23/05/2563
ระหว่าง “งาน” กับ “เงิน” ถ้าต้องเลือก 1 อย่าง อยากเลือกอะไร❓ติ๊กต๊อกๆ
บางคนเลือกเงิน เพราะอาจจะมองว่า เอาเงินมาสิ ได้เงินมาก็เอาไปใช้จ่าย ลงทุน ไม่ต้องเป็นลูกจ้างใคร มีชีวิตอิสระ ได้หยิบจับทำงานที่ตัวเองชอบ
บางคนเลือกงาน เพราะเชื่อว่า มีงานทำก็มีเงินมา งานจะช่วยเสริมสร้าง ปสก. ทัศนคติ มุมมอง ศักยภาพ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นสูงขึ้นดีขึ้น เพื่อก้าวไปจุดที่ตั้งเป้าไว้
สิ่งที่คำถามไม่ได้บอก คือ “งานอะไร?” & “เงินจำนวนเท่าไร?”
คำตอบไม่มีผิดไม่มีถูกค่ะ 🙌 เพราะแต่ละคนย่อมมีมุมมองในเส้นทางชีวิตไม่เหมือนกัน 🛣
↪️ตัดภาพมาที่ ถ้าให้เลือกระหว่าง “สุขภาพ” กับ “หุ่น” จะเลือกอะไร❓
บางคนเลือกหุ่น หุ่นดี สวย-หล่อ ใครมองมาก็ชื่นชม ใส่อะไรก็ดูดี เพอเฟค เป็น First Impression ใบเบิกทางต่อการทำอะไรหลายอย่างที่ในสังคม ปจบ. นิยมชมชอบกันที่ภายนอกเป็นหลัก โดยที่สุขภาพภายในรวมถึงจิตใจอาจไม่ดีแบบภายนอกก็ได้
บางคนเลือกสุขภาพ ถ้าดี ก็มีแรงทำงานหาเงิน ยิ่งดูแลให้ดีมากขึ้น หุ่นที่ดีที่ชอบก็ตามมาเอง แต่จิตใจอ่ะ ดูแลด้วยมั้ย?
ที่ไม่ได้บอก “สุขภาพแบบไหน?” & “หุ่นยังไง?”
ใครอ่านถึงตรงนี้ สงสัยป่ะ?, อ้าว😳งั้นควรเลือกอะไร❓
ANS : เลือกสิ่งที่ชอบ เลือกสิ่งที่เป็นเรา เลือกสิ่งที่ใช่สำหรับเรา เลือกสิ่งที่เรามองเห็นว่า จะนำพาสิ่งนั้นไปทิศทางไหน รูปแบบยังไง และ รับมือกับสิ่งที่ต้องเจอระหว่างทางได้มั้ย
ทุกคนล้วนมีความต้องการต่างกัน มีมุมมองการมองเห็นที่ไม่เหมือนกัน หรือ อาจจะคล้ายกัน แต่เชื่อสิ, เส้นทางที่ทุกคนเดินไป มันไม่สามารถเหมือนกันได้ตลอดทุกก้าวเดิน .
คนที่เลือกเงิน ไม่ได้หมายความว่า จะได้สินทรัพย์ที่เท่ากัน หรือ ลงทุนได้กำไรขาดทุนเหมือนกัน
คนที่เลือกงาน ตำแหน่งเท่ากัน แต่การเติบโต พัฒนาตนเอง ไม่เหมือนกันเพราะมุมมอง ทัศนคติ รวมถึง ศักยภาพย่อมต่างกัน
คนที่เลือกสุขภาพ ที่ดีอยู่แล้วก็อยากแข็งแรงขึ้นกว่านี้ ส่วนที่สุขภาพย่ำแย่โรคเยอะ ก็อยากฮึดมาดูแลสุขภาพให้ดีเพื่อให้มีลมหายใจอยู่ต่อ
คนที่เลือกหุ่น ถ้าพื้นฐานดี ทำยังไงก็ดี ถ้ารู้จักที่จะดูแลสม่ำเสมอ คนที่บอกตัวเองหุ่นไม่ดี ไม่ดียังไง? ถามตัวเองให้แน่ใจก่อน ไม่ใช่ไม่ดีเพราะเอาไปเทียบกับคนอื่น
เลือกอะไร ไปเส้นทางไหน เรา คือ คนตัดสินใจ แต่ไม่ได้บอกว่า ไม่ต้องฟังใครเลย คนอื่นที่มองมาก็เสมือนกระจกวิเศษที่บอกเรา แต่กระจกทุกบาน ไม่ได้ส่องแล้วสวยหล่อดูดีเสมอไปนะ 😏
สิ่งสำคัญสุด, ความเป็นเรา จิตใจเรา จะช่วยคัดกรองเลือกทางและกระจกบานที่ดีให้เราเอง 🥰
📝เขียนสั้นๆเป็นมั้ย?🍀🤣💚😅
🩱 BRP Sportswear ชุดออกกำลังกาย ชุดโยคะ
⌚️ Fitbit
🧤 Jason
🥖 April's Bakery
🧊 Icelandic Glacial Thailand
.
.
@ ความสุขอยู่ที่มุมมองและการกระทำ
.
.
.
#เฮลตี้สร้างภาพ #เฮลตี้สายดาร์ค #tipsyisahealthygirl #แรงบันดาลใจ #ความสุข #รักตัวเอง #bethebestyou #howtoperfect #aprilsbakery #fitbit #fitbitcharge4 #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ #ออกกำลังกาย #ออกกำลังกายที่บ้าน #ลดน้ำหนัก #ลดความอ้วน #อาหารคลีน #ขนมคลีน #อาหารสุขภาพ #แท็กเพื่อนมาดู #แท็กเพื่อนมาอ่าน #ขนมสุขภาพ #อร่อยบอกต่อ #อร่อยไปแดก #อร่อย #ชุดออกกำลังกาย #ชุดออกกำลังกายผู้หญิง #ผู้หญิง #ขนม #รัก
「มุมมอง ทัศนคติ คือ」的推薦目錄:
- 關於มุมมอง ทัศนคติ คือ 在 Fit & Flexible Eating Diary Facebook 的最佳貼文
- 關於มุมมอง ทัศนคติ คือ 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳貼文
- 關於มุมมอง ทัศนคติ คือ 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳解答
- 關於มุมมอง ทัศนคติ คือ 在 ทัศนคติ (Attitude) คืออะไร สำคัญอย่างไร - YouTube 的評價
- 關於มุมมอง ทัศนคติ คือ 在 เปลี่ยนมุมมองเปลี่ยนชีวิต | "ทัศนคติเชิงบวก เปลี่ยนเรื่องร้าย ให้กลาย ... 的評價
- 關於มุมมอง ทัศนคติ คือ 在 ปรับทัศนคติมุมบวก แก้ปัญหาองค์กรในแบบชามตราไก่ - Facebook 的評價
มุมมอง ทัศนคติ คือ 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳貼文
#ชมลูกอย่างไรให้เกิดGrowth_mindset🌳🌾
ถ้าใครเคยอ่านหนังสือเรื่อง mindset ของ Dr.Carol Dweck
จะพบว่า ใจความสำคัญที่ Dr.Carol
พยายามจะสื่อให้กับผู้ปกครองและครู
ก็คือ
1. #mindset_ก่อร่างสร้างตัวตั้งแต่เด็กช่วงปฐมวัย
(หนึ่งในการทดลองที่อ้างอิงถึงในหนังสือ ผู้เข้าร่วมคือ เด็กอายุ 4 ขวบ)
2. #สารที่พ่อแม่และครูส่งให้กับลูกมีบทบาทสำคัญในการสร้างmindsetของเด็ก
สารที่ว่า ก็คือ ทัศนคติที่พ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่ ส่งให้เด็กรับรู้
ว่า เค้าจะได้รับความรัก ได้รับคำชื่นชม เมื่อเค้าเป็นอย่างไร
.
หลังจากที่เด็กสร้าง self ตอนอายุประมาณ 3 ขวบ
เค้าก็อยากจะเป็นส่วนหนึ่งของโลก
โลกของเด็กเล็ก คือคนที่เค้ารัก
ได้แก่ พ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่รอบตัว
ดังนั้น วิธีคิด มุมมอง ทัศนคติ ค่านิยม ของพ่อแม่ ครู
ก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ mindset ของเด็ก ไปโดยปริยาย
.
ถ้าเด็กรับรู้ว่า
เค้าต้องเก่ง, ไม่ผิดเลย, ฉลาดจัง, อัจฉริยะชัดๆ, สุดยอด, ไม่พลาดเลยนะ etc.
ถึงจะเป็นที่นิยมชมชอบ
เพราะฉะนั้น คนเก่งจะต้องไม่เกิดความผิดพลาด
ต้องดูเหมือนพวกฉลาดแต่เกิด เป็นอัจฉริยะ
(ไม่ต้องพยายามมาก ก็เหนือกว่าคนอื่น)
บางคนพยายามหนักมากหลังฉาก แต่เบื้องหน้าต้องทำเป็นฉันไม่ได้ทำอะไรนะ มันเป็นธรรมชาติ
แต่...ชีวิตมันต้องยากขึ้น มีอุปสรรคมากขึ้น เป็นธรรมดา
ในเมื่อ เด็กกลุ่มนี้ (fixed mindset)
มีแรงจูงใจหลัก คือ #ต้องไม่มีความผิดพลาด
ดังนั้น บางครั้ง ไม่พลาด ก็คือ
ไม่ต้องเข้าไปลองทำสิ่งนั้น
สิ่งใดที่ยาก ไม่ทำ
สิ่งใดที่เสี่ยง เลี่ยงซะ
.
ยิ่งกลัวผิดพลาด-->ยิ่งหลีกเลี่ยงที่จะทำสิ่งใหม่-->
ยิ่งลดโอกาสในการเรียนรู้-->เมื่อไม่ได้เรียนรู้ ถ้าต้องลงมือทำจริง ก็ยิ่งมีโอกาสผิดพลาด -->เมื่อผิดพลาด ก็ยิ่งสูญเสียความมั่นใจในตนเอง
คนที่มี fixed mindset ก็จะวนเวียนอยู่ใน loop นี้
==============================
แล้วจะส่ง #สาร อย่างไร
ให้ลูกเป็นคนที่มี Growth mindset
1.#ความจริงใจสำคัญที่สุด
(อย่าชมพร่ำเพรื่อ ถ้าจะชมให้พูดจากใจ)
ถ้าเราชมออกมาจากใจจริง คนที่ถูกชมเค้าจะรับรู้ได้
ทั้งจาก สีหน้า แววตา น้ำเสียง และเนื้อความที่พูด
คำชมที่ไม่จริงใจ นอกจากไม่ช่วยให้ใครพัฒนาแล้ว
ยังทำให้ความเชื่อใจ ความเชื่อมั่นในตัวเราลดลง
สำหรับลูกแล้ว พ่อแม่ต้องเป็นคนที่เค้าเชื่อถือได้เสมอนะคะ
เช่น ลูกเอารูปที่วาดมาโชว์ แต่รูปนี้ เค้าวาดหลายครั้งแล้วเราไม่ได้รู้สึกว่ามันสวยเป็นพิเศษ
แทนที่เราจะชมว่า สวย หรือ เก่งจังที่วาดได้
เราอาจจะต้องมองหาจุดเด่น
ในภาพวาดใหม่แต่ไม่ใหม่ของลูก
เช่น ครั้งนี้ลงเส้นได้ชัดดีนี่ลูก หรือ
เก็บรายละเอียดตรงนี้ได้ดีจัง
แล้วอาจจะชวนให้เค้าลองวาดอะไรใหม่ๆ ให้โจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น
หรือ ถ้าลูกแพ้การแข่งขัน
เราไม่ต้องใช้คำชมเพื่อปลอบใจ
“แค่นี้ก็เก่งมากแล้วจ่ะ” หรือ “แต่แม่ว่าลูกทำได้ดีมากนะ”
ถ้าเราไม่รู้จะพูดอะไร ก็อยู่เคียงข้างเค้า ให้เค้ารู้ว่าถ้าต้องการกำลังใจเราอยู่ตรงนี้
เมื่อเค้าพร้อม ค่อยชวนพูดคุย เรื่องความรู้สึก และบทเรียนที่ได้ แนวทางพัฒนา
================================
2.#ใช้คำชมให้เหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาของลูก
หลายคนกังวลใจ ที่จะใช้คำว่า เก่งจัง สวยจัง ดีจัง น่ารักจังกับลูก แต่ถ้าลูกของเราเป็นเด็กอายุ 0-1 ปี คำพวกนี้ ก็เป็นคำในแนว positive ที่เค้าฟังแล้วเข้าใจ
โดยส่วนตัวหมอคิดว่าใช้ได้ค่ะ
มันคงแปลกพิลึก หากเราชมเด็ก 1 ปี เมื่อเอาของไปเก็บเข้าที่
“แม่รู้เลยว่าลูกพยายามเอื้อมไปเก็บอย่างสุดความสามารถ”😅
จริงๆแล้ว เด็กวัยก่อนพูด
ดูภาษากายของคุณแม่เป็นหลัก
และคำที่ใช้ ก็ควรเป็นคำสั้นๆ คำที่เราใช้กันอยู่ก็ใช้ได้นะคะ (ขอให้จริงใจ ไม่พร่ำเพรื่อก็พอ)
.
แต่ถ้าลูกของเรา เป็นเด็กอายุ 3 ปี
เค้าเข้าใจภาษาได้ดีมากแล้ว
คำว่า เก่ง ดี ฉลาด สวย etc. มันกว้างเกินไป
คงจะดีกว่า ถ้าเราพูดระบุรายละเอียดของสิ่งที่ทำให้เราพอใจ
Feedback ที่ดี คือ
สิ่งที่ดีอยู่แล้วคืออะไร
สิ่งที่สามารถพัฒนาได้อีกคือจุดไหน
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ
ถ้าเราไปตัดผมทรงใหม่ ทำสีผมมา เรามาโชว์เพื่อนๆ
“อืม สวยดี”
“ตัดผมทรงนี้ เข้ากับรูปหน้ามาก ผมสีนี้เข้ากับสีผิว ทำให้ผิวสว่างขึ้น”
เราชอบคำชมไหนคะ?
เด็กก็เช่นกัน เค้าเข้าใจภาษาได้ดีแล้ว
พ่อแม่ก็ช่วย #ให้เกียรติภาษาของเค้าด้วย
ด้วยการพูดใส่รายละเอียด
นอกจากจะทำให้ลูกรู้ว่าเราใส่ใจรายละเอียดเล็กน้อย
ยังฝึกมุมมองของลูก ให้มองเห็นจุดดี และจุดที่มีโอกาสพัฒนา
================================
3.ใช้ชมที่ #ความพยายามหรือกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์
เด็กๆ เป็นวัยที่ใส่ใจกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์อยู่แล้ว
ในใจของเด็กนั้น
ไม่ได้มีกรอบของความสวยงามแต่แรก
ไม่มีเส้นที่ระบายออกนอกไม่ได้
ไม่มีรูปทรงที่ไม่ได้ขนาด
แต่เมื่อเด็กถูกวิจารณ์บ่อยๆเข้า
เค้าถึงจะสร้างกรอบของ
ดี/ไม่ดี สวย/ไม่สวย เรียบร้อย/ไม่เรียบร้อย ขึ้นมาทีหลัง
ขอให้พ่อแม่เข้าใจว่า กว่าเด็กจะทำอะไรสำเร็จหนึ่งอย่าง
มันประกอบด้วย หลายกระบวนการ
ปั้นแป้งโดว์ -->เลือกสี-->นวดแป้ง-->คิดและจินตนาการถึงสิ่งที่จะปั้น -->ปั้นเป็นรูปทรงต่างๆ เอารูปทรงต่างๆมาประกอบเข้าด้วยกัน
กว่าจะได้เอามาโชว์แม่
ก็ผ่านความพยายาม และตั้งใจทุกกระบวนการ
ดังนั้น หากมันยังไม่สวย(ตามมาตรฐานผู้ใหญ่) ก็ให้ชมข้อดี ในกระบวนการที่เราเห็นก็แล้วกัน
“แม่ว่าลูกเอาแป้งสีขาวกับแดงผสมเป็นสีชมพูได้สวยจัง”
“ตรงนี้ปั้นเป็นหน้าพิซซ่า ปั้นเป็นพริกชิ้นเล็กๆ โห มันละเอียดมากเลย”
ถ้าลูกสอบได้คะแนนดีมาก หรือ ได้รับรางวัล
คำว่า “เก่งจังเลย” ย่อมเป็นคำที่เด็กอยากได้ยิน
แต่สิ่งที่สำคัญที่เราต้องส่งสัญญาณให้ลูกคือ
#เราชื่นชมความสำเร็จที่มาจากความพยายามความตั้งใจของลูก (ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร)
“แม่ดีใจมากเลยลูก แม่รู้เลยว่าลูกตั้งใจทำมันมากจริงๆ
แล้วก็ได้ผลสมกับความทุ่มเทที่ทำไป”
หรือ แม้แต่ตอนที่เค้าล้มเหลว
ถ้าเราเป็นพ่อแม่ที่อยู่เคียงข้างเค้า
และเป็นคนที่รู้ความเป็นไปของลูกเสมอ
เราก็สามารถชี้ให้เห็นว่า เรารับรู้ความพยายามตรงขั้นตอนไหน หรือขั้นตอนไหนที่ต้องเพิ่มเติม
=============================
4.ชมให้สุด...อย่าทำตัวเป็นใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง
ประโยคที่ใช้เมื่อชมลูก ต้องมีแต่คำดีๆ
คำชมที่ฟังแล้ว ไม่รู้สึกดีเช่น
“ว้าว...วันนี้ตื่นอาบน้ำแปรงฟันได้เอง แม่ฝันไปรึเปล่าเนี่ย”
“วันนี้ตั้งใจทำการบ้านเสร็จเร็วมาก ถ้าทำแบบนี้ได้ทุกวันแม่ก็ไม่ต้องเหนื่อย”
“เก่งจัง ครั้งนี้สอบได้คะแนนเต็มเลย หรือว่าได้เต็มกันทุกคน”
ดีให้สุด อย่าสอดไส้ ด้วยคำประชดประชัน
ทำให้เด็กสับสนว่าตกลงที่ทำไป แม่ว่าดีหรือไม่ดีกันแน่
================================
5.การชื่นชมไม่จำเป็นต้องพูดเสมอไป
หากเราไม่ชิน เรื่องการพูดบรรยายความพยายาม
เพราะทั้งชีวิตเราก็ใช้คำว่า ดี เก่ง ฉลาด มาตลอด
ถ้าคิดไม่ทัน คำแนะนำคือ
ภาษากาย ก็เป็นส่วนสำคัญ
แววตา สีหน้า รอยยิ้ม แห่งความภาคภูมิใจของพ่อแม่
ก็ทำให้ลูกรับรู้ได้แล้วค่ะ
.
เมื่อคิดคำพูดดีๆได้ ค่อยพูด
================================
หมอแพม
สุขสันต์วันแห่งความรักค่ะ
(เขียนยาว สรุปให้ตัวเองอ่านด้วยค่ะ)
มุมมอง ทัศนคติ คือ 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳解答
#ชมลูกอย่างไรให้เกิดGrowth_mindset🌳🌾
ถ้าใครเคยอ่านหนังสือเรื่อง mindset ของ Dr.Carol Dweck
จะพบว่า ใจความสำคัญที่ Dr.Carol
พยายามจะสื่อให้กับผู้ปกครองและครู
ก็คือ
1. #mindset_ก่อร่างสร้างตัวตั้งแต่เด็กช่วงปฐมวัย
(หนึ่งในการทดลองที่อ้างอิงถึงในหนังสือ ผู้เข้าร่วมคือ เด็กอายุ 4 ขวบ)
2. #สารที่พ่อแม่และครูส่งให้กับลูกมีบทบาทสำคัญในการสร้างmindsetของเด็ก
สารที่ว่า ก็คือ ทัศนคติที่พ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่ ส่งให้เด็กรับรู้
ว่า เค้าจะได้รับความรัก ได้รับคำชื่นชม เมื่อเค้าเป็นอย่างไร
.
หลังจากที่เด็กสร้าง self ตอนอายุประมาณ 3 ขวบ
เค้าก็อยากจะเป็นส่วนหนึ่งของโลก
โลกของเด็กเล็ก คือคนที่เค้ารัก
ได้แก่ พ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่รอบตัว
ดังนั้น วิธีคิด มุมมอง ทัศนคติ ค่านิยม ของพ่อแม่ ครู
ก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ mindset ของเด็ก ไปโดยปริยาย
.
ถ้าเด็กรับรู้ว่า
เค้าต้องเก่ง, ไม่ผิดเลย, ฉลาดจัง, อัจฉริยะชัดๆ, สุดยอด, ไม่พลาดเลยนะ etc.
ถึงจะเป็นที่นิยมชมชอบ
เพราะฉะนั้น คนเก่งจะต้องไม่เกิดความผิดพลาด
ต้องดูเหมือนพวกฉลาดแต่เกิด เป็นอัจฉริยะ
(ไม่ต้องพยายามมาก ก็เหนือกว่าคนอื่น)
บางคนพยายามหนักมากหลังฉาก แต่เบื้องหน้าต้องทำเป็นฉันไม่ได้ทำอะไรนะ มันเป็นธรรมชาติ
แต่...ชีวิตมันต้องยากขึ้น มีอุปสรรคมากขึ้น เป็นธรรมดา
ในเมื่อ เด็กกลุ่มนี้ (fixed mindset)
มีแรงจูงใจหลัก คือ #ต้องไม่มีความผิดพลาด
ดังนั้น บางครั้ง ไม่พลาด ก็คือ
ไม่ต้องเข้าไปลองทำสิ่งนั้น
สิ่งใดที่ยาก ไม่ทำ
สิ่งใดที่เสี่ยง เลี่ยงซะ
.
ยิ่งกลัวผิดพลาด-\-\>ยิ่งหลีกเลี่ยงที่จะทำสิ่งใหม่-\-\>
ยิ่งลดโอกาสในการเรียนรู้-\-\>เมื่อไม่ได้เรียนรู้ ถ้าต้องลงมือทำจริง ก็ยิ่งมีโอกาสผิดพลาด -\-\>เมื่อผิดพลาด ก็ยิ่งสูญเสียความมั่นใจในตนเอง
คนที่มี fixed mindset ก็จะวนเวียนอยู่ใน loop นี้
==============================
แล้วจะส่ง #สาร อย่างไร
ให้ลูกเป็นคนที่มี Growth mindset
1.#ความจริงใจสำคัญที่สุด
(อย่าชมพร่ำเพรื่อ ถ้าจะชมให้พูดจากใจ)
ถ้าเราชมออกมาจากใจจริง คนที่ถูกชมเค้าจะรับรู้ได้
ทั้งจาก สีหน้า แววตา น้ำเสียง และเนื้อความที่พูด
คำชมที่ไม่จริงใจ นอกจากไม่ช่วยให้ใครพัฒนาแล้ว
ยังทำให้ความเชื่อใจ ความเชื่อมั่นในตัวเราลดลง
สำหรับลูกแล้ว พ่อแม่ต้องเป็นคนที่เค้าเชื่อถือได้เสมอนะคะ
เช่น ลูกเอารูปที่วาดมาโชว์ แต่รูปนี้ เค้าวาดหลายครั้งแล้วเราไม่ได้รู้สึกว่ามันสวยเป็นพิเศษ
แทนที่เราจะชมว่า สวย หรือ เก่งจังที่วาดได้
เราอาจจะต้องมองหาจุดเด่น
ในภาพวาดใหม่แต่ไม่ใหม่ของลูก
เช่น ครั้งนี้ลงเส้นได้ชัดดีนี่ลูก หรือ
เก็บรายละเอียดตรงนี้ได้ดีจัง
แล้วอาจจะชวนให้เค้าลองวาดอะไรใหม่ๆ ให้โจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น
หรือ ถ้าลูกแพ้การแข่งขัน
เราไม่ต้องใช้คำชมเพื่อปลอบใจ
“แค่นี้ก็เก่งมากแล้วจ่ะ” หรือ “แต่แม่ว่าลูกทำได้ดีมากนะ”
ถ้าเราไม่รู้จะพูดอะไร ก็อยู่เคียงข้างเค้า ให้เค้ารู้ว่าถ้าต้องการกำลังใจเราอยู่ตรงนี้
เมื่อเค้าพร้อม ค่อยชวนพูดคุย เรื่องความรู้สึก และบทเรียนที่ได้ แนวทางพัฒนา
================================
2.#ใช้คำชมให้เหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาของลูก
หลายคนกังวลใจ ที่จะใช้คำว่า เก่งจัง สวยจัง ดีจัง น่ารักจังกับลูก แต่ถ้าลูกของเราเป็นเด็กอายุ 0-1 ปี คำพวกนี้ ก็เป็นคำในแนว positive ที่เค้าฟังแล้วเข้าใจ
โดยส่วนตัวหมอคิดว่าใช้ได้ค่ะ
มันคงแปลกพิลึก หากเราชมเด็ก 1 ปี เมื่อเอาของไปเก็บเข้าที่
“แม่รู้เลยว่าลูกพยายามเอื้อมไปเก็บอย่างสุดความสามารถ”😅
จริงๆแล้ว เด็กวัยก่อนพูด
ดูภาษากายของคุณแม่เป็นหลัก
และคำที่ใช้ ก็ควรเป็นคำสั้นๆ คำที่เราใช้กันอยู่ก็ใช้ได้นะคะ (ขอให้จริงใจ ไม่พร่ำเพรื่อก็พอ)
.
แต่ถ้าลูกของเรา เป็นเด็กอายุ 3 ปี
เค้าเข้าใจภาษาได้ดีมากแล้ว
คำว่า เก่ง ดี ฉลาด สวย etc. มันกว้างเกินไป
คงจะดีกว่า ถ้าเราพูดระบุรายละเอียดของสิ่งที่ทำให้เราพอใจ
Feedback ที่ดี คือ
สิ่งที่ดีอยู่แล้วคืออะไร
สิ่งที่สามารถพัฒนาได้อีกคือจุดไหน
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ
ถ้าเราไปตัดผมทรงใหม่ ทำสีผมมา เรามาโชว์เพื่อนๆ
“อืม สวยดี”
“ตัดผมทรงนี้ เข้ากับรูปหน้ามาก ผมสีนี้เข้ากับสีผิว ทำให้ผิวสว่างขึ้น”
เราชอบคำชมไหนคะ?
เด็กก็เช่นกัน เค้าเข้าใจภาษาได้ดีแล้ว
พ่อแม่ก็ช่วย #ให้เกียรติภาษาของเค้าด้วย
ด้วยการพูดใส่รายละเอียด
นอกจากจะทำให้ลูกรู้ว่าเราใส่ใจรายละเอียดเล็กน้อย
ยังฝึกมุมมองของลูก ให้มองเห็นจุดดี และจุดที่มีโอกาสพัฒนา
================================
3.ใช้ชมที่ #ความพยายามหรือกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์
เด็กๆ เป็นวัยที่ใส่ใจกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์อยู่แล้ว
ในใจของเด็กนั้น
ไม่ได้มีกรอบของความสวยงามแต่แรก
ไม่มีเส้นที่ระบายออกนอกไม่ได้
ไม่มีรูปทรงที่ไม่ได้ขนาด
แต่เมื่อเด็กถูกวิจารณ์บ่อยๆเข้า
เค้าถึงจะสร้างกรอบของ
ดี/ไม่ดี สวย/ไม่สวย เรียบร้อย/ไม่เรียบร้อย ขึ้นมาทีหลัง
ขอให้พ่อแม่เข้าใจว่า กว่าเด็กจะทำอะไรสำเร็จหนึ่งอย่าง
มันประกอบด้วย หลายกระบวนการ
ปั้นแป้งโดว์ -\-\>เลือกสี-\-\>นวดแป้ง-\-\>คิดและจินตนาการถึงสิ่งที่จะปั้น -\-\>ปั้นเป็นรูปทรงต่างๆ เอารูปทรงต่างๆมาประกอบเข้าด้วยกัน
กว่าจะได้เอามาโชว์แม่
ก็ผ่านความพยายาม และตั้งใจทุกกระบวนการ
ดังนั้น หากมันยังไม่สวย(ตามมาตรฐานผู้ใหญ่) ก็ให้ชมข้อดี ในกระบวนการที่เราเห็นก็แล้วกัน
“แม่ว่าลูกเอาแป้งสีขาวกับแดงผสมเป็นสีชมพูได้สวยจัง”
“ตรงนี้ปั้นเป็นหน้าพิซซ่า ปั้นเป็นพริกชิ้นเล็กๆ โห มันละเอียดมากเลย”
ถ้าลูกสอบได้คะแนนดีมาก หรือ ได้รับรางวัล
คำว่า “เก่งจังเลย” ย่อมเป็นคำที่เด็กอยากได้ยิน
แต่สิ่งที่สำคัญที่เราต้องส่งสัญญาณให้ลูกคือ
#เราชื่นชมความสำเร็จที่มาจากความพยายามความตั้งใจของลูก (ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร)
“แม่ดีใจมากเลยลูก แม่รู้เลยว่าลูกตั้งใจทำมันมากจริงๆ
แล้วก็ได้ผลสมกับความทุ่มเทที่ทำไป”
หรือ แม้แต่ตอนที่เค้าล้มเหลว
ถ้าเราเป็นพ่อแม่ที่อยู่เคียงข้างเค้า
และเป็นคนที่รู้ความเป็นไปของลูกเสมอ
เราก็สามารถชี้ให้เห็นว่า เรารับรู้ความพยายามตรงขั้นตอนไหน หรือขั้นตอนไหนที่ต้องเพิ่มเติม
=============================
4.ชมให้สุด...อย่าทำตัวเป็นใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง
ประโยคที่ใช้เมื่อชมลูก ต้องมีแต่คำดีๆ
คำชมที่ฟังแล้ว ไม่รู้สึกดีเช่น
“ว้าว...วันนี้ตื่นอาบน้ำแปรงฟันได้เอง แม่ฝันไปรึเปล่าเนี่ย”
“วันนี้ตั้งใจทำการบ้านเสร็จเร็วมาก ถ้าทำแบบนี้ได้ทุกวันแม่ก็ไม่ต้องเหนื่อย”
“เก่งจัง ครั้งนี้สอบได้คะแนนเต็มเลย หรือว่าได้เต็มกันทุกคน”
ดีให้สุด อย่าสอดไส้ ด้วยคำประชดประชัน
ทำให้เด็กสับสนว่าตกลงที่ทำไป แม่ว่าดีหรือไม่ดีกันแน่
================================
5.การชื่นชมไม่จำเป็นต้องพูดเสมอไป
หากเราไม่ชิน เรื่องการพูดบรรยายความพยายาม
เพราะทั้งชีวิตเราก็ใช้คำว่า ดี เก่ง ฉลาด มาตลอด
ถ้าคิดไม่ทัน คำแนะนำคือ
ภาษากาย ก็เป็นส่วนสำคัญ
แววตา สีหน้า รอยยิ้ม แห่งความภาคภูมิใจของพ่อแม่
ก็ทำให้ลูกรับรู้ได้แล้วค่ะ
.
เมื่อคิดคำพูดดีๆได้ ค่อยพูด
================================
หมอแพม
สุขสันต์วันแห่งความรักค่ะ
(เขียนยาว สรุปให้ตัวเองอ่านด้วยค่ะ)
มุมมอง ทัศนคติ คือ 在 เปลี่ยนมุมมองเปลี่ยนชีวิต | "ทัศนคติเชิงบวก เปลี่ยนเรื่องร้าย ให้กลาย ... 的推薦與評價
02:33. ใคร คือ คนสำคัญที่สุด (ว.วชิรเมธี)... Sep 9, 2023 · 28K views. 03:28. 3 ลักษณะของคนมีวุฒิภาวะในชีวิต ... Sep 7, 2023 · 22K views. 03:37. เรา ... ... <看更多>
มุมมอง ทัศนคติ คือ 在 ปรับทัศนคติมุมบวก แก้ปัญหาองค์กรในแบบชามตราไก่ - Facebook 的推薦與評價
อีกหนึ่ง มุมมอง ของ "คุณพนาสิน ธนบดีสกุล” ทายาทรุ่นที่สองของ "ชามตรา ... รงนี้อย่างไร และนี่ คือ คำสอนหนึ่งที่อาปาอี๊สอนไว้ไปฟัง !! ... <看更多>
มุมมอง ทัศนคติ คือ 在 ทัศนคติ (Attitude) คืออะไร สำคัญอย่างไร - YouTube 的推薦與評價
คลิปนี้อธิบายความหมายและความสำคัญของ ทัศนคติ ที่มีผลต่อการทำงานว่าจะสามารถทำงานได้บรรลุผลตามเป้าหมายหรือไม่ วิธีการสร้าง ทัศนคติ ทำได้อย่างไร. ... <看更多>