โครงสร้างรอบหลุมดำบริเวณใจกลางของ M87
เมื่อสองปีที่แล้ว ทีมงาน Event Horizon Telescope (EHT) ได้เปิดเผยภาพถ่ายของหลุมดำมวลยิ่งยวด ณ ใจกลางของกาแล็กซี M87 เป็นครั้งแรก ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่เราสามารถทำการสังเกตการณ์มวลสารที่อยู่ในจานพอกพูนมวลรอบหลุมดำได้ (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ [3])
อย่างไรก็ตาม ภาพของจานพอกพูนมวลรอบหลุมดำ ไม่ได้บอกเรื่องราวทั้งหมดเกี่ยวกับหลุมดำ และแท้จริงแล้วหลุมดำนั้นมีโครงสร้างที่กว้างใหญ่กว่านั้น นอกเหนือไปจากจานพอกพูนมวลไปอีกมาก
วันที่ 14 เมษายน 2021 ที่ผ่านมานี้ ทีมงาน EHT ได้ร่วมมือกับหอสังเกตการณ์ทั้งบนโลกและในอวกาศถึงกว่า 19 แห่ง และได้นำข้อมูลต่างๆ มารวมกัน เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับหลุมดำที่อยู่ ณ ใจกลางของกาแล็กซี M87 นี้ พร้อมทั้งภาพที่บันทึกได้ในช่วงความยาวคลื่นอื่นๆ ที่สามารถบอกให้เราทราบเกี่ยวกับหลุมดำได้ดียิ่งขึ้นไปอีก
หลุมดำ ณ ใจกลางกาแล็กซี M87 นี้ นับเป็นหลุมดำมวลยิ่งยวด ที่มีมวลมากที่สุดหลุมหนึ่งในเอกภพ โดยมีมวลถึงกว่า หกพันห้าร้อยล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ และอยู่ในใจกลางของกาแล็กซี M87 ที่ห่างออกไป 55 ล้านปีแสง
หลุมดำมวลยิ่งยวดเช่นนี้ จะมีมวลสารของดาวฤกษ์ที่บังเอิญโคจรเข้าไปใกล้เกินไป และถูกฉีกออกเป็นชิ้นๆ โดยแรงไทดัลอันมหาศาล ถูกเหวี่ยงออกไปรอบๆ กลายเป็นแก๊สร้อนที่หมุนวนไปรอบๆ หลุมดำ (คล้ายกับน้ำวนในอ่างอาบน้ำที่ถูกเปิดก๊อกออก) ในลักษณะที่เราเรียกว่าจานพอกพูนมวล (accretion disk) บริเวณของแก๊สร้อนในจานพอกพูนมวลนี้เอง ที่เป็นโครงสร้างที่ใกล้ชิดที่สุดของหลุมดำ ที่เราจะสามารถสังเกตเห็นได้ (ภาพคล้าย "โดนัท" สีส้ม ภาพล่างซ้าย)
แต่ในขณะที่มวลสารกำลังถูกเหวี่ยงและดูดเข้าสู่แรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของหลุมดำ ก่อนที่จะตกลงสู่ขอบฟ้าเหตุการณ์ (Event Horizon) มวลสารบางส่วนจะถูก "ดีด" ออก และพุ่งออกไปบริเวณขั้วในการหมุนของจานพอกพูนมวล แก๊สที่พุ่งออกมาในลักษณะคล้ายกับ "เจ็ท" (Astrophysical Jet) นี้นั้น อาจจะประกอบไปด้วยไอออนที่มีประจุ และพุ่งออกมาด้วยความเร็วเข้าใกล้แสง และสามารถพุ่งออกไปเป็นระยะทางหลายพัน แสน หรือถึงล้านพาร์เซค ซึ่งทำให้เจ็ทที่ออกมาจากหลุมดำเหล่านี้นั้น สามารถมีขนาดใหญ่กว่ากาแล็กซีทั้งกาแล็กซีได้เลยทีเดียว
นอกไปจากนี้ พลังงานอันมหาศาลของอนุภาคในเจ็ทเหล่านี้นั้น สามารถเปล่งแสงออกมาในช่วงคลื่นวิทยุ ไปจนถึงรังสีแกมม่า
ซึ่งในภาพที่แนบมานี้ แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างต่างๆ ของเจ็ท ในช่วงความยาวคลื่นวิทยุ (ซ้าย) คลื่นยูวี (กลาง) และรังสีพลังงานสูง เช่น รังสีเอ็กซ์ ไปจนถึงแกมมา (ขวา) ที่ประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบหลุมดำมวลยิ่งยวดนี้อยู่ ซึ่งทั้งหมดนี้ เราสามารถไปดูในลักษณะของวีดีโอ แสดงเปรียบเทียบขนาดโดยการ "ซูมออก" จากหลุมดำ M87 ได้ที่ [4]
นอกไปจากนี้หลุมดำมวลยิ่งยวดเช่นนี้ อาจจะเป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญของรังสีคอสมิคพลังงานสูง ที่เต็มไปทั่วเอกภพ และกระทบเข้ากับโลกของเราอยู่ตลอดเวลา การศึกษาหลุมดำ M87 ในลักษณะนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถตอบได้ว่าหลุมดำมวลยิ่งยวดเป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญเพียงใดต่อรังสีคอสมิค
นอกจากหลุมดำจะเป็นสิ่งที่น่าพิศวงของธรรมชาติแล้ว แรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของมันยังเปรียบได้กับห้องปฏิบัติการชั้นดีที่เราจะสามารถทดสอบความเข้าใจในทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอสไตน์ได้ การสังเกตการณ์ในลักษณะเช่นนี้ของทีมงาน EHT จะช่วยให้เราสามารถยืนยันความเข้าใจทางทฤษฎีของเราเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง และสามารถเปรียบเทียบกับสิ่งที่สามารถสังเกตได้จริง ที่กำลังเกิดขึ้น ณ วัตถุที่มีแรงโน้มถ่วงมากที่สุดแหล่งหนึ่งในเอกภพที่สามารถเป็นไปได้ และความเข้าใจนี้เองที่จะเป็นอีกก้าวหนึ่งที่จะนำเราให้เข้าใกล้สู่ความเข้าใจในกฎที่แท้จริงของธรรมชาติอีกก้าวหนึ่ง
ภาพ: The EHT Multi-wavelength Science Working Group; the EHT Collaboration; ALMA (ESO/NAOJ/NRAO); the EVN; the EAVN Collaboration; VLBA (NRAO); the GMVA; the Hubble Space Telescope; the Neil Gehrels Swift Observatory; the Chandra X-ray Observatory; the Nuclear Spectroscopic Telescope Array; the Fermi-LAT Collaboration; the H.E.S.S collaboration; the MAGIC collaboration; the VERITAS collaboration; NASA and ESA. Composition by J. C. Algaba
อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://eventhorizontelescope.org/blog/telescopes-unite-unprecedented-observations-famous-black-hole
[2] https://iopscience.iop.org/article/10.3847/2041-8213/abef71
[3] https://www.facebook.com/matiponblog/photos/977309255812614
[4] https://www.youtube.com/watch?v=q2u4eK-ph40
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過24萬的網紅暗網仔 2.0,也在其Youtube影片中提到,Instagram: https://www.instagram.com/dw_kid12/ 微博: https://www.weibo.com/p/1005057082285745/home?from=page_100505&mod=TAB&is_all=1#place Facebook: h...
m87 black hole 在 Engadget Facebook 的最佳解答
It sheds more light on magnetic fields around the hole.
m87 black hole 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的精選貼文
ขอบฟ้าเหตุการณ์ และ cosmic censorship hypothesis
*******************
ขอบฟ้าเหตุการณ์ และ cosmic censorship hypothesis(2/6)
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์บทความ 6 ตอน ที่เราจะมาทำความรู้จักกันกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี 2020 ที่มอบให้แก่ Roger Penrose, Reinhard Genzel และ Andrea Ghez หรือเรื่องที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีนี้ โดยจะมีอยู่ด้วยกันหกตอน ได้แก่
1. ซิงกูลาริตี้ หรือสภาวะเอกฐาน[5]
2. ขอบฟ้าเหตุการณ์ และ cosmic censorship hypothesis
3. ปริภูมิเวลาของดาวฤกษ์ที่ยุบตัวลงเป็นหลุมดำ
4. หลุมดำมวลยิ่งยวด ณ ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก
5. สามเหลี่ยมเพนโรส
6. กระเบื้องเพนโรส
*******************
การมีอยู่ของซิงกูลาริตี้นั้นสร้างปัญหาพอสมควรให้กับนักฟิสิกส์ เนื่องจากซิงกูลาริตี้เป็นบริเวณที่ฟิสิกส์ทั้งมวลที่เรารู้จักอยู่สิ้นสุดลง และเรายังไม่มีทฤษฎีที่จะอธิบายในระดับนั้นได้ หากเราสามารถสังเกตซิงกูลาริตี้ได้โดยตรง (เรียกว่าซิงกูลาริตี้แบบเปลือย หรือ naked singularity) จะหมายความว่าเราจะสามารถสังเกตเห็นมวลสารที่กำลังถูกบีบอัดเข้าสู่ความหนาแน่นเป็นอนันต์ได้ ซึ่งจะเป็นปัญหาเป็นอย่างมากต่อทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป เนื่องจากทฤษฎีสัมพัทธภาพนั้นยังไม่สามารถทำนายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบริเวณใกล้ซิงกูลาริตี้ได้ ซึ่งอาจจะนำไปสู่สิ้นสุดของความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล (causality) ที่เรารู้จักกัน
สิ่งที่ Roger Penrose เสนอในปี 1969 ก็คือ ทุกๆ ซิงกูลาริตี้ที่เกิดขึ้นในเอกภพ จะต้องมีสิ่งที่เราเรียกกันว่า “ขอบฟ้าเหตุการณ์” (Event Horizon) ห่อหุ้มเอาไว้เสมอ ดังที่กำหนดเอาไว้ในสมมติฐานที่เรียกว่า cosmic censorship hypothesis
ภายใต้สมมติฐานนี้ จะไม่มีทางที่ผู้สังเกตใดจะสามารถสังเกตซิงกูลาริตี้ได้ เนื่องจากขอบฟ้าเหตุการณ์จะต้องห่อหุ้มเอาไว้เสมอ นี่คือสิ่งที่เราพบในภาพของหลุมดำที่อยู่ในใจกลางของ M87 ที่ถูกบันทึกเอาไว้โดยทีมของ EHT[3]
ขอบฟ้าเหตุการณ์ที่ห่อหุ้มซิงกูลาริตี้เอาไว้ จะแบ่งกาลอวกาศภายในออกจากภายนอกซิงกูลาริตี้โดยสิ้นเชิง ทำให้แสงใดๆ ที่เกิดขึ้นภายในจะไม่สามารถออกไปสู่ผู้สังเกตที่อยู่ภายนอกได้ นอกไปจากนี้ ขอบฟ้าเหตุการณ์จะทำให้แสงสุดท้ายของดาวฤกษ์ที่ยุบตัวลงไปเป็นหลุมดำ ถูกหยุดเวลาเอาไว้ในขณะที่พื้นผิวสุดท้ายของดาวฤกษ์กำลังข้ามขอบฟ้าเหตุการณ์ และผู้สังเกตภายนอกจะไม่สามารถสังเกตเห็นดาวฤกษ์ยุบตัวลงข้ามขอบฟ้าเหตุการณ์ได้จนกว่าจะถึงเวลาเป็นอนันต์
แม้ว่าในทางทฤษฎีแล้ว มีความเป็นไปได้ที่หลุมดำที่หมุนด้วยความเร็วสูงเพียงพออาจจะทำให้เกิด naked singularity ได้[4] แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเรายังไม่มีข้อบ่งชี้ใดว่า naked singularity นั้นมีอยู่จริงในเอกภพ
ภาพ: หลุมดำที่ถูกห่อหุ้มเอาไว้ด้วยขอบฟ้าเหตุการณ์ จะปรากฏเป็นทรงกลมสีดำที่ถูกห้อมล้อมเอาไว้ด้วยภาพของมวลสารที่กำลังตกลงสู่หลุมดำ เป็นวงซ้อนๆ กัน เนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงเบนเส้นทางเดินของแสงเอาไว้คล้ายกับเลนส์ทำให้แสงจากวงแหวนวงเดิมสามารถวนรอบๆ ขอบฟ้าเหตุการณ์ได้หลายครั้งก่อนที่จะมาถึงผู้สังเกต ภาพโดย NASA’s Goddard Space Flight Center/Jeremy Schnittman
อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://www.nobelprize.org/prizes/physics/2020/popular-information/
[2] https://en.wikipedia.org/wiki/Cosmic_censorship_hypothesis
[3] https://eventhorizontelescope.org/press-release-april-10-2019-astronomers-capture-first-image-black-hole
[4] https://authors.library.caltech.edu/87494/1/PhysRevLett.66.994.pdf
[5] https://www.facebook.com/matiponblog/photos/a.255101608033386/1430982597111942/
m87 black hole 在 暗網仔 2.0 Youtube 的最讚貼文
Instagram: https://www.instagram.com/dw_kid12/
微博: https://www.weibo.com/p/1005057082285745/home?from=page_100505&mod=TAB&is_all=1#place
Facebook: https://www.facebook.com/deepwebkid/?modal=admin_todo_tour
Subscribe: https://www.youtube.com/channel/UC8vabPSRIBpwSJEMAPCnzVQ?sub_confirmation=1
人類史上首張黑洞照片的真相!
Powehi M87
2019年4月10日,室女座超星系团, 事件視界望遠鏡項目的科學家發表了對M87星系中心黑洞進行觀測得到的影像,這是人類首次對黑洞進行直接觀測。[17]同時首次被拍攝到照片的黑洞取名為Powehi,它是夏威夷語詞彙,意指「無窮創造的深美源頭」
黑洞照片超大質量黑洞 Event Horizon telescope 事件視界望遠鏡發現. 是人類史上第一張黑洞照片.
女科學家Katie Bouman卻受到網上世界, Reddit討論區質疑. 偉大科學發現...真相是什麼? 傳統媒體 CNN BBC報導錯?
Vox講黑洞: https://www.youtube.com/watch?v=pAoEHR4aW8I
m87 black hole 在 M87 | Black Hole, Distance, & Facts | Britannica 的相關結果
M87, giant elliptical galaxy in the constellation Virgo whose nucleus contains a black hole, the first ever to be directly imaged. ... <看更多>
m87 black hole 在 Astronomers Image Magnetic Fields at the Edge of M87's ... 的相關結果
The Event Horizon Telescope (EHT) collaboration, who produced the first ever image of a black hole, has revealed today a new view of the ... ... <看更多>
m87 black hole 在 Messier 87 - Wikipedia 的相關結果
M87 has been an important testing ground for techniques that measure the masses of central supermassive black holes in galaxies. In 1978, stellar-dynamical ... ... <看更多>