หลังจากสองคู่หูผู้ก่อตั้ง Google อย่าง Larry Page และ Sergey Brin ลาออกจากตำแหน่ง ก็ได้ส่งไม้ต่อให้แก่หนุ่มอินเดีย “Sundar Pichai” เป็น CEO ของ Google ซึ่งความน่าสนใจคือ ประวัติความเป็นมาของเขาที่ไม่ธรรมดา จากเคยยากจนมาก่อน แต่สามารถพิสูจน์ตัวเอง ไต่เต้าจนคว้าเก้าอี้ CEO ของบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งนี้มาได้ โดยใช้เวลาเพียงแค่ 11 ปีนับตั้งแต่ก้าวแรกที่เขามาทำงานที่นี่
.
เขากลายเป็นที่บุคคลที่ทั่วโลกจับตามอง เพราะกระบวนการคัดเลือกคนขึ้นมารับตำแหน่งต่อจากผู้ก่อตั้ง นับเป็นเรื่องที่สำคัญครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ กว่าจะผ่านแต่ละกระบวนการ แต่ละด่านมาได้ทั้งยากและเข้มงวดมาก แต่เขาสามารถทำได้ และกลายเป็นต้นแบบ แรงบันดาลใจของคนนับล้าน ในฐานะผู้นำที่มีความทะเยอทะยาน สามารถพาองค์กรเติบโตและแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการบริหารที่เรียบง่าย
.
แต่เมื่อพูดถึงความเป็นมาของเขาก่อนที่จะมาเป็นพนักงาน Google เขาเติบโตมาในอพาร์ทเมนท์เล็กๆ ในอินเดีย ฐานะครอบครัวไม่ได้ร่ำรวย แต่ก็ไม่ได้ทำให้เขารู้สึกขาดอะไร เขามักใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ ตั้งใจเรียน และที่สำคัญเขามีความหลงใหลเรื่องของเทคโนโลยี เมื่อมีเงินจึงมักซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ มาทดลอง
.
เมื่อเรียนจบปริญญาตรีที่ Indian Institute of Technology Kharagpur (IIT) แม้เขาจะขาดต้นทุนสำคัญอย่างเงิน ก็ไม่ได้เป็นปัญหาเมื่อเขาคิดอยากเรียนต่อ เขาเลือกที่จะสอบชิงทุนไปเรียนปริญญาโท สาขาวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา และต่อด้วยวุฒิ MBA จากโรงเรียนธุรกิจวอร์ตัน มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
.
เขาเคยบอกว่า ตอนเรียนที่ IIT แทบไม่เคยได้จับคอมพิวเตอร์เลย แต่การเรียนที่สแตนฟอร์ด ทำให้เขาสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์และโปรแกรมต่าง ๆ ได้ ด้วยความหลงใหล เขาหมกมุ่นอยู่แต่กับเรื่องนั้น แม้จะยังไม่เข้าใจอินเทอร์เน็ตดีเท่าไหร่ ระหว่างใช้ชีวิตที่สหรัฐอเมริกา เขาต้องเริ่มปรับตัวกับชีวิตราคาแพง แต่ยิ่งครอบครัวของเขาเข้าถึงเทคโนโลยีมากเท่าไหร่ ชีวิตก็ดีขึ้นมากเท่านั้น หลังเรียนจบเขาจึงอยากทำบางอย่างที่นำเทคโนโลยีไปสู่คนให้ได้มากที่สุด ซึ่งเขาคิดว่าเขาสามารถทำได้ด้วยการสร้าง semiconductor หรือ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สารกึ่งตัวนำที่ดีขึ้นกว่าเดิม
.
แน่นอนว่าใบปริญญาทั้งหมดและประสบการณ์ทำงานเป็นวิศวกรที่บริษัทพัฒนาอุปกรณ์ semiconductor อย่าง Applied Materials, เป็นที่ปรึกษาให้บริษัท McKinsey คือรากฐานสำคัญที่ทำให้เขาเก่งทั้งด้านธุรกิจและวิศวกรรม เขาเริ่มมองหาบริษัทเทคโนโลยีที่ใช่ เพื่อพิสูจน์ว่าความเชื่อของเขาที่ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะทำให้คนเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากที่สุดนั้นคือเรื่องจริง และในที่สุดบริษัทที่เขาเลือกคือ Google
.
แม้เขาจะเก่งแค่ไหน แต่เพราะการเข้าทำงานในบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย วันแรกที่เขาไปสัมภาษณ์ตำแหน่งรองประธานกรรมการ Product Management ตรงกับวันเปิดตัว Gmail และตรงกับวัน April Fool’s day ด้วย แน่นอนว่าเขายังไม่รู้จักมัน กลับกันเขายังคิดว่ามันอาจจะเป็นเรื่องโกหกเสียด้วยซ้ำ เมื่อเขาถูกถามถึงความรู้สึกต่อการใช้งาน Gmail หากเป็นคนอื่นแม้ไม่รู้จัก ก็คาดเดาการใช้งานและพยายามตอบเพื่อพิชิตใจผู้สัมภาษณ์ แต่สิ่งที่เขาทำคือ ตอบอย่างตรงไปตรงมาว่า “ไม่รู้ และไม่เคยใช้งานมัน”
.
แทนที่ผู้สัมภาษณ์จะปัดตก ไม่รับเข้าทำงาน แต่พวกเขากลับแนะนำ Gmail ให้รู้จัก อธิบายว่าคืออะไร ทำงานอย่างไร ซึ่งมันทำให้เขาเข้าใจและสามารถแสดงความคิดเห็น รวมถึงเสนอวิธีการพัฒนาให้มันดียิ่งขึ้นกว่านี้อีกด้วย แต่สิ่งที่ทำให้เขามัดใจผู้สัมภาษณ์จนเข้าทำงานที่นี่ได้ นอกจากการแสดงความคิดเห็นแล้ว ยังรวมถึงการยอมรับความไม่รู้ของตัวเอง กล้าที่จะบอกว่าไม่รู้ ทั้งยังตั้งใจเรียนรู้เรื่องนี้ ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นถึงตัวตนของเขาว่า พร้อมเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา
.
โดยผลงานชิ้นแรกที่เขาทำในฐานะพนักงาน Google คือ พัฒนา Google Toolbar แถบเครื่องมือในการเสิร์ช ให้ผู้ใช้งานเข้าถึง Google ได้จากเบราว์เซอร์อื่น ๆ เช่น Internet Explorer เบราว์เซอร์เริ่มต้นที่มีติดมากับคอมพิวเตอร์เกือบทุกเครื่อง นอกจากนี้เขายังทำนายอีกว่าในอนาคตคู่แข่งอย่างไมโครซอฟท์จะต้องสร้าง Search Engine มาแทนเครื่องมือของเขาแน่ๆ เพื่อเอาชนะคู่แข่งและแย่งชิงผู้ใช้งานให้ได้ Google จำเป็นต้องสร้างเบราว์เซอร์เป็นของตัวเอง
.
เมื่อไมโครซอฟท์เปิดตัวเครื่องมือ Search Engines จริงๆ ในชื่อ "Bing" ได้ส่งผลกระทบต่อ Google อย่างมาก แต่ถึงแม้ไอเดียการสร้างเบราว์เซอร์ที่เขาคิด จะถูกปัดตกไป เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง เขาพยายามรวบรวมข้อมูลให้มากพอ เพื่อแสดงให้ทุกคนเห็นว่ามันคุ้มค่าที่จะเสี่ยงลงทุนมากแค่ไหน ซึ่งนั่นก็คือ "Google Chrome" ที่หลายคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะมันมีอยู่ในคอมพิวเตอร์แทบทุกเครื่องในปัจจุบัน
.
นอกจากนี้ เขายังโชว์ของทำผลงานอื่นๆ อีกมาก ทั้งการพัฒนา “Chrome OS” ระบบปฏิบัติการที่อยู่เบื้องหลังแล็ปท็อปราคาประหยัดอย่าง Chromebook และ Chromecast, ผลักดันโครงการ Android One หรือสมาร์ทโฟนต้นทุนต่ำ สำหรับให้ผู้คนอีกกว่า 5 พันล้านคน สามารถเข้าถึงโลกออนไลน์ได้ แม้ไม่มีทุนสูง และช่วยให้ Google สามารถซื้อ Nest ด้วยเงิน 3.2 พันล้านเหรียญได้สำเร็จ ฯลฯ
.
และด้วยผลงานที่เขาทำสะสมมาเยอะขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เขาได้ทำงานในตำแหน่งที่สำคัญมากขึ้น คือ การดูแลผลิตภัณฑ์เกือบทั้งหมดของบริษัทไม่ว่าจะเป็น Search, Map, Google+, Ads และ Commerce เปรียบเสมือนกับว่าเขาคือ Larry Page อีกคนหนึ่งที่คอยสั่งการและควบคุมดูแลองค์กรให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ขององค์กร
.
ทั้งนี้เขาเคยได้รับการทาบทามให้ไปทำงานในตำแหน่งระดับสูงจาก Twitter อยู่หลายครั้ง แต่เขาก็ยังคงภักดีและยังอยู่เพื่อพัฒนา Google ต่อไป จนปัจจุบันเขาเป็นถึง CEO คนสำคัญของทั้ง Google และบริษัทแม่อย่าง Alphabet ที่นอกจากจะเป็นผู้นำที่ขับเคลื่อนองค์กรให้มั่นคงแล้ว เขายังเป็นผู้นำยอดเยี่ยมที่หลายคนต่างอิจฉาพนักงาน Google ที่ได้ร่วมงานกับคนเก่งแบบเขา
.
แม้ในตอนนี้ ชื่อเสียงของเขาจะโด่งดังไปทั่วโลก มีแต่ผู้คนจับจ้องมาที่เขา แต่เขาก็ยังรักในความเรียบง่าย ไม่สร้างศัตรู มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีเมตตา รักษาความทะเยอทะยาน ตั้งใจ มุ่งมั่นทำในสิ่งที่รัก และรักในสิ่งที่ทำ พร้อมกับบริหารความสัมพันธ์ของคนในทีมให้ทำงานได้ดีที่สุด เขามองเห็นความสำคัญของพนักงานทุกคน รับฟังเสียงของทุกคน แม้แต่คนที่ไม่เคยพูดเลยก็ตาม และพร้อมชื่นชมพวกเขาทุกเมื่ออย่างจริงใจ
.
เขาบอกเสมอว่า การเป็น CEO ไม่ใช่แค่ผู้บริหาร แต่ต้องเป็นโค้ชที่คอยผลักดันคนทำงาน เพราะพวกเขาเหล่านั้น คือคนสำคัญที่จะทำให้องค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ ดังนั้น สิ่งที่ผู้บริหารทุกคนควรทำคือ พูดคุย สอบถาม ทำความรู้จักตัวตนของพนักงานทุกคน ที่สำคัญคือ ต้องเข้าใจคนทำงานและรู้จักสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นให้มากขึ้น แล้วคุณจะได้ทีมงานคุณภาพที่จะช่วยคุณขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน
.
ที่มา : https://thepeople.co/sundar-pichai-google/
https://www.nytimes.com/2018/11/08/business/sundar-pichai-google-corner-office.html
https://www.inc.com/justin-bariso/the-emotional-intelligence-of-google-ceo-sundar-pichai-exclusive-interview.html?cid=sf01001
.
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#SundarPichai #Google #Alphabet #CEO #GoogleChrome #ผู้นำ #ต้นแบบ
「android toolbar」的推薦目錄:
- 關於android toolbar 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳解答
- 關於android toolbar 在 軟體開發學習資訊分享 Facebook 的最佳解答
- 關於android toolbar 在 抗爭少女日記 Facebook 的最讚貼文
- 關於android toolbar 在 Android toolbar center title and custom font - Stack Overflow 的評價
- 關於android toolbar 在 react-native-community/toolbar-android - GitHub 的評價
- 關於android toolbar 在 Android Toolbar 显示WebView Title | Liarr's Studio 的評價
android toolbar 在 軟體開發學習資訊分享 Facebook 的最佳解答
這門課程,老師將多年獨門的實務操作經驗都一次打包給你!
***Android animation 動畫入門到進階***
幫你完整建構Android Animation的邏輯概念,課程也從基礎到案例解析,讓你洞察使用者需求,在各種情境設計「適合」的動畫。
***Android UI 進階實戰 – 打造App絕佳體驗***
對於UI體驗,老師也更進一步,完整教學四大功能與四種視覺化技巧,打造適合APP的UI體驗,
更教你建構彈性且多樣的ToolBar,與依據自我需求客製化的元件庫與開發管理。
這些都是對於APP開發者與優化者來說,不可或缺的職業技能點啊!
課程詳細介紹 https://softnshare.com/android-app-animation-ui-pack/
android toolbar 在 抗爭少女日記 Facebook 的最讚貼文
未來煲底見
android toolbar 在 react-native-community/toolbar-android - GitHub 的推薦與評價
Contribute to react-native-toolbar-android/toolbar-android development by creating an account on GitHub. ... <看更多>
android toolbar 在 Android Toolbar 显示WebView Title | Liarr's Studio 的推薦與評價
Android Toolbar 显示WebView Title. 因为所谓的敏捷开发,现在很多App 都内嵌了网页,以此来满足快速迭代以及跨平台的需求,甚至大型App ... ... <看更多>
android toolbar 在 Android toolbar center title and custom font - Stack Overflow 的推薦與評價
... <看更多>