เขาว่ากันว่า “คนที่โชคดีที่สุด” ไม่ต้องดิ้นรนหาหรือสร้างใหม่ด้วยตัวเอง คือคนที่ครอบครัวปูทางสร้างธุรกิจไว้ให้สืบทอดต่อในอนาคต หรือที่เรียกว่า “ธุรกิจกงสี” แต่รู้หรือไม่ว่าเรื่องจริง ไม่ได้ราบรื่นสวยงามอย่างที่หลายคนคิด เพราะการสร้างขึ้นว่ายากแล้ว แต่การรักษาให้คงอยู่ต่อไปนั้นยากกว่ามาก ทำให้ทายาทหลายๆ คน มักรู้สึกกดดัน และกลัวว่าจะทำได้ไม่ดีเหมือนดั่งที่รุ่นปู่ รุ่นพ่อสร้างไว้
.
ประกอบกับมีคำที่เราเคยได้ยินกันบ่อยว่า ธุรกิจกงสี คือธุรกิจที่ถูกสร้างและเริ่มประสบความสำเร็จในรุ่นแรก มั่นคงในรุ่นที่สอง และมักล้มเหลวในรุ่นที่สาม ซึ่งสอดคล้องกับสถิติ ของเครดิตสวิส ที่ว่า ผลประกอบการธุรกิจครอบครัวในรุ่นแรกและรุ่นที่สอง จะสามารถสร้างมูลค่ากิจการให้เติบโตประมาณปีละ 9% แต่เมื่อธุรกิจตกไปอยู่ในมือของทายาทรุ่นที่สาม ตัวเลขจะลดลงมาอยู่ที่ปีละ 6.5% จึงนับว่าเป็นโจทย์ยากสำหรับทายาทรุ่นที่สาม ที่ต้องรับไม้ต่อดูแลธุรกิจให้อยู่รอด เติบโต ไม่ล้มเหลว และสามารถส่งไม้ต่อให้กับทายาทในรุ่นต่อๆ ไปได้
.
❗️ หากถามว่า ธุรกิจกงสีส่วนใหญ่ ทำไมถึงก้าวต่อไปได้ไม่เกินรุ่นที่สาม ?
.
1. ขาดการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างสมาชิกในครอบครัว
2. ขาดการวางแผนการสืบทอดกิจการ และการเลือกสมาชิกในครอบครัวขึ้นมาเป็นทายาทผู้สืบทอดคนต่อไป ทำให้เกิดการแก่งแย่งช่วงชิงผลประโยชน์
3. ขาดการวางแผนกลยุทธ์ทั้งในด้านการบริหารธุรกิจและบริหารการเงิน
4. ขาดเอกสารทางกฎหมายที่สำคัญและอาจมีผลกระทบต่อธุรกิจในช่วงรอยต่อของการสืบทอดกิจการ เช่น พินัยกรรม ธรรมนูญครอบครัว สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น เป็นต้น
5. ไม่มีมืออาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งและการเติบโตให้ธุรกิจในทุกๆ ยุคสมัย
6. รุ่นที่สามเป็นรุ่นที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ทั้งจากกระแส Digital Disruption และระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีผลกระทบต่อธุรกิจที่ยังคงมีโครงสร้างการบริหารแบบเดิมๆ ที่ยังไม่เอื้อต่อการธุรกิจให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
.
✅ แล้วรุ่นที่สาม รวมถึงรุ่นหลังๆ จะต้องปรับตัวเพื่อเตรียมรับไม้ต่ออย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอดและไม่ล้มในรุ่นตัวเอง
.
1.ไม่ทิ้งสิ่งเก่าที่ปู่สร้าง แต่นำมาพัฒนาต่อยอดสู่ “สิ่งใหม่” ที่ตอบโจทย์มากกว่าเดิม
แม้ธุรกิจที่มีอยู่นั้นจะดีอยู่แล้ว แต่เพราะการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ตลอดเวลา การจะขายแต่สิ่งเก่าๆ เดิมๆ อาจไม่ตอบโจทย์สำหรับตลาดและผู้บริโภคทุกคนเสมอไป ดังนั้น จึงต้องมีการปรับตัวเพื่อก้าวสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิม เช่น นำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ในธุรกิจเพิ่มขึ้น, ปรับเปลี่ยนแพ็กเกจจิงของสินค้าให้ทันสมัย, พัฒนาสินค้าเดิมให้มีความหลากหลาย รวมถึงดึงคนรุ่นใหม่ไฟแรง ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมงานด้วย แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรทิ้งสิ่งเดิมที่ดีอยู่แล้ว ทั้งสินค้า บริการ หรือกระทั่งพนักงานคนเก่าแก่ของบริษัทเพื่อรักษาสมดุลการทำงานและความสัมพันธ์ของคนในบริษัท
.
2.สร้างธรรมนูญครอบครัวที่ดี แลกเปลี่ยนสื่อสารข้อมูลระหว่างคนในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ
ขึ้นชื่อว่า ”ธุรกิจกงสี หรือ ธุรกิจครอบครัว” สิ่งสำคัญ ไม่ควรลืมคือ ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้บริหาร ประธานบริษัท แต่ก็ไม่ควรนำตำแหน่งหน้าที่ อำนาจ มาใช้ในครอบครัวจนเกินไป แต่ควรสร้างธรรมนูญครอบครัวที่ดี วางรากฐานให้กับระบบธุรกิจและความสัมพันธ์ในครอบครัว ตำแหน่งหน้าที่ ข้อตกลง รวมถึงควรสื่อสารกับคนในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีความคิดเห็นที่เป็นในทิศทางเดียวกัน และไม่เกิดความขัดแย้งในภายหลัง
.
3.เรียนรู้จากความสำเร็จและความล้มเหลวของคนเก่งมากประสบการณ์ มากความสามารถ เช่น คุณปู่ ผู้สร้างธุรกิจจนเติบโต
จะลองผิดลองถูกด้วยตัวเองอย่างเดียวไปทำไม เพราะสิ่งที่ดีที่สุด ที่จะทำให้เราสามารถพัฒนาตัวเองและเข้าใจในเนื้องานมากขึ้น คือ การเรียนรู้จากคนที่มีประสบการณ์ตรงในด้านนั้นๆ รู้และเข้าใจมันเป็นอย่างดี พาตัวเองให้ไปอยู่ในที่ ๆ มีคนเก่ง ร่วมพูดคุย แชร์ไอเดียกับกูรู โดยต้องไม่มองแค่ความสำเร็จของเขาเท่านั้น แต่ต้องมองในมุมที่เขาเคยประสบปัญหา เคยล้มเหลว ว่าสาเหตุคืออะไร แล้วทำอย่างไรถึงสามารถแก้ปัญหาและก้าวเดินต่อมาได้
.
4.แยกเงินองค์กรออกจากเงินครอบครัว แบ่งสันปันส่วนความเป็นเจ้าของอย่างชัดเจนตามความเหมาะสม
หลายครั้งที่เราเห็นว่า ธุรกิจครอบครัว มักมีเรื่องของการแก่งแย่งชิงผลประโยชน์กัน นั่นเป็นเพราะ ยังไม่มีความชัดเจนในส่วนของความเป็นเจ้าของในด้านต่างๆ ของธุรกิจ โดยเฉพาะเรื่องการเงิน ดังนั้น ควรแยกกระเป๋าเงินของธุรกิจออกจากกระเป๋าเงินของครอบครัว แยกบัญชีของบริษัท ที่ประกอบด้วยรายได้ ค่าใช้จ่าย หักลบกลบหนี้เหลือเท่าไหร่ ก็แบ่งสันปันส่วนให้แต่ละคนเป็นการส่วนตัว หรืออาจเป็นการให้ในรูปแบบของเงินเดือน ซึ่งก็มีทั้งในรูปแบบของคนที่ทำงานกับคนที่ถือหุ้น ครอบครัวจึงต้องมีการปรึกษาหารือเพื่อหาตรงกลางร่วมกันก่อน
.
5.วางแผนผังองค์กรให้ชัดเจน
ไม่ว่าธุรกิจครอบครัวจะขนาดใหญ่หรือเล็ก ควรวางแผนผังองค์กรให้ชัดเจน สมเหตุสมผล ว่าใครดำรงตำแหน่งอะไร ใครเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา มีหน้าที่ทำอะไร กำหนดกฎเกณฑ์ ข้อควรปฏิบัติ จะช่วยกำจัดความขัดแย้งไม่ให้เกิดขึ้นในองค์กรทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้เป็นอย่างดี ซึ่งถ้ามีการปรับเปลี่ยนทายาท ผู้สืบทอด ไม่ว่ารุ่นไหน จากรุ่นสองสู่รุ่นสาม หรือรุ่นสามส่งต่อไปรุ่นสี่ ก็ควรพูดคุยร่วมกันทุกครั้ง
.
อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทย นับว่าเป็นประเทศที่มีการดำเนินธุรกิจครอบครัว ติดอันดับ 8 ของโลกและอันดับ 7 ของเอเชียแปซิฟิค ด้วยมูลค่ารวมถึง 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.56 แสนล้านบาท รวมถึงตลาดผู้บริโภคที่มีศักยภาพด้วยจำนวนประชากรกว่า 65 ล้านคน ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งของอาเซียน มีโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ก็นับว่าธุรกิจกงสีในรุ่นที่สามยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก
.
แต่ก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทาย เพราะสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการทำธุรกิจในรูปแบบกงสี คือ ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจ โดยเฉพาะนายใหญ่รุ่นหนึ่งผู้สร้างธุรกิจและสมาชิกในครอบครัว เพราะหากคนในครอบครัวเกิดความขัดแย้ง มีความเข้าใจไม่ตรงกัน ไม่สามัคคี ก็อาจส่งกระทบต่อความสั่นคลอนของทั้งธุรกิจและความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ จะทำเห็นว่าการเป็นทายาทธุรกิจแม้จะมาพร้อมกับความภาคภูมิใจ แต่ก็มาพร้อมกับภาระหน้าที่ และแรงกดดันที่แทบรับไม่ไหว
.
ดังนั้น หากรู้ตัวว่า ครอบครัวหรือตระกูลของคุณ มีธุรกิจแบบกงสี และอีกไม่นานคุณจะต้องรับไม้ต่อดูแลกิจการเป็นรุ่นที่สาม ควรเตรียมความพร้อม รีบวางแผนจัดการ ทำความรู้จักธุรกิจตัวเองให้ดี รวมถึงเรียนรู้งานจากรุ่นแรกและรุ่นที่สองให้มากๆ รับรองว่าธุรกิจของคุณจะประสบความสำเร็จ มั่นคง และเติบโต อย่าว่าแต่รุ่นที่สามเลย อาจจะดำเนินไปได้ไกลถึงรุ่นที่ 4, 5, 6,...
.
ที่มา : https://forbesthailand.com/commentaries/insights/%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B0.html
https://techsauce.co/tech-and-biz/how-to-manage-family-business
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS #อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan #ธุรกิจกงสี #กงสี #ธุรกิจครอบครัว #familybusiness #ทายาทรุ่นที่สาม #ทายาท #กิจการครอบครัว #Business
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「familybusiness」的推薦目錄:
- 關於familybusiness 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最讚貼文
- 關於familybusiness 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的精選貼文
- 關於familybusiness 在 指路明燈安迪哥 Facebook 的最讚貼文
- 關於familybusiness 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
- 關於familybusiness 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
- 關於familybusiness 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於familybusiness 在 Family Business - YouTube 的評價
- 關於familybusiness 在 Family Business Beer Company - 首頁| Facebook 的評價
familybusiness 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的精選貼文
กิจการของครอบครัว ควรทำต่อหรือพอแค่นี้
.
การรับช่วงต่อธุรกิจของครอบครัว เป็นเรื่องสำคัญ ในขณะนี้ปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นกับธุรกิจครอบครัวทั่วโลก คือ ทายาทธุรกิจไม่ต้องการสืบทอด ทำให้ธุรกิจของครอบครัวขาดความยั่งยืน และยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอีกด้วย
.
ในประเทศญี่ปุ่น ถือว่าเป็นปัญหามาก ๆ เพราะมีบริษัทมากกว่า 800,000 บริษัท ที่อาจจะตัองปิดตัวในอีก 20 ปี จากการไม่มีผู้สืบทอดกิจการ
.
ปัญหาหลักของการไม่มีผู้สืบทอดธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น คือ มุมมองที่แตกต่างกันระหว่างคนในครอบครัว ซึ่งอาจทำให้เกิดความขัดแย้ง กับญาติพี่น้อง เมื่อต้องทำงานร่วมกัน ดังนั้นทายาทรุ่นใหม่จึงเลือกที่จะสร้างธุรกิจเป็นของตัวเอง ทำสิ่งที่ตัวเองถนัด ใช้ความสามารถและมีสิทธิ์ในการตัดสินใจได้อย่าง 100 %
.
อย่างไรก็ตาม การพูดคุยเพื่อปรับทัศนคติ และทำความเข้าใจในมุมมองกันทั้ง 2 รุ่น น่าจะเป็นเรื่องดีที่สุด สามารถได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย ธุรกิจของครอบครัวเติบโตยั่งยืน โดยที่ทายาทธุรกิจสบายใจและใช้ความสามารถได้มากที่สุด
.
เรื่องสำคัญที่ควรทำความเข้าใจในการสืบทอดธุรกิจของครอบครัว
1. การสืบทอดธุรกิจ เป็น หน้าที่ สิทธิ์ หรือเพราะความจำเป็น
หน้าที่ เป็นสิ่งที่ต้องทำ ในขณะที่ สิทธิ์ เป็นสิ่งที่จะทำหรือไม่ทำก็ได้ ส่วนความจำเป็น เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาจากสถานการณ์ หรือเหตุผล
ยกตัวอย่าง " หน้าที่"
คุณจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี หนึ่งในทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูล เคยกล่าวไว้ว่า "ในการทำธุรกิจครอบครัว ผมคิดว่าบริษัทนี้เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษสร้างมา ผมคงจะปล่อยให้ล้มลงในช่วงที่ผมยังอยู่ไม่ได้ ครอบครัวเรามีสัญญาใจที่จะต้องทำให้ธุรกิจอยู่รอด ซึ่งทุกคนยินยอมเสียสละทุกอย่าง เพราะอยากเห็นความอยู่รอดของบริษัท "
ยกตัวอย่าง "สิทธิ์"
คุณบัณฑูร ล่ำซำ ทายาทรุ่นที่ 5 ของตระกูล เคยกล่าวว่า "สำหรับผม ความกดดันที่อยากจะทำให้ดียังมีอยู่ และผมไม่อยากให้มันพังไปในตอนที่ผมยังอยู่ แต่ผมจะไม่ทำอย่างนั้นกับลูกของผม จะไม่กดดันเขาว่าต้องไปเรียนเอ็มบีเอ ผมอยากให้เขาเรียนอะไนก็ได้ที่ทำให้ชีวิตมีมุมมองที่มีความหมาย มีมุมมองที่กว้าง สามารถไปประกอบสัมมาอาชีพได้"
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า การสืบทอดธุรกิจของครอบครัวเป็นสิทธิ์ของลูกหลาน สามารถเลือกได้ตามความสมัครใจ
ยกตัวอย่าง "ความจำเป็น"
คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูล ให้ทรรศนะไว้ว่า “ถ้าธุรกิจครอบครัวนั้นดีอยู่แล้วจะไม่ให้ทายาทเข้ามาทำ เพราะถึงทายาทมีฝีมือ ฝีมือก็จะไม่ปรากฏ และถ้าทายาทไม่มีฝีมือ จากที่ธุรกิจดีก็อาจจะกลายเป็นแย่ลงไป และอาจมีผลต่อความมุ่งมั่นของผู้บริหารของบริษัท
คุณธนินทร์ จะให้ลูกหลานออกไปพิสูจน์ตัวเองกับการบุกเบิกธุรกิจใหม่ ๆ สะท้อนมุมมอง ถ้าธุรกิจดีไม่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ถ้าธุรกิจครอบครัวมีปัญหา ถือว่าเป็นหน้าที่ ของทายาทที่ต้องเข้ามาช่วยเหลือธุรกิจของครอบครัว ถือว่าขึ้นอยู่กับความจำเป็นของธุรกิจ
จากทั้ง 3 แนวคิดนี้ ไม่ได้มีความคิดของใครถูกต้องที่สุด และทำให้เห็นว่าการสืบทอดธุรกิจของครอบครัว ไม่ได้มีเพียงคำตอบเดียว
.
2. แบบไหนที่เรียกว่า สืบทอดธุรกิจของครอบครัว
ทางเลือกในการสืบทอดธุรกิจของครอบครัว ไม่ได้มีแค่ ทำ หรือ จะไม่ทำ การมีทางเลือกอื่น ให้ทายาทเข้ามามีส่วนร่วมกับธุรกิจ อาจเป็นคำตอบ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 บทบาทด้วยกัน
2.1 การบริหารธุรกิจครอบครัวที่มีอยู่ (Manage)
2.2 สร้างธุรกิจใหม่ให้กับครอบครัว (Found)
2.3 กำกับดูแล บริหารงานธุรกิจครอบครัวทั้งของเดิมและของใหม่ในการเป็นกรรมการบริษัท (Control)
2.4 การสนับสนุน ช่วยเหลือธุรกิจครอบครัวตามความสามารถ โดยไม่จำกัดว่าทายาทตะต้องถือหุ้นของธุรกิจครอบครัวอยู่ด้วยหรือไม่ (Support)
การสืบทอดธุรกิจของครอบครัว ทายาทไม่จำเป็นจะต้องเข้ามาเป็นผู้บริหารธุรกิจอย่างเต็มตัว หรือเป็นเจ้าของธุรกิจเสมอไป แต่ควรมีทางเลือกที่ให้ตัวเองเข้ามาบริหารธุรกิจเดิม (Manage) หรือบุกเบิกธุรกิจใหม่ (Found) ได้ และแม้ว่าทายาทไม่เลือกวิธีการนี้ ก็ยังสามารถช่วยสนับสนุน (Support)ธุรกิจของครอบครัวในด้านอื่น ๆ ได้ แต่ในกรณีที่ทายาทไม่สนับสนุนด้านใด ๆ ได้เลย เช่น อยู่ต่างประเทศ ทายาทก็ยังสามารถถือหุ้นที่ทำหน้าที่กำกับดูแล (Control) ได้
.
ทั้งนี้เป็นการให้ทายาทรุ่นใหม่เข้ามาช่วยธุรกิจเดิม และมีอิสระในการทำงาน ใช้ความสามารถช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่ โดยที่ไม่ฝืนใจมากเกินไป สามารถเลือกที่จะเข้ามาช่วยเหลือได้หลายบทบาท เพื่อทำให้ธุรกิจครอบครัวเติบโตและยั่งยืนได้มากกว่าเดิม
ที่มา : moneyandbanking.co.th/article/theguru-familybusinesssociety-mb442
.
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#FamilyBusiness #Business
familybusiness 在 指路明燈安迪哥 Facebook 的最讚貼文
【Attic Trade co.】
位在信義區的十七世紀殖民貿易風格酒吧
.
不知香積寺 ,數里入雲峰,
古木無人徑 ,深山何處鐘?
----唐代,王維《過香積寺》詩
.
近年來speakeasy興盛,
極具巧思的入門機關
常常讓人在看不到人徑的門前,
卻聽到裡面喝酒的歡笑聲
這種想進入,又進不去的痛苦,真的會激起人們更想進入的慾望
(咦….好像修跨怪拐)
【Attic Trade co.】閣樓貿易公司 @attic.trade.co
隱身於在地小酒館「榕 RON Xinyi」之上
身為一枚命理風水攝影師,非常喜歡他們這一季的酒單發想
店家以『七原罪』以及『七美德』的內容為做為創意調酒的名稱。
.
《萬法皆空,因果不空》
種善因(美德)得善果,這是不變的定律。
說到這讓本哥想到一部1995年的經典老電影
由Brad Pitt(布萊萊德彼特)與Morgan Freeman(摩根·費里曼演的
《火線追緝令》(英語:Seven)
故事講述一位即將退休的警探和他的接仼者,一起調查由宗教儀式「七大罪」布局之連環謀殺案。沒看過的朋友,非常建議大家去看
仔細想想,喝酒拍照還能勸人向善,種善因得善果,改善社會風氣、風迷萬千少女之餘,順便還推薦了一部經典老片,大概也只有我能這樣置入命理哲學了吧
(驕傲撥頭髮)
進入方式我就賣個關子,
不要破壞大家的驚喜感
自己想辦法喔,乖~~~~
店內的復古風格是我喜歡的,除了創調酒單之外,典藏很多Rum,想喝經典調酒也OK,有興趣的朋友可以去體驗一下。
W/ @wichichi
@jjjasmine_shih
‧地址:台北市信義區基隆路二段 12 號 3 樓(「榕 RON Xinyi」樓上)
‧營業時間:星期二~星期日 19:00-02:00
‧預約電話:02 2720 1150
‧平日低消一杯飲品,假日 (五、六) 每位低消700元,週一公休。
#andyallaround #側拍 #photography #指路明燈安迪哥 #numerology #命理 #風水 #時尚
#attictradeco #閣樓貿易公司 #familybusiness #photography
#speakeasy #speakeasybar #prohibition #southamerica #bigbandjazz #outdoorbar #戶外酒吧 #cocktailart #liqpic #drinkoftheday #mixology #bookkeeper #GinFizz #Gordons #f4follow #l4likes @ Attic trade co.
familybusiness 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
familybusiness 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
familybusiness 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
familybusiness 在 Family Business Beer Company - 首頁| Facebook 的推薦與評價
FBBC is an award-winning brewery nestled in the Hill Country just outside of Austin TX. Located on... 19510 Hamilton Pool Road, US TX Dripping Springs ... ... <看更多>
familybusiness 在 Family Business - YouTube 的推薦與評價
Provided to YouTube by Universal Music GroupFamily Business · Kanye WestThe College Dropout℗ 2004 UMG Recordings, Inc.Released on: ... ... <看更多>