สรุปประเด็นจากห้อง Clubhouse
เปิดความท้าทายของจีนยุคใหม่ ลงทุนหุ้นจีนต้องดูอะไร ?
BBLAM x ลงทุนแมน
“การเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความท้าทายทุกด้านของจีน
จะทำให้เราเห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่ในการลงทุนหุ้นจีนได้อย่างชัดเจนที่สุด”
นี่คงเป็นประโยค ที่สรุปใจความสำคัญได้สมบูรณ์ที่สุด
หลังจากที่ คุณทีน่า สุภัททกิต เจตทวีกิจ, CFA จากลงทุนแมน
ได้พูดคุยกับ 2 ผู้เชี่ยวชาญจากกองทุนบัวหลวงในห้อง Clubhouse ในหัวข้อ “เปิดความท้าทายของจีนยุคใหม่ ลงทุนหุ้นจีนต้องดูอะไร ?” เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมา
โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการลงทุนในจีนจากกองทุนบัวหลวงทั้ง 2 ท่าน ได้แก่
- คุณทนง ขันทอง Head of Strategic Communications กองทุนบัวหลวง
- คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, AVP, Portfolio Management กองทุนบัวหลวง
ความท้าทายและโอกาสของจีนในตอนนี้มีอะไรบ้าง แล้วลงทุนหุ้นจีนต้องดูอะไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
ความท้าทายที่ 1: สงครามการค้าและเทคโนโลยี ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา
เรื่องสงครามการค้า สงครามเทคโนโลยี ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา เป็นสิ่งที่นักลงทุนรับรู้เรื่องนี้ตลอดเวลาที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นเวลามีข่าวดี หุ้นจีนก็พร้อมวิ่งไปต่อ
นอกจากนั้น ความกังวลเรื่องสงครามการค้าและเทคโนโลยี
ยังทำให้มูลค่าของบริษัทเทคโนโลยีจีนมีราคาที่ถูกลง
ถ้าเราลองดูภาพรวมของหุ้นกลุ่มนี้ผ่าน MSCI China Technology กับ S&P Technology
จะเห็นว่า บริษัทเทคโนโลยีจีนที่แพงกว่าสหรัฐอเมริกามาตลอดหลายปี ถูกลด P/E ลงมา ทั้งที่ผลประกอบการไม่ได้แย่เลย ทำให้ P/E ของกลุ่มอยู่ที่ 25 เท่า สูงกว่า ค่าเฉลี่ย 15 ปีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ความท้าทายที่ 2: ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ
ล่าสุด ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน คุณ Yi Gang ก็ออกมาบอกว่าเงินเฟ้อของจีนในช่วงนี้ จะต่ำกว่า 2% และเงินเฟ้อฝั่งผู้บริโภคของจีนล่าสุดที่ออกมาอยู่ที่ระดับ 1.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ก็ช่วยให้นักลงทุนคลายกังวลเรื่องเงินเฟ้อสูงไปตาม ๆ กัน
คุณมทินา ยังแนะนำเทคนิคดูการปรับตัวของหุ้นจีนแบบแม่น ๆ คือนอกจากดู “นโยบายการเงิน” ของธนาคารกลางจีนแล้ว ให้ดู “ยอดการระดมทุนรวมสุทธิของทั้งระบบ (Total Social Financing)” หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า TSF
TSF คือยอดการปล่อยสินเชื่อรวมในระบบ ที่สะท้อนถึงสภาพคล่องในระบบขณะนั้น ซึ่งถ้าเอาข้อมูล TSF มาพลอตเทียบกับ ตลาดหุ้น A-shares (ตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่) ก็จะมีความสัมพันธ์สูง ไปในทิศทางเดียวกัน
อย่างเช่น ในช่วงที่ผ่านมา การเติบโตของ TSF ลดลง แสดงถึงสภาพคล่องในระบบที่ลดลง และสะท้อนไปยังราคาหุ้นของจีนที่ปรับตัวลดลงได้นั่นเอง
คำถามคือ สภาพคล่องของทั้งระบบเศรษฐกิจ จากการที่ TSF ที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมา น่ากลัวไหม ?
กองทุนบัวหลวงมองว่า “ไม่ได้น่ากลัวเท่าที่คิด” เพราะการลดสภาพคล่องของจีน ค่อยๆ ทำอย่างระมัดระวังมาหลายเดือนแล้ว และตลาดก็ได้สะท้อนความกลัวนั้นไปมากแล้วก่อนหน้านี้
เพราะฉะนั้น ความเสี่ยงในด้านขาลงของหุ้นจีน (Downside Risk) ควรจะเริ่มจำกัดแล้วในตอนนี้
ความท้าทายที่ 3: ปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์
จีน มีปัญหาในเชิงการเมืองกับหลายฝ่าย ทั้งไต้หวัน ฮ่องกง และโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา
ตั้งแต่ยุคประธานาธิบดี บารัก โอบามา สหรัฐอเมริกา เน้นเข้ามามีบทบาทในเอเชียและตะวันออกกลางมากขึ้น เพื่อคานอำนาจของจีนที่เริ่มสานสัมพันธ์กับนานาประเทศในหลายภูมิภาค
ขณะที่สมัยประธานาธิบดี ทรัมป์ ก็เริ่มก่อสงครามการค้า สงครามเทคโนโลยีที่ชัดเจน และยกประเด็นต่าง ๆ ขึ้นมาโจมตีจีน เช่น เรื่องสิทธิมนุษยชนในเขตซินเจียง เรื่องการวางอำนาจของจีนในทะเลจีนใต้ ไปจนถึงเรื่องการเป็นต้นตอของวิกฤติโรคระบาดโควิด-19
คุณทนงเชื่อว่า ความเข้มข้นของเรื่องการเมืองโลกเหล่านี้ จะนำไปสู่การประนีประนอมในท้ายที่สุด อีกทั้งจะมีการปรับระเบียบโลกครั้งใหม่ สู่ระบบหลายขั้วผู้นำ (Multipolar) และจีนมีศักยภาพที่จะก้าวขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งขั้วมหาอำนาจโลกได้
ความท้าทายที่ 4: การเติบโตระยะยาวของจีน ที่เริ่มแผ่ว
ล่าสุดทางการจีนออกมาประกาศ ตั้งเป้าการเติบโตของเศรษฐกิจลดลง จากเดิมที่โตเฉลี่ย 7-8% ต่อปี เหลือ 5-6% ต่อปี
เรื่องนี้ คุณทนงมองว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมชาติ เพราะตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาจีนเติบโตเร็วมาตลอด พอฐานเศรษฐกิจเริ่มใหญ่ขึ้น 5-6% ก็ยังคงถือว่าไม่ได้แย่ ถึงแม้จะไม่ได้ร้อนแรงเหมือนเดิม
ส่วนคุณมทินา มองว่าสไตล์การดำเนินนโยบายการเงินของจีน จะทำให้จีนแข็งแกร่งได้ในระยะยาว
เพราะถ้าลองเทียบสไตล์การใช้นโยบายการเงินของธนาคารกลางจีนกับสหรัฐอเมริกา
ประการแรก - เราจะเห็นว่า สหรัฐอเมริกา จะใช้นโยบายทางการเงินที่จัดหนักจัดเต็ม มีการอัดฉีดเงินมูลค่ามหาศาลเข้ามาในระบบแบบไม่ยั้ง ขณะที่จีนค่อนข้างมีความรัดกุม เช่น เมื่ออัดฉีดเงินเข้าระบบแล้วเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ก็จะรีบพยายามหาทางลดความร้อนแรง โดยการดูดเงินออกจากระบบทันทีที่มีโอกาส
ประการที่สอง - จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของจีนนั้น ไม่ได้ต้องการโฟกัสไปที่ตลาดหุ้น แต่ต้องการที่จะสร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจโดยรวม แตกต่างกับทางสหรัฐอเมริกา ที่จะเน้นที่การกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวไปตามเป้าหมายในทันที
ซึ่งคุณมทินามองว่า สไตล์การใช้นโยบายทางการเงินของจีน จะทำให้ตลาดหุ้นจีนมีเสถียรภาพในอนาคต
ความท้าทายที่ 5: ความเข้มงวดของรัฐบาลจีน ต่อบริษัทเทคโนโลยีจีน
อย่างเช่น ที่หน่วยงานกำกับและดูแลตลาดจีน เคยสั่งปรับ Alibaba ในข้อหาผูกขาดตลาดและใช้นโยบายเอาเปรียบผู้บริโภค และเรียกผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในจีนหลายรายไปพูดคุย
เหตุการณ์เหล่านี้ กำลังทำให้หุ้นเทคโนโลยีจีนตอนนี้ถูก Discount หรือลดมูลค่าลงไปพอสมควร เพราะนักลงทุนกังวลว่า หลายบริษัทจะได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบของทางการจีน
แต่ความเข้มงวดตรงนี้ ทางกองทุนบัวหลวงมองว่าเป็นผลดีในระยะยาว เพราะแม้เรื่องนี้ อาจกระทบบางบริษัท หรือทั้งกลุ่มเทคโนโลยีในระยะสั้น แต่ในระยะยาวจะทำให้เส้นทางการเติบโตของบริษัทเหล่านี้เป็นไปอย่างถูกต้อง และมั่นคงในอนาคต
ความท้าทายที่ 6: ภาพลักษณ์ของจีน ที่ถูกมองว่าไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง
กองทุนบัวหลวงมองว่า เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะถ้าลองมาดูตัวเลขในเรื่องเหล่านี้จะเห็นว่า
- งบประมาณด้านเทคโนโลยีอยู่ในแผน 5 ปี และรัฐบาลจีนตั้งเป้า % งบวิจัยพัฒนาต่อ GDP ให้เทียบเท่ากับสัดส่วนของสหรัฐอเมริกา
- จำนวนการยื่นจดสิทธิบัตร อ้างอิงจาก World Intellectual Property จีนแซงหน้าสหรัฐอเมริกา, เยอรมนี ญี่ปุ่น ไปแล้ว
- จำนวนสตาร์ตอัป (สตาร์ตอัปมูลค่ามากกว่า 31,000 ล้านบาท) ในปักกิ่ง แซงหน้า San Francisco และ New York ไปแล้ว
ข้อมูลเหล่านี้ ทำให้เห็นว่ารัฐบาลจีนจริงจัง และให้ความสำคัญกับงบสนับสนุนด้านเทคโนโลยีมาก ๆ และจีนเองก็เป็นเจ้าของนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากมายไม่แพ้ใคร
ซึ่งจากโอกาสและความท้าทายที่ว่ามาทั้งหมดนี้ ถ้าถามว่ากองทุนรวมแบบไหน ที่พร้อมยืดหยุ่นในการลงทุน และเติบโตไปกับโอกาสเหล่านี้
“B-CHINE-EQ” หรือ “กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน” ที่บริหารจัดการโดยกองทุนบัวหลวง ก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่มองข้ามไม่ได้
เพราะ B-CHINE-EQ ลงทุนทุกตลาดของจีน มีนโยบายการลงทุนที่ยืดหยุ่น แบ่งการลงทุนเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรกใช้วิธีใช้ Outsource Fund Manager มอบหมายให้ Allianz Global Investors Asia Pacific Limited (AGI) เป็นผู้รับดำเนินการลงทุนในต่างประเทศ
ซึ่ง AGI เป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่ง มีความชำนาญในการค้นหาโอกาสเชิงรุก และเก่งเรื่องการคัดเลือกหุ้นรายตัว มีความรู้ ความเข้าใจ ในตลาดหุ้นจีนเป็นอย่างดี
โดยปัจจุบัน AGI นำเงินไปลงทุนใน 2 กองทุนหลัก คือ Allianz All China Equity และ Allianz China A-Shares โดยในส่วนที่ AGI ดำเนินการ ตามนโยบายหลักกำหนดไว้ที่ 80% ของ NAV
ส่วนที่สอง อีก 20% ที่เหลือเปิดให้กองทุนบัวหลวงพิจารณาเลือกลงทุนหุ้นจีนได้ด้วยตัวเอง ทำให้กองทุนหุ้นจีนของกองทุนบัวหลวงมีสไตล์ความเป็นกองทุนบัวหลวงจริง ๆ อยู่ในนั้น
เพราะการลงทุนในจีนนั้นเต็มไปด้วยความท้าทาย
แต่ความท้าทายที่มากนั้นก็หมายความว่า มีโอกาสที่แฝงอยู่มากตามไปด้วย
และ B-CHINE-EQ ก็คือหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจที่สุด
สำหรับคนที่อยากเติบโตไปกับหุ้นจีนในตอนนี้ และอนาคต..
Search