ความมั่นคงของพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตยทางผู้แทน ที่มีความสำคัญอย่างมาก พรรคการเมือง ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Political Party” หรือโดยทั่วไปมักใช้คำว่า “Party” คำเดียวต่อท้ายชื่อพรรค เช่น The Conservative party ในประเทศอังกฤษหรือ
The Democratic party ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ความหมายของพรรคการเมือง
การให้ความหมายพรรคการเมืองที่ให้คำนิยามของคำว่า “พรรคการเมือง” ต่างก็ให้ความหมายพรรคการเมืองที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน คือ ในต่างประเทศ เช่น ประเทศเยอรมนี กฎหมายพรรคการเมืองได้ให้คำจำกัดความสำหรับคำว่า “พรรคการเมือง” ไว้ในมาตรา 2 อนุมาตรา 1 ว่า “พรรคการเมือง คือ การรวมกลุ่มของพลเมืองอย่างถาวรหรือเป็นระยะเวลานานๆ เพื่อเข้าไปมีอิทธิพลต่อการสร้างเจตจำนงทางการเมืองไม่ว่าจะดำเนินการในระดับสหพันธ์หรือระดับมลรัฐและประสงค์ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหพันธ์หรือสภาแห่งมลรัฐ หากว่าเมื่อพิจารณาถึงภาพรวมตามสภาพความเป็นจริงทั้งหมดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแง่ของจำนวนสมาชิกและในแง่ของการปรากฏตัวต่อสาธารณชนแล้ว ชี้ชัดว่าการรวมกลุ่มนี้มีความตั้งใจที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้” G.A. Jacobsen and M.H. Lipman ให้ความหมายว่า “พรรคการเมือง คือ คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันได้โดยยึดหลักการเหมือนกันเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติหรือจัดรวมกันเป็นสมาคมหรือองค์กรผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมบุคคลและนโยบายของรัฐ” เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยมีนักวิชาการได้ให้ความหมายพรรคการเมืองไว้ เช่นศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ให้ความหมายว่า “พรรคการเมือง หมายถึง คณะบุคคลซึ่งร่วมก่อตั้งเป็นพรรคขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมความคิดเห็นในทางการเมือง กำหนดเป็นนโยบายของพรรคการเมืองเพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้งผู้แทน โดยวิถีทางประชาธิปไตย” ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ให้ความหมายว่า “พรรคการเมืองต้องเป็นบุคคลที่มีการจัดที่มีการจัดตั้งเป็นองค์กรโดยมีอุดมการณ์และวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือ การยึดกุมอำนาจรัฐหรือการบริหารประเทศโดยกลุ่มการเมืองใดที่ไม่มีลักษณะดังกล่าวครบถ้วน กลุ่มการเมืองนั้นย่อมมิใช่พรรคการเมือง” เป็นต้น
แต่เมื่อพิจารณาความหมายตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ได้ให้ความหมายของพรรคการเมืองไว้ว่า “พรรคการเมือง หมายความว่าคณะบุคคลที่รวมตัวกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองโดยได้รับการจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้”
จากคำนิยามความหมายของพรรคการเมืองของต่างประเทศและของประเทศไทยข้างต้นผู้เขียนขอสรุปประเด็นความหมายของการเป็นพรรคการเมืองได้ ดังนี้
1. พรรคการเมืองต้องมีการรวมตัวเป็นกลุ่ม ชมรม หรือสมาคม (Association) ซึ่งจะมีสมาชิกหรือจำนวนบุคคลมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศจะบัญญัติไว้
2. พรรคการเมืองเป็นกลุ่มบุคคล ชมรม หรือสมาคม ต้องมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาสาธารณะทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในหลักการใหญ่ๆที่เหมือนกัน
3. พรรคการเมืองเป็นกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันนี้ ต้องมีกำหนดการ (program) และนโยบาย (policy) ที่ชัดแจ้งและแน่นอนลงไป แสดงต่อผู้เลือกตั้งให้ทราบเพื่อจะได้มีชัยชนะในการเลือกตั้ง
4. พรรคการเมืองเป็นกลุ่มบุคคลจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่จะไปควบคุมและกำหนดนโยบายรัฐบาลจัดการบริหารประเทศและออกกฎหมายตามแนวนโยบายของพรรคทั้งหมดหรือบางส่วนเท่าที่สามารถจะทำได้มากที่สุด
5. พรรคการเมืองเป็นกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งพรรคเมืองจะต้องมุ่งที่จะส่งสมาชิกเข้ารับสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและมีการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง
หลักการพื้นฐานพรรคการเมือง เมื่อพิจารณาตามหลักธรรมชาติในการรวมของมนุษย์เป็นสังคมจะมีลักษณะของการรวมตัวแบบชุมชนและการรวมตัวแบบสมาคม ซึ่งพรรคการเมืองจะเป็นการรวมตัวแบบสมาคมที่มีหลักการพื้นฐานอยู่ 2 ประการ ดังนี้
1. พรรคการเมืองจะมีความแตกต่างกันในความคิดเห็นอุดมการณ์ทางความคิด คือ มองเป้าหมายที่จะกระทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ทุกคนย่อมมีความคิดเห็นเป็นเอกเทศ แต่โดยธรรมชาติแล้วก็มีความต้องการที่จะอยู่ร่วมกัน ดังนั้นจึงควรปรับความคิดเห็นให้เข้ากับบุคคลอื่นได้บนหลักพื้นฐานทางความคิดบางอย่างให้อยู่ในกรอบแนวคิดเดียวกันเป็นนโยบายของพรรคการเมือง
2. การรวมตัวกันอยู่เป็นหมู่เหล่า บุคคลที่มีความคิดเห็นเช่นเดียวกัน ควรร่วมกันนำเอาความคิดเหล่านั้นก้าวไปข้างหน้าด้วยวิธีการที่มีระเบียบและส่งเสริมสนับสนุนหลักการหรือนโยบายซึ่งมีความเห็นชอบร่วมกัน
ความสำคัญและหน้าที่ของพรรคการเมืองเพื่อความมั่นคงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
พรรคการเมืองนับเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยทางผู้แทนเป็นอย่างมากเป็นสถาบันทางการเมืองในการพัฒนาการเมืองการปกครองต่อสังคมต่อประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นพรรคการเมืองมีความสำคัญและบทบาทหน้าที่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
ความสำคัญของพรรคการเมือง พรรคการเมืองเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในขั้นตอนของกระบวนการทางการเมือง พรรคการเมืองมีส่วนที่จะสนับสนุนและเสริมสร้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองจึงเป็นที่รวบรวมบุคคลที่มีความเห็นแตกต่างกันออกไป ให้เข้าร่วมอุดมการณ์ในหลักการใหญ่ ๆ ซึ่งบุคคลเหล่านั้นอาจจะยอมรับร่วมกันได้ พรรคการเมืองจะได้เป็นแกนนำในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนเหล่านั้นให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้มีความคิดเห็นร่วมกัน ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้ความสำคัญของพรรคการเมืองอาจแยกอธิบายเป็นข้อ ๆ ได้ ดังนี้
1. พรรคการเมืองที่ได้รับเสียงข้างมากมีโอกาสสำคัญในการที่จะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งก็จะสามารถนำวัตถุประสงค์ แนวนโยบายและความคิดเห็นของพรรคไปใช้ให้เป็นจริงได้ และนำนโยบายของพรรคการเมืองนั้นเป็นนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป
2. พรรคการเมืองเป็นศูนย์กลางที่จะรับทราบความคิดเห็น ตลอดจนความต้องการของประชาชน ประชาชนต้องการให้รัฐบาลทำอะไร ไม่ให้ทำอะไรหรืออยากให้ตรากฎหมาหรือยกเลิกกฎหมายใดบ้าง
3. พรรคการเมืองจะเป็นศูนย์กลางที่จะแยกแนวความคิดของประชาชนแต่ละฝ่ายออกจากกันให้เห็นชัดเจน จนอาจแบ่งเป็นฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ฝ่ายเป็นกลางในสภานิติบัญญัติ
4. พรรคการเมืองจะเป็นผู้ประสานงานระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารให้ดำเนินการปกครองประเทศไทยโดยราบรื่น
หน้าที่ของพรรคการเมือง พรรคการเมืองเป็นองค์กรสำคัญในกระบวนการทางการเมืองที่จะรวบรวม “เจตนารมณ์ทั่วไป” (General Will) ของประชาชนไปใช้ในการดำเนินการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปในทางที่ถูกต้อง พรรคการเมืองจึงต้องมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. สร้างความเป็นปึกแผ่นในมติมหาชน ด้วยการรวบรวมความคิด ความเห็นของกลุ่มชนที่มีความคิดเห็นในทำนองเดียวกัน มาจัดเป็นนโยบายหลักของพรรค เพื่อที่จะนำนโยบายนั้นนำเสนอต่อรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน
2. จัดแถลงนโยบายของพรรคให้ประชาชนทราบ เพื่อประชาชนจะได้นำเอาไปพิจารณาศึกษาประกอบการตัดสินในการที่จะให้ความสนับสนุนพรรค ด้วยการสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคก็ดีหรือลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้สมัครของพรรคเข้าเป็นผู้แทนก็ดีเมื่อมีการเลือกตั้ง
3. คัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค เพื่อลงสมัครเข้าแข่งขัน
ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง พร้อมทั้งสร้างผู้นำทางการเมืองไว้เสมอด้วยการจัดตั้ง “รัฐบาลเงา” (Shadow Cabinet)
4. พรรคการเมืองจะต้องทำหน้าที่คอยเป็นผู้ประสานงาน ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ เช่น “กลุ่มอิทธิพล” (Pressure group) “กลุ่มผลประโยชน์” (Interest group) กับ “รัฐบาล” (Government) พร้อมทั้งต้องคอยสำรวจตรวจสอบมติมหาชนอยู่เสมอ เพราะกลุ่มเหล่านั้นจะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนพรรคการเมืองที่มีแนวนโยบายสอดคล้องกับกลุ่มของตนให้ได้ชัยชนะในการเลือกตั้ง เพื่อจะให้เป็นรัฐบาลและช่วยรักษาผลประโยชน์ให้พวกตน
5. พรรคการเมืองจะต้องคอยควบคุมให้สมาชิกพรรค อยู่ในระเบียบวินัยของพรรคอย่างเคร่งครัด อาทิในเรื่องการเข้าประชุมสภา การอภิปรายในเรื่องสำคัญๆ การลงมติ ฯลฯ จะต้องกระทำตามที่ได้ตกลงกันไว้ หรือตามที่พรรคกำหนด พรรคการเมืองในปัจจุบันจึงต้องมีการจัดตั้งเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลของพรรคการเมือง คอยควบคุมดูแลในสภาเวลาที่มีการประชุมสภา
6. พรรคการเมืองจะต้องส่งเสริมให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเมืองของประเทศ โดยให้การอบรมศึกษาความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชน แจกจ่ายเอกสาร กล่าวปราศรัยและใช้สื่อมวลชนต่าง ๆ ส่งข่าวให้ประชาชนได้ทราบความเป็นไปของบ้านเมืองในทางที่ถูกที่ควร
7. พรรคการเมืองจะต้องเปิดเผยแหล่งที่มารายได้ของพรรคการเมืองต่อสาธารณชนว่ามีรายได้จากแหล่งใด ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้ทราบว่าพรรคการเมืองนั้นได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดในสังคม
การจัดองค์กรของพรรคการเมืองเพื่อความมั่นคงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
การจัดองค์กรของพรรคการเมือง เป็นเรื่องที่สำคัญเพราะจะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพรรคการเมืองว่ามีความมั่นคงแค่ไหน สมควรจะมอบหมายให้รับภารกิจเป็นตัวแทนของประชาชนไปทำหน้าที่บริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพื่อความมั่นคงของพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พรรคการเมืองต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
การจัดรูปองค์การของพรรคการเมือง การจัดรูปองค์การของพรรคการเมือง จะต้องมีการแบ่งงานออกเป็นสาขาต่าง ๆ และกำหนดการบังคับบัญชาจากส่วนกลางมายังส่วนภูมิภาคจนถึงระดับท้องถิ่น เพื่อช่วยในการรณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เช่น การจัดให้มีสาขาพรรคการเมืองแต่ละภูมิภาคหรือแต่ละเขตเลือกตั้งรวมไปถึงศูนย์ประสานงานพรรคในแต่ละตำบล เป็นต้น
กลไกของพรรคการเมือง กลไกของพรรคการเมือง การทำงานทุกส่วนภายในพรรคจะต้องมีการประสานกัน จึงจะทำให้กิจกรรมของพรรคดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น มีหน่วยงานในงานสาขาที่จำเป็นและมีหัวหน้ารับผิดชอบ อันได้แก่ สำนักงานเลขาธิการฝ่ายการรณรงค์หาเสียง ฝ่ายนโยบายและการเมือง ฝ่ายการคลังและองค์การสนับสนุนต่าง ๆ เป็นต้น
นโยบายพรรคการเมือง นโยบายพรรคการเมือง ควรจะมีการวางกรอบนโยบายของพรรคไว้อย่างกว้าง ๆ เพื่อให้สามารถมีความคล่องตัวในการแก้ไขหลักการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และนโยบายของพรรคสมควรจักต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมพรรคแล้วประกาศให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบ
การเงินของพรรคการเมือง การเงินของพรรค เงินเป็นปัจจัยยิ่งในการบริหารงานของพรรค ให้บรรลุเป้าหมายที่พรรคกำหนดไว้ เพราะพรรคจะต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากในการหาเสียงการพิมพ์เอกสาร อุปกรณ์และเครื่องใช้ในสำนักงาน สำหรับเงินของพรรคอาจมีที่มาได้หลายทาง เช่น ได้รับการอุดหนุนจากรัฐ ได้รับจากสมาชิกและการจัดหารายได้ทางอื่น เป็นต้น
ข้อสรุปความมั่นคงของพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
เพื่อความมั่นคงของพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นี้ผู้เขียนเห็นว่า พรรคการเมืองต้องมีลักษณะดังนี้
1. พรรคการเมืองที่ไม่มีเจ้าของ งบประมาณของพรรคมาจากระดมทุนผ่านการบริจาค การกู้ยืมเงินโดยปราศจากดอกเบี้ยจากนที่สนับสนุนแนวคิดพรรคการเมือง เงินสมทบของสมาชิกพรรคการเมือง เงินอุดหนุนจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
2. พรรคการเมืองมีประชาธิปไตยทุระดับ เน้นการกระจายอำนาจ สนับสนุนให้คนรุ่นใหม่มีบทบาททางการเมืองเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ พรรคการเมืองต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจในการเมืองแก่เยาวชนทุกระดับชั้นควรจัดให้มีโครงการ เช่น โครงการต้นกล้าประชาธิปไตย เป็นต้น แต่โครงเหล่านั้นไม่ใช่เป็นการครอบงำทางความคิดแก่คนรุ่นใหม่
3.พรรคการเมืองที่มุ่งหมายทำงานระยะยาว เพราะพรรคการเมืองเป็นที่รวมตัวของกลุ่มคนที่มีความคิดอุดมการณ์เดียวกันในทิศทางเดียวกันซึ่งมีความหลากหลายความคิด หลากหลายกลุ่ม ทุกเพศ ทุกรสนิยมทางเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ และต้องการเขาสู่อำนาจรัฐเพื่อผลักดันความคิดและนโยบายให้เกิดผล
4. พรรคการเมืองที่สนใจความรู้วิชาการการค้นคว้าการวิจัย นโยบายที่ดีย่อมเกิดจากความรู้ การศึกษาค้นคว้างานวิจัย
5.พรรคการเมืองที่สื่อสารกับประชาชนอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ พรรคการเมืองจะต้องทำสื่อต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึง เช่น ทำเวปไซด์ จัดทำวารสารต่าง ๆ เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
จิรโชค (บรรพต) วีระสย, สุรพล ราชภัณฑารักษ์และสุรพันธ์ ทับสุวรรณ (2551) “รัฐศาสตร์ทั่วไป” กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, พิมพ์ครั้งที่ 2.
ดำริ บูรณะนานนท์ (2539) “กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายพรรคการเมือง” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม,
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ (2542)“การเลือกตั้งและพรรคการเมือง : บทเรียนจากเยอรมัน” กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา, 2542
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ (2555) รายงานวิจัย เรื่อง “บทบาทและอำนาจหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในการรักษาวินัยพรรคการเมืองและการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนปวงชน” กรุงเทพฯ:สถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2555
สมคิด เลิศไพฑูรย์ (2542) “กฎหมายเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน” กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
หยุด แสงอุทัย (2512) “คำอธิบายพระราชบัญญัติพรรคการเมือง” พระนคร : โอเดียนสโตร์.
「นโยบายพรรคการเมือง」的推薦目錄:
- 關於นโยบายพรรคการเมือง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於นโยบายพรรคการเมือง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於นโยบายพรรคการเมือง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於นโยบายพรรคการเมือง 在 ส่อง "นโยบายพรรคการเมือง" กล้ารีดภาษี? | BUSINESS WATCH 的評價
- 關於นโยบายพรรคการเมือง 在 PPTV HD 36 - #เลือกตั้ง2566 พีพีทีวีรวมนโยบายพรรคการเมือง... 的評價
นโยบายพรรคการเมือง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
"กฎหมายพรรคการเมืองในปัจจุบัน"
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
กฎหมายพรรคการเมืองในปัจจุบันหลังที่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีตรากฎหมายที่ขยายรายละเอียดในรัฐธรรมนูญ คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มีสาระสำคัญดังนี้
หลักเกณฑ์การจัดตั้งพรรคการเมือง
หลักเกณฑ์การจัดตั้งพรรคการเมืองการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมและเป็นหลักประกันการจัดตั้งทางการเมืองสำหรับคนไทย ซึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 65 ดังนี้
“ มาตรา 65 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนและเพื่อดำเนินกิจกรรมในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้นตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
การจัดองค์กรภายใน การดำเนินกิจการและข้อบังคับของพรรคการเมือง ต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือสมาชิกพรรคการเมืองตามจำนวนที่กำหนดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว้าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งเห็นว่ามติหรือข้อบังคับในเรื่องใดของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกอยู่นั้นขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติหรือข้อบังคับดังกล่าวขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้มติข้อบังคับนั้นเป็นอันยกเลิกไป”
ขั้นตอนการจัดตั้งพรรคการเมือง
ขั้นตอนการจัดตั้งพรรคการเมือง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 ได้กำหนดขั้นตอนการจัดตั้งพรรคการเมือง ดังนี้
1. ผู้ที่จะรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองจะต้องมีคุณสมบัติ ต่อไปนี้
1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2) มีสัญญาชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ไม่น้อยกว่า 5 ปี
3) อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
4) ไม่มีลักษณะต้องห้ามให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
2. ผู้จัดตั้งพรรคการเมืองต้องจัดให้มีการประชุมจัดตั้งพรรคการเมืองก่อนยื่นคำขอจัดตั้งพรรคการเมืองดังนี้
1) ต้องมีผู้จัดตั้งพรรคการเมืองเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า15 คน
2)กิจกรรมที่ต้องดำเนินการในที่ประชุมอย่างน้อยต้องประกอบด้วย การกำหนดนโยบายพรรคการเมือง การกำหนดข้อบังคับพรรคการเมืองและการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง
3. ผู้ที่ไดรับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองยื่นคำขอจัดตั้งพรรคการเมืองต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง พร้อมเอกสารประกอบดังนี้
1)นโยบายพรรคการเมือง
2)ข้อบังคับพรรคการเมือง
3)บัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของพรรคการเมือง
4) หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่เป็นที่ทำการพรรคการเมืองซึ่งต้องอยู่ในราชอาณาจักร
5) สำเนารายงานการประชุมตั้งพรรคการเมือง
4. เมื่อได้รับคำขอจัดตั้งพรรคการเมือง นายทะเบียนพรรคการเมือง(ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง)ได้ตรวจสอบในเรื่องดังต่อไปนี้
1)ผู้จัดตั้งพรรคการเมืองต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามและมีผู้จัดตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน
2) ชื่อ ชื่อย่อ ภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง นโยบายและข้อบังคับพรรคการเมือง ต้องไม่ก่อให้เกิดความแตกแยกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3)เอกสารขอจัดตั้งพรรคการเมืองต้องมีรายการครบถ้วน คือ คำขอเป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดและข้อบังคับพรรคมีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
4)คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองต้องมีคุณสมบัติที่กำหนดไว้ คือ อายุ 20 ปี บริบูรณ์ มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและไม่อยู่ระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
5)ชื่อพรรคการเมืองและภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองไม่ซ้ำหรือพ้องหรือมีลักษณะคล้ายคลึงกับชื่อพรรคการเมืองหรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองของผู้จัดตั้งพรรคการเมืองอื่นที่ยื่นคำขอไว้หรือของพรรคการเมืองอื่นที่นายทะเบียนได้รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองไว้ก่อนแล้ว
5. การสั่งการของนายทะเบียนพรรคการเมือง อาจเกิดขึ้นได้ดังนี้
1)ในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องและครบถ้วนจะแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอจัดตั้งพรรคการเมืองและประกาศจัดตั้งพรรคการเมืองในราชกิจจานุเบกษาและให้พรรคการเมืองที่นายทะเบียนรับจดแจ้งการจัดตั้งแล้วเป็นนิติบุคคล
2)ในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าคุณสมบัติหรือจำนวนของผู้จัดตั้งพรรคการเมืองหรือนโยบายพรรคและข้อบังคับพรรคหรือคุณสมบัติของคณะกรรมการบริหารพรรค หรือชื่อพรรคการเมืองหรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด นายทะเบียนพรรคการเมืองจะสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองและแจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอจัดตั้งพรรคการเมือง
3)ในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าเอกสารการขอจัดตั้งพรรคการเมืองมีรายการไม่ครบถ้วน หรือมีข้อความไม่ชัดเจนหรือบกพร่อง จะแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอจัดตั้งทราบภายใน 7 วัน เพื่อดำเนินการแก้ไขหากผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองแก้ไขเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลา ก็จะรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง ถ้าผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองไม่ดำเนินการแก้ไขหรือแก้ไขไม่ถูกต้อง นายทะเบียนพรรคการเมืองจะสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองและแจ้งเป็นหนังสือให้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายใน 7 วัน
4)ในกรณีที่มีผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองซึ่งมีชื่อพรรคการเมืองหรือภาพเครื่องหมายซ้ำ หรือพ้องหรือมีลักษณะคล้ายคลึงกันและยื่นคำขอจัดตั้งพรรคการเมืองในวันเดียวกัน นายทะเบียนพรรคการเมืองจะสั่งให้ผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองทำความตกลงกันว่าผู้ใดจะเป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อพรรคการเมืองหรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองนั้น เมื่อได้ตกลงกันประการใดแล้ว นายทะเบียนพรรคจะรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองตามที่ได้ตกลงกันไว้
5)ในกรณีผู้จัดตั้งพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องยืนยันไม่ยอมตกลงกันหรือยังตกลงกันไม่ได้ นายทะเบียนพรรคการเมืองจะพิจารณารับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองจากผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองที่เห็นว่ามีสิทธิที่จะใช้ชื่อพรรคการเมืองหรือภาพเครื่องหมายนั้นดีกว่า
6)ในกรณีที่ชื่อพรรคการเมืองหรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองนั้นเป็นชื่อหรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองที่ไม่เคยมีการใช้มาก่อนและตกลงกันไม่ได้ ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองดำเนินการจับสลากโดยเปิดเผยเพื่อให้ได้ผู้มีสิทธิใช้ชื่อพรรคการเมืองหรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองนั้น
7)ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองแจ้งการรับจัดแจ้งพรรคการเมืองตาม ข้อ 5)และข้อ 6) เป็นหนังสือไปยังผู้ขอจัดตั้งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่รับจดแจ้งการจัดตั้ง
6.การโต้แย้งคำสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง ผู้จัดตั้งพรรคการเมืองซึ่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองของนายทะเบียนพรรคการเมือง มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยชี้ขาดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง
การสิ้นสภาพ การยกเลิกและการยุบพรรคการเมือง
การสิ้นสภาพ การยกเลิกและการยุบพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มีสาระสำคัญดังนี้
1. การสิ้นสภาพพรรคการเมือง พรรคการการเมืองย่อมสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองด้วยเหตุใด เหตุหนึ่งดังนี้
1) ไม่สามารถดำเนินการได้ตาม ม. 26 คือ ภายในหนึ่งพรรคการเมืองต้องรับสมาชิกให้มีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 คนและมีสาขาพรรคการเมืองอย่างน้อยภาคละ 1 สาขา
2 )ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป 2 ครั้งติดต่อกันหรือเป็นเวลา 8 ปี ติดต่อกัน สุดแต่ระยะเวลาใดยาวกว่ากัน
3) มีจำนวนสมาชิกเหลือไม่ถึง 5,000 คน เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 1 ปี
4) ไม่มีการเรียกประชุมใหญ่พรรคการเมืองหรือไม่มีการดำเนินกิจกรรมใดทางการเมืองเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 1 ปี
2. การเลิกพรรคการเมือง พรรคการเมืองย่อมเลิกด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1) มีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมือง
2) มีการควบรวมพรรค
3. การยุบพรรคการเมือง นั้นพรรคการเมืองจะถูกยุบพรรคการเมืองได้ในกรณีดังต่อไปนี้
1) ในกรณีที่พรรคการเมืองใดมีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมืองแต่พรรคการเมืองนั้นยังมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่หรือในกรณีที่พรรคการเมืองไม่ดำเนินการให้เป็นไปตาม ม.82
เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามข้างต้น ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองตามคำร้องของนายทะเบียน ให้ศาลรัฐธรรมสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น
2) ในกรณีที่พรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ อาจถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง ดั้งนี้
(1) ทำการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกระทำการตามที่รัฐธรรมนูญให้ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจโดยวิธีดังกล่าว
(2) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(3) กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
(4) กระทำอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรหรือขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ
(5) กระทำการฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ดังต่อไปนี้
ก. ฝ่าฝืนตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง คือ การรับบุคคลที่ไม่ใช่สัญชาติเป็นสมาชิกพรรค
ข. ฝ่าฝืนมาตรา 43 คือ การเข้าไปช่วยเหลือหรือรับเป็นสมาชิกวุฒิสภา
ค. ฝ่าฝืนมาตรา 65 คือ การรับบริจาคเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดอันเป็นการคำนวณได้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ง. ฝ่าฝืนมาตรา 66 คือ การเข้าไปสนับสนุนอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคง ราชบัลลังก์หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
จ. ฝ่าฝืนมาตรา 69 คือ การรับบริจาคเงินจากบุคคลที่ไม่ใช่สัญชาติไทย
ฉ. ฝ่าฝืนมาตรา 104 คือ สมคบ รู้เห็นเป็นใจ หรือสนับสนุนให้บุคคลใดดำเนินการใด เพื่อให้บุคคลอื่นหรือคณะกรรมการการเลือกตั้ง หลงเชื่อหรือเข้าใจว่าพรรคการเมืองอื่นหรือบุคคลใดกระทำความผิด
เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียน หรือเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งจากคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าพรรคการเมืองใดกระทำความผิดตามมาตรา 94 ให้นายทะเบียนโดยความเห็นคณะกรรมการเลือกตั้งแจ้งต่ออัยการสูงสุด พร้อมด้วยหลักฐาน เมื่ออัยการสูงสุดได้รับแจ้งให้พิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าอัยการสูงสุดเห็นสมควร ก็ให้ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าว
ถ้าอัยการสูงสุดไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้นายทะเบียนตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีผู้แทนจากนายทะเบียนและผู้แทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐาน แล้วส่งให้อัยการต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป ในกรณีที่คณะทำงานดังกล่าวไม่อาจหาข้อยุติเกี่ยวกับการดำเนินยื่นคำร้องเกี่ยวกับการดำเนินการยื่นคำร้องได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่แต่งตั้งคณะทำงาน ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจยื่นคำร้องเอง
หากนายทะเบียนเห็นสมควรจะให้ระงับการดำเนินการของพรรคการเมืองซึ่งกระทำการตามมาตรา 94 ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งแจ้งต่ออัยการสูงสุดขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งระงับการกระทำดังกล่าวของพรรคการเมืองไว้ชั่วคราว
3) เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใดแล้ว ให้นายทะเบียนประกาศคำสั่งยุบพรรคการเมืองนั้นในราชกิจจานุเบกษา และห้ามมิให้บุคคลใดใช้ชื่อ ชื่อย่อหรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองซ้ำ หรือพ้อง หรือมีลักษณะคล้ายคลึงกับชื่อย่อ หรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองที่ถูกยุบนั้น เพื่อแสวงหาประโยชน์ในการดำเนินกิจการทางการเมืองหรือประโยชน์อื่นใดในทำนองเดียวกัน
หนังสือและเอกสารอ่านประกอบเพิ่มเติม
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ “กฎหมายพรรคการเมืองของไทยและเยอรมัน” กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบาย
ศึกษา,2543
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550
นโยบายพรรคการเมือง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
2.2.6 กฎหมายพรรคการเมืองในปัจจุบัน
กฎหมายพรรคการเมืองในปัจจุบันหลังที่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีตรากฎหมายที่ขยายรายละเอียดในรัฐธรรมนูญ คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มีสาระสำคัญดังนี้
2.2.6.1 หลักเกณฑ์การจัดตั้งพรรคการเมือง
หลักเกณฑ์การจัดตั้งพรรคการเมืองการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมและเป็นหลักประกันการจัดตั้งทางการเมืองสำหรับคนไทย ซึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 65 ดังนี้
“ มาตรา 65 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนและเพื่อดำเนินกิจกรรมในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้นตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
การจัดองค์กรภายใน การดำเนินกิจการและข้อบังคับของพรรคการเมือง ต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือสมาชิกพรรคการเมืองตามจำนวนที่กำหนดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว้าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งเห็นว่ามติหรือข้อบังคับในเรื่องใดของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกอยู่นั้นขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติหรือข้อบังคับดังกล่าวขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้มติข้อบังคับนั้นเป็นอันยกเลิกไป”
2.2.6.2 ขั้นตอนการจัดตั้งพรรคการเมือง
ขั้นตอนการจัดตั้งพรรคการเมือง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 ได้กำหนดขั้นตอนการจัดตั้งพรรคการเมือง ดังนี้
1. ผู้ที่จะรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองจะต้องมีคุณสมบัติ ต่อไปนี้
1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2) มีสัญญาชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ไม่น้อยกว่า 5 ปี
3) อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
4) ไม่มีลักษณะต้องห้ามให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
2. ผู้จัดตั้งพรรคการเมืองต้องจัดให้มีการประชุมจัดตั้งพรรคการเมืองก่อนยื่นคำขอจัดตั้งพรรคการเมืองดังนี้
1) ต้องมีผู้จัดตั้งพรรคการเมืองเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า15 คน
2)กิจกรรมที่ต้องดำเนินการในที่ประชุมอย่างน้อยต้องประกอบด้วย การกำหนดนโยบายพรรคการเมือง การกำหนดข้อบังคับพรรคการเมืองและการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง
3. ผู้ที่ไดรับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองยื่นคำขอจัดตั้งพรรคการเมืองต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง พร้อมเอกสารประกอบดังนี้
1)นโยบายพรรคการเมือง
2)ข้อบังคับพรรคการเมือง
3)บัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของพรรคการเมือง
4) หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่เป็นที่ทำการพรรคการเมืองซึ่งต้องอยู่ในราชอาณาจักร
5) สำเนารายงานการประชุมตั้งพรรคการเมือง
4. เมื่อได้รับคำขอจัดตั้งพรรคการเมือง นายทะเบียนพรรคการเมือง(ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง)ได้ตรวจสอบในเรื่องดังต่อไปนี้
1)ผู้จัดตั้งพรรคการเมืองต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามและมีผู้จัดตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน
2) ชื่อ ชื่อย่อ ภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง นโยบายและข้อบังคับพรรคการเมือง ต้องไม่ก่อให้เกิดความแตกแยกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3)เอกสารขอจัดตั้งพรรคการเมืองต้องมีรายการครบถ้วน คือ คำขอเป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดและข้อบังคับพรรคมีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
4)คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองต้องมีคุณสมบัติที่กำหนดไว้ คือ อายุ 20 ปี บริบูรณ์ มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและไม่อยู่ระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
5)ชื่อพรรคการเมืองและภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองไม่ซ้ำหรือพ้องหรือมีลักษณะคล้ายคลึงกับชื่อพรรคการเมืองหรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองของผู้จัดตั้งพรรคการเมืองอื่นที่ยื่นคำขอไว้หรือของพรรคการเมืองอื่นที่นายทะเบียนได้รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองไว้ก่อนแล้ว
5. การสั่งการของนายทะเบียนพรรคการเมือง อาจเกิดขึ้นได้ดังนี้
1)ในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องและครบถ้วนจะแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอจัดตั้งพรรคการเมืองและประกาศจัดตั้งพรรคการเมืองในราชกิจจานุเบกษาและให้พรรคการเมืองที่นายทะเบียนรับจดแจ้งการจัดตั้งแล้วเป็นนิติบุคคล
2)ในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าคุณสมบัติหรือจำนวนของผู้จัดตั้งพรรคการเมืองหรือนโยบายพรรคและข้อบังคับพรรคหรือคุณสมบัติของคณะกรรมการบริหารพรรค หรือชื่อพรรคการเมืองหรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด นายทะเบียนพรรคการเมืองจะสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองและแจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอจัดตั้งพรรคการเมือง
3)ในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าเอกสารการขอจัดตั้งพรรคการเมืองมีรายการไม่ครบถ้วน หรือมีข้อความไม่ชัดเจนหรือบกพร่อง จะแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอจัดตั้งทราบภายใน 7 วัน เพื่อดำเนินการแก้ไขหากผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองแก้ไขเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลา ก็จะรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง ถ้าผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองไม่ดำเนินการแก้ไขหรือแก้ไขไม่ถูกต้อง นายทะเบียนพรรคการเมืองจะสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองและแจ้งเป็นหนังสือให้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายใน 7 วัน
4)ในกรณีที่มีผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองซึ่งมีชื่อพรรคการเมืองหรือภาพเครื่องหมายซ้ำ หรือพ้องหรือมีลักษณะคล้ายคลึงกันและยื่นคำขอจัดตั้งพรรคการเมืองในวันเดียวกัน นายทะเบียนพรรคการเมืองจะสั่งให้ผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองทำความตกลงกันว่าผู้ใดจะเป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อพรรคการเมืองหรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองนั้น เมื่อได้ตกลงกันประการใดแล้ว นายทะเบียนพรรคจะรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองตามที่ได้ตกลงกันไว้
5)ในกรณีผู้จัดตั้งพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องยืนยันไม่ยอมตกลงกันหรือยังตกลงกันไม่ได้ นายทะเบียนพรรคการเมืองจะพิจารณารับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองจากผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองที่เห็นว่ามีสิทธิที่จะใช้ชื่อพรรคการเมืองหรือภาพเครื่องหมายนั้นดีกว่า
6)ในกรณีที่ชื่อพรรคการเมืองหรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองนั้นเป็นชื่อหรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองที่ไม่เคยมีการใช้มาก่อนและตกลงกันไม่ได้ ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองดำเนินการจับสลากโดยเปิดเผยเพื่อให้ได้ผู้มีสิทธิใช้ชื่อพรรคการเมืองหรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองนั้น
7)ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองแจ้งการรับจัดแจ้งพรรคการเมืองตาม ข้อ 5)และข้อ 6) เป็นหนังสือไปยังผู้ขอจัดตั้งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่รับจดแจ้งการจัดตั้ง
6.การโต้แย้งคำสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง ผู้จัดตั้งพรรคการเมืองซึ่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองของนายทะเบียนพรรคการเมือง มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยชี้ขาดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง
2.2.6.3 การสิ้นสภาพ การยกเลิกและการยุบพรรคการเมือง
การสิ้นสภาพ การยกเลิกและการยุบพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มีสาระสำคัญดังนี้
1. การสิ้นสภาพพรรคการเมือง พรรคการการเมืองย่อมสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองด้วยเหตุใด เหตุหนึ่งดังนี้
1) ไม่สามารถดำเนินการได้ตาม ม. 26 คือ ภายในหนึ่งพรรคการเมืองต้องรับสมาชิกให้มีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 คนและมีสาขาพรรคการเมืองอย่างน้อยภาคละ 1 สาขา
2 )ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป 2 ครั้งติดต่อกันหรือเป็นเวลา 8 ปี ติดต่อกัน สุดแต่ระยะเวลาใดยาวกว่ากัน
3) มีจำนวนสมาชิกเหลือไม่ถึง 5,000 คน เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 1 ปี
4) ไม่มีการเรียกประชุมใหญ่พรรคการเมืองหรือไม่มีการดำเนินกิจกรรมใดทางการเมืองเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 1 ปี
2. การเลิกพรรคการเมือง พรรคการเมืองย่อมเลิกด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1) มีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมือง
2) มีการควบรวมพรรค
3. การยุบพรรคการเมือง นั้นพรรคการเมืองจะถูกยุบพรรคการเมืองได้ในกรณีดังต่อไปนี้
1) ในกรณีที่พรรคการเมืองใดมีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมืองแต่พรรคการเมืองนั้นยังมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่หรือในกรณีที่พรรคการเมืองไม่ดำเนินการให้เป็นไปตาม ม.82
เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามข้างต้น ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองตามคำร้องของนายทะเบียน ให้ศาลรัฐธรรมสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น
2) ในกรณีที่พรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ อาจถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง ดั้งนี้
(1) ทำการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกระทำการตามที่รัฐธรรมนูญให้ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจโดยวิธีดังกล่าว
(2) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(3) กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
(4) กระทำอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรหรือขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ
(5) กระทำการฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ดังต่อไปนี้
ก. ฝ่าฝืนตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง คือ การรับบุคคลที่ไม่ใช่สัญชาติเป็นสมาชิกพรรค
ข. ฝ่าฝืนมาตรา 43 คือ การเข้าไปช่วยเหลือหรือรับเป็นสมาชิกวุฒิสภา
ค. ฝ่าฝืนมาตรา 65 คือ การรับบริจาคเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดอันเป็นการคำนวณได้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ง. ฝ่าฝืนมาตรา 66 คือ การเข้าไปสนับสนุนอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคง ราชบัลลังก์หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
จ. ฝ่าฝืนมาตรา 69 คือ การรับบริจาคเงินจากบุคคลที่ไม่ใช่สัญชาติไทย
ฉ. ฝ่าฝืนมาตรา 104 คือ สมคบ รู้เห็นเป็นใจ หรือสนับสนุนให้บุคคลใดดำเนินการใด เพื่อให้บุคคลอื่นหรือคณะกรรมการการเลือกตั้ง หลงเชื่อหรือเข้าใจว่าพรรคการเมืองอื่นหรือบุคคลใดกระทำความผิด
เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียน หรือเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งจากคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าพรรคการเมืองใดกระทำความผิดตามมาตรา 94 ให้นายทะเบียนโดยความเห็นคณะกรรมการเลือกตั้งแจ้งต่ออัยการสูงสุด พร้อมด้วยหลักฐาน เมื่ออัยการสูงสุดได้รับแจ้งให้พิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าอัยการสูงสุดเห็นสมควร ก็ให้ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าว
ถ้าอัยการสูงสุดไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้นายทะเบียนตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีผู้แทนจากนายทะเบียนและผู้แทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐาน แล้วส่งให้อัยการต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป ในกรณีที่คณะทำงานดังกล่าวไม่อาจหาข้อยุติเกี่ยวกับการดำเนินยื่นคำร้องเกี่ยวกับการดำเนินการยื่นคำร้องได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่แต่งตั้งคณะทำงาน ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจยื่นคำร้องเอง
หากนายทะเบียนเห็นสมควรจะให้ระงับการดำเนินการของพรรคการเมืองซึ่งกระทำการตามมาตรา 94 ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งแจ้งต่ออัยการสูงสุดขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งระงับการกระทำดังกล่าวของพรรคการเมืองไว้ชั่วคราว
3) เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใดแล้ว ให้นายทะเบียนประกาศคำสั่งยุบพรรคการเมืองนั้นในราชกิจจานุเบกษา และห้ามมิให้บุคคลใดใช้ชื่อ ชื่อย่อหรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองซ้ำ หรือพ้อง หรือมีลักษณะคล้ายคลึงกับชื่อย่อ หรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองที่ถูกยุบนั้น เพื่อแสวงหาประโยชน์ในการดำเนินกิจการทางการเมืองหรือประโยชน์อื่นใดในทำนองเดียวกัน
นโยบายพรรคการเมือง 在 PPTV HD 36 - #เลือกตั้ง2566 พีพีทีวีรวมนโยบายพรรคการเมือง... 的推薦與評價
เลือกตั้ง2566 พีพีทีวีรวมนโยบายพรรคการเมือง เปิดอาวุธสำคัญก่อนศึกเลือกตั้งใหญ่ พร้อมสรุปสั้นๆ เข้าใจง่าย . อ่านนโยบายฉบับเต็ม : http://pptv36.news/18XN... ... <看更多>
นโยบายพรรคการเมือง 在 ส่อง "นโยบายพรรคการเมือง" กล้ารีดภาษี? | BUSINESS WATCH 的推薦與評價
นโยบาย ของ พรรคการเมือง ที่ใช้ในการหาเสียงในช่วงนี้ ส่วนใหญ่จะเป็น นโยบาย ที่ใช้เงินจำนวนมากตั้งแต่ระดับ 1 แสนล้านบาท ไปจนถึง 1 ล้านล้านบาท ... ... <看更多>