านมา ปริมาณเงินที่ FED อัดฉีดเข้าสู่ตลาดการเงินนั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 97 ล้านล้านบาท ซึ่งมูลค่านี้มากพอ ๆ กับ GDP ของสหราชอาณาจักร
โดยเป้าหมายของ FED ก็เพื่อที่จะเพิ่มปริมาณเงินในมือของภาครัฐและภาคเอกชน จนส่งผลให้เกิดการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ การเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของ FED นั้น ยังเป็นการกดให้ Yield หรือผลตอบแทนของพันธบัตรลดต่ำลงมา ซึ่งจะส่งผลไปยังดอกเบี้ยในตลาดการกู้ยืมให้ลดลง จนเกิดแรงจูงใจให้ภาคเอกชนมากู้ยืมเงินไปลงทุนและจ้างงานในระบบเศรษฐกิจต่อไป
อย่างไรก็ตาม ความกังวลที่มาพร้อมกับการใช้มาตรการ QE
ก็คือ อัตราเงินเฟ้อ ที่อาจเพิ่มสูงขึ้น จากปริมาณเงินที่ถูกอัดฉีดเข้าสู่ระบบอย่างมหาศาล
แล้วที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา ปรับเพิ่มขึ้นไหม ?
- สิ้นปี 2019 อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา 1.81%
- สิ้นปี 2020 อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา 1.25%
เห็นแบบนี้หลายคนอาจจะแปลกใจว่า ทำไมผลที่ออกมาไม่ตรงตามทฤษฎี
ทำไม FED อัดฉีดเข้าสู่ตลาดการเงินจำนวนมาก
แต่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกากลับลดลง ในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา
ที่เป็นแบบนี้ ปัจจัยสำคัญก็คือ “ความเปราะบางทางเศรษฐกิจ”
โดยตัวเลขที่ชี้ให้เห็นเรื่องนี้ได้ดี ก็อย่างเช่น อัตราการว่างงาน
หลังการระบาดหนักของโควิด 19 ในสหรัฐอเมริกา
อัตราการว่างงานในสหรัฐอเมริกา เคยขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 14.7% ในเดือนพฤษภาคม ปีที่ผ่านมา
ซึ่งเป็นอัตราที่สูงสุด นับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในช่วงปี 1930
อัตราการว่างงานที่สูง ทำให้กำลังซื้อของชาวอเมริกันลดลงอย่างมาก
อีกประเด็นคือ ความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ชาวอเมริกันเอาเงินไปฝากธนาคารมากขึ้น เพื่อเก็บเงินสดไว้ใช้ แม้แทบจะไม่ได้ดอกเบี้ยเลยก็ตาม
ซึ่งเรื่องนี้ สะท้อนได้จาก การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา
โดยในช่วงมีนาคมถึงพฤษภาคม 2020 เงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นกว่า 62 ล้านล้านบาท
เมื่อคนเก็บเงินมากขึ้น รวมถึงคนที่มีกำลังซื้อลดลงจากการไม่มีงานทำ
ก็ย่อมหมายถึงการใช้จ่ายในประเทศที่ลดลง
พอคนใช้จ่ายลดลง ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในภาพรวม ก็ลดลงตามไปด้วย
จึงเป็นที่มาให้ อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 2020 ลดลงนั่นเอง
ซึ่งตัวชี้วัดหนึ่งของเรื่องนี้ก็คือ “Output Gap”
Output Gap คือส่วนต่างระหว่างมูลค่า GDP ที่เกิดขึ้นจริง เทียบกับ ค่าคาดการณ์ หรือมูลค่าที่ควรจะเป็น ของ GDP ในช่วงเวลานั้น ๆ
- ถ้าค่า Output Gap เป็นบวก หมายความว่า มูลค่า GDP ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงนั้น ดีกว่า ศักยภาพที่ควรเป็น
- ถ้าค่า Output Gap เป็นลบ หมายความว่า มูลค่า GDP ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงนั้น แย่กว่า ศักยภาพที่ควรเป็น
ซึ่งถ้าลองมาดู Output Gap ของสหรัฐอเมริกาในปี 2020
- ไตรมาส 1/2020 Output Gap -0.55%
- ไตรมาส 2/2020 Output Gap -9.90%
- ไตรมาส 3/2020 Output Gap -3.48%
- ไตรมาส 4/2020 Output Gap -2.77%
จะเห็นว่าทั้ง 4 ไตรมาสในปี 2020 เปอร์เซ็นต์ Output Gap ของสหรัฐอเมริกา ติดลบต่อเนื่อง
หมายความว่า เศรษฐกิจของประเทศ ยังไม่ฟื้นตัวมาอยู่ในระดับที่ควรจะเป็น
ซึ่งมันก็สะท้อนได้ถึง การจ้างงานและการจับจ่ายของภาคเอกชน ที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ซึ่งนี่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ยังกดดันอัตราเงินเฟ้อให้ไม่สูงขึ้นด้วยนั่นเอง
สรุปแล้ว ที่สหรัฐอเมริกาทำการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบมหาศาล แต่เงินยังไม่เฟ้อนั้น
ปัจจัยสำคัญเพราะ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังคงเปราะบาง
การจ้างงานในประเทศในปีที่ผ่านมายังไม่ฟื้นตัวกลับมาเหมือนเดิม
และแม้ภาครัฐจะพยายามอัดฉีดเงินช่วยเหลือ และกระตุ้นให้คนเอาเงินออกมาใช้ แต่คนในประเทศจำนวนมาก ก็ยังคงเลือกเก็บเงินสดจำนวนมากเอาไว้เผื่อยามจำเป็น
กำลังซื้อที่ยังไม่ค่อยฟื้นตัว บวกกับคนไม่ค่อยกล้าเอาเงินออกมาใช้
ก็เลยทำให้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายปี 2020 ยังไม่ได้สูงขึ้น
แม้ธนาคารกลางจะอัดเงินเข้าระบบอย่างหนัก นั่นเอง
อย่างไรก็ตามมีหลายคนคาดการณ์ว่า ในปี 2021 เป็นต้นไป เงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาจะค่อย ๆ ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว จากการที่ประชากรได้ฉีดวัคซีนกัน และสามารถควบคุมโรคระบาดได้แล้ว..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
แม้ว่า การทำ QE ของ FED จะไม่ได้ทำให้อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาปรับตัวขึ้นมาก
แต่สภาพคล่องในส่วนนี้ กลับไหลไปทำให้ราคาสินทรัพย์การเงินหลายตัว ปรับตัวขึ้นอย่างมาก จนนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Asset Price Inflation”
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.atlanticcouncil.org/blogs/econographics/global-qe-tracker/
-https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_27Jul2020.aspx
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
-https://www.macrotrends.net/countries/USA/united-states/inflation-rate-cpi
-https://www.youtube.com/watch?v=3-dvi1f_2vA
-https://www.washingtonpost.com/business/2020/05/08/april-2020-jobs-report/
-https://fred.stlouisfed.org/series/DPSACBW027SBOG
-https://www.brookings.edu/blog/up-front/2021/02/22/what-is-potential-gdp-and-why-is-it-so-controversial-right-now/
-https://ycharts.com/indicators/us_percent_gdp_gap#:~:text=US%20Output%20Gap%20is%20at,term%20average%20of%20%2D0.65%25.
-https://tradingeconomics.com/united-states/unemployment-rate
-https://tradingeconomics.com/united-states/non-farm-payrolls
global unemployment rate 2020 在 Focus Taiwan Facebook 的最佳解答
Taiwan's unemployment rate in 2020 was the highest in four years, but the labor market was still relatively stable compared to other countries as the #COVID19 pandemic took a toll on the global economy, Taiwan's statistics bureau said Friday.
https://focustaiwan.tw/business/202101220021
global unemployment rate 2020 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
รู้จักทฤษฎี TINA ตลาดหุ้นขึ้น เพราะไม่มีทางเลือก /โดย ลงทุนแมน
การที่เราเลือกสิ่งหนึ่ง อาจไม่ใช่เพราะว่ามันดี
แต่อาจเป็นเพราะ
มันไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า..
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบนี้
สามารถอธิบายได้ด้วย TINA Effect
TINA Effect คืออะไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
TINA ย่อมาจาก There Is No Alternative หรือ การไม่มีทางเลือก
วลีนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ในปี 1980
หลังจากที่อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ Margaret Thatcher มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเมืองและเศรษฐกิจของอังกฤษ
ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจ เช่น การตัดลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล การรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง หรือการเปลี่ยนแปลงรัฐสวัสดิการ
ซึ่งนโยบายเหล่านั้นถูกวิจารณ์จากสื่ออย่างหนัก
แต่ Margaret Thatcher ตอบกลับสื่อไปว่า “There Is No Alternative” หรือมันไม่มีทางเลือก..
วลีนี้เริ่มถูกนำมาใช้ในการตลาดการเงิน
ซึ่งถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสาร The Wall Street Journal เมื่อปี 2013
ใจความสำคัญก็คือ ตลาดหุ้นเป็นทางเลือกเพียงทางเดียวสำหรับนักลงทุนจำนวนมาก ที่ต้องการผลตอบแทนในระดับหนึ่งที่พอใช้ได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำยาวนาน
คำอธิบายนี้ เป็นคำตอบที่อาจช่วยให้เราหายสงสัยว่า ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ แต่ตลาดหุ้นกลับไม่ได้สะท้อนภาวะเศรษฐกิจมากนัก ถึงขนาดตลาดหุ้นบางแห่งกลับทำจุดสูงสุดใหม่ไปแล้ว
ถ้าเราย้อนกลับไปสมัยวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2007-2008
ธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED ได้ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายด้วยการกดดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำเพียง 0.00-0.25% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยทำให้ต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจอยู่ในระดับต่ำ โดยนโยบายดังกล่าวกินเวลายาวนานถึง 7 ปี
เพื่อให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวต่อเนื่อง มาตรการต่อมาที่ธนาคารกลางหลายแห่งนำมาใช้อีกก็คือ Quantitative Easing หรือ QE ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณเงินจำนวนมากเข้าสู่ตลาดการเงินโดยตรง
ด้วยการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินของสถาบันการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินเหล่านั้นเอาเงินไปปล่อยกู้แก่ภาคธุรกิจ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ
ซึ่งทั้งนโยบายการเงินผ่อนคลายที่ยาวนาน และจำนวนเงินมหาศาลที่เข้าสู่ระบบจากมาตรการ QE ได้ส่งผลต่อทางเลือกในการลงทุนของนักลงทุน เพราะเรื่องนี้ทำให้
1. อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่บางประเทศในยุโรปและญี่ปุ่น อัตราดอกเบี้ยถึงกับติดลบ จนทำให้แรงจูงใจการฝากเงินเพื่อหารายได้จากดอกเบี้ยนั้นลดลง
2. อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ยังจะทำให้พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ภาคเอกชนที่ออกมาหลังๆ ให้อัตราผลตอบแทนต่ำลงเรื่อยๆ
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนก็คือ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี
สิ้นปี 2008 อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เท่ากับ 2.25%
ปัจจุบัน อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เท่ากับ 0.69%
นั่นหมายความว่า
หากเราไปซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี และถือจนครบอายุ เราจะได้รับผลตอบแทนปีละ 0.69%
จากอดีตที่จะได้ผลตอบแทนปีละ 2.25%
พอเรื่องเป็นแบบนี้
ตลาดหุ้นจึงเป็นคำตอบสุดท้าย สำหรับหลายคนที่ต้องการเพิ่มผลตอบแทน
แม้จะรู้ดีว่าสภาวะเศรษฐกิจยังตกต่ำ
โรคระบาด Covid-19 ทำให้คาดกันว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยมากที่สุดในรอบ 75 ปี นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในโลก ในปัจจุบัน มีคนอเมริกันว่างงานอยู่ 18 ล้านคน มีอัตราการว่างงานสูงถึง 11% มากกว่าช่วงวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ในปี 2007-2008 เกือบเท่าตัว
แต่ตลาดหุ้นกลับปรับตัวลดลงไม่มาก เมื่อเทียบกับวิกฤติในอดีต
ที่น่าสนใจคือ บางตลาดกลับทำจุดสูงสุดใหม่ด้วย
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะตลาดหุ้น Nasdaq ของสหรัฐฯ
สิ้นปี 2019 ตลาดหุ้น Nasdaq อยู่ที่ 8,946 จุด
ปัจจุบัน ตลาดหุ้น Nasdaq อยู่ที่ 10,434 จุด หรือเพิ่มขึ้นมาแล้วประมาณ 16%
หรือแม้แต่ประเทศไทยของเราก็ตาม ก็อาจมีปรากฏการณ์ของ TINA เช่นกัน
ปีนี้จะเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยรับผลกระทบมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่า GDP ของไทยจะติดลบถึง 8.1% ซึ่งเทียบกับสมัยวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งในปี 1997-1998 ที่ตอนนั้น GDP ของไทยติดลบ 7.6%
โดยในช่วงนั้นตลาดหุ้นไทยติดลบไปกว่า 57% เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่ตลาดหุ้นไทยกลับติดลบไปเพียง 13%
ซึ่งก็อาจตีความได้ว่า
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ต่ำ ทำให้นักลงทุนจำนวนมากไม่มีทางเลือกเท่าไร และจำเป็นต้องลงทุนในตลาดหุ้นต่อไป..
ดังนั้น ถ้าเราไปถามนักลงทุนหลายคนว่า
ในตอนนี้เศรษฐกิจเป็นอย่างไร
คำตอบที่เราน่าจะได้ยินก็คือ พวกเขาก็รู้ว่าเศรษฐกิจยังไม่ดี
แต่พวกเขาก็จะบอกต่อไปว่า
แต่หุ้น ก็อาจจะดีกว่า การลงทุนอย่างอื่นอยู่ดี..
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/There_is_no_alternative
-https://www.investopedia.com/terms/t/tina-there-no-alternative.asp
-http://www2.fpo.go.th/S-I/Source/ECO/ECO49.pdf
-https://www.treasury.gov/resource-center/data-chart-center/interest-rates/pages/TextView.aspx?data=yieldYear&year=2008
-https://www.worldbank.org/en/news/press-release/2020/06/08/covid-19-to-plunge-global-economy-into-worst-recession-since-world-war-ii
-https://www.investing.com/indices/major-indices
-https://tradingeconomics.com/united-states/unemployment-rate
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG?locations=TH
-https://www.set.or.th/th/market/market_statistics.html
global unemployment rate 2020 在 Unemployment, total (% of total labor force) (modeled ILO ... 的相關結果
Unemployment, total (% of total labor force) (modeled ILO estimate) from The World Bank: Data. ... <看更多>
global unemployment rate 2020 在 ILO Monitor: COVID-19 and the world of work. Seventh edition 的相關結果
in 2020, with the unemployment rate rising by. 1.1 percentage points to 6.5 per cent. Labour income losses. ▷ Global labour income (before ... ... <看更多>
global unemployment rate 2020 在 • Global unemployment rate up to 2020 | Statista 的相關結果
The statistic shows the global rate of unemployment from 2010 to 2020. In 2020, the global rate of unemployment amounted to 6.47 percent. Read more. Global ... ... <看更多>