Jack Dorsey ผู้ร่วมก่อตั้ง Twitter ที่ไม่ได้รวยจาก Twitter /โดย ลงทุนแมน
หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับ “Jack Dorsey” หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Twitter
โดยปัจจุบัน เขายังคงดำรงตำแหน่งเป็น CEO ของบริษัทแห่งนี้
Twitter ได้เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กเมื่อปี 2013 ซึ่งนั่นก็ได้ทำให้ Dorsey ก้าวขึ้นมาเป็น Billionaire หรือเศรษฐีที่มีทรัพย์สินมูลค่ามากกว่า 33,000 ล้านบาท ได้เป็นครั้งแรก
ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน Dorsey มีทรัพย์สินกว่า 458,000 ล้านบาท ซึ่งหลายคนก็น่าจะคิดว่าความมั่งคั่งส่วนใหญ่ของเขามาจากบริษัท Twitter
แต่ข้อเท็จจริง กลับไม่ได้เป็นแบบนั้น..
เพราะจริง ๆ แล้ว Dorsey มีทรัพย์สินจากการถือหุ้น Twitter เพียง 37,000 ล้านบาท หรือราว 8% ของทรัพย์สินทั้งหมดที่เขามี ส่วนความมั่งคั่งอีกกว่า 419,000 ล้านบาท มาจากมูลค่าหุ้นของอีกบริษัทหนึ่ง
ซึ่งเขาก็เป็นทั้งผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO เช่นกัน โดยบริษัทนั้น มีชื่อว่า “Square”
ทำไม Dorsey ถึงได้ก่อตั้งอีกบริษัทหนึ่งที่ทำให้เขามีความมั่งคั่งมากขึ้น
แล้ว Square ทำธุรกิจอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Twitter เปิดตัวในปี 2006 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 4 คน นั่นก็คือ Jack Dorsey, Evan Williams, Biz Stone และ Noah Glass ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็น CEO คนแรกของบริษัท ก็คือ Dorsey
แต่ในปี 2008 Williams และกรรมการบริหารได้ร่วมกันบังคับให้ Dorsey ออกจากตำแหน่ง CEO ด้วยเหตุผลที่ว่า Dorsey ทำตัวไม่เหมาะสมกับตำแหน่งนี้ เขาจึงถูกแต่งตั้งเป็นประธานแทน ซึ่งตำแหน่งนี้ทำให้เขาไม่มีอำนาจในการบริหารงาน
ในขณะที่คนที่รับตำแหน่ง CEO แทน Dorsey ก็คือ Williams
แต่สุดท้ายแล้วในปี 2010 Williams ก็ถูกบีบให้ออกจากตำแหน่งเหมือนกัน
1 ปีหลังจากนั้น Dorsey จึงได้กลับมามีบทบาทที่ Twitter อีกครั้ง โดยการรับตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริหารที่ดูแลด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ก่อนที่จะกลับมาเป็น CEO อีกครั้งในปี 2015
แล้วในช่วงที่ Dorsey ไม่ได้บริหารงานที่ Twitter เขาทำอะไร ?
วันหนึ่งในช่วงต้นปี 2009 หลังจากที่ Dorsey เพิ่งโดนบังคับให้ออกจากการเป็น CEO บริษัท Twitter ได้ไม่นาน เพื่อนของเขาที่ชื่อ Jim McKelvey ก็ได้โทรศัพท์มาหา
McKelvey เป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และในเวลาเดียวกันเขาก็เป็นศิลปินเป่าแก้ว ที่เปิดสตูดิโอเครื่องแก้วไปด้วย
McKelvey โทรศัพท์หา Dorsey เพื่อเล่าว่าเขาเพิ่งหัวเสียจากการพลาดโอกาสขายเครื่องแก้วมูลค่า 66,000 บาท เพราะลูกค้ามีแต่บัตรเครดิต แต่เขาไม่มีเครื่องรูดบัตรเครดิต
ทั้ง Dorsey และ McKelvey กำลังคุยโทรศัพท์กันด้วย iPhone และก็เป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่ก็เริ่มมี iPhone พกติดตัวตลอดเวลา Dorsey เลยเกิดไอเดียว่าทำไมเราไม่ทำให้ iPhone กลายเป็นอุปกรณ์ใช้รับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตได้
Dorsey และ McKelvey ที่เคยคุยกันมาสักพักแล้วว่าอยากหาโอกาสทำโปรเจกต์เจ๋ง ๆ ด้วยกัน
พวกเขาจึงได้ตกลงต่อยอดไอเดียนี้ร่วมกันทันที
ผ่านไปเพียง 1 เดือน ทั้ง Dorsey และ McKelvey ก็สามารถเปลี่ยนสมาร์ตโฟนให้เป็นเครื่องรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตได้
สิ่งที่พวกเขาสร้างมี 2 ส่วน อย่างแรกก็คืออุปกรณ์ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเล็ก ที่มีแจ็กเพื่อเชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟนทางรูเสียบหูฟัง ซึ่งใช้สำหรับรูดบัตรเครดิต
อย่างที่สองก็คือ แอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน ที่ใช้เป็นระบบรับชำระเงิน ซึ่งการเซ็นชื่อจะใช้นิ้วมือเขียนบนหน้าจอสมาร์ตโฟนได้เลย ส่วนใบเสร็จจะเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ส่งเข้าไปที่อีเมล
พวกเขาจึงได้ตั้งชื่อบริษัท ตามรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสของอุปกรณ์ที่ใช้รูดบัตร ชื่อว่า “Square”
Square สามารถระดมทุนในรอบแรกได้ 330 ล้านบาท จากนักลงทุน เช่น
- Biz Stone ที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Twitter
- Marissa Mayer ที่เป็นอดีต CEO ของ Yahoo!
- Shawn Fanning ผู้ร่วมก่อตั้ง Napster
หลังจากนั้น Square ก็ได้เปิดตัวในปี 2010 โดยเริ่มจากการขายผลิตภัณฑ์ ผ่านเว็บไซต์ของตัวเอง และบริการจัดส่งสินค้าให้ฟรี
จุดเด่นของ Square ก็คือ เมื่อสมาร์ตโฟนใช้เป็นเครื่องรูดบัตรเครดิตได้ ก็ทำให้ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่แม้จะเป็นเพียงรถเข็นขายไอศกรีมหรือพ่อค้าแม่ค้าตามตลาดนัด ก็สามารถรับบัตรเครดิตได้ เช่นกัน
ที่สำคัญก็คือ Square คิดค่าธรรมเนียมร้านค้าที่รับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ต่ำกว่าเครื่องรับบัตรเครดิตจากสถาบันการเงิน นั่นจึงทำให้ร้านค้าขนาดเล็กที่เคยลังเลกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการรับบัตร หันมาเลือกใช้ Square
ด้วยจุดเด่นเหล่านี้ ก็ได้ทำให้ Square ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
ผ่านไปไม่ถึงปี Square สามารถขายอุปกรณ์รูดบัตรเครดิตไปได้กว่า 50,000 ชิ้น
ความสำเร็จนี้ ก็ทำให้ Square ได้รับเงินลงทุนจนสามารถเป็นยูนิคอร์นสตาร์ตอัป หรือบริษัทที่ถูกประเมินมูลค่ามากกว่า 33,000 ล้านบาท ได้ในปี 2011 หรือหลังจากเริ่มขายสินค้าเพียงปีเดียว
แต่ความนิยมของ Square ก็ไม่ได้เกิดขึ้นในกลุ่มเจ้าของร้านค้าขนาดเล็กเท่านั้น
เพราะกลายเป็นว่าธุรกิจขนาดใหญ่ก็หันมาใช้ระบบรับบัตรเครดิตของ Square เช่นกัน
ในปี 2013 Square จึงได้ต่อยอดผลิตภัณฑ์สำหรับร้านค้า โดยใช้ชื่อว่า Square Stand
ที่เป็นการเปลี่ยน iPad ให้เป็นเครื่องรับชำระเงินตามร้านค้าหรือที่เรียกว่า “POS”
โดย Square Stand เป็น POS ที่ใช้รูดบัตรเครดิตได้ในตัว ไม่ต้องซื้อเครื่องรูดบัตรเครดิตแยก
และสิ่งที่ทำให้ Square Stand ได้รับความนิยมสูงมาก ก็คือซอฟต์แวร์ที่มากับเครื่อง POS
POS ของ Square มีระบบที่แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นต่อร้านค้า เช่น ผลกำไรขาดทุน ประเภทสินค้าที่ขายดี และข้อมูลทางสถิติอื่น ๆ ได้แบบเรียลไทม์ จึงทำให้ร้านค้า สามารถมองเห็นภาพรวมของธุรกิจตัวเอง ในมุมมองที่กว้างขึ้นและสามารถปรับตัวได้เร็ว
เรื่องดังกล่าวก็ได้ทำให้ Square มีฐานลูกค้าตั้งแต่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก อย่างเช่น คีออสก์ขายกาแฟ ไปจนถึงเชนร้านกาแฟที่ใหญ่สุดในโลกอย่าง Starbucks
อีกบริการที่มีส่วนสำคัญกับรายได้ของ Square ก็คือ Square Capital หรือการปล่อยสินเชื่อก้อนเล็ก ให้กับธุรกิจขนาดเล็ก
โดย Square เข้าไปเป็นพาร์ตเนอร์กับสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ แต่ Square จะประเมินการให้สินเชื่อด้วยข้อมูลยอดขายจาก POS ของร้านค้าที่ใช้ Square Stand กับโมเดล AI ที่บริษัทพัฒนาเอง
นอกจากนั้น Square ยังเพิ่มความยืดหยุ่นในการจ่ายคืนหนี้ให้กับร้านค้า โดยอิงกับยอดการรูดบัตรเครดิตผ่าน Square Stand นั่นคือถ้ายอดขายดี ก็จะให้ร้านค้าจ่ายคืนหนี้จำนวนมากขึ้น ถ้ายอดขายลดลงก็จ่ายคืนหนี้น้อยลงได้ตาม
ทั้งหมดนี้ ก็ทำให้ Square เป็นระบบนิเวศที่มีบริการครอบคลุมความต้องการของร้านค้าอย่างครบวงจร ซึ่งนอกจากจะทำให้ Square ได้รับความนิยมมากขึ้นแล้ว ยังทำให้ร้านค้าที่คิดจะเปลี่ยนบริการจาก Square ไปใช้เจ้าอื่นก็ทำได้ยากขึ้นด้วย
นอกเหนือจากระบบรับชำระเงินของร้านค้าแล้ว Square ยังได้ต่อยอดไปทำแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า “Cash App” ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้งานต่อเดือนกว่า 30 ล้านคน
โดย Cash App เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัล ที่ให้ผู้ใช้งานผูกบัญชีส่วนตัวเข้ากับบัญชีธนาคาร เพื่อใช้ชำระเงิน โอนเงิน หรือจ่ายบิลได้
ซึ่งลูกค้าที่ใช้ Cash App ชำระสินค้าผ่านร้านที่ใช้ POS ของ Square ก็จะมี Reward ให้ด้วย
รวมถึงผู้ใช้งาน Cash App ยังได้บัตรเดบิตที่เรียกว่า Cash Card ไปใช้ฟรีด้วย
ธุรกรรมที่ทำผ่าน Cash App เกือบทั้งหมดจะให้บริการฟรี แต่จะคิดค่าธรรมเนียมบางกรณี อย่างเช่น ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากร้านค้าที่รับชำระด้วย Cash Card หรือค่าธรรมเนียมฝากถอนโอนเงินแบบด่วน
นอกจากนี้ Cash App ยังได้เริ่มให้บริการเกี่ยวกับการลงทุน โดยให้บริการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีได้แล้วด้วย
ในปี 2015 หลังจากที่ Dorsey กลับไปเป็น CEO ของ Twitter ได้ไม่นาน Square ก็จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ซึ่งจนถึงปัจจุบันราคาหุ้น Square ก็เพิ่มขึ้นมากว่า 27 เท่า
นั่นจึงทำให้มูลค่าหุ้น Square ที่ Dorsey ถืออยู่ มีมูลค่า 419,000 ล้านบาท
ซึ่งคิดเป็นเกือบทั้งหมดของมูลค่าทรัพย์สินที่ Dorsey มีกว่า 458,000 ล้านบาท
ขณะที่มูลค่าหุ้นของ Twitter ที่ Dorsey ถืออยู่ มีมูลค่า 37,000 ล้านบาท
จากเรื่องทั้งหมดนี้ ก็อาจทำให้เราคิดได้ว่า
ในวันที่เราถูกบังคับให้ออกจากสิ่งที่เราคิดว่าดี
แต่ในความเป็นจริง เราอาจพบกับสิ่งที่ดีกว่าหลังจากนั้นก็ได้
เหมือนกรณี Dorsey ที่ความมั่งคั่งส่วนใหญ่ของเขาในวันนี้ มาจากบริษัทชื่อ Square ที่ถูกก่อตั้งขึ้นมา หลังจากที่ Dorsey โดนบีบให้ออกจากบริษัท Twitter ในวันนั้น นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.cnbc.com/2019/10/10/how-square-became-26-billion-dollar-company.html
-https://www.businessinsider.com/fabulous-life-of-billionaire-jack-dorsey-taking-square-public
-https://www.businessinsider.com/how-jack-dorsey-came-to-invent-square-and-twitter-2012-9
-https://www.fool.com/investing/2018/11/21/square-stock-history-a-complete-timeline.aspx
-https://sec.report/Document/0001140361-21-014943/
-https://sec.report/Document/0001140361-21-012582/
-https://www.sec.gov/Archives/edgar/data/1418091/000119312513390321/d564001ds1.htm
-https://www.forbes.com/profile/jack-dorsey/?sh=570cdf2b2372
-https://finance.yahoo.com/news/rich-twitter-ceo-jack-dorsey-172600709.html
-https://squareup.com/us/en/about
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「jack dorsey square」的推薦目錄:
- 關於jack dorsey square 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於jack dorsey square 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於jack dorsey square 在 雪倫 》跨國商業人士 沒告訴你的事 Facebook 的精選貼文
- 關於jack dorsey square 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
- 關於jack dorsey square 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於jack dorsey square 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
- 關於jack dorsey square 在 EP81 與眾不同的CEO Jack Dorsey 開啟Twitter 和Square 的 ... 的評價
- 關於jack dorsey square 在 誰是Jack Dorsey傑克朵希? 推特跟Square的創始人比特幣傳奇 ... 的評價
- 關於jack dorsey square 在 鏈新聞- 【 Square| 推特創辦人Jack Dorsey:將開發比特幣 ... 的評價
- 關於jack dorsey square 在 Jack Dorsey's Square changes its name to Block 的評價
- 關於jack dorsey square 在 Jack Dorsey's Square changes its name to Block 的評價
jack dorsey square 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
Nick Molnar มหาเศรษฐี อายุน้อยสุด ในออสเตรเลีย /โดย ลงทุนแมน
“ผมไม่รู้ว่าทำไมคุณถึงยังทำงานอยู่ที่นี่ คุณควรออกไปทำธุรกิจของตัวเองเต็มเวลาได้แล้ว”
ประโยคดังกล่าวถูกพูดโดยคุณ Mark Carnegie ผู้เป็นหัวหน้างานของหนุ่มชาวออสเตรเลีย
ชื่อว่าคุณ Nick Molnar ในปี 2012 หรือราว 9 ปีก่อน
ไม่น่าเชื่อว่าประโยคนี้เอง จะทำให้ในเวลาต่อมา คุณ Molnar ได้ตัดสินใจลาออก
จากงานประจำเพื่อนำเวลาทั้งหมดไปทุ่มเทให้กับธุรกิจของตัวเอง
จนปัจจุบัน เขาได้กลายเป็นเจ้าของบริษัท ที่มีมูลค่าระดับ 9.4 แสนล้านบาท
และกลายมาเป็นมหาเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุดในประเทศออสเตรเลีย
Nick Molnar คือใคร
แล้วเขาก่อตั้งธุรกิจอะไรขึ้นมา ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Nick Molnar เป็นชาวออสเตรเลีย ปัจจุบันมีอายุ 31 ปี
เขาถูกยกให้เป็น “Youngest Self-made Billionaire” หรือเศรษฐีที่มีทรัพย์สินเกินกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.3 หมื่นล้านบาท ที่มีอายุน้อยที่สุดในประเทศและสร้างธุรกิจขึ้นด้วยตัวเอง
Molnar เริ่มเส้นทางการเป็นนักธุรกิจตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษา
ในสมัยที่เขาศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์
ระหว่างเรียน เขาก็ได้เริ่มทำงานเพื่อหารายได้เสริมไปด้วย
โดยรายได้เสริมที่ว่านั้น เขาได้ไอเดียมาจากธุรกิจร้านขายอัญมณีและเครื่องประดับของครอบครัว ที่เปิดขายอยู่ที่สถานีรถไฟวินยาร์ด เมืองซิดนีย์
Molnar ได้มองว่าธุรกิจครอบครัวมีเพียงหน้าร้านเท่านั้น โดยเขาสามารถนำสินค้าเหล่านี้
ไปขายบนโลกออนไลน์ได้ อย่างน้อยก็ถือเป็นการสร้างรายได้จากช่องทางใหม่เพิ่มเติม
สำหรับช่องทางการขายออนไลน์ที่ว่านั้น ก็คือ “eBay”
ผ่านไปเพียงไม่นาน ก็ไม่น่าเชื่อว่าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของเขาได้กระแสตอบรับดีและขายดีเกินคาดในระดับที่มีออร์เดอร์เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าพันชิ้นต่อวัน
ถึงขนาดที่ว่าคุณ Molnar ได้กลายเป็นพ่อค้าขายอัญมณี
ที่ขายดีที่สุดบน eBay ประเทศออสเตรเลียในขณะนั้น
ซึ่งจุดนี้เองก็ได้ทำให้เขาเริ่มคิดต่อว่าจะขยายกิจการ
และไม่ต้องการพึ่งพาตัวกลางในการขายอย่าง eBay อีกต่อไป
เขาเลยได้ตัดสินใจก่อตั้งเว็บไซต์เป็นของตัวเอง ซึ่งแบ่งออกเป็น
- Iceonline.com.au เว็บไซต์ขายเครื่องประดับและนาฬิกาในประเทศออสเตรเลีย
- Ice.com เว็บไซต์ขายอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งธุรกิจที่กล่าวขึ้นมาทั้งหมดเกิดขึ้น คาบเกี่ยวกับช่วงที่เขาจบปริญญาตรีและกำลังเริ่มงานเป็นนักวิเคราะห์อยู่ที่ M.H. Carnegie & Co. ซึ่งเป็นบริษัทที่จะคอยวิเคราะห์ธุรกิจและนำเงินไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน
ที่นั่น Molnar ได้พบเข้ากับ Mark Carnegie หัวหน้าของเขา ซึ่งพอ Carnegie ได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการหารายได้เสริมหลังเวลาเลิกงานของนักศึกษาจบใหม่คนนี้ที่กำลังเป็นรูปเป็นร่าง
Carnegie จึงได้ให้คำแนะนำให้เขาออกไปทำธุรกิจส่วนตัวให้เต็มที่
รวมทั้งยังได้ยื่นข้อเสนอพ่วงไปด้วยว่าผมให้เวลาคุณ 12 เดือน
หากคุณล้มเหลว คุณสามารถกลับมาทำงานกับผมได้ทุกเมื่อ
หลังจากนั้น Molnar จึงได้ทำตามคำแนะนำและตัดสินใจลาออก
เพื่อหันมาโฟกัสกับธุรกิจส่วนตัวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
2 ปีต่อมา หลังจากที่เว็บไซต์ขายเครื่องประดับของเขาอยู่ตัวและคงที่แล้ว
เขาก็ได้ไอเดียธุรกิจอีกครั้ง จากการสังเกตเห็นพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ของลูกค้า
โดยเฉพาะกลุ่มนักช็อปเจเนอเรชันมิลเลนเนียล ซึ่งก็ได้นำไปสู่การก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า “Afterpay” ในปี 2014
สำหรับธุรกิจนี้ คุณ Molnar มีผู้ร่วมก่อตั้งต่างวัย คือคุณ Anthony Eisen ปัจจุบันมีอายุ 50 ปี
โดยคุณ Eisen เป็นทั้งเพื่อนบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกัน รวมถึงยังเป็นผู้มากประสบการณ์ในสายอาชีพการเงิน
แล้ว Afterpay ทำธุรกิจอะไร ?
Afterpay เรียกได้ว่าเป็นสตาร์ตอัปฟินเทคผู้บุกเบิกโมเดลธุรกิจ “BNPL”
ย่อมาจาก Buy Now, Pay Later หรือซื้อตอนนี้จ่ายทีหลัง
อธิบายง่าย ๆ ก็คือเป็นบริการทางการเงินที่จะเข้ามาทำให้ผู้ซื้อได้รับสินค้าทันทีวันนี้
โดยที่ผู้ซื้อสามารถแบ่งจ่ายเป็นงวดทีหลัง แถมไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมหากจ่ายตรงเวลา
จุดนี้เอง ที่ได้เข้าไปตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้ที่ยังไม่มีบัตรเครดิตและคนรุ่นใหม่
ให้สามารถช็อปปิงออนไลน์ได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว แถมยังไม่ต้องจ่ายเต็มจำนวน
ซึ่งหลายคนก็อาจจะสงสัยว่าไม่มีค่าธรรมเนียมผู้ซื้อแล้ว
รายได้ของ Afterpay จะมาจากใคร ?
คำตอบก็คือ รายได้ของ Afterpay จะมาจากร้านค้าเป็นหลัก
ตัวอย่างร้านค้าที่เป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัท ก็เช่น Gap, JD Sports, Pandora, Ray-Ban, Levi’s และอีกหลายแบรนด์
ซึ่งหลายคนก็น่าจะถามต่อว่า
แล้วทำไมร้านค้าต้องยอมออกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ?
ด้วยโมเดลของ BNPL เป็นเหมือนการกระตุ้นยอดขายไปในตัว เพราะทำให้ผู้ซื้อสามารถได้รับสินค้าทันทีในระดับที่ว่าเสื้อผ้าราคาหลักร้อย เรายังสามารถแบ่งจ่ายได้ 4 งวด นั่นจึงทำให้ร้านค้าขายของง่ายขึ้น
ซึ่งก็เป็นอีกครั้งที่ไอเดียของ Molnar สำเร็จอย่างรวดเร็ว เพราะเขาสามารถนำบริษัท
จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ในปี 2016 หรือเพียง 2 ปีหลังจากการก่อตั้ง
ทีนี้เรามาดูกันว่า Afterpay เติบโตมากขนาดไหน ?
หากเรามาดูผลประกอบการปี 2021 โดยรอบบัญชีของบริษัท
เริ่มต้นวันที่ 1 กรกฎาคม 2020 ถึง 30 มิถุนายน 2021
บริษัท Afterpay
ปี 2018 รายได้ 4,642 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 8,612 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 16,922 ล้านบาท
ปี 2021 รายได้ 30,127 ล้านบาท
คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ยมากถึง 87% ต่อปี
โดยรายได้ทั้งหมดของบริษัทจะมาจากค่าธรรมเนียมจากร้านค้า 89%
ที่เหลือก็จะเป็นรายได้ เช่น ค่าปรับที่ลูกค้าจ่ายไม่ตรงงวด
หรือเรียกว่า Late Fee รวมกับรายได้อื่น ๆ อีก รวมกันเป็น 11%
Afterpay ได้รายงานอีกว่าในปีที่ผ่านมา
ร้านค้าที่ลูกค้าใช้บริการชำระเงินผ่านระบบของ Afterpay มีมูลค่าอยู่ที่ 730,000 ล้านบาท
โดยยอดดังกล่าว ได้สร้างรายได้ให้กับบริษัทราว 26,800 ล้านบาท
หมายความว่า Afterpay เก็บค่าธรรมเนียมต่อร้านค้าเฉลี่ยแล้วราว 3.7%
ปัจจุบัน Afterpay มี Active Customers หรือผู้ใช้งานที่ซื้อสินค้า
ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาราว 16.2 ล้านบัญชี มีร้านค้าบนระบบกว่า 98,200 ร้านค้า
ก็เรียกได้ว่านับเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดและเรื่องราวที่เล่ามานั้น ก็ได้เกิดขึ้นในระยะเวลาเพียง 7 ปีเท่านั้น
ซึ่งล่าสุด Afterpay ก็เพิ่งได้รับข้อเสนอการเข้าซื้อกิจการจากบริษัท Square ธุรกิจฟินเทค ที่มีเจ้าของคนเดียวกันกับ Twitter หรือก็คือ Jack Dorsey เป็นเงินมูลค่ามากถึง 9.4 แสนล้านบาท
จึงทำให้เจ้าของอย่าง Nick Molnar ที่ปัจจุบันมีอายุเพียง 31 ปี จะมีทรัพย์สินมูลค่า
ราว 65,000 ล้านบาท และได้กลายมาเป็นเศรษฐี ที่อายุน้อยที่สุดในประเทศออสเตรเลีย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.businessinsider.com.au/afterpay-nick-molnar-anthony-eisen-net-worth-net-worth-2020-7
-https://tedxsydney.com/contributor/nick-molnar/
-https://www.cnbc.com/2020/12/11/the-advice-that-helped-nick-molnar-launch-multibillion-dollar-afterpay.html
-https://www.forbes.com/profile/nick-molnar/?sh=66d3a75913f6
-https://finance.yahoo.com/quote/AFTPF/financials?p=AFTPF
-https://afterpay-corporate.yourcreative.com.au/wp-content/uploads/2021/08/Afterpay-FY21-Results-Presentation.pdf
-https://www.bbc.com/news/business-58051815
-https://www.smh.com.au/business/banking-and-finance/genuine-gold-medal-contender-afterpay-gets-39b-endorsement-from-us-giant-square-20210802-p58f7q.html
-https://www.abc.net.au/news/2021-08-04/afterpay-square-millennials-lobbyists-covid-pandemic-shares-grow/100347562
jack dorsey square 在 雪倫 》跨國商業人士 沒告訴你的事 Facebook 的精選貼文
K哥說我漏說了近日一則大新聞—— Twitter創辦人Jack Dorsey,把澳洲新創支付公司Afterpay買下來,而且是澳洲科技業最大規模交易——290億美元。據說Afterpay創辦人,已成為澳洲最年輕的億萬富翁😮。支付也是競爭好激烈的市場,由於蘋果、PayPal、Square都進入「先買後付」,此類新創公司也越來越不容易了。
電子支付巨頭Square、蘋果、PayPal 爭相搶攻「先買後付」市場
Twitter創辦人Jack Dorsey證實,他創辦的另一間公司——金融科技巨頭Square,將以290億美元,收購澳洲支付公司Afterpay。PayPal近日亦透露,將以27億美元,收購日本新興支付平台Paidy。上述兩筆交易,都鎖定「先買後付」產品。
先聊聊澳洲公司Afterpay「先買後付(BNPL)」的交易方式——用戶無需任何申請流程、信用審查,就可獲得500-1000澳元小額貸款。有意思的是,它對按時付款的客戶是免費的,不會產生利息、費用或延期債,鼓勵人們負責任地消費——通常被視為一種低承諾、用戶友好的支付選擇。
換句話說,BNPL提供的好處與信用卡相同,只是減去了承諾和利息費用。由於回避傳統銀行的高利率和嚴格要求,這類產品受到年輕消費者的青睞。尤其疫情期間,大量消費者轉向網購,帶動Afterpay股價暴漲。
支付市場競爭激烈,蘋果公司(Apple Pay)和eBay旗下Pay Pal,日前相繼宣佈進軍「先買後付」市場。Square此次收購行動,也是為了因應與其他支付大老們的競爭;並使Square有機會擴展到消費貸款領域。
後來一查,澳洲電子支付相關的新創公司真的一卡車——包括Zip、Novatti、MoneyMe、Mint Payments、A2B Australia、Tyro Payment、Openpay、EML Payment、Splitit…。
#繼微軟收購Chipchamp後再補一個澳洲重要的新創併購案
#有機會應該了解一下澳洲的創業環境
#如何帶來這麼多豐富的科技創新企業
jack dorsey square 在 誰是Jack Dorsey傑克朵希? 推特跟Square的創始人比特幣傳奇 ... 的推薦與評價
![影片讀取中](/images/youtube.png)
區塊鏈日報是一個週一到週五每天更新虛擬貨幣跟區塊鏈新聞的頻道,讓更多說中文的朋友們能獲得第一時間的資訊每週會不定期加入一到兩集有關區塊鏈的 ... ... <看更多>
jack dorsey square 在 鏈新聞- 【 Square| 推特創辦人Jack Dorsey:將開發比特幣 ... 的推薦與評價
推特創辦人Jack Dorsey 宣佈,旗下支付新創機構Square 將開發能易於佈署非託管、無需許可的DeFi 開發平台,而所採用的區塊鏈技術當然是一直以來所推廣的比特幣。 ... <看更多>
jack dorsey square 在 EP81 與眾不同的CEO Jack Dorsey 開啟Twitter 和Square 的 ... 的推薦與評價
如果我今天不在 Square 和Twitter 工作,我會把時間奉獻給比特幣。」這句話來自剛辭掉Twitter CEO 的 Jack Dorsey 在今年比特幣大會的發言。 ... <看更多>