เพราะการทำธุรกิจ เปรียบเสมือนการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด ไม่ว่าจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว เชื่อว่าทุกคนที่เดินบนเส้นทางนี้ย่อมได้รับบทเรียนและข้อคิดมากมาย ซึ่งแน่นอนว่าวันนี้ ผม “ก้อง อรรฆรัตน์ นิติพน” CEO บริษัท มัชรูม กรุ๊ป จำกัด และพิธีกรรายการ อายุน้อยร้อยล้าน มีเรื่องราวดีๆ มาฝากพ่อค้าแม่ขาย และผู้ประกอบการทุกท่าน หากต้องการบริหารธุรกิจให้มั่นคง เติบโต และอยู่รอด นั่นก็คือ “การบริหารจัดการเงิน” จากคุณตง “หม่อมหลวงพอยศ กัลยาณะวงศ์” กรรมการบริหาร บริษัท มัชรูม กรุ๊ป จำกัด อีกหนึ่งบุคคลสำคัญที่สามารถพาบริษัทก้าวข้ามทุกวิกฤตไปได้ กับประสบการณ์ด้านการเงินในแวดวงธุรกิจ SME กว่า 20 ปี
1.“กำไร = (ยอดขาย - ต้นทุนแปรผัน) – ต้นทุนคงที่” ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็กหรือใหญ่ ล้วนแล้วแต่มีหลักการบริหารการเงินที่เริ่มต้นมาจากสมการสั้นๆ ง่ายๆ นี้ด้วยกันทั้งนั้น
2. ต้องมียอดขายให้ได้มากกว่าต้นทุนทั้งหมดที่มี ทั้งต้นทุนแปรผันและต้นทุนคงที่ เพราะบางครั้งรายได้เยอะก็ไม่ได้หมายความว่า “เงินที่เหลือ” จะเยอะตามไปด้วย หากคุณยังมีต้นทุนที่ต้องจ่าย แล้วค่อยคิดเรื่องมีกำไรมีเงินเยอะ
3. ต้นทุนทั้งหมด มีความหมายรวมถึงต้นทุนที่จ่ายไปแล้ว และที่ยังรอจ่ายในอนาคตด้วย
4. เมื่อเราต้องการมียอดขายที่มาก สิ่งถัดมาที่ต้องคิด คือ “ต้องเตรียมเงินลงทุนไว้เท่าไร” และ “ทำอย่างไรให้มีกำไร”
5. พยายามแยกแยะงบกำไรขาดทุนทางบัญชีกับกระเเสเงินสดในมือให้ออก เพราะมันเป็นคนละเรื่องกัน แต่สำหรับ SME น่าจะสนใจอย่างหลังมากกว่า
6. กำไรก็สำคัญ แต่กระแสเงินสดสำคัญกว่า ดังนั้น อย่าสนใจเพียงแค่กำไร แต่ต้องบริหารจัดการกระแสเงินสดให้มีสภาพคล่องหมุนเวียนดีด้วย
7. ”ขายดีจนเจ๊ง” "ยิ่งขายดียิ่งขาดทุน" คือเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยกับ “ธุรกิจ” ที่หาเงินอย่างเดียว แต่ไม่ “บริหารเงิน” ให้ดี
8. โมเดลธุรกิจมีหลายรูปแบบ อย่าเลือกแต่ที่คิดว่าจะทำเงินได้เพียงอย่างเดียว แต่จงเลือกโมเดลธุรกิจที่เหมาะกับตัวคุณ เมื่อยิ่งชอบ จะยิ่งอยากทำ
9. การเลือกโมเดลในการทำธุรกิจ มีผลอย่างยิ่งต่อการบริหารเงินและการเริ่มธุรกิจ
10. เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะลงทุนทำธุรกิจ สิ่งแรกที่ต้องรู้ก่อนคือ เอาเงินจากที่ไหน ? “เงินตัวเอง” หรือ “กู้” หากเงินตัวเอง จะมีเพียงพอตลอดการทำธุรกิจหรือไม่ แล้วถ้ากู้ จะกู้จากที่ใด คนใกล้ตัว ครอบครัว เพื่อน หรือ สถาบันการเงิน ต้องวางแผนให้ดีและรัดกุมที่สุด
11. หากถามว่าควรใช้ “เงินตัวเอง” หรือ “กู้แบงก์” ดีกว่ากัน ? ขึ้นอยู่กับว่าคุณสะดวกทางไหน แต่ถ้าให้แนะนำเมื่อแบงก์ให้กู้ ก็ควรกู้แบงก์ เพราะไม่มีใครรู้ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจบ้าง ที่สำคัญไม่มีอะไรรับรองได้ว่า เมื่อถึงเวลาที่คุณต้องการกู้แบงก์ แล้วแบงก์จะให้กู้ได้ทันเวลารึเปล่า
12. ทำธุรกิจ เรื่องเครดิตนั้นสำคัญ ยิ่งเครดิตดีเท่าไร โอกาสทางการเงินของธุรกิจกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การขอสินเชื่อเพื่อหมุนเวียนหรือขยายธุรกิจยิ่งมีมากเท่านั้น ดังนั้น คุณต้องให้ความสำคัญกับรักษาเครดิต และชำระหนี้ให้ตรงเวลา
13. ในวันที่ธุรกิจยังมีความสามารถในการชำระหนี้ พยายามชำระหนี้แบงก์ให้มาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังต้องมีวงเงินกับธนาคารหรือสถาบันการเงินให้ใช้ได้อยู่ด้วย เพื่ออนาคตข้างหน้าจำเป็นต้องใช้เงินกะทันหันจะได้ไม่เดือดร้อน
14. อนาคตเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน วันนี้ธุรกิจกำลังไปได้ดี แต่ใครจะรู้พรุ่งนี้อาจมีเรื่องมากระทบให้ธุรกิจ “สั่นคลอน” ก็ได้ ดังนั้น ธุรกิจจำเป็นต้องมีเงินสดสำรองไว้
15. อย่าใช้เงินผิดประเภท ต้องแยกเงินแต่ละประเภทออกจากกันและห้ามใช้ปนกันเด็ดขาด เช่น เงินสำหรับใช้ในระหว่างการทำงาน, เงินสำหรับการลงทุน หรือเงินสำหรับใช้หนี้ที่ยืมมา
16. ถ้าต้องการบริหารจัดการเงินให้มีประสิทธิภาพ เรื่อง “ภาษี” ไม่ควรมองข้าม และให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพราะมันอาจกลายเป็นภาระทางการเงินของธุรกิจในอนาคตได้ หากคุณเลี่ยงที่จะ “ไม่จ่าย” หรือ “จ่ายไม่ครบ”
17. เมื่อการเงินเข้าสู่ขั้นวิกฤต เพื่อให้เจอกับวิธีการแก้ไขที่ดีและเหมาะสมที่สุด ต้องดูก่อนว่า มันขาดทุนเพราะอะไร? อะไรคือต้นเหตุที่ทำให้ธุรกิจต้องเผชิญวิกฤต แล้วเริ่มแก้จากจุดนั้น
18. ต้องตัดใจยอม “ลด” บางสิ่ง เพื่อนำเงินไปหมุนในรายจ่ายที่จำเป็นกว่า และเพื่อนำมาใช้ในส่วนที่คาดว่าจะทำเงินได้มากกว่าในอนาคต
19. การบริหารการเงินของธุรกิจในภาวะวิกฤต เมื่อ “เงิน” ที่มี ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ก็ต้องหาช่องทางเพิ่มรายได้ พร้อมกับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หรือหาวิธีจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ช้าลง เพื่อให้ธุรกิจเก็บเงินสดอยู่กับตัวได้นานขึ้น
20. แต่ถ้าเมื่อไรที่ขาดทุน จนไม่เห็นหนทางที่จะไปต่อได้ คำแนะนำที่ดีที่สุดคือ “เปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหม่” ที่มีโอกาสทำเงินและกลายเป็นธุรกิจที่มั่นคงกว่าในอนาคต เพราะโลกเปลี่ยนเร็วมาก
สุดท้ายนี้ ต่อให้คุณบริหารจัดการธุรกิจด้านต่าง ๆ ดีแค่ไหน ขายเก่งแค่ไหน หรือหาลูกค้าเก่งขนาดไหน แต่ลืมใส่ใจเรื่อง “การบริหารการเงิน” ก็ไม่มีทางที่ธุรกิจคุณจะเติบโตหรือมั่นคงได้แน่นอน ดังนั้น สำหรับผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ขายที่กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการเงิน การลงทุน ก็สามารถนำเอาบทเรียนทั้ง 20 ข้อ ไปปรับใช้และเป็นแนวทางในการบริหารจัดการเงินในธุรกิจของตัวเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan #อายุน้อยร้อยล้านNEWS #Business #ธุรกิจ #อรรฆรัตน์นิติพน #หม่อมหลวงพอยศ #กัลยาณะวงศ์ #มัชรูมกรุ๊ป #Mushroomgroup #บริหารการเงิน #การเงิน #บทเรียนการเงิน
บทเรียนการเงิน 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最讚貼文
3 บทเรียนการเงิน ที่วิกฤต covid-19 ให้มา
จากการระบาด COVID-19 ส่งผลกระทบต่อทุกคนไปจนถึงเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว ธุรกิจภายในประเทศมีปัญหา ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่มีนักท่องเที่ยว ทำให้ธุรกิจไม่สามารถเดินต่อไป บางธุรกิจต้องปิดกิจการ พนักงานบางคนตกงาน ดังนั้นจะต้องคิดทบทวนการบริหารทางการเงิน เพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
3 สิ่งที่ควรคิดทบทวนจากเหตุการณ์ COVID-19
.
1. ทุกอย่างไม่มีอะไรแน่นอน และต้องพัฒนาอยู่เสมอ
การแพร่ระบาด COVID-19 เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบแบบไม่ทันตั้งตัว พนักงานหรือลูกจ้าง ได้รับผลกระทบโดนลดเงินเดือน เจ้าของธุรกิจขายสินค้าหรือบริการก็ได้รับผลกระทบ ไม่มียอดขาย ไม่มีลูกค้า ทำให้ต้องตัดสินใจที่ปิดกิจการ หรือต้องเร่งปรับตัวเพื่ออยู่รอดทางธุรกิจ เช่น ร้านอาหารต้องปรับวิธีการขายสู่บริการเดลิเวอรี่ บางธุรกิจเลือกที่จะลดเงินเดือนพนักงาน หรือพัฒนาทักษะลูกจ้างให้มีสกิลใหม่ ๆ ทดแทนการจ้างงาน สิ่งสำคัญที่สุด ทุกคนต้องปรับตัว และมองหาโอกาส พัฒนาทักษะอยู่เสมอ เช่น ขายของออนไลน์ รับทำงานจากความสามารถอื่นๆ ที่เรามีเพื่อหารายได้ ลดทอนปัญหาจากความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในชีวิตได้
.
2.วินัยการเงิน
คนที่มีวินัยการเงิน เช่น มีเงินสำรองการเงิน บริหารจัดการหนี้สินได้ดี จะทำให้ช่วยหมดปัญหาเรื่องการเงินในชีวิตได้ โดยมีวิธีเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ดังนี้
- เก็บหักออมเงินก่อนน้ำไปใช้ เริ่มอย่างน้อยร้อยละ 10 และพยายามเพิ่มให้ถึง ¼ ของรายได้ต่อเดือน
- จำกัดหนี้สิ้นไม่ให้มีมากจนเกินตัว ไม่เกิน 1/3 ของรายได้ต่อเดือน
- ควบคุมการใช้เงิน ลดการซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น โดยอาจตั้งเป้าหมายในการซื้อสินค้าไว้ เพื่อไม่ให้ใช้จ่ายเกินตัว เช่น ใช้เงินซื้อสินค้าไม่เกินร้อยละ 10 ของรายได้ต่อเดือน
- หาเครื่องมือลดความเสี่ยงในชีวิต เช่น ออมเงินฉุกเฉิน 3-6 เท่าของรายจ่ายที่จำเป็น เพื่อสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และสำรวจสวัสดิการที่เรามีว่าครอบคลุมค่าใช้จ่ายในยามฉุกเฉินหรือไม่ หากไม่ควรมีการทำประกันเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย เช่น ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ
.
3. วางแผนการเงินล่วงหน้า
เป็นสื่งที่ควรต้องทำ เพื่อกหนดทิศทางการใช้เงินว่าควรใช้มากใช้น้อย โดยเริ่มจากคาดการณ์ รายรับ-รายจ่าย ใน 3 เดือนต่อจากนี้ หากผลเป็นบวก สามารถนำมาต่อยอดให้เป็นเงินออม หรือนำไปลงทุนต่อได้ หากผลติดลบ ควรวางแผนเพิ่มรายรับ หรือลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือปฎิบัติตามแผนการเงินอย่างเคร่งครัด และทบทวนแผนการเงินอยู่เสมอ
.
เชื่อว่าคนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด COVID-19 ยังมีอีกหลายคน แม้เศรษฐกิจจะยังไม่ฟื้นตัวดีนัก แต่ทุกคนยังต้องเดินหน้าต่อไปอย่างมีเป้าหมาย ให้ความสำคัญกับการวางแผนและมีวินัยทางการเงินอย่างจริงจัง เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด
ที่มา :
https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256303_FinancialWisdom.aspx
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#การเงิน #เศรษฐกิจ #Economic
บทเรียนการเงิน 在 FINNOMENA - สรุปบทเรียนการเงินจาก Money, Explained 的推薦與評價
สรุปบทเรียนการเงินจาก Money, Explained: สารคดีไซส์มินิจาก Netflix หลายคนที่มี Netflix อาจจะเคยผ่านหูผ่านตาสารคดีไซส์มินิที่ชื่อ Money,... ... <看更多>