🔥 "มาทำความรู้จักผู้ใช้ ด้วย USER PERSONA"
ให้รู้ว่า แอป / สินค้า หรือ บริการที่กำลังพัฒนาอยู่
เราทำเพื่อให้ใครใช้กันนะ ?
.
👨💻 เพราะ “ผู้ใช้ (User)” เป็นส่วนสำคัญสำหรับการพัฒนาสินค้าหรือบริการ ดังนั้น เราจึงต้องรู้ให้ได้ว่า “ผู้ใช้” ที่จะมาใช้สินค้าหรือบริการของเราเป็นใคร ประวัติคร่าว ๆ เป็นแบบไหน
.
หรือมีพฤติกรรมยังไงบ้าง เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาให้สินค้าและบริการของเราตอบโจทย์มากที่สุด
.
⭐ แล้ว User Persona คืออะไร ?
.
ตัวตนของผู้ใช้ที่เราสมมติขึ้นเพื่อให้เป็น “ตัวแทนของกลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายในอุดมคติ” โดยนอกจากจะมีชื่อ มีรูปร่างหน้าตาแล้ว ยังต้องมีนิสัย พฤติกรรม ความต้องการ
.
หรือคุณลักษณะอื่น ๆ เหมือนคนที่มีตัวตนจริง ๆ เพื่อให้ User Persona ของเราชัดเจน และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสินค้าหรือบริการให้มากที่สุด
.
⭐ ถ้างั้น ใน User Persona มีข้อมูลอะไรบ้าง ?
.
👉 1) Header
ส่วนบนสุดของตัวตนผู้ใช้ ประกอบด้วยชื่อ รูปภาพ และประโยคคำพูดบางอย่างที่ช่วยสรุปว่าผู้ใช้คนนี้เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของเรายังไง ซึ่งดูเผิน ๆ แล้วข้อมูลที่คิดขึ้นนี้อาจดูธรรมดา แต่จริง ๆ แล้วมันมีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นที่จดจำ และให้คนในทีมพัฒนาโฟกัสว่ากำลังพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อใคร
.
👉 2) Demographic Profile
นอกจากมีชื่อ มีหน้าตาแล้ว เราก็จำเป็นต้องมีประวัติผู้ใช้ เพื่อเพิ่มความสมจริงให้กับตัวตนผู้ใช้ และช่วยให้เราทราบถึงความต้องการและเป้าหมายของผู้ใช้ได้ง่ายขึ้น
.
🏆 Personal Background
บ่งบอกถึงตัวผู้ใช้โดยตรง ประกอบด้วยอายุ เพศ การศึกษา ชาติพันธุ์ สถานะทางครอบครัว
.
🏆 Professional Background
บ่งบอกถึงความสามารถและวิชาชีพของผู้ใช้ ประกอบด้วยอาชีพ รายได้ ประสบการณ์ในการทำงาน
.
🏆 User Environment
บ่งบอกถึงบริบททางกายภาพ สังคม และเทคโนโลยีของผู้ใช้ โดยจะรู้ได้ผ่านคำถามเหล่านี้ “ผู้ใช้จะใช้สินค้าหรือบริการของเราผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบไหน ? (เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ แท็บเลต)
.
"ในการทำงาน ผู้ใช้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในที่ทำงานหรือที่บ้าน ?” และ “ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากน้อยแค่ไหน ?”
.
🏆 Psychographics
บ่งบอกถึงรายละเอียดทางจิตวิทยาของผู้ใช้ เช่น ทัศนคติ, ความสนใจ, แรงผลักดัน, ปัญหา โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจถึงพฤติกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ ของผู้ใช้มากขึ้น รวมถึงทำให้เข้าใจด้วยว่าทำไมผู้ใช้ถึงมาใช้สินค้าและบริการของเรา
👉 3) User Goals
เป้าหมายของผู้ใช้ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดการกระทำต่าง ๆ ของผู้ใช้เอง โดยการตามหาว่าผู้ใช้มีเป้าหมายอะไร เราต้องตอบคำถามที่ว่า “ผู้ใช้ต้องการอะไรจากการใช้สินค้าและบริการของเรา”
👉 4) Scenario
สถานการณ์ที่สร้างขึ้นใน User Persona จะเป็นการบรรยายถึงเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะอธิบายถึงการที่ผู้ใช้ใช้สินค้าและบริการของเราในบริบทเฉพาะเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยทั่วไปจะกำหนดว่าสถานการณ์นี้เกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร หรือบางครั้งรวมทั้งอาจอธิบายถึงกรณีของการใช้งานที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
.
❤ ถ้าแบบนั้น User Persona สร้างขึ้นยังไง ?
แน่นอนว่า User Persona สร้างขึ้นจากข้อมูล แต่ข้อมูลนั้นเราจะหามาจากไหนกันล่ะ ?
.
👉 1) รวบรวมของมูลที่เรามีเกี่ยวกับผู้ใช้
.
โดยมีทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ
ข้อมูลเชิงปริมาณ สามารถบ่งบอกเป็นตัวเลขได้จากการทำวิเคราะห์และทำสถิติ เช่น เพศ เงินเดือน อายุ การทำบัตรเครดิต ความชอบในเรื่องต่าง ๆ
ข้อมูลเชิงคุณภาพ ไม่สามารถบ่งบอกเป็นตัวเลขได้
.
มักเป็นข้อมูลในแง่จิตวิทยา เช่น ทัศนคติ ความต้องการ แรงผลักดัน หรือปัญหาของผู้ใช้
.
👉 2) ลงพื้นที่เพื่อตามหาข้อมูลที่เรายังไม่มี
.
ถ้าข้อมูลในข้อ 1 ยังขาดอะไรไปบางอย่าง เราต้องทำ User Research โดยการออกไปสัมภาษณ์กลุ่มผู้ใช้ เพื่อตามเก็บ Insight จากผู้ใช้ที่เป็นคนจริง ๆ ซึ่งเหมือนเวลาทำการทดลอง ที่ต้องตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม
.
และที่สำคัญคือต้องกำหนด User Screener ที่จะช่วยคัดเลือกกลุ่มผู้ใช้ที่เราต้องไปสัมภาษณ์จริงๆ โดยจะเลือกใช้ข้อมูลเชิงปริมาณมากำหนด เช่น เงินเดือน อายุ การมีหรือไม่มีบัตรเครดิต เพื่อให้ได้มาซึ่ง Insight ที่จะเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ที่จะช่วยให้ User Persona ของเราชัดเจนมากยิ่งขึ้น !
.
👉 3) วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดเพื่อสรุปเป็น Persona
.
นำเอา User Screener รวมเข้ากับ Insight ที่ได้จากการสัมภาษณ์ เราจะสามารถมองเห็นรูปแบบของพฤติกรรมของกลุ่มผู้ใช้ ว่าอาจจะมีอะไรบางอย่างที่เหมือนกัน ซึ่งสิ่งที่เรามองเห็นนี่แหละที่จะทำให้เกิดเป็น User Persona !
.
👉 4) จัดลำดับความสำคัญของ User Persona
.
เพราะเมื่อเรานำข้อมูลมาสรุปแล้ว เราอาจพบว่าไม่ได้มีกลุ่มผู้ใช้แค่แบบเดียวที่จะเลือกใช้สินค้าและบริการของเรานะ ลองจัดลำดับดูว่าผู้ใช้แบบไหนที่สำคัญที่สุด !
.
👉 5) นำ User Persona ที่ทำขึ้นไปใช้ในทีม
.
เพราะเมื่อทุกคนในทีมเห็นภาพเดียวกัน เข้าใจผู้ใช้ในแบบเดียวกัน ทิศทางของสินค้าและบริการของทีมเราก็ชัดเจนขึ้นในทันทีเลย !
.
🚀 สุดท้ายเรามาดูวิธีนำ User Persona ไปใช้กันนน !!
.
ถ้าจะต้องไปเก็บข้อมูลผู้ใช้ที่น่าจะมาใช้สินค้าและบริการของเราให้ครบทุกคนก็คงใช้เวลามากเกินไปใช่ไหมล่ะ ? นี่แหละ ! เราเลยต้องมี “User Persona” เพื่อช่วยให้การทำความรู้จักกับผู้ใช้ของเราง่ายขึ้น และประหยัดเวลามากขึ้นนั่นเอง !!!
.
User Persona จะเป็นตัวช่วยในการวางกลยุทธ์และตัดสินใจออกแบบ พัฒนาสินค้าและบริการอย่างชาญฉลาด รวมถึงช่วยให้ความเข้าใจในผู้ใช้ของทีมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
.
ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าและบริการที่ได้ออกมานั้นตรงกับความต้องการของผู้ใช้ หรือช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ใช้ได้อย่างตรงจุด <3
.
แต่อย่าลืมว่าในแต่ละ User Persona นี้มีความยาวเพียงแค่หน้าเดียว เราจึงต้องมั่นใจว่าสิ่งที่ใส่ลงไปในหน้านั้นเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อการออกแบบ หรือมีผลทำให้การตัดสินใจของทีมพัฒนาง่ายขึ้น
.
นอกจากนี้ User Persona ถือเป็นกุญแจสำคัญในการค้นหาลูกค้าในชีวิตจริง เพื่อให้เราสามารถทดสอบและตรวจสอบสินค้าและบริการของเรากับคนที่มีตัวตนจริง ๆ ได้ 😇
.
เราจึงต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า User Persona ที่ทำขึ้นนี้ไม่เกินจริงจนเกินไป และมีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้เราตามหากลุ่มลูกค้าในชีวิตจริงได้นั่นเอง !
.
👏 ขอขอบคุณข้อมูลจากบทความ
1) “How to Define a User Persona”
โดย RAVEN L. VEAL, PHD บน careerfoundry.com
2) “คู่มือสร้าง User Persona ฉบับ ไม่มโน!”
โดย JibJib Sarunya บน medium.com
.
#borntoDev - 🦖 สร้างการเรียนรู้ที่ดีสำหรับสายไอทีในทุกวัน
ข้อมูลเชิงคุณภาพ 在 หลักสูตร 1 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) วิทยากร รอง ... 的推薦與評價
หลักสูตร 1 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) วิทยากร รองศาสตราจารย์ ... การเก็บรวบรวมข้อมูล • การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ ... ... <看更多>
ข้อมูลเชิงคุณภาพ 在 เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ Research Zone 的推薦與評價
เทคนิคการวิเคราะห์ ข้อมูล การวิจัย เชิงคุณภาพ โดย รศ.ดร.ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ... <看更多>