ผู้วางรากฐาน สกุลเงินยูโร คือใคร ? /โดย ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปเมื่อ 24 ปีก่อน ประเทศไทยได้เผชิญกับวิกฤติต้มยำกุ้ง
เนื่องจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ 3 นโยบายพร้อมกัน นั่นก็คือ
นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
การอนุญาตให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายแบบเสรี
การกำหนดนโยบายการเงินอย่างอิสระ
การดำเนินนโยบายเหล่านี้ ถือเป็นการขัดกับทฤษฎี Impossible Trinity
หรือ สามเป็นไปไม่ได้ ที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยนักเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อว่า Robert Mundell
ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คนนี้ก็ยังได้รับการขนานนามว่า บิดาแห่งสกุลเงิน “ยูโร”
แล้วบทบาทของ Mundell ต่อสกุลเงินยูโร เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Robert Mundell เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวแคนาดา เจ้าของรางวัลโนเบลในปี 1999
จากผลงาน ทฤษฎี “Optimal Currency Areas” ที่ตีพิมพ์ในปี 1961
และการบุกเบิกทฤษฎีนี้เอง ทำให้เขาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานสกุลเงินยูโร
แล้วการรวมกลุ่มกันของประเทศในยุโรป เริ่มต้นขึ้นเมื่อไร ?
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ประเทศในยุโรปอยากที่จะปรองดองและลดความขัดแย้งในอดีต
จึงมองหาแนวทางที่เหมาะสม นั่นคือการรวมตัวและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา ประเทศในยุโรปได้เริ่มให้มีการค้าและการเคลื่อนย้ายแรงงาน
ระหว่างกันอย่างเสรีและมีการใช้ระบบภาษีแบบเดียวกัน
จนในปี 1992 ก็ได้ตั้งกลุ่มอย่างเป็นทางการว่า สหภาพยุโรป หรือ EU และยังพัฒนาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกขั้น ซึ่งต่างจาก ASEAN ที่เป็นเพียงเขตการค้าเสรี
เพราะในปีเดียวกันนั้น สหภาพยุโรปได้เสนอให้ใช้สกุลเงินร่วมกัน
เพื่อลดต้นทุนและความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยน
และนี่จึงเป็นจุดกำเนิดของสกุลเงิน “ยูโร”
โดยแนวคิดนี้ ก็มีรากฐานมาจากทฤษฎี Optimal Currency Areas (OCA)
ที่ถูกคิดค้นขึ้นโดย คุณ Robert Mundell
แล้ว OCA คืออะไร ?
OCA หรือ เขตเงินตราที่เหมาะสม อธิบายว่าการรวมกลุ่มของประเทศ ที่มีการใช้สกุลเงินเดียวกันจะเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุดได้เมื่อเหล่าประเทศสมาชิก ทำตามเงื่อนไข 4 ข้อ ซึ่งมีใจความสำคัญ ได้แก่
1. แรงงานและทรัพยากร ต้องเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี
2. การเคลื่อนย้ายของเงินทุน การตั้งราคาสินค้าและค่าจ้าง ต้องปรับตามกันได้ง่าย
3. ประเทศที่เศรษฐกิจดี มีเงินเยอะ ต้องช่วยเหลือประเทศที่เศรษฐกิจไม่ดีและขาดดุล
4. วัฏจักรทางธุรกิจของแต่ละประเทศ ถ้าเป็นขาขึ้นก็ควรขึ้นไปด้วยกัน ขาลงก็ลงด้วยกัน
ทั้งนี้ก็เพื่อปรับให้พื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ไม่แตกต่างกันมากจนเกินไป
และยังช่วยให้การกำหนดทิศทางของนโยบายการเงิน มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพราะเมื่อใช้สกุลเงินเดียวกันแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ “การใช้นโยบายการเงินร่วมกัน”
ประเด็นนี้มีความสำคัญมาก เพราะมันหมายความว่าประเทศเหล่านั้นต้องยอมขาดอิสระในการกำหนดนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของตัวเอง
และเรื่องดังกล่าวเราก็ยังสามารถใช้ Impossible Trinity อธิบายได้ด้วย
เพราะเมื่อสหภาพยุโรปอนุญาตให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายแบบเสรี และยังใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ โดยมีการผูกสกุลเงินเดิมของแต่ละประเทศไว้กับยูโร ธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ จึงไม่สามารถกำหนดนโยบายการเงินเองได้ และต้องรับนโยบาย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่อัตราดอกเบี้ย, เงินเฟ้อเป้าหมาย และอัตราแลกเปลี่ยน ที่เหมือนกัน ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจของตัวเองในตอนนั้นจะเป็นอย่างไร
ซึ่งผู้กำหนดนโยบายการเงินของสกุลเงินยูโร ก็คือ ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB นั่นเอง
ในช่วงเตรียมแผนการเพื่อเริ่มใช้สกุลเงินเดียวกัน
ประเทศสมาชิกได้ร่วมกันร่างสนธิสัญญา “Maastricht” และร่วมลงนามในปี 1992
ซึ่งก็ได้มีรากฐานสำคัญมาจากทฤษฎีของคุณ Robert Mundell
โดยสนธิสัญญาดังกล่าว เป็นการกำหนดข้อปฏิบัติร่วมกันของทุกประเทศ
ที่จะเปลี่ยนมาใช้เงินยูโร หลัก ๆ มีอยู่ 4 ข้อ
1. ต้องมีวินัยทางการคลัง
โดยงบประมาณรายปีห้ามขาดดุลเกิน 3% ของ GDP
ในขณะที่หนี้ภาครัฐต้องไม่เกิน 60% ของ GDP
2. ต้องคุมเงินเฟ้อให้ไม่สูงจนเกินไป
โดยอัตราเงินเฟ้อต้องไม่สูงกว่า 1.5% เหนือค่าเฉลี่ยของ 3 ประเทศในกลุ่มที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุด
เช่น ค่าเฉลี่ยคือ 0.5% ดังนั้นอัตราเงินเฟ้อก็ต้องไม่สูงเกิน 2.0%
3. ต้องผ่านการทดสอบความมีเสถียรภาพของสกุลเงินเดิม ก่อนจะเริ่มเปลี่ยนมาใช้เงินยูโร
โดยต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือผูกค่าเงินสกุลเดิมไว้กับค่าเงินยูโร
และควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ให้ขยับขึ้นลงอยู่ภายในกรอบที่กำหนด อย่างน้อย 2 ปี
4. ต้องควบคุมดอกเบี้ยระยะยาวให้ไม่สูงจนเกินไป
โดยอัตราดอกเบี้ยระยะยาวต้องไม่เกิน 2% เหนือค่าเฉลี่ยของ 3 ประเทศในกลุ่มที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุด
หลังผ่านกระบวนการเตรียมความพร้อมมาแล้ว
ในที่สุด สกุลเงินยูโร ก็ได้เริ่มใช้จริง ในวันที่ 1 มกราคม ปี 1999
โดยมี 11 ประเทศแรกเริ่ม และต่อมาประเทศอื่น ๆ ก็ทยอยเข้าร่วม
จนในปัจจุบันมี 19 จาก 27 ประเทศในสหภาพยุโรป ที่ใช้เงินยูโร เรียกรวมว่ากลุ่ม Eurozone
ปัจจุบัน สหภาพยุโรปถือได้ว่าเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด และเชื่อมโยงกันมากที่สุดในโลก โดยมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันกว่า 566 ล้านล้านบาท ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกาที่มีขนาดเศรษฐกิจ 660 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ ยูโรยังเป็นสกุลเงินที่ใช้กันมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในโลกเช่นกัน
คิดเป็น 36.6% ของมูลค่าธุรกรรมการค้าขายทั่วโลก
เป็นรองเพียงดอลลาร์สหรัฐ ที่คิดเป็น 38.3% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เหรียญย่อมมี 2 ด้านเสมอ
เพราะการรวมกลุ่มโดยใช้สกุลเงินเดียวกันแบบนี้ ก็มี “จุดอ่อน” ในหลายด้าน
หนึ่งในจุดอ่อนสำคัญ ก็คือการต้องใช้นโยบายการเงินร่วมกันนั่นเอง
ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นมานานแล้ว และกลับมาเป็นที่ถกเถียงกันเป็นวงกว้างอีกครั้ง ในปี 2010
ที่ผลพวงจากวิกฤติซับไพรม์ในสหรัฐฯ ได้ลามมาเป็นวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป
ต้นตอของปัญหาก็คือว่า ไม่ใช่ทุกประเทศสมาชิก ที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่มีร่วมกันได้
หลายประเทศ โดยเฉพาะกลุ่ม PIIGS ได้แก่ โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ กรีซ และสเปน
ขาดวินัยทางการคลัง รัฐบาลก่อหนี้จนเกินกว่าข้อกำหนดไปกว่าเท่าตัว
ลุกลามไปเป็นเงินเฟ้อที่สูงกว่าเกณฑ์ และทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
ผลตอบแทนพันธบัตรฯ นี้ ก็คือต้นทุนการกู้ยืมของตัวรัฐบาลเอง
กลายเป็นว่า ภาระต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น เป็นผลมาจากการก่อหนี้เกินตัว นั่นเอง
หากเป็นกรณีทั่วไป เครื่องมือในการแก้ปัญหา ก็คือนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน
โดยปัญหาการก่อหนี้เกินตัวนี้ หมายถึงว่านโยบายการคลังขาดประสิทธิภาพไปแล้ว
นโยบายการเงินจึงเข้ามามีบทบาทหลักในการแก้ปัญหา
ด้วยการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและผลตอบแทนพันธบัตรฯ ที่กำลังพุ่งขึ้น
แต่ในกรณีของประเทศเหล่านี้ ไม่สามารถใช้นโยบายการเงินเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหาได้
และนโยบายการเงินของยูโร ก็ไม่ได้สอดคล้องกับประเทศที่มีปัญหาเสียทีเดียว
เพราะนโยบายถูกกำหนดโดยดูจากภาพรวมเศรษฐกิจของทั้งกลุ่ม
ซึ่งทั้งกลุ่ม ก็มีทั้งประเทศที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดได้และไม่ได้
นโยบายการคลัง ก็ใช้การแทบไม่ได้ เพราะขาดดุลไปเยอะแล้ว
นโยบายการเงิน ก็กำหนดเองไม่ได้ เพราะใช้สกุลเงินร่วมกับคนอื่น
ทั้งหมดนี้ถือเป็นจุดอ่อนที่สำคัญ และแนวทางการแก้ไข ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจนถึงทุกวันนี้..
มาถึงตรงนี้ เราก็น่าจะรู้จักกับต้นกำเนิด “สกุลเงินยูโร” ไม่มากก็น้อย
ซึ่งผู้อยู่เบื้องหลังก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อว่า Robert Mundell
คนเดียวกับที่คิดค้นทฤษฎี Impossible Trinity
และอีกหลาย ๆ ผลงานที่ถือว่าเป็นรากฐานสำคัญสำหรับเศรษฐศาสตร์และการเงินระหว่างประเทศ
และสาเหตุที่ลงทุนแมนเขียนบทความนี้ขึ้นมาก็เพราะว่า
เมื่อวันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมา หรือ 4 วันก่อน
คุณ Robert Mundell เพิ่งเสียชีวิตลงอย่างสงบในวัย 88 ปี
ถึงแม้ว่าตัวเขาจะจากไปแล้ว
แต่ผลงานทั้งหมดที่เขาได้สร้างไว้ ก็น่าจะอยู่กับโลกนี้ และคนรุ่นหลังไปอีกนาน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-04-05/robert-mundell-nobel-prize-winning-economist-dies-at-88
-https://transportgeography.org/contents/chapter7/globalization-international-trade/economic-integration-levels/
-https://www.investopedia.com/terms/o/optimal-currency-area.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Robert_Mundell
-https://en.wikipedia.org/wiki/European_Union
-https://en.wikipedia.org/wiki/Maastricht_Treaty
-https://en.wikipedia.org/wiki/European_Exchange_Rate_Mechanism
-https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_the_euro
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-02-18/yuan-s-popularity-for-cross-border-payments-hits-five-year-high
同時也有3部Youtube影片,追蹤數超過42的網紅adrianjalaludin,也在其Youtube影片中提到,Shows from 2010-2012 Eurozone Cube Tea Tracker The Badge - Nominated at the 2011 Asian Television Awards Euro 2012 Olympics 2012 For more visit www....
eurozone 在 通勤學英語 Facebook 的最佳解答
【#每日跟讀單元 922】經濟雖差 芬蘭擁抱歐元
摘要:
A number of American commentators have looked at Finland’s current economic troubles as a clear sign that what ails the eurozone is far deeper than profligate spending by the Greeks. Paul Krugman has made that case at The New York Times, Tim Worstall at Forbes and Matt O’Brien at The Washington Post.
某些美國評論者檢視芬蘭當前的經濟困境,認為這顯示出歐元區的毛病遠比希臘的揮霍更嚴重。保羅.克魯曼,提姆.伍思道和麥特.歐布萊恩分別在《紐約時報》、《華盛頓郵報》和《富比世》雜誌上發表了此一主張。
15分鐘跟讀世界各地時事趣聞的錄音檔,一步步提升英語口說與聽力!
每日Email 通知?加入通勤學英語粉絲團並訂閱官網跟讀單元!官網: www.15mins.today
Apple Podcast收聽: https://pse.is/DLMCK
Spotify收聽:https://pse.is/DQQHL
Himalaya收聽:https://15minstoday.pse.is/SLAZG
#15minstoday
#英語即戰力
#聽播客學英語
#每日收聽好吸收
https://15minsengcafe.pse.is/P6A44
eurozone 在 浩爾譯世界 Facebook 的最佳解答
【每日國際選讀:六大災難專題報導】
No.3 #美國911事件
🚨911的啟示——美國的警鐘到全球的喪鐘?
開啟「接收通知」和「搶先看」每天吸收雙語時事新知
來讀華爾街日報獨家
🛩When al Qaeda terrorists flew jetliners into the World Trade Center and the Pentagon, they delivered an unprecedented shock to the nation’s sense of security and its economy. Commercial aviation was grounded for three days. The destruction to lower Manhattan closed the stock markets. Heightened security slowed trade with Canada and Mexico to a crawl. Nervous shoppers stayed away from stores and malls.
當蓋達組織駕駛著噴射客機撞向紐約世貿中心及五角大廈時,他們給美國的安全感以及經濟帶來了前所未有的衝擊,航空業因此停業三天,曼哈頓下城區的毀壞導致股票休市,高強度的安檢使得跟加拿大及墨西哥間的貿易停滯不前,焦慮的民眾因此不敢到商店及購物中心消費。
-unprecedented: 前所未見的(最近很常出現的用字!)
-ground: 常見用法是名詞為地板,此做動詞是禁足、限制的意思
-crawl: 爬行,此作名詞使用
🛩Economists predicted the attacks would tip a slowing economy into recession. People would be more reluctant to fly, work in a tall building or base their office in New York City.
因民眾將愈發不願搭乘飛機、在高樓工作,或是將辦公室設於紐約,當時經濟學家預測這將使當時已放緩的美國經濟進入衰退。
-tip: 使傾倒,這邊是個很生動的用法,搭配介係詞into,表示將當時已經搖搖欲墜經濟給再推了下,推入衰退中,這也是近期在專欄中第二次出現的字了!
reluctant: 不情願的
📉But the U.S. bounced back remarkably quickly. It was later determined that a recession triggered by the technology bust had begun six months before the attacks and ended two months afterward.
但隨後美國經濟卻迅速反彈,事後發現當時經濟已經因為半年前的科技泡沫而開始衰退,隨後在911事件兩個月後,這波衰退就結束了。
-bounce back: 反彈
-determine: 確定、查明
-trigger: 作名詞是槍上的板機,動詞則引申為觸發之意
*technology bust: 又名為Dot-com bubble,網路泡沫,從1995年開始至2000年三月到達高點,期間納斯達克指數大漲400%,2000年三月後開始回跌,到2002年十月時將泡沫期間的漲幅全數吐回。
🚀One reason was the aggressive policy response. The day the markets reopened, the Fed and its counterparts in the Eurozone, Canada and Sweden all slashed rates. Low rates inspired auto manufacturers to roll out zero percent financing, sending sales skyrocketing. Fears of terrorism faded when new attacks didn’t materialize.
經濟反彈的主因為積極的政策應對,在市場重啟的那天,聯準會以及歐元區、加拿大與瑞典的央行都紛紛降息,低利率促使汽車製造商推出零利率貸款,因此讓銷量飛昇,後續也沒有新的恐攻發生,民眾因此對恐怖主義的懼怕也逐漸消退。
-slash: 名詞就是斜槓,動詞可以想像就是畫一條斜線,有砍下去的意思,因此搭配rates(利率)就是降息的意思喔!
-roll out: 推出、實施(新的方案等)
skyrocket: 飛向天空的火箭,做動詞用就是有如火箭升空一般,表示迅速飆漲、飛昇
💵Within two weeks Congress approved $40 billion for emergency rebuilding and defense and $5 billion in cash assistance and up to $10 billion in loan guarantees to airlines. Both parties agreed more stimulus was needed but negotiations soon bogged down over its composition. When a package worth $51 billion over one year and $94 billion over five years finally passed in March, a recovery was already well under way.
在兩週內美國國會就通過了400億美元的緊急重建與國防資金、50億美元的現金援助,以及高達100億美元的航空業擔保貸款,當時民主與共和兩黨都同意需要更多的經濟刺激方案,但不久後方案協商即陷入僵局,到了三月才終於通過一年510億的預算以及五年內940億美元的預算,到了此時經濟已進入復甦階段。
-approve: 通過、核可
-bog down: 阻礙、攔阻
-composition: 本為作曲、作文之意,此處為方案的產出
To be continued…
加入文末每日國際選讀計畫,解鎖完整語音導讀版
#開啟搶先看🛎 #關注六大災難專題報導
-
原文連結請見留言
-
❓❓Quiz: The outbreak _____ the economy into ______.
🙋🏼♀️🙋🏻♀️💁這場疫情使經濟陷入衰退。
A. tip, recession
B. tipped, recession
C. tripped, recess
D. Batman, Spartan
(第一版出題有誤,已修正)
【每日商業英文計畫,限額開放中!】
#獨家 華爾街日報訂閱超值方案 📰
專屬 Line 群組,浩爾 #每日語音導讀
教你詞彙怎麼唸、怎麼用
問題問到飽,限時開放,額滿停徵
「留言+1」,就送你 #優惠碼 及 #導讀試聽!
eurozone 在 adrianjalaludin Youtube 的最讚貼文
Shows from 2010-2012
Eurozone
Cube
Tea Tracker
The Badge - Nominated at the 2011 Asian Television Awards
Euro 2012
Olympics 2012
For more visit www.adrianjalaludin.com
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/-D2bA3Vh-eQ/hqdefault.jpg?sqp=-oaymwEbCKgBEF5IVfKriqkDDggBFQAAiEIYAXABwAEG&rs=AOn4CLCbhQmkZ_8-9ByH0o3WbaHRIGwryw)
eurozone 在 adrianjalaludin Youtube 的精選貼文
Shows from 2010-2014
NBA 3X
The Badge - Nominated at the 2011 Asian Television Awards
442 Eurozone
Tea Tracker
Cube
Euro 2012
For more visit www.adrianjalaludin.com
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/EnUCvs46Dro/hqdefault.jpg)
eurozone 在 adrianjalaludin Youtube 的最佳解答
Shows from 2010-2012
Tea Tracker
442 Eurozone
Bola@Mamak - Nominated at the 2011 Asian Television Awards
Cube
Football Overload - Nominated at the 2011 Asian Television Awards
Olympics 2012
Euro 2012
For more visit www.adrianjalaludin.com
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/IGbo4jWb0ug/hqdefault.jpg)
eurozone 在 What is the euro area? | European Commission 的相關結果
The euro area consists of those Member States of the European Union that have adopted the euro as their currency. ... All European Union Member States are part of ... ... <看更多>
eurozone 在 the Eurozone在劍橋英語詞典中的解釋及翻譯 的相關結果
2022年1月12日 — the Eurozone的意思、解釋及翻譯:1. the countries belonging to the European Union that use the euro as their unit of money 2. the… ... <看更多>
eurozone 在 歐元區- 維基百科,自由的百科全書 的相關結果
歐元區(Eurozone;官方稱euro area)為27個歐洲聯盟成員國中的19個國家組成的貨幣同盟。這些國家採用歐元(€)為其通用貨幣和唯一法償。其他8個歐盟成員國使用自己的 ... ... <看更多>