เรื่อง พรบ คอมพ์ ตอนนี้ประเด็นสับสนมาก มี info ทั้งอวยทั้งด่า แชร์กันวุ่นไปหมด แต่ระวังกันซักนิดนึง ถ้าแชร์อันที่ข้อมูลไม่ถูกนี่อาจซวยได้ ส่วนอันนี้ของรายการชัวร์ก่อนแชร์เขาเป็นกลางและไม่ยุ่งเกี่ยวกับประเด็นการเมือง ลองอ่านกันดู แต่อันนี้แชร์ได้ปลอดภัยนะ
ระวัง! ข้อมูลเก่า ข้อมูลบิดเบือน ข้อมูลไม่รอบด้าน เกี่ยวกับ #พรบไซเบอร์
ระวัง ถูกหลอก ให้เข้าใจผิด
ระวัง ถูกหลอก ให้ตกเป็นเครื่องมือ
* พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่ผ่าน สนช.ในวันนี้ (28 ก.พ. 62)
- "ภัยคุกคามไซเบอร์" ในร่างกฎหมายนี้ ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาใด ๆ เป็นเรื่องการปกป้องดูแลระบบให้พ้นจากการโจมตีทางไซเบอร์เท่านั้น
- "เนื้อหา" เช่น การวิจารณ์รัฐบาล การสร้างเว็บไซต์ไม่เหมาะสม ฯลฯ ไม่ได้เข้าข่ายเป็นภัยคุกคามตามร่างกฎหมายนี้
- การดำเนินการใด ๆ ของเจ้าหน้าที่ เพื่อยุติหยุดยั้งภัยไซเบอร์ จะต้องขอหมายศาลทุกกรณี ยกเว้น กรณี "วิกฤติฉุกเฉิน" ซึ่งกฎหมายเขียนไว้ชัดว่า หมายถึง เหตุการณ์ที่ประเทศไทยโดนโจมตีโครงสร้างพื้นฐานสำคัญจนเสียหาย ส่งผลกระทบวงกว้าง อาจทำให้ประชาชนล้มตาย
- โทษปรับหรือ/และจำคุก มีไว้สำหรับ เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้อง และ ผู้ใดที่ขัดขวางการยุติภัยไซเบอร์
===================
อ่านฉบับเต็ม อ่านเองให้เข้าใจ ก่อนแชร์ข้อมูลใด ๆ
เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ ไม่ตกเป็นเครื่องมือ
ร่างกฎหมายฉบับปรับปรุง ที่เผยแพร่อย่างเป็นทางการโดยเว็บ สนช.
http://web.senate.go.th/bill/bk_data/512-2.pdf
===================
Infographic ชัวร์ก่อนแชร์ ข้อเท็จจริงเรื่อง #พรบไซเบอร์ [PDF]
https://drive.google.com/…/19Ji8Q9JJQ_NuQH97fz44n7eNS…/view…
===================
การส่งต่อข้อมูลเท็จ อาจไม่ผิด #พรบไซเบอร์
แต่เข้าข่ายเป็นความผิดตาม #พรบคอมพ์ นะครับ
ด้วยความปรารถนาดีจาก
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท
เนื้อหา หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
"นิติวิธีหรือวิธีคิดในทางกฎหมายมหาชน"
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เมื่อวันเสาร์ผมได้เขียนอธิบายความหมายนิติวิธีทางกฎหมายเอกชน ซึ่งผมได้เดินทางจากกรุงเทพฯกลับสุราษฎร์ฯ แวะพักคุณสาหร่าย (ชุมพร) นั่งเขียนงานเพื่ออธิบายทำความเข้าใจการนำหลักวิธีคิดทางกฎหมายในการใช้การตีความกฎหมายมหาชน
นิติวิธีทางกฎหมายมหาชน คือ วิธีคิดที่เป็นแบบแผนหลักในการคิดวิเคราะห์ในเรื่องนั้นๆซึ่งในที่นี้ก็ คือ การคิดวิเคราะห์ในแนวทางของกฎหมายมหาชน แยกออกได้ 2 รูปแบบ คือ นิติวิธีเชิงปฏิเสธหลักกฎหมายเอกชนกับนิติวิธีเชิงประโยชน์สาธารณะกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนหรือเรียกว่า "นิติวิธีเชิงสร้างสรรค์" ดังนี้
1.1 หลักนิติวิธีเชิงปฏิเสธหลักกฎหมานเอกชน
นิติวิธีเชิงปฏิเสธหลักกฎหมายเอกชน หมายถึง การปฏิเสธไม่นำหลักกฎหมายเอกชนมาใช้ในการแก้ปัญหาทางกฎหมายมหาชน นั่นคือ เมื่อจะต้องคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาทางมหาชนซึ่งจะไม่นำหลักกฎหมายเอกชนมาใช้ เช่น เราจะไม่นำหลักวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้โดยตรงในการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีปกครองในศาลปกครอง ซึ่งเป็นหลักกฎหมายพิเศษที่แตกต่างไปจากหลักวิธีพิจารณาคดีแพ่ง เป็นต้น เมื่อกฎหมายมหาชนมีวิธีพิจารณาคดีเฉพาะของตนเอง จึงมีขั้นตอนที่แตกต่างจากวิธีพิจารณาคดีเอกชนหรือวิธีพิจารณาคดีในศาลยุติธรรม โดยเฉพาะระบบการพิจารณาของศาลยุติธรรมกับศาลปกครองไม่เหมือนกัน เนื่องจากศาลยุติธรรมใช้การพิจารณาคดีตาม”ระบบกล่าวหา” (Accusatorial System) แต่ศาลปกครองใช้ “ระบบไต่สวน” (Inquisitorial System)
ดังนั้นนิติวิธีทางกฎหมายมหาชนในลักษณะนิติวิธิเชิงปฏิเสธ คือ ปฎิเสธหลักกฎหมายเอกชนด้วยเหตุผลดังนี้
1.1.1 กฎหมายมหาชนแตกต่างกับกฎหมายเอกชน
เหตุที่หลักกฎหมายมหาชนแตกต่างกับหลักกฎหมายเอกชน นั้นสามารถสรุปได้ 2 ประการ คือ
1.คู่กรณีที่เข้ามามีนิติสัมพันธ์ กฎหมายมหาชนนั้นคู่กรณีฝ่ายหนึ่ง คือ รัฐหรือฝ่ายปกครอง แต่ในกฎหมายเอกชนคู่กรณีทั้งฝ่ายคือเอกชนด้วยกัน
2. จุดมุ่งหมาย กฎหมายมหาชนเป็นจุดมุ่งหมายของรัฐหรือฝ่ายปกครองดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของคนของคนส่วนรวมในสังคม ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือเพื่อประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่กฎหมายเอกชนมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลของคู่กรณีในนิติสัมพันธ์เท่านั้น
1.1.2 กฎหมายมหาชนมีหลักอยู่บนความไม่เสมอภาค
จากที่กฎหมายมหาชนจึงมีความแตกต่างกับกฎหมายเอกชนชัดเจนที่สุด คือ กฎหมายมหาชนนั้นคู่กรณีฝ่ายหนึ่งอันได้แก่ รัฐ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีจุดมุ่งหมายในการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะเท่านั้น กฎหมายมหาชนจึงมีหลักอยู่บนความไม่เสมอภาค จึงทำให้เกิดหลักกฎหมายในเรื่อง “อำนาจพิเศษของฝ่ายปกครอง” หรือ “เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง”ขึ้นมา สรุปได้ดังนี้
1. กิจกรรมที่ฝ่ายปกครองดำเนินการ ต้องเป็นการบริการสาธารณะหรือเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยของรัฐหรืออาจเรียกว่าการกระทำทางปกครอง
2. วิธีการในการทำกิจกรรมที่ฝ่ายปกครองใช้อำนาจเป็นนิติกรรมทางปกครองฝ่ายเดียวที่ก่อนิติสัมพันธ์ขึ้นโดยที่เอกชนไม่ได้สมัครใจก็ได้ เรียกว่า “นิติกรรมทางปกครองฝ่ายเดียว” หรืออาจใช้นิติกรรมทางปกครองสองฝ่าย เรียกว่า “สัญญาทางปกครอง” (Administrative contract)
3. ผลทางกฎหมาย ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่เป็นผลของกิจกรรมข้อที่ 1 และเป็นผลของวิธีการตามที่ ข้อที่ 2 ดังนั้นผลทางกฎหมายของอำนาจพิเศษของฝ่ายปกครองสรุปได้ดังนี้
1) ถือเป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า นิติกรรมทางปกครองหรือสัญญาทางปกครองนั้นชอบด้วยกฎหมายจนกว่าศาลจะพิพากษาให้เป็นอย่างอื่น ซึ่งเป็นเหตุที่ยอมให้ฝ่ายปกครองดำเนินการบังคับไปได้ก่อนโดยไม่ต้องมาศาล เรียกว่า บังคับฝ่ายเดียว
2) นิติกรรมทางปกครองมีผลให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิหน้าที่ทันที เอกชนต้องปฏิบัติตามแม้ไม่ได้สมัครใจ วิธีที่จะให้นิติกรรมทางการปกครองสิ้นผลบังคับก็คือเพิกถอน โดยฝ่ายปกครองเองหรือโดยศาล และการฟ้องคดีต่อศาลปกครองของเอกชนไม่เป็นเหตุให้มีการทุเลาการบังคับของฝ่ายปกครอง เว้นแต่เอกชนจะร้องขอเป็นพิเศษต่อศาลปกครอง ว่าถ้าปฏิบัติไปตามการบังคับของฝ่ายปกครองแล้ว ต่อมาภายหลังศาลพิพากษาให้นิติกรรมทางปกครองนั้นมิชอบก็จะเกิดความเสียหายที่ไม่สามารถจะเยียวยาได้ แต่เอกชนจะต้องพิสูจน์ให้เห็นอย่างจริงจัง และต้องให้ศาลเห็นว่าในวันสุดท้ายที่สุดนั้นเอกชนจะเป็นฝ่ายชนะคดี
3) ฝ่ายปกครองอาจยกเลิกนิติกรรมทางการปกครองให้สิ้นผลในอนาคตได้ แต่การเพิกถอนให้มีผลย้อนหลังนั้น อาจกระทำได้ในบางกรณี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการประสานผลประโยชน์และองค์ประกอบอื่นอีกหลายประการ
4.การบังคับตามสิทธิหน้าที่หรือการพิจารณา ที่เป็นการโต้แย้งกันระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชน ถือว่าจะต้องพิจารณาโดยศาลพิเศษ ด้วยวิธีพิเศษและด้วยกฎหมายพิเศษจากหลักกฎหมายมหาชน
ดังนั้นเมื่อพิจารณาแล้วกฎหมายมหาชนจึงเป็นการกระทำของรัฐที่เข้ามาสร้างนิติสัมพันธ์กับเอกชน จะต้องกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ ที่เรียกว่า “ภารกิจหลักของรัฐ” จึงจำเป็นต้องสร้างหลักกฎหมายต่างๆขึ้นมา เพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้กระทำประโยชน์สาธารณะ เช่นนี้ผลทางกฎหมายมหาชนที่เกิดตามมาก็คือ รัฐ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องมีฐานะเหนือเอกชนและสภาพทางกฎหมายที่รัฐ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ อยู่ในฐานะเหนือเอกชนนี้เรียกว่า “เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง” หรือเรียกว่า “อำนาจพิเศษของฝ่ายปกครอง”
ข้อสังเกต แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาด้วยเหตุผลและโดยสภาพแห่งตรรกวิทยา พบว่านิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนนั้นมีความหมายแตกต่างสิ้นเชิงกับลักษณะของนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับเอกชน ดังนั้น จึงไม่อาจนำหลักกฎหมายเอกชนไม่ว่า วิธีการใช้ การตีความหรืออย่างอื่นได้โดยตรงกับกฎหมายมหาชน แต่อาจนำแนวคิด ทฤษฎีหรือหลักกฎหมายบางอย่างมาประยุกต์ เช่น การนำเอาหลักการบังคับคดีตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องของการบังคับคดีกับเอกชนมาประยุกต์ในการใช้กับการบังคับคดีทางปกครองตามกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครอง เป็นต้น
ในการปฏิเสธการนำหลักกฎหมายเอกชนมาใช้ในกฎหมายมหาชนนั้นทั้งในประเทศที่เป็นระบบกฎหมายมหาชนโดยสภาพ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน ออสเตรียฯลฯ หรือในประเทศที่เป็นระบบกฎหมายมหาชนโดยกฎหมายลายลักษณ์อักษร จะมีวิธีการปฏิเสธอยู่ 2 ระดับ คือการปฏิเสธในระดับองค์กรและวิธีพิจารณา
1.ในระดับองค์กรจะปฏิเสธที่จะไม่นำศาลยุติธรรมพิจารณาแต่จะนำศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญมาพิจารณา
2.ในระดับวิธีพิจารณาถ้าเป็นกฎหมายเอกชนจะใช้วิธีพิจารณาแบบกล่าวหา และถ้าเป็นกฎหมายมหาชนจะใช้หลักวิธีพิจารณาแบบไต่สวน
1.2 นิติวิธีเชิงประโยชน์สาธารณะกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
นิติวิธีเชิงประโยชน์สาธารณะกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนหรือนิติวิธีเชิงสร้างสรรค์เมื่อรัฐ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิเสธที่จะไม่นำหลักกฎหมายเอกชนมาใช้ในการแก้ปัญหาทางมหาชนแล้ว จึงจำเป็นต้องสร้างหลักกฎหมายมหาชน คือ “นิติวิธีสร้างสรรค์” (Law creative Method) ซึ่งเป็นการสร้างหลักในการสานผลประโยชน์สาธารณะกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อให้เกิดดุลยภาพ โดยการสานทั้งสองอย่างนี้ให้ดำเนินเข้าด้วยกัน โดยไม่ให้ข้างใดข้างหนึ่งมากจนเกินไป เพราะหากเป็นเช่นนั้นก็เกิดความเสียหาย
ดังนั้นจุดมุ่งหมายหลักของการประสานประโยชน์สาธารณะกับสิทธิเสรีภาพของเอกชนข้างต้นจะบรรลุผลสำเร็จได้ก็ด้วยคุณสมบัติ ความรู้ ความตระหนักในความสำคัญ และทัศนะของนักกฎหมายมหาชน การตีความเพื่อสร้างกฎหมายมหาชนขึ้นมาบนพื้นฐานของดุลยภาพระหว่างประโยชน์สาธารณะกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเป็นหัวใจของการตีความกฎหมายมหาชน แยกพิจารณาได้ดังนี้
1.2.1 หลักประโยชน์สาธารณะ
ประโยชน์สาธารณะ (Public interest) ประโยชน์สาธารณะเป็นวัตถุประสงค์ของการดำเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนรวม จึงต้องมีอำนาจมหาชนที่จะให้รัฐมีอำนาจเหนือปัจเจกบุคคล เพื่อดำเนินการให้สำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งประโยชน์สาธารณะในฐานะที่เป็นแนวคิดทางกฎหมายมหาชนมีความสำคัญ 2 ประการ คือ
1.ในฐานะที่ประโยชน์สาธารณะ เป็นขอบเขตที่กว้างที่สุดของกฎหมายมหาชนและเป็นการกระทำของรัฐ การมีรัฐหรือฝ่ายปกครองนั้นก็เพื่อดำเนินการในเรื่องที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของคนในสังคม แนวคิดในเรื่องประโยชน์สาธารณะเป็นพื้นฐานของแนวคิดทางสารบัญญัติที่สำคัญของกฎหมายมหาชน เช่น ในเรื่องทฤษฎีบริการสาธารณะ (Public Service) ซึ่งการจะพิจารณาว่ากิจกรรมใดเป็นบริการสาธารณะหรือไม่ กิจกรรมที่เป็นบริการสาธารณะจะต้องมีลักษณะ คือ
1)เป็นกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์มหาชน
2)เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยนิติบุคคลในกฎหมายมหาชน หรืออยู่ภายใต้การควบคุมของนิติบุคคลในกฎหมายมหาชน หมายถึง มีการควบคุมโดยตรงจากองค์กรของรัฐ
3)วิธีการที่ใช้ในการดำเนินการต้องเป็นวิธีตามกฎหมายมหาชน ไม่ใช่วิธีการตามกฎหมายทั่วไป
2. ในฐานะที่ประโยชน์สาธารณะเป็นการควบคุมความชอบด้วยกฎหมาย ต้องมีองค์กรควบคุม คือ ศาล ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมไม่ให้การกระทำของรัฐดำเนินไปในลักษณะที่นอกเหนือไปจากเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ดังนั้นหัวใจของกฎหมายมหาชนจึงอยู่ที่วัตถุประสงค์ของกิจกรรมของรัฐที่ต้องเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนรวมซึ่งต่างจากกิจกรรมของเอกชนที่มุ่งตอบสนองความต้องการส่วนตัว โดยหลักแล้วจะเป็นรัฐสภาซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนกับศาลจะเป็นผู้ตีความว่าอะไรคือประโยชน์สาธารณะ
รัฐสภาซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของปวงชน ดังนั้น ถ้ารัฐสภาออกกฎหมายมาให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐดำเนินการเรื่องใด เราจึงถือว่าผู้แทนของปวงชนส่วนใหญ่ได้แสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ตามความต้องการของคนส่วนรวมที่เรียกว่า ประโยชน์สาธารณะ เช่น รัฐสภาออกกฎหมายให้รัฐดำเนินการศึกษา การป่าไม้ การรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เป็นต้น
ส่วนศาลจะเป็นผู้กำหนดขอบเขตประโยชน์สาธารณะ โดยการใช้หลักการพิจารณาถึง เนื้อหา เวลา สถานที่ จึงเป็นปัจจัยที่ศาลต้องพิจารณาตลอดเวลาทั้งในกรณีที่มีกฎหมายและไม่มีกฎหมาย
1.2.2 การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
สิทธิเสรีภาพของประชาชน สิทธิ (Right) หมายถึง อำนาจตามกฎหมายที่บุคคลได้รับรองและคุ้มครองให้ กฎหมายในที่นี้เป็นกฎหมายที่มีฐานะสูงสุด คือ รัฐธรรมนูญ เมื่อกล่าวถึงสิทธิในรัฐธรรมนูญ จึงหมายถึง สิทธิในทางมหาชน (Public Right) ซึ่งมีหลักเกณฑ์คลุมถึงสิทธิในทางเอกชน (Private Right)
เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ความมีอิสระที่จะกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เสรีภาพจึงมีความหมายต่างกับสิทธิ อย่างไรก็ตามถ้าเสรีภาพใดมีกฎหมายรับรองและคุ้มครองเสรีภาพนั้นก็อาจเป็นสิทธิด้วย ดังที่มักมีผู้เรียกรวมๆกันไปว่าสิทธิเสรีภาพ
การดำเนินของรัฐ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ถึงแม้ว่าจะเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ต้องไม่กระทบสิทธิเสรีภาพ หรือทำลายสิทธิเสรีภาพของประชาชน ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นหน้าที่ของกฎหมายที่จะรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และต้องกำหนดกฎเกณฑ์ทั้งหลายให้ใช้บังคับการกระทำของรัฐ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้เมื่อการละเมิดกฎเกณฑ์เหล่านั้น ก็ต้องมีวิธีการให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องรับผิดชอบ ดังนี้
1.การรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยกฎหมายมหาชน รัฐเสรีประชาธิปไตย ถือว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนทุกคนในสังคมเป็นหัวใจของการเมืองการปกครอง จึงให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้ในกฎหมายสูงสุด คือ รัฐธรรมนูญ สิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ได้รับรองคุ้มครองโดยกฎหมาย ซึ่งรวมกลุ่มใหญ่ได้ 5 ประการ คือ
1) ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตร่างกาย คือ เสรีภาพที่มนุษย์ไม่สามารถปฏิเสธได้เป็นเสรีภาพที่ทุกคนต้องการ เป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนต้องการและจัดเป็นเหตุสำคัญที่สุดที่นักปรัชญากฎหมายเห็นกันว่าเป็นเหตุให้มนุษย์รวมตัวกันเป็นสังคม ดังนั้นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพดังกล่าวถือว่าเป็นความสำคัญมากกว่าสิทธิเสรีภาพอื่นๆ เพราะถือว่าสิทธิเสรีภาพดังกล่าวเป็นพื้นฐานของเสรีภาพอื่นๆ ด้วย
2) เสรีภาพในชีวิตส่วนตัว รัฐตระหนักถึงว่ามีเสรีภาพของบุคคลบางอันมีขอบเขตที่มีความเป็นอิสระและปฏิเสธการที่บุคคลอื่นเข้ามารุกรานเสรีภาพ เสรีภาพดังกล่าวก็คือ เสรีภาพในชีวิตส่วนตัวซึ่งได้แก่ เสรีภาพในเคหสถาน เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร เสรีภาพในความลับส่วนบุคคล เสรีภาพในข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
3) เสรีภาพในตัวบุคคล เป็นเสรีภาพที่บุคคลสามารถกระทำอะไรกับร่างกายของตนก็ได้ บุคคลอื่นจะก้าวล่วงเข้ามาขัดขวางการเคลื่อนไหวทางกายภาพของเขาไม่ได้ เช่น เสรีภาพในการเดินทาง บุคคลอื่นจะเข้ามาก้าวล่วงในร่างกายของเขาโดยปราศจากการยินยอมไม่ได้ เช่น การผ่าตัดคนไข้ต้องได้รับความยินยอมจากคนไข้ เป็นต้น
สิทธิเสรีภาพในตัวบุคคล เป็นสิทธิของแต่ละคนที่จะเคารพในเนื้อตัวร่างกายของตนที่จะสามารถกระทำอะไรกับเนื้อตัวของตนเองภายใต้กรอบของกฎหมาย ตัวอย่างเช่น การเร่ขายบริการทางเพศ จะเห็นได้ว่าบุคคลที่กระทำดังกล่าวใช้เสรีภาพในตัวบุคคลและอ้างว่าสามารถทำได้ แต่ในกรณีนี้จะอ้างว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสิทธิเสรีภาพในตัวบุคคลไม่ได้ เนื่องจากเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายการค้าประเวณี เป็นต้น
4) เสรีภาพทางปัญญาและศีลธรรม สมองของมนุษย์เป็นผลผลิตทางธรรมชาติที่เป็นอวัยวะที่สำคัญเหนือการคาดเดาได้ว่า มนุษย์จะใช้สมองคิดไปในทางใด คิดอย่างไร มนุษย์สามารถแสดงออกสิ่งที่ตนเองคิด สิ่งที่ตนเองเชื่อได้ เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในทางความเชื่อ เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในทางวิชาการ เสรีภาพในการรวมตัวเป็นกลุ่ม เป็นต้น
ปัจจุบันเสรีภาพทางปัญญาและศีลธรรมอาจจะแสดงออกมาในทางสื่อต่างๆ ไม่ว่าสื่อทางด้านละคร เสรีภาพของวิทยุโทรทัศน์ เป็นการแสดงออกถึงการกกระจายทางความคิด รวมถึงผู้สอนหนังสือซึ่งเป็นเสรีภาพทางความคิด เสรีภาพในการประชุม เสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการประท้วงเสรีภาพในการนับถือศาสนา เป็นต้น
5) เสรีภาพทางเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่เสรีภาพประเภทนี้มีลักษณะพิเศษเกี่ยวกับการประกอบอาชีพในทางเศรษฐกิจ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพดั้งเดิม คือ เสรีภาพตามแนวคิดปัจเจกชนนิยม เสรีภาพประเภทนี้ เช่น เสรีภาพในกรรมสิทธิ์ เสรีภาพในการทำงาน เสรีภาพในอุตสาหกรรมและพาณิชกรรม เสรีภาพในการเป็นสหภาพ เสรีภาพในการนัดหยุดงาน เป็นต้น
2. กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในกรณีจำเป็นต้องจำกัดสิทธิเสรีภาพ การที่ทุกคนที่มีสิทธิเสรีภาพนั้นถ้าไม่มีขอบเขตจำกัด ทุกคนจะใช้สิทธิเสรีภาพนั้นเกินเลยทำให้เกิดปัญหาในทางสังคมได้ รัฐจึงจำเป็นต้องมาแทรกแซงเข้ามาจัดการคุ้มครองไม่ให้ผู้อื่นมาละเมิดสิทธิเสรีภาพของเรา ซึ่งการจำกัดสิทธิเสรีภาพนั้นจำเป็นต้องกระทำอย่างน้อย 4 ประการ ดังนี้
1) การจำกัดเสรีภาพเพื่อคุ้มครองเสรีภาพผู้อื่นและคุ้มครองสังคม การจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล รัฐต้องตรากฎหมายมาจำกัดสิทธิเสรีภาพและกฎหมายดังกล่าวต้องเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นมาจากองค์กรที่เป็นตัวแทนของประชาชนด้วยตามครรลองในการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งก็คือฝ่ายนิติบัญญัติ แต่อย่างไรก็ตามการจำกัดสิทธิเสรีภาพเพื่อคุ้มครองสังคมและคุ้มครองเสรีภาพผู้อื่นนั้น คงเป็นไปไม่ได้เลยที่รัฐจำกัดสิทธิเสรีภาพโดยไม่คงเหลือสิทธิเสรีภาพอะไรเลยให้แก่ประชาชน
2) การคุ้มครองเสรีภาพจากการละเมิดของรัฐ ในขณะที่รัฐตรากฎหมายมาจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้นั้น รัฐเองก็ต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองประชาชนด้วย การคุ้มครองเสรีภาพจากการละเมิดของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ มีอยู่ 3 ระดับด้วยกันดังนี้
(1) สิทธิเสรีภาพบางประเภทนั้นรัฐไม่สามารถตรากฎหมายออกมาจำกัดได้เลย เสรีภาพประเภทนี้เป็นเสรีภาพที่มีการรับรองไว้อย่างสมบูรณ์ เช่น สิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา เป็นต้น
(2) การจำกัดสิทธิเสรีภาพนั้นต้องตราเป็นกฎหมายที่มาจากรัฐสภาซึ่งแสดงออกถึงเจตนารมณ์ของประชาชน ซึ่งถือว่าเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนเท่านั้นที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นหากรัฐต้องการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในเรื่องใด รัฐต้องตรากฎหมายออกมาในรูปของพระราชบัญญัติ มิเช่นนั้นรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่สามารถกระทำการได้ เว้นแต่ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ ความมั่นคงของรัฐหรือ ในกรณีที่เกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ถ้ามีความจำเป็นรีบด่วนและลับฝ่ายบริหารนั้นสามารถตราพระราชกำหนดมาจำกัดสิทธิเสรภาพของประชาชนนั้นได้ แต่เมื่อเข้าสู่สมัยประชุมนิติบัญญัติต้องนำพระราชกำหนดนั้นให้สภาอนุมัติ
(3) ถ้ามีการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน รัฐต้องจัดให้มีองค์กรทำหน้าที่คุ้มครองประชาชนที่ถูกละเมิด เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง เป็นต้น นอกจากนี้ฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายมาจำกัดสิทธิเสรีภาพและขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว รัฐต้องมีองค์กรชี้ขาดในเรื่องดังกล่าว เช่น องค์กรทางการเมือง ศาลยุติธรรมหรือศาลพิเศษคือ ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
3) การคุ้มครองเสรีภาพจากการละเมิดของบุคคลอื่น การกระทำหน้าที่ดังกล่าวของรัฐเป็นไปเพื่อการปกป้องคุ้มครองคนทุกคนในสังคม ให้มีความสงบสุขและต้องการมีการกำหนดโทษไว้ถ้ามีการละเมิดสิทธิเสรีภาพเกิดขึ้นทั้งทางแพ่ง ทางอาญา ทางปกครองและทางรัฐธรรมนูญ
4) การจัดให้มี “หน้าที่” ของรัฐในเสรีภาพใหม่ เมื่อรัฐให้สิทธิเสรีภาพและคุ้มครองแก่ประชาชนแล้ว รัฐก็มีพันธะหรือหน้าที่กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ กล่าวคือ
(1) หน้าที่กระทำการ เมื่อบุคคลในรัฐมีสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด สิทธินั้นจะสมประโยชน์ได้ก็แต่ด้วยการกระทำของรัฐ บุคคลย่อมสามารถบังคับให้รัฐกระทำการเพื่อให้สิทธิของตนสมประโยชน์ได้ เช่น สิทธิในความเสมอภาคในทางกฎหมาย ทำให้รัฐมีหน้าที่แก้ไขกฎหมายภายในอื่นที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ สิทธิในการได้รับการศึกษา ทำให้รัฐมีหน้าที่จัดหาสถานที่ศึกษาให้เพียงพอและสนับสนุนการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
(2) หน้าที่งดเว้นการกระทำการ สำหรับสิทธิเสรีภาพบางประการเมื่อบุคคลในรัฐใดมีสิทธิเสรีภาพในการกระทำการใด บุคคลนั้นย่อมกระทำการนั้นได้โดยอิสระปราศจากการแทรกแซงของรัฐ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ รัฐเป็นฝ่ายต้องงดเว้นกระทำการ เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพในการชุมนุมหรือเดินขบวน หากได้มีกฎหมายบัญญัติรับรองไว้ รัฐย่อมมีหน้าที่ละเว้นการเข้าแทรกแซงหรือปราบปราม แต่ทั้งนี้การตีความบทบัญญัติในกฎหมายก็เป็นสิ่งสำคัญซึ่งต้องคำนึง เพราะรัฐอาจใช้การตีความกฎหมายเป็นเครื่องมือในการวางหลักเกณฑ์ตลอดจนระดับความหนักเบาแห่งการงดเว้นกระทำการได้
3. การละเมิดกฎเกณฑ์ที่คุ้มครองหรือจำกัดเสรีภาพ จะต้องมีองค์กรชี้ขาดที่เป็นอิสระและทำให้การละเมิดนั้นหมดไป ซึ่งในประเทศต่างๆ (ประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตย) จึงถือว่าการที่จะทำให้เสรีภาพได้รับการคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ จะต้องมีปัจจัย อีก 2 ประการ คือ
1) การมีองค์กรอิสระในการตัดสินชี้ขาดการละเมิด ในประเทศที่ใช้ระบบหลักนิติรัฐ นั้นถือว่าต้องให้ศาลซึ่งเป็นศาลยุติธรรมหรือศาลพิเศษ (เช่น ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ) ในระบบกฎหมายมหาชนเป็นผู้ชี้ขาดให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเป็นองค์กรคุ้มครองเสรีภาพของปัจเจกบุคคล
2) การมีมาตรการให้การละเมิดนั้นหมดไปและให้ค่าเสียหาย ศาลที่มีความเป็นอิสระมีอำนาจทำให้การละเมิดเสรีภาพนั้นยุติลง และต้องจ่ายค่าเสียหายให้ปัจเจกชนที่เสียหายด้วย
ดังนั้นการสร้างหลักกฎหมายมหาชนที่เป็นนิติวิธีเชิงสร้างสรรค์ ต้องอยู่บนพื้นฐานของกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะและต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เกิดดุลยภาพกันในสังคม ที่มีอยู่ในกฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่น หลักการรับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อความมั่นคงของรัฐ หลักนิติรัฐ (Legal State) ที่ปรากฏอยู่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นต้น กฎหมายปกครองที่อยู่บนพื้นฐานหลักประโยชน์สาธารณะ ในการบริการสาธารณะแก่ประชาชน เป็นต้น
เนื้อหา หมายถึง 在 ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเผยแพร่วิดีโอบน Facebook 的推薦與評價
เพจของคุณควรเป็นแพลตฟอร์มของคุณเอง กล่าวคือ ... เนื้อหาบน Facebook ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นของแท้ ควรมีสัญญาณของความเป็นต้นฉบับสูง. ... <看更多>
เนื้อหา หมายถึง 在 รู้จัก Fake News ทั้ง 7 รูปแบบ ที่อาจเจอทุกวันบน Facebook และ ... 的推薦與評價
ทุกวันนี้ปัญหาบนโลกออนไลน์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นวงกว้างในทุกประเทศ ทุกสังคม และทุกวัฒนธรรมก็คือข่าวปลอมหรือข่าวที่มีเนื้อหาบิดเบือน ... ... <看更多>