Tropicana แบรนด์น้ำส้มพร้อมดื่ม รายแรกของโลก /โดย ลงทุนแมน
รู้ไหมว่า เมื่อ 70 กว่าปีก่อน เรายังไม่สามารถหาซื้อน้ำส้มพร้อมดื่มที่มียี่ห้อในตลาดทั่วไปได้
เพราะน้ำส้มสมัยก่อนจะนิยมขายแบบเข้มข้น ที่ต้องเอามาผสมน้ำอีกทีถึงจะดื่มได้
จนกระทั่ง Tropicana เป็นผู้คิดค้น “น้ำส้มพร้อมดื่ม” บรรจุกล่องขึ้นมา
เรื่องราวนี้มีความเป็นมาอย่างไร และใครเป็นเจ้าของ Tropicana ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Tropicana เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำผลไม้ จากประเทศสหรัฐอเมริกา
ก่อตั้งขึ้นในปี 1947 หรือ 74 ปีที่แล้ว โดยคุณ Anthony T. Rossi
คุณ Rossi เป็นชาวอิตาลี ที่อพยพมาอยู่สหรัฐฯ ตอนอายุเพียง 21 ปี โดยช่วงแรก เขาอาศัยอยู่ในเมืองนิวยอร์ก ทำงานเป็นคนขับรถแท็กซี่และขายของชำ
ต่อมา เขาย้ายไปอยู่รัฐฟลอริดา เนื่องจากมีอากาศอบอุ่นคล้ายกับบ้านเกิดในอิตาลี และหันมาทำธุรกิจร้านอาหาร แต่ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จสักเท่าไร
อย่างไรก็ตาม คุณ Rossi ได้เล็งเห็นว่า รัฐฟลอริดามีชื่อเสียงเรื่องผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มและมะนาว จึงตัดสินใจก่อตั้งบริษัทชื่อว่า Fruit Industries เพื่อขายผลไม้บรรจุกล่อง
ในระหว่างที่ธุรกิจขายผลไม้ กำลังไปได้สวย
คุณ Rossi ก็พบว่า มีส้มผลเล็ก ๆ เหลืออยู่จำนวนมาก เพราะไม่ถึงเกณฑ์ที่จะไปบรรจุในกล่องได้ ซึ่งเขาไม่ต้องการทิ้งไปเฉย ๆ จึงลองนำมาผลิตเป็นน้ำส้มแบบเข้มข้น ขายเสริมรายได้อีกช่องทางหนึ่ง
ต้องบอกก่อนว่า น้ำส้มที่วางขายตามร้านค้าทั่วไปในสมัยก่อน จะนิยมทำเป็นน้ำผลไม้เข้มข้นที่ยัง “ไม่พร้อมดื่มในทันที” เพราะต้องนำมาผสมน้ำให้เจือจางก่อนบริโภค โดยมีผู้นำตลาด คือ แบรนด์ Minute Maid
ส่วนน้ำส้มคั้นธรรมชาติ จะถูกจำหน่ายในพื้นที่จำกัดเท่านั้น ไม่มีแบรนด์ที่แพร่หลายในวงกว้าง เพราะเก็บเอาไว้ได้เพียงไม่กี่วัน
ซึ่งตรงจุดนี้ คุณ Rossi มองว่า หากสามารถพัฒนา “น้ำส้มคั้นแบบพร้อมดื่ม” ที่เก็บไว้นานได้ มันก็น่าจะมีตลาดที่ใหญ่มากรอคอยอยู่
จนในปี 1954 เขาก็ศึกษากระบวนการพาสเจอไรซ์น้ำส้มคั้น และนำมาลองใช้ได้สำเร็จ ทำให้ยืดอายุการเก็บรักษาไว้ได้นานถึง 3 เดือน โดยที่รสชาติยังคงเดิม
ทำให้บริษัทของเขา เป็นเจ้าแรกของตลาด ที่วางขายน้ำส้มพร้อมดื่มบรรจุกล่อง ตามชั้นสินค้าของร้านทั่วไปได้ โดยใช้ชื่อแบรนด์ผลิตภัณฑ์ว่า “Tropicana Pure Premium”
ทั้งนี้ บริษัทได้มีการออกแบบตัวการ์ตูนบนกล่องน้ำส้ม เป็นเด็กผู้หญิงถือถาดส้มบนศีรษะ ชื่อว่า Tropic-Ana ซึ่งทำให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ได้อย่างรวดเร็ว
ส่งผลให้ น้ำส้ม Tropicana Pure Premium ทำยอดขายถล่มทลาย จนบริษัทมุ่งเน้นธุรกิจน้ำส้มเป็นหลัก และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Tropicana Products, Inc.
ในเวลาต่อมา เมื่อมีความต้องการซื้อมากขึ้น โดยเฉพาะจากรัฐอื่น ทำให้ Tropicana ต้องเจอความท้าทายในด้านการขนส่งสินค้า
ช่วงแรก บริษัทใช้บริการขนส่งทางรถบรรทุก แต่พอเริ่มมีปริมาณคำสั่งซื้อจากเมืองที่อยู่ห่างไกล จึงเริ่มส่งสินค้าทางเรือด้วย
แต่ในปี 1971 บริษัทก็ตัดสินใจลงทุนระบบขนส่งแบบที่ไม่มีเจ้าไหนเคยทำมาก่อน นั่นคือ การซื้อขบวนรถไฟขนส่งสินค้าหลายร้อยตู้ และบริหารจัดการการเดินรถด้วยตัวเอง
ซึ่งทำให้กระจายสินค้าได้รวดเร็วขึ้น และยิ่งส่งสินค้าทีละมาก ๆ ก็ยิ่งมีต้นทุนต่อหน่วยถูกลง โดยผู้คนในวงการตั้งชื่อเล่นให้กับขบวนรถไฟของ Tropicana ว่า The Great White Juice Train
นอกจากนั้น Tropicana ยังขึ้นชื่อว่าเป็น บริษัทน้ำส้มพร้อมดื่มรายแรกที่สร้างโรงงานผลิตขวดพลาสติก เพื่อบรรจุผลิตภัณฑ์ของตัวเองอีกด้วย
ซึ่งนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ Tropicana คิดค้นขึ้นนั้น ได้เป็นต้นแบบการทำธุรกิจให้กับผู้เล่นรายอื่นในตลาด จนอุตสาหกรรมน้ำผลไม้พร้อมดื่ม เติบโตมาถึงทุกวันนี้
แล้วปัจจุบันใครเป็นเจ้าของ Tropicana ?
หลังจากน้ำส้ม Tropicana ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ก็มีผู้สนใจในตัวแบรนด์มาเทกโอเวอร์บริษัท จนเจ้าของธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงแทบทุก 10 ปี เลยก็ว่าได้
ปี 1969 บริษัท Tropicana Products จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก เป็นบริษัทมหาชน
ปี 1978 คุณ Rossi ผู้ก่อตั้งตกลงขายกิจการให้กับ Beatrice Foods บริษัทอาหารสัญชาติอเมริกัน
ปี 1988 แบรนด์ Tropicana ถูกขายต่อให้กับ Seagram’s บริษัทเครื่องดื่มสัญชาติแคนาดา
ปี 1998 แบรนด์ Tropicana ถูกขายต่อให้กับ PepsiCo บริษัทอาหารและเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ของโลก ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ดังอย่าง Lay’s และ Pepsi
ภายใต้การบริหารของ PepsiCo ก็ช่วยส่งเสริมให้ Tropicana กลายเป็นผู้นำตลาดน้ำส้มพร้อมดื่มของสหรัฐอเมริกา โดยครองส่วนแบ่งตลาด 33% นำหน้าคู่แข่งอย่าง Minute Maid ซึ่งเป็นแบรนด์ในเครือของ Coca-Cola ที่ครองส่วนแบ่งตลาด 24%
อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนสิงหาคม 2021 ที่ผ่านมา
PepsiCo ก็ตัดสินใจขาย Tropicana และแบรนด์เครื่องดื่มอื่น ๆ ให้กับ PAI Partners บริษัทเอกชนจากฝรั่งเศส ในราคา 1.1 แสนล้านบาท
โดย PepsiCo และ PAI Partners ไปก่อตั้งบริษัทใหม่ร่วมกันในลักษณะกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ซึ่ง PepsiCo จะยังถือหุ้นในบริษัทใหม่อยู่ 39%
จากเรื่องราวนี้จะเห็นได้ว่า
หากจะเอาตัวรอด และประสบความสำเร็จในธุรกิจได้
มันก็ต้องพัฒนาต่อยอดการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ให้ดีขึ้นตลอดเวลา
เหมือนกรณีของน้ำส้ม Tropicana
ที่ตอนแรกขายน้ำส้มเข้มข้น แบบเดียวกับผู้เล่นรายอื่นในตลาด
แต่พวกเขาก็ไม่หยุดคิดต่อไปข้างหน้าว่า
จะทำอย่างไร ให้ลูกค้าได้ดื่มน้ำส้มราวกับเพิ่งคั้นใหม่สด ๆ
จะทำอย่างไร ให้ลูกค้าในเมืองห่างไกล ได้ดื่มน้ำส้มอร่อย ๆ อย่างทั่วถึง
ซึ่งการแก้โจทย์เหล่านั้น ทำให้ Tropicana เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มน้ำผลไม้ของผู้บริโภค นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-http://www.fundinguniverse.com/company-histories/tropicana-products-inc-history/
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Tropicana_Products
-https://www.cnbc.com/2021/08/03/pepsico-to-sell-tropicana-and-other-juice-brands-for-3point3-billion.html
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過0的網紅Vania Mak,也在其Youtube影片中提到,YouTube was first launched in 2005, and now has become one of the most visited websites in the history of the internet. Before 2012, YouTube paid con...
histories history 在 Urban Photography / kingymak Facebook 的最佳貼文
這長週末有幸重臨皇都
a revisit back to the State Theatre
感謝策展團隊在展開建築復修、勘探工程的同時,不忘公眾、各界對皇都保育的關注,在短時間內於保持皇都商場工程前氣氛的前提下,把1952年原璇宮戲院,至1959年至今的皇都戲院與商場時代的煇煌歷史、場內文物和場景等還原,穿插於商場空間,讓參觀者能代入這歷史空間
正如這次歷史回顧活動名稱《尋找你我他的皇都》,皇都有其特別的建築特色、不同歷史時期、地區回憶。正如有年長親戚向我提到他懷念當年全校特地坐渡海輪來看《仙樂飄飄處處聞》,也有後期更喜愛到不再熱鬧、帶點蒼涼卻神秘的商場的年輕一輩。保育皇都不同時期的狀態,連繫不同人的回憶,同時讓其適合當前的空間用途,的確是個大挑戰
這刻在展覽可看到教父級電影海報設計師阮大勇當年自薦繪畫、因而成名的半斤八両海報,到新一代「無紙用」 No Paper Studio 無紙用 的創意海報設計;或重遇荒廢多年真體字師傅製作的皇都理髮店招牌,到看因在「街招」 保育招牌工作而認識的友人書法家「抒發」的創意書法等等⋯⋯正如商場跟香港街道空間的新舊交錯感 —— 引發大眾對今後建築物保育的興趣
或許皇都天台獨有外露的拋物線型桁架結構,正正是給予建築過去室內空間有靈活性的設計,讓人更期待未來建築復修後的空間想像,希望以後能繼續了解這保育項目,透過相片和文字分享更多
it was amazing to see an exhibition being put together in a short time that allow visitors to experience the diverse and rich histories of the State Theatre, the mall, and the former Empire Theatre. From showcasing the historical items found in the building, revealing the original State Hair Salon shop space, to inviting contemporary creatives’ works like @nopaperstudio’s & @callisupply’s —— it’s a great start to engage people from different backgrounds and generations to inspire such hottest on-going conservation project in Hong Kong
the unique roof structure that is suspended by exposed exterior concrete trusses has given a huge flexibility to the uses of the space under the roof throughout the history of the building. It also gave us a lot of space to brainstorm on the future possibility of this architecture. Hope to share more about this conversation project again soon!
#皇都戲院
#StateTheatre #NewWorld Culture For Tomorrow
Thanks @adriancheng & the teams behind for all the efforts
histories history 在 Facebook 的精選貼文
【西班牙人物特寫 ~ Leonardo Torres Quevedo】
很少人知道,在San Sebastián(聖塞巴斯提安)的 Monte Ulía(烏利亞山)曾有個全球第一個載人的公共空中纜車,是西班牙發明家 Leonardo Torres Quevedo 發明的。
導遊發現,Leonardo Torres Quevedo 的中文資料少得可憐,今天就藉機跟大家分享一篇人物特寫。
Leonardo Torres Quevedo 生於 1852 年,是西班牙的土木工程師、數學家跟發明家。
他設計發明了不少東西。
📌 空中纜車(Transbordadores):他在 1887 年申請專利,1907 年在 San Sebastián(聖塞巴斯提安)的 Monte Ulía(烏利亞山)建造了全球第一個載人的公共空中纜車,附圖照片就是當年的明信片。而著名的尼加拉西班牙空中纜車(Niagara Spanish Aero Car)就是他設計的,一直到現在,這個百年西班牙空中纜車還在使用,現在的纜車車身是西班牙國旗的顏色(見留言照片),就是為了紀念設計人。
📌 飛船(Dirigibles):他在 1902 年於巴黎提出新式的氣球飛船,解決了平台穩定性和懸架問題,後來在 1950 年製造出第一個西班牙的飛船。第一次世界大戰期間,法軍和英軍都使用他改良設計的飛船來對抗德國的齊柏林飛船跟德國潛水艇(見留言照片)。他改良設計的飛船到現在還在使用。
📌 無線遙控器(Telekine/Telekino):他發明無線遙控器來控制飛船,於 1902 年申請專利,可以說是現代遙控器的先驅,當時除了可以遙控飛船,1905 年還成功地用來遙控普通船隻(見留言照片)。
📌 模擬計算機 (Máquinas de calcular):他於 1893 年做出一個可以自動計算的代數機,可以自動計算,具有現代電腦的概念,幾台機器組成一個從中央處理器到印表機的計算模式(見留言照片)。
📌 下棋機(El Ajedrecista):他於 1912 年做出一個可以自動下西洋棋的機器,由機器跟人類對弈,可以說是現代電玩/西洋棋電腦的先驅(見留言照片)。
因為 Leonardo Torres Quevedo 的中文資料真的很少,有興趣的人可以參考以下英文資料:
https://history-computer.com/leonardo-torres-y-quevedo-biography-history-and-inventions/
https://history.computer.org/pioneers/torres.html
https://www.engadget.com/2014-02-09-torres-quevedo-chess-player-automaton.html
https://metode.org/issues/seccions-revistes/histories-de-cientifics-seccions-seccions/leonardo-torres-quevedo-inventing-modernity.html
https://gacaffe.net/en/2019/02/01/torres-quevedo-and-the-first-computer/
會西文的可以參考以下連結:
http://www.torresquevedo.org/LTQ10/index.php?title=Portada
https://youtu.be/D51VYOTrNWU
https://www.itefi.csic.es/es/content/biografia-leonardo-torres-quevedo
#西班牙 #發明家 #LeonardoTorresQuevedo
histories history 在 Vania Mak Youtube 的最佳貼文
YouTube was first launched in 2005, and now has become one of the most visited websites in the history of the internet.
Before 2012, YouTube paid content creators based on the number of views. Even though a 5-second video was deemed successful depending on the view count, which posed the problems of “clickbait” titles and thumbnails. Since 2012, YouTube started measuring “View Duration” and used that as the metric. For those videos being viewed longer, they were likely to be promoted in search engines and have more financial rewards to the content creators. This decision has changed how YouTube videos were recommended and rewarded.
YouTube’s recommendation algorithms connect the existing channels based on users’ watch histories, preferences and overlap. Harvard’s researchers claimed that the pre-selection factors remained unknown. With all of those suggested videos in the sidebar, people tend to click into unfamiliar topics due to curiosity. YouTube has long been criticized for spreading misinformation. Jonas Kaiser, the affiliate at the Berkman Klein Center for Internet & Society at Harvard University, described the recommendation progress as a “rabbit hole effect” in which leading viewers to more extreme contents.