เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า
ทำงาน Work from home ต่อจากเวลาทำงานปกติ ต้องพัก ๒๐ นาที
กฎหมายคุ้มครองแรงงานฯกำหนดไว้ในมาตรา ๒๗ ว่า หากนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง นายจ้างต้องจัดเวลาพักให้ลูกจ้างก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลาไม่น้อยกว่า ๒๐ นาที
แต่ถ้าทำงานล่วงเวลาไม่เกิน ๒ ชั่วโมง หรือ ๒ ชั่วโมงพอดี ไม่ต้องจัดเวลาพักก็ได้
กรณีนี้ไม่ว่าจะให้ทำงานที่บริษัท ที่โรงงาน แม้แต่การทำงานทางไกล หรือ Work from home ด้วย
เหตุผลเพราะลูกจ้างอาจเหนื่อยล้ามากเกิน ลองคิดดูว่าพักตอนเที่ยง หากทำงานจนถึง ๕ โมงเย็น แล้วทำ OT หรือทำงานล่วงเวลาต่ออีก ๓ ชั่วโมง เท่ากับว่าทำงาน ๘ ชั่วโมงติดกัน
กฎหมายจึงให้จัดเวลาพักผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยและความเครียด ป้องกันการสูญเสียได้ ในส่วนของนายจ้างก็จะได้งานที่มีประสิทธิภาพ
ฝ่าฝืนมาตรานี้มีโทษปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
บทความโดย รองศาสตราจารย์ตรีเนตร สาระพงษ์ กฎหมายแรงงาน
#เรียนเจ้านายที่เคารพ #Dearmyboss
#กฎหมายแรงงาน #เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า
「เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า」的推薦目錄:
- 關於เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า 在 เรียนเจ้านายที่เคารพ Facebook 的最佳貼文
- 關於เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า 在 เรียนเจ้านายที่เคารพ Facebook 的最讚貼文
- 關於เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า 在 เรียนเจ้านายที่เคารพ Facebook 的最佳解答
- 關於เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า 在 เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า สรุปแนว ... - Facebook 的評價
- 關於เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า 在 กฎหมายแรงงาน的推薦與評價,FACEBOOK、YOUTUBE和網紅 ... 的評價
- 關於เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า 在 กฎหมายแรงงาน的推薦與評價,FACEBOOK、YOUTUBE和網紅 ... 的評價
- 關於เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า 在 ทิศทางการบริหารคนอย่างยั่งยืน - ปตท. 的評價
เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า 在 เรียนเจ้านายที่เคารพ Facebook 的最讚貼文
เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า
ค่าทำศพจ่าย ๕๐,๐๐๐ บาท
แต่จะอธิบายเป็นประเด็น ๆ ดังนี้
๑) จำนวนเงินที่จ่าย แบ่งเป็น ๒ กรณี คือ
ก) กรณีตายหลังจากที่กฎกระทรวงฉบับนี้ออกใช้คือ วันที่ ๑๒ กค. ๖๔
ข) ตายก่อนหน้าวันที่กฎกระทรวงมีผล คือตายระหว่างวันที่๖ ธค ๖๑ ถึงวันที่ ๑๑ กค. ๖๔ แต่อาจยังไม่ได้มาขอรับเงินค่าทำศพ จะได้ ๔๐,๐๐๐ บาท
๒) ผู้มีสิทธิได้รับเงิน คือ ผู้จัดการศพของลูกจ้าง
๓) ในกฎหมายเขียนว่านายจ้างจ่าย ประเด็นนี้เข้าใจผิดว่าต้องมาเบิกกับนายจ้าง ความเป็นจริงคือไปเบิกกับสำนักงานประกันสังคม (ตามแบบ กท. 16)
ส่วนนายจ้างก็มีหน่าที่จ่ายเงินสมทบตามที่กฎหมายกำหนดอัตรา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทกิจการที่ถูกวิเคราะห์ถึงระดับความเสี่ยง
๔) จะต้องเป็นกรณีตายอันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง หรือทำงานปกป้องรักษาผลประโยชน์ของนายจ้าง หรือทำงานตามคำสั่งของนายจ้าง
๕) การตายต้องมีสาเหตุมาจากการทำงาน หรือเกี่ยวกับการทำงาน เหตุส่วนตัวไม่มีสิทธิขอรับเงิน
เช่น ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุตกรถบดระหว่างทำงาน (ฎีกา 705/2516) ไปแข่งกีฬาตามคำสั่งของนายจ้าง(ฎีกา 7673/2526) เป็นลมตายขณะใช้แรงงานงัดรางรถไฟ(ฎีกา 2128/2527)
“ถ้าลูกจ้างตายที่ไม่เกี่ยวกับการทำงานก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทำศพ”
เช่น ตายเพราะมีเหตุส่วนตัว เช่น ถูกทำร้ายจนถึงแก่ความตาย หรือถูกยิงตายด้วยเรื่องส่วนตัว (ฎีกา 1799/2523) หรือลูกจ้างอ้างว่าตัวเองเป็นผู้วิเศษปีนขึ้นไปโครงจอหนังกลางแปลง แล้วเอาไว้ฟาดไฟแรงสูงจนถูกไฟช็อตตาย(ฎีกา 4495/2546 หรือลูกจ้างยังเดินทางไปไม่ถึงที่ทำงาน(ฎีกา 696/2522, 3966/2530) หรือลูกจ้างตายหลังจากเลิกงานแล้ว ระหว่างเดินทางกลับบ้าน ก็จะไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน(ฎีกา182/2524)
บทความโดย รองศาสตราจารย์ตรีเนตร สาระพงษ์ กฎหมายแรงงาน
#เรียนเจ้านายที่เคารพ #Dearmyboss
#กฎหมายแรงงาน #เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า
เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า 在 เรียนเจ้านายที่เคารพ Facebook 的最佳解答
เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า "ค่าล่วงเวลา"
๑) ค่าล่วงเวลา คือการทำงานช่วงเวลานอกจากเวลาทำงานปกติ ๘ ชั่วโมงที่นายจ้างประกาศ
๒) การทำงานล่วงเวลามี ๒ กรณี คือล่วงเวลาวันทำงาน กับล่วงเวลาในวันหยุด
๓) ค่าล่วงเวลาวันธรรมดาได้ ๑.๕ เท่า ค่าล่วงเวลาวันหยุดได้ ๓ เท่า ของค่าจ้างรายชั่วโมง นายจ้างอาจกำหนดจ่ายให้มากกว่านี้ก็ได้ แต่จะจ่ายน้อยกว่านี้ไม่ได้แม้ลูกจ้างตกลงด้วยก็มีผลเป็นโมฆะ
๔) นายจ้างบังคับทำงานล่วงเวลาไม่ได้ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
๕) ความยินยอมตามข้อ ๔) ต้องยอมเป็นคราว ๆ จะยอมเป็นหนังสือ ผ่านไลน์ ผ่านอีเมลล์
๖) กรณีนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา หรือให้ทำงานเกินเวลา โดยลูกจ้างไม่ได้ตอบแล้วลงมือทำงาน หรือนายจ้างบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาโดยลูกจ้างไม่เต็มใจ หรือนายจ้างให้ทำงานเกินเวลาทำงานปกติทุกวัน นายจ้างจะอ้างว่าลูกจ้างไม่ยินยอม จึงไม่ต้องจ่ายไม่ได้
ปกติต้องขอความยินยอม แต่เมื่อให้ทำงานล่วงเวลาไปแล้วก็ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา
๗) ถ้านายจ้างไม่จ่าย หรือค้างจ่าย ลูกจ้างสามารถร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในเขตพื้นที่ได้
๘) ออกจากงานไปแล้วก็ฟ้องเรียกค่าล่วงเวลาได้ และหากนายจ้างไม่จ่ายก็อาจต้องรับผิดทางอาญา
๙) นายจ้างจะหักค่าล่วงเวลาไม่ได้ หรือมาทำงานสายจะหักเงินในส่วนค่าล่วงเวลาก็ไม่ได้ หรือลูกจ้างลาออกไม่ถูกต้องก็จะหักค่าล่วงเวลาไม่ได้
๑๐) นายจ้างจะเขียนสัญญา หรือทำข้อตกลงว่าจะจ่ายเหมารวมค่าจ้าง กับค่าล่วงเวลาไปในยอดเงินเดียว และจะใช้งานมากเท่าใหร่ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก "ไม่ได้ เป็นโมฆะ"
๑๑) ข้อนี้ไม่มีอะไร แค่จะบอกว่าฝากช่องยูทูปด้วย แฮก ๆ https://www.youtube.com/channel/UCUnBYGBYSHBAVaN0mjB2w8w
บทความโดย รองศาสตราจารย์ตรีเนตร สาระพงษ์ กฎหมายแรงงาน
#เรียนเจ้านายที่เคารพ #Dearmyboss #กฎหมายแรงงาน #เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า
เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า 在 ทิศทางการบริหารคนอย่างยั่งยืน - ปตท. 的推薦與評價
มีนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างยั่งยืนที่เคารพสิทธิต่อสิทธิแรงงานอันเป็นสิทธิ ... จัดให้มีสวัสดิการและสิทธิประโยชน์หลากหลายรูปแบบมากกว่าที่กฎหมายกำหนด ... ... <看更多>
เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า 在 เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า สรุปแนว ... - Facebook 的推薦與評價
เรียนเจ้านายที่เคารพกฎหมายแรงงานกำหนดว่า สรุปแนวปฎิบัติในช่วงการระบาดของโควิด 19 ขอนำมาสรุปสั้น ๆ ให้ฟังดังนี้ ๑)... ... <看更多>