ถ้าอากาศเย็นกว่านี้ คงนึกว่าอยู่คลองชองกเยชอน
ป้าดโถ้ะ ถนนคนเดินเเห่งใหม่
เรียกว่า ยกเครื่อง โมหน้าตาได้สวยน่าเดิน
จุดนี้ ถ้าเป็นการ รีเมค คือ รายการดาวล้านดวงอะ
รีเมคได้สุดปัง อลังการ จนจำหน้าเดิมไม่ได้
ริมคลองโอ่งอ่าง หรือเรียกง่ายๆ ว่า เส้น สะพานเหล็ก
เมื่อก่อน เป็นหลังคาเเน่นๆ เเออัดมาเลย
ตอนนี้ยกเครื่องใหม่ หน้าตาดี หล่อเหลา สวยงาม
ประหนึ่งคลองชองกเยชอน ที่่เกาหลี
หรือใครสาย ญี่ปุ่น ตรงนี้คือ นาคาเมกุโระ
ทุก ศ-อาทิตย์ ตอนนี้ มีของขาย
พร้อมสตรีทอาร์ต + ฝาท่อให้ถ่ายรูปกันด้วย
ไปเดินถ่าย เช้คอินกันได้ ดีงามอยู่นะ
🚩 ถนนคนเดิน ริมคลองโอ่งอ่าง
🚗 ไม่มีที่จอด ลง MRT สามยอดประตู 1 แล้วเดินมา
🕐 ศุกร์ - อาทิตย์ ตั้งแต่ 16.00-22.00 น
📸 ขอบคุณรูปวิวฝาท่อสวยๆ
จาก คุณ ศราวุฒิ เกื้อผอม
รีเมค คือ 在 แบนโจ Facebook 的最佳解答
รู้ไหมช่วงเนี้ยผมนอนคิดเรื่องเกมอยู่นะว่า ยุคที่เราอยู่ ณตอนเนี้ย คือ ยุคแห่งวัยเด็ก...ทุกสิ่งทุกอย่างถูกกลับมา รีเมค รีมาสใหม่หมด ซึ่งไม่ใช่ว่าไม่ใช่เรื่องดีนะ แค่!!!
.
มันเริ่มเยอะมากๆจน ตอนนี้เริ่มไม่ค่อยมีเห็นอะไรใหม่ๆหละ บวกกับมันเห็นได้ชัดเลยว่า ค่ายเกมบางค่ายแค่อยากจะเกาะกระแสโดยการ รีเกม ออกมางั้นๆไม่ได้แก้ หรือพัฒนาอะไรเลย
.
คือเอา ง่ายๆ ทำให้ภาพดูดีขึ้น แต่พวก bugs พวกข้อเสียจาก PS1 หรือ วิธีการเล่นที่โดนกำจัดเอาไว้น ณ ยุคนั้น ซึ่งควรจะแก้ แต่ก็ไม่ล่ะกลับมาในเวอร์ชั่น รี
รีเมค คือ 在 Taepoppuri Facebook 的最讚貼文
🎼 หัวข้อชวนคุยวันนี้หนักเพลงกดลิงค์ที่แนบมาฟังไปด้วยจะได้อารมณ์มากขึ้น 😙
สองประเด็นที่เราประทับใจในด้านเพลงประกอบของ FF7 Remake คือ 1.เป็นเพลงประกอบที่สอดประสานเข้ากับคัทซีน ถ่ายทอดอารมณ์ประจำฉากอย่างกลมกลืน และ 2.หลายเพลงเป็นท่วงทำนองเก่าแก่ดั้งเดิม แต่ถูกนำเสนอในรูปแบบใหม่ได้อย่างลงตัว
และวันนี้ก็มาพูดถึงคนที่อยู่เบื้องหลังผลงานอย่างคุณฮามาอุซึค่ะ
.
.
อธิบายก่อนว่า เพลงประกอบใน FF7 Remake นั้น มีผู้รับผิดชอบหลักสองคน คือ มาซาชิ ฮามาอุซึ และ มิทสึโตะ ซูซูกิ โดยมีคุณฮามาอุซึเป็นแกนหลัก
.
งานที่ทำนั้นนอกจากการแต่งเพลงใหม่แล้ว ก็ต้องนำเพลงเก่าทั้งหมดที่แต่งโดยโนบุโอะ อุเอมัตสึมาเรียบเรียงใหม่ (Arrange) ส่วนคุณโนบุโอะในครั้งนี้ ด้วยอายุที่มากแล้วและปัญหาสุขภาพ จึงรับบทให้คำปรึกษาและลงมือแต่งเพลงใหม่หนึ่งเพลง คือเพลงธีม Hollow ในฉากจบ
.
สาเหตุที่คุณโนบุโอะ ผู้ประพันธ์ดั้งเดิมของ FF7 เลือกคุณฮามาอุซึให้มารับผิดชอบรื้อฟื้นผลงานในตำนานของตน ก็ต้องย้อนไปดูประวัติในอดีตกันก่อน
.
.
คุณฮามาอุซึและคุณโนบุโอะนั้นคุ้นเคยกันมานาน รู้จักกันตั้งแต่สมัยคุณฮามาอุซึเพิ่งเข้าบริษัทในฐานะเด็กฝึกงานเมื่อปี 1996 และทั้งคู่เคยร่วมงานกันในฐานะผู้ประพันธ์ร่วมของ FF10 ตามภาพซ้ายบน (อีกคนหนึ่งคือจุนยะ นาคาโนะ)
หลายๆเพลงเด่นใน FF10 ที่คุณโนบุโอะแต่ง ก็มอบหมายให้คุณฮามาอุซึเป็นคนเรียบเรียง
.
เช่น
Some day the dream will end
https://youtu.be/-eL7DUlUB_E
หรือ The Sending
https://youtu.be/4WMuMlUTsfY
ส่วนเพลงติดหูที่คุณฮามาอุซึแต่งและเรียบเรียงเองก็เช่น Besaid Island, Wandering Flame, People of the Far North, Blitz Off!
.
เมื่อคุณโนบุโอะออกจาก SQEX ในปี 2004 ผู้ที่ขึ้นมารับตำแหน่งผู้ประพันธ์หลักของแผนกดนตรีก็คือคุณฮามาอุซึนี่เอง
.
ความสัมพันธ์ที่เป็นทั้งอาจารย์และเพื่อนต่างรุ่น ทำให้คุณโนบุโอะรู้สไตล์ไปจนถึงฝีมือการเรียบเรียงของคุณฮามาอุซึดี และไว้ใจที่จะฝากหน้าที่สำคัญในการรับผิดชอบงานเพลงของ FF7 Remake ครั้งนี้ ซึ่งเน้นหนักในการเรียบเรียง ต้องเข้าใจเพลงต้นฉบับ และนำเสนอได้อย่างมีชั้นเชิง
.
.
*อธิบายคร่าวๆ ใครทำงานสายดนตรีช่วยอธิบายเพิ่มจะดีใจมาก lol
การ Arrange ไม่ใช่แค่การนำเพลงเก่ามาเล่นใหม่อัดใหม่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน แต่เป็นการแกะองค์ประกอบของเพลงนั้นๆ แล้วเอามานำเสนอใหม่ อาจเปลี่ยนโครงสร้าง เครื่องดนตรี จังหวะ หรือเปลี่ยนอารมณ์เปลี่ยนสไตล์ไปเลย จากเพลงสนุกเป็นเพลงซึ้ง จากคลาสสิกเป็นแจ๊ส เป็นต้น จะว่าไปมันก็คือการ’รีเมค’ในรูปแบบของเพลงนั่นเอง
.
.
อีกหนึ่งเหตุผลร่วม ที่ทำให้เพลงประกอบสอดประสานเข้ากับคัทซีน ถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างกลมกลืน คือการที่คุณฮามาอุซึได้กลับมาร่วมมือกับ โมโตมุ โทริยาม่า ซึ่งเป็นผู้กำกับคัทซีนและดูแลงานส่วนซีนาริโอ้ในครั้งนี้
.
แฟนซีรีส์หลายคนแซวเล่นปนจริงจังตลอดหลายปีที่ผ่านมา ว่าคุณโทริยาม่าที่กำกับ FF10 และ ไตรภาค FF13 นั้นเหมาะกับการกำกับงานด้านเนื้อหา แต่ไม่เหมาะกับการกำกับเกมทั้งเกม เพราะรูปแบบการเล่นมักบีบบังคับตายตัว ขาดอิสระ พูดง่ายๆคือทำคัทซีนดีทำเก่ง แต่เกมเป็นเส้นตรง ไม่น่าค้นหา
.
สำหรับ FF7 Remake นี้ก็ประจวบเหมาะที่เป็นโปรเจกต์สำคัญ ทีมงานขนาดใหญ่มีผู้กำกับร่วมถึงสามคน โดยคุณโทริยาม่าที่รับผิดชอบตำแหน่งผู้กำกับร่วม (Scenario director) ก็มาดูแลเฉพาะเจาะจงในส่วนของการเล่าเรื่องและการกำกับคัทซีน (คนเล่นเฮในหลายๆความหมาย 🤣) รวมถึงรับผิดชอบด้านการประสานงานเพลงประกอบด้วย
.
การต้องประสานงานกับนักประพันธ์ ก็เข้าทางพอดีเพราะคุณฮามาอุซึและคุณโทริยาม่าเคยร่วมงานกันมาแล้ว ทั้ง FF10 และ ไตรภาค FF13
.
คุณฮามาอุซึอธิบายถึงกระบวนการทำงานกับซีรีส์ FF ว่าต่างไปจากการแต่งเพลงให้หนัง หรืออนิเมชั่น ที่ปรกติจะมีผู้กำกับเสียงคอยบอกว่าต้องการเพลงแบบไหนในฉากไหน ในการทำงานกับคุณโทริยาม่า ทั้งสองคนจะมานั่งคุยกันเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่อง ตัวละคร และโลกที่ตัวละครอาศัยอยู่
.
‘ตัวละครรู้สึกอะไรอยู่’
‘คัทซีนนี้ต้องการสื่ออะไร’
‘ตัวละครนี้มีบุคลิกแบบนี้ แต่อันที่จริงมีแง่มุมนี้ซ่อนอยู่ด้วย เราอยากจะเน้นจุดนี้ ถ้ามีเปียโนก็จะดี’
‘ถ้าแบบนั้น ใส่ลูกเล่นแบบนี้เข้าไป จะน่าสนใจกว่ารึเปล่า?’
ผู้กำกับและนักประพันธ์จะปรับจูนความเข้าใจให้ตรงกัน โจทย์ที่ไม่เฉพาะเจาะจงแบบนี้ทำให้คุณฮามาอุซึใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่ แล้วก็แต่งเพลงได้อย่างลื่นไหล
.
.
กลับมาดูรายละเอียดในผลงานของคุณฮามาอุซึ ก่อนหน้านี้ ผลงานที่โดดเด่นของเขาที่ทั่วโลกรู้จัก คือการประพันธ์เพลงประกอบให้ซีรีส์ SaGa, FF10 และ FF13 โดยเฉพาะเพลงที่ดังที่สุดของภาค 13 อย่าง Blinded By Light เป็นเพลงสู้ที่ติดหูด้วยทำนองโซโล่ไวโอลินอันเฉียบขาด ให้อารมณ์สวยงามแต่ก็ดุดันในเวลาเดียวกัน
.
แม้ในเกมภาคที่มีผู้แต่งร่วมหลายคน ถ้าได้ยินเพลงเมโลดี้งามๆแต่เศร้าปนซึ้ง ก็รู้ได้เลยว่าเป็นฝีมือคุณฮามาอุซึ ไม่ว่าจะเป็นเพลงต่อสู้ เพลงธีม เพลงประกอบฉาก เขามักจะใส่ทำนองที่สวยงามลงไปด้วยเสมอ
เช่น Lucrezia Crescent
https://youtu.be/u8Pqy-CY2o4
Serah’s theme
https://youtu.be/Pj5rLHxmGfE
.
นอกจากนั้น เอกลักษณ์ของคุณฮามาอุซึคือการใช้รูปแบบดนตรีที่หลากหลาย ทั้ง classic, rock, bossa nova, jazz, electronic ambiance และการใส่’เนื้อร้อง’ลงไปในเพลง
.
ในไฟนอลภาค 1-12 เพลงประกอบที่ใช้ในเกม ถ้าจะมีเนื้อร้องในเพลง ก็ต้องเป็นเพลงบอสใหญ่ หรือเมนธีมเท่านั้น ไม่ค่อยใช้เสียงร้องประกอบเพลงในฉากหรือธีมตัวละคร เพราะโดยปรกติผู้ประพันธ์กลัวคนเล่นจะเบื่อหากต้องฟังเนื้อร้องซ้ำๆ
.
แต่ในไตรภาค 13 นั้นมีเพลงร้องประกอบฉากมากมาย รวมไปถึงเพลงธีมประจำตัวละครก็ชอบใส่เนื้อร้องที่มีความหมายลึกซึ้งด้วยเช่นกัน
อาทิ Dust to dust
https://youtu.be/I5HK60dTLgw
.
เอกลักษณ์ทั้งหมดเหล่านี้ ปรากฏขึ้นในเพลงประกอบของ FF7 Remake อันไหนเป็นเพลงเก่าคุณฮามาอุซึก็เข้าใจถึงจุดเด่นของแต่ละเพลงและนำมาเรียบเรียงใหม่ให้ลงตัว อันไหนเป็นเพลงใหม่ก็จะแต่งให้มีรสชาติไม่ซ้ำเดิม มาฟังตัวอย่างเพลงจาก 7 Remake บ้าง
แอริธธีม ท่อนนี้ลายเซ็นฮามาอุซึชัดเจน
https://youtu.be/b8-1xZ-yfFA?t=208
อันนี้ก็ชัด...เพลงใหม่ Collapsed Expressway https://youtu.be/49NWTklKZ3Y
ส่วนฉบับแบทเทิล
https://youtu.be/q5El-bsM_C8
น่าจะคุณฮามาอุซึแต่งแล้วคุณซูซูกิเรียบเรียง มีความ 13-2 มาก
.
.
การใช้เพลงแนวใหม่ๆเข้ามาในผลงานคลาสสิกอย่าง FF7 ก็ค่อนข้างเสี่ยงต่อการโดนวิจารณ์ แต่ส่วนตัวแล้วเราชอบนะ โดยไม่เกี่ยวกับว่าชอบผลงานของเขาเป็นการส่วนตัวอยู่แล้ว
.
ต่อให้เป็นนักประพันธ์ที่ไม่รู้จัก แต่การที่มีความกล้าหาญที่จะใส่อะไรใหม่ๆในสไตล์ของตัวเองลงไป ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ มีความคิดสร้างสรรค์และศักดิ์ศรีในฐานะศิลปิน เป็น Artistic freedom นั่นแหล่ะ
.
ก็เหมือนกับตัวเกม 7 Remake เองที่แม้จะใช้ชื่อรีเมค แต่ก็เป็นตัวของตัวเอง เพลงของคุณฮามาอุซึเองในพาร์ทต่อไปก็คงจะมีรสชาติและลายเซ็นอันชัดเจนเช่นเดิม
ก็รอฟังว่าจะเรียบเรียงเพลงเก่าของคุณโนบุโอะอย่างไร และจะมีเพลงอะไรใหม่ๆใส่เข้ามาในจักรวาลของ FF7 บ้างค่ะ
.
.
.
ป.ล. ซีรีส์ FF มีชื่อเสียงในด้านเพลงประกอบ ไม่เคยเล่นก็ยังต้องได้ยินมาบ้าง แต่คนทั่วไปก็จะรู้จักแค่ชื่อของลุงโนบุโอะ
ถ้ามีโอกาส ก็อยากจะมาเล่าให้ได้รู้จักนักประพันธ์มากฝีมือคนอื่นๆในซีรีส์ ทั้งมาซาโยชิ โซเคน (FF14) ทาเคฮารุ อิชิโมโตะ (Type-0, TWEWY) ฮิโตชิ ซากิโมโตะ (Tactics, FF12) โยโกะ ชิโมมูระ (KH, FF15) และคนอื่นๆ เพราะสำหรับเรา นักประพันธ์เหล่านี้ เป็นคนสำคัญที่ทำให้ประสบการณ์การเล่นเป็นที่น่าจดจำตรึงใจ
.
ป.ล.2 FF7 Remake มีการใช้เพลงประกอบในรูปแบบใหม่ๆ เช่นการเปลี่ยนเพลงระหว่างฉากสู้ไปยังคัทซีนอย่างกลมกลืน ดูทีมงานพูดเรื่องนี้ได้จากเบื้องหลัง FF7R ตอนที่ 4 https://youtu.be/DliMpiemUy8 ถ้ามีเวลาดูทุกตอนเลยก็ได้ สนุกดีค่ะ
.
.
ที่มาบทสัมภาษณ์ต่างๆ
https://bit.ly/2W4r04E
https://bit.ly/3aMT01Y
#FF7R #SQEX