ไต้หวัน ประเทศที่น่าจับตา และมีความสำคัญมากกับทั้งโลก /โดย ลงทุนแมน
นิตยสาร The Economist ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม 2021
พาดหัวข่าวว่า “The Most Dangerous Place on Earth”
หรือ “สถานที่อันตรายที่สุดในโลก” พร้อมรูปประกอบเป็นแผนที่ไต้หวันในจอเรดาร์
เนื้อหาส่วนหนึ่งในนิตยสาร ยังพูดถึงสถานการณ์ความตึงเครียดในทะเลจีนใต้
ระหว่างไต้หวันและจีน ที่อาจก่อให้เกิดสงครามได้ทุกเมื่อ
รายละเอียดของเรื่องนี้เป็นอย่างไร
ทำไมที่ที่อันตรายที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอย่างไต้หวัน ถึงมีความสำคัญมากกับทั้งโลก ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ไต้หวัน หรือชื่อทางการคือ “สาธารณรัฐจีน”
ขึ้นชื่อว่ามีความขัดแย้งกันทางอุดมการณ์ทางการเมือง
กับจีนแผ่นดินใหญ่มาเป็นเวลานาน
เดือนมีนาคมที่ผ่านมา พลเรือเอก Philip S. Davidson
อดีตผู้บัญชาการกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ที่เพิ่งปลดประจำการจากการปฏิบัติหน้าที่ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เมื่อเดือนเมษายน 2021 ที่ผ่านมา
กล่าวต่อรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา ว่าทางการจีนกำลังเพิ่มอิทธิพลในทะเลจีนใต้ และมีความเป็นไปได้ว่าภายในปี 2027 จีนจะบุกเข้ายึดเกาะไต้หวัน ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในพื้นที่แห่งนี้
ซึ่งถ้าหากว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง ก็มีการคาดการณ์กันว่า จะเกิดผลกระทบไปทั่วโลกโดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ
เนื่องจากไต้หวัน เป็นที่ตั้งของบริษัท TSMC ที่มีเทคโนโลยีในการผลิตชิปที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน
และถือเป็นฐานการผลิตหัวใจของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อย่างชิปเซต รายสำคัญของโลก
ซึ่งแน่นอนว่าท่าทีของสหรัฐอเมริกา ที่เป็นคู่ฟัดคู่เหวี่ยงของจีน
จะต้องป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
และในขณะที่อุณหภูมิทางการเมืองโลกกำลังร้อนระอุขึ้น
บทบาทของไต้หวันในเวทีการค้าโลก ก็เพิ่มความสำคัญมากขึ้นทุกทีด้วยเช่นกัน
สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่ร้อนระอุ
ทำให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาออกนโยบาย
ให้บริษัทสัญชาติอเมริกัน ตัดความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีน
ทำให้บริษัทไต้หวันที่รับผลิตและประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์เทคโนโลยีให้แบรนด์สินค้าอเมริกัน อย่าง Foxconn, Pegatron และ Wistron ต้องเลือกตัดความสัมพันธ์กับบริษัทจีน และบางส่วนทยอยย้ายฐานการผลิตออกจากจีนไปประเทศอื่น หรือกลับมาลงทุนในไต้หวัน
ในช่วงเวลาเดียวกันบริษัทเทคโนโลยีอเมริกันหลายแห่ง
ก็เริ่มมาลงทุนในเกาะไต้หวัน ยกตัวอย่างเช่น
- AWS (Amazon Web Services)
ได้มาจัดตั้งสถานที่วิจัยทดลอง Internet of Things
หรือ AWS IoT Lab แห่งแรกในเอเชียที่ไต้หวัน
- Google
ลงทุนกว่า 260,000 ล้านบาท ในการตั้งศูนย์วิจัยพัฒนางานด้านต่าง ๆ รวมถึงก่อสร้าง Data Center แห่งที่ 5 ในเอเชีย และเป็นแห่งที่ 3 ในไต้หวัน
- Microsoft
ได้ลงทุนในไต้หวันมากที่สุดในรอบ 31 ปี ด้วยมูลค่าเงินลงทุนกว่า 369,000 ล้านบาท
จัดตั้ง Microsoft Azure Data Center ธุรกิจให้บริการเก็บข้อมูล ที่ทาง Microsoft คาดว่าจะเป็นธุรกิจที่เติบโตได้อีกมากในอนาคต
ปัจจัยอีกหนึ่งข้อ ที่ทำให้ไต้หวัน สำคัญกับเศรษฐกิจโลกมากในเวลานี้
ก็เพราะเกาะแห่งนี้ โดดเด่นเรื่องเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวัน มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 65%
ซึ่งนอกจาก บริษัท TSMC ที่เราจะคุ้นหูกันแล้ว
ก็ยังมีบริษัทผลิตชิปอีกหลายบริษัทที่มีความสำคัญ และมีศักยภาพในการผลิตระดับแนวหน้าของโลก
เช่น United Microelectronics Corporation (UMC) และ Powerchip Technology Corporation (PSMC)
จุดเด่นอีกข้อของเกาะไต้หวัน คือมีขนาดพื้นที่เพียงแค่ประมาณ 36,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเพียงแค่ไม่ถึง 1 ใน 10 ของพื้นที่ประเทศไทย
ซึ่งด้วยพื้นที่ที่เล็ก ทำให้บริษัทในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอุตสาหกรรมอื่น ๆ มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันค่อนข้างมาก
ไต้หวันยังเป็นไม่กี่ประเทศ ที่เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้ในปีที่ผ่านมา ที่มีวิกฤติโรคระบาด
โดย GDP ของไต้หวันในปี 2020 เติบโต 2.98%
ซึ่งอัตราการเติบโตนี้ สูงกว่าประเทศจีนที่ GDP โต 2.27% เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี
โดยปัจจัยที่ทำให้ GDP ของไต้หวันยังคงเติบโตได้ในปีที่ผ่านมา สวนทางกับหลายประเทศทั่วโลก
ก็เกิดมาจากหลายปัจจัย ยกตัวอย่างเช่น
1. ความต้องการชิป ชิ้นส่วน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มากขึ้นตามกระแส Work From Home และการเริ่มใช้งานระบบ 5G
ซึ่งไต้หวันที่เป็นที่ตั้งของบริษัทผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ก็แน่นอนว่าได้ประโยชน์จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้
2. การขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ที่ทำให้มีความต้องการชิ้นส่วนประกอบจากบริษัทในไต้หวันมากขึ้น
อย่างเช่น Tesla หนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ที่ใช้บริการบริษัทผลิตชิ้นส่วนจากบริษัทของไต้หวันหลายสิบแห่ง เช่น
- Quanta Computer ผู้ผลิตอุปกรณ์ชาร์จไฟที่ใช้ในแท่นชาร์จไฟฟ้ารถ Tesla
- Innolux Corporation ผู้ผลิตจอแสดงผลที่ใช้ภายในตัวรถ
- Pegatron ผู้ผลิตอุปกรณ์ควบคุมการทำงานทุกอย่างของรถ
- Delta Electronics บริษัทแม่ของเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ที่รับผลิตระบบควบคุมไฟฟ้าให้รถยนต์หลายแบรนด์
3. ความต้องการในชิ้นส่วนข้อ 1 และข้อ 2 ส่งผลให้ธุรกิจขนส่งทางทะเลและทางอากาศ พลอยได้รับ
อานิสงส์ไปด้วย
แม้ว่าตั้งแต่กลางปี 2020 จะมีเครื่องบินจากกองทัพจีน
บินเข้าเขตน่านฟ้าไต้หวันอยู่เป็นประจำ
และทำให้เกิดความกังวลว่าจะเกิดภาวะสงครามกันอยู่เป็นระยะ
แต่ในเวลานี้ ไต้หวันเป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ให้กับชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ทำให้คาดการณ์ได้ว่าทั้ง 2 ประเทศคงไม่ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงกับเกาะไต้หวัน
สรุปแล้วถ้าดูจากปัจจัยด้านภูมิศาสตร์และการเมือง
ไต้หวัน ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ ที่อันตรายสุดในโลก
แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศนี้ก็ถือเป็นหนึ่งสถานที่ ที่มีความสำคัญกับทั่วโลกมากด้วยเช่นกัน
โดยเฉพาะความสำคัญกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
ที่ไต้หวันมีส่วนแบ่งตลาดกว่า 65% ของตลาดโลก
ซึ่งหากจีนแลกหมัดทำสงครามกับไต้หวันและพันธมิตรจริง ๆ
ก็แทบไม่ต้องคิดเลยว่า ผลกระทบต่อทั่วโลก จะหนักหนาสาหัสขนาดไหน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://udn.com/news/story/122145/5427194
-https://www.techbang.com/posts/85731-us-japan-semiconductor-alliance-us-japan-semiconductor
-https://ec.ltn.com.tw/article/paper/1414454
-https://www.digitimes.com.tw/iot/article.asp?cat=130&cat1=40&id=0000555123_1ae2ekyv1tz1xu4lbxoy2
-https://technews.tw/2021/01/15/microsofts-largest-investment-in-taiwan-in-31-years/
-https://www.chinatimes.com/newspapers/20210416000185-260202
-https://money.udn.com/money/story/5599/5377117
-https://www.chinatimes.com/newspapers/20210130000104-260202?chdtv
-https://www.chinatimes.com/newspapers/20180119000241-260202?chdtv
-https://www.cw.com.tw/article/5101653?template=transformers
-https://finance.technews.tw/2021/03/13/the-secret-of-deltas-stock-price-surge/
-https://www.storm.mg/article/3412487?mode=whole
-https://www.bnext.com.tw/article/60272/taiwan-aviation-industry-finacial-lost-q3
-https://ctee.com.tw/news/stock/453874.html
-https://www.bbc.com/zhongwen/trad/chinese-news-56814382
-https://heho.com.tw/archives/172810
taiwan semiconductor stock 在 綠角財經筆記 Facebook 的最讚貼文
Vanguard富時全球股市美國除外ETF,英文全名 Vanguard FTSE All-World ex-US ETF ,美股代號VEU,2007年三月2日成立。
VEU追蹤FTSE All-World ex-US Index。該指數包含全球50個國家,共3428支股票。投資範圍是美國以外的已開發與新興市場。
VEU投資組合中,北美:歐洲:亞太:新興市場的比率約為6:40:28:26。
VEU需要跟VXUS進行比較。因為兩者都是投資美國以外的全球已開發市場與新興市場,投資全球四大地區的比重也相當近似。
VEU和VXUS主要差別,在於對中小型類股的涵蓋程度。
VEU追蹤的指數有3428支成份股。VXUS追蹤的指數則有7554支成份股。VXUS較多的成分股數目,使其對中小型類股有較完整的覆蓋。
持股的市值中位數(Median Market Cap),VXUS是330億美金,VEU是410億美金。VXUS持有的中小型股較多,所以市值中位數較小。
VEU跟VXUS一樣,可以與專門投資美國股市的Vanguard Total Stock Market ETF(美股代號:VTI)搭配,形成全球股市投資組合。
VEU內扣總開銷是0.08%,與2020相同。
VEU的前十大持股如下:
Taiwan Semiconductor Manufacturing (台積電)
Tencent Holdings
Alibaba Group Holdings
Samsung Electronics
Nestle
ASML
Roche
LVMH
Toyota
Novartis
跟2020同期相比,Royal Dutch Shell與Unilever退出前十名,ASML和LVMH進入前十大。前十大持股一年來的變化,跟VXUS相同。
完整討論,可見今天文章:
https://greenhornfinancefootnote.blogspot.com/2021/06/vanguard-ftse-all-world-ex-us-etfveu2021.html
taiwan semiconductor stock 在 綠角財經筆記 Facebook 的最佳貼文
Vanguard整體國際股市ETF,英文全名 Vanguard Total International Stock ETF ,美股代號VXUS,成立於2011年一月26日。
VXUS追蹤FTSE Global All Cap ex-US Index。指數名稱中的All Cap,代表指數同時囊括市場上的大、中、小型股。
Vanguard Total International Stock ETF投資範圍就是美國以外的整體國際股市,同時包括已開發與新興市場。
VXUS投資全球45個國家,持有共7554支證券。
前十大國家多為已開發市場。台灣是投資組合中第九大市場。也就是說,投資VXUS的話,約有5%,二十分之一的資金,是投入台灣股市。
VXUS的前十大持股分別則是:
Taiwan Semiconductor Manufacturing (台積電)
Tencent Holdings
Alibaba Group Holdings
Samsung Electronics
Nestle
ASML
Roche
LVMH
Toyota
Novartis
跟2020同期相比,Royal Dutch Shell與Unilever退出前十名,ASML和LVMH進入前十大。
ASML是晶片微影技術與設備業者,是台積電重要的設備供應商。LVMH則是精品集團品牌。
去年排名第五大的台積電,今年躍升為VXUS第一大持股。前十大持股占投資組合10.2%。
VXUS這支國際股市ETF,主要用途在於跟美國股市ETF搭配,形成全球股市投資組合。
VXUS成立以來歷年指數追蹤成果與完整討論,可見今天文章:
https://greenhornfinancefootnote.blogspot.com/2021/05/vanguard-total-international-stock.html
taiwan semiconductor stock 在 Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSM) 的推薦與評價
... <看更多>