น่ากลัวจังครับ ผมสรุปดังนี้สั้นๆ ตามอ่านรายละเอียดได้ครับ
***ไฟป่า/เขาหัวโล้น ทำให้เกิดการกัดเซาะหน้าดินเร็วกว่าปกติถึง 1 พัน – 1 หมื่นเท่า จากงานวิจัยล่าสุด คนไทยมีเวลาไม่นาน ***
ถามว่าเราทำไมแคร์หน้าดิน? รู้ไหมว่าลึกกว่าหน้าดินก็คือ ชั้นหิน ที่มันใช้เวลานานราว 5 หมื่นปีกว่าจะสลายกลายเป็นดินได้เมตรนึง (อ้างอิงลิ้งค์ 3, 5) กระบวนการเกิดอย่างช้าๆ และดินพวกนี้ก็อุดมไปด้วยธาตุอาหาร เพื่อเหมาะแก่การเพาะปลูกหรือป่าไม้ หากหน้าดินพวกนี้ถูกกัดเซาะหลังฝนตกและพัดพาไปลงแม่น้ำ (จึงเห็นว่าแม่น้ำจะสีขุ่นขลั่ก รูป 2-3 คือแม่น้ำน่านหลังฝนตก 2 วัน ในปีนี้) ด้วยอัตราที่รวดเร็ว
ที่หน้าเศร้าคือ ด้วยอัตราการสูญเสียหน้าดินทั่วโลกในปัจจุบัน นักวิทย์ในอเมริกาคำนวณว่า อีก 60 ปีแค่นั้น หน้าดินก็แทบจะไม่เหลือเลยทั่วโลก รายงานนี้ UN ได้กล่าวแถลงอย่างทางการ เดือน ธค. 2014 เกษตรกรปลูกไม่ได้อาหารแพงสุดๆ
แม่น้ำน่านดังรูป ปลาจำนวนมากในแม่น้ำเกิดอาการน็อกน้ำ ปรับสภาพไม่ทัน ขาดออกซิเจน ลอยคอตายเป็นเบือ ดูข่าวลิ้งข้างล่าง ดูเหมือนจะดีที่ชาวบ้านได้ปลาไปง่ายๆ แต่ลูกปลาก็ตายไปด้วย ไม่ทันโตไว้ให้จับทานกันต่อไปภายหน้า
โดย
ดร. ไพโรจน์ ฉัตรอนันทเวช
University of Arizona, USA, และที่ปรึกษา ศูนย์ภัยพิบัติ สถาบันนิด้า กทม.
***ไฟป่า/เขาหัวโล้น ทำให้เกิดการกัดเซาะหน้าดินเร็วกว่าปกติถึง 1 พัน – 1 หมื่นเท่า จากงานวิจัยล่าสุด คนไทยมีเวลาไม่นาน ***
ที่ผ่านมา แอดมินอาจโพสท์หลายเรื่อง แต่ขอบอกว่าหัวข้อนี้คือ specialty (ความเชี่ยวชาญ) ของฉันที่ร่ำเรียน/วิจัยมาในอเมริกาตลอด 14 ปี ในสาย Earth surface (พื้นผิวโลก) โดยเฉพาะเรื่องกัดเซาะและตะกอน ... ในสหรัฐอเมริกานั้น นักธรณีวิทยาตื่นตัวมากในการวิจัยเรื่องไฟป่าและการเคลื่อนที่ของดินหินจากภูเขาลงสู่แม่น้ำเมื่อฝนนำพาลงไป รัฐได้ทุ่มงบวิจัยมากมายหลาย 10 ล้านดอลล่ามาราว 30 ปีอัพ (บางทีก็ร่วมกับวิจัยเรื่องอื่นๆ) งานวิจัยล่าสุดที่ทำโดย ศาสตราจารย์ ดร. Jon Pelletier ที่ฉันกำลังจะทำวิจัยร่วมด้วย (ในเรื่องวิวัฒนาการของมนุษย์และการ ปป. ของพื้นผิวโลกและภูมิอากาศในยุค 2-5 ล้านปีก่อน) ที่มหาลัยรัฐอริโซน่า ท่านพึ่งได้ตีพิมพิ์งานใหม่เกี่ยวกับเรื่องการกัดเซาะหน้าดินบนภูเขาหลังไฟป่าพอดี ซึ่ง ดร. Pelletier กับ นศ ป เอก นั้นโชคดีมาก พวกเขาได้ศึกษาพื้นที่ภูเขาในรัฐนิวเม๊กซิโก ในปี 2007-2010 ในด้านการกัดเซาะของผิวดิน ภูเขานี้ก็มีต้นไม้พอควร พอๆกับในไทยทั่วไป ...ด้วยความโชคดี ปี 2011 มีไฟป่าในระแวกนั้นพอดี ครอบคลุม 2 ใน 7 หุบเขาลุ่มน้ำ (watersheds) ที่พวกเขากำลังศึกษา เขาพบว่า ในหุบเขาที่ถูกเผานี้ ดินและหินถูกกัดเซาะจากผิวและนำพาลงสู่แม่น้ำในที่สุดช่วงฝนตก ในระยะ 12 เดือน เร็วกว่าลุ่มน้ำอื่นที่ไม่โดนไฟป่าปี 2011 มากกว่า 1 พันเท่า ทีเดียว
ถามว่าเราทำไมแคร์หน้าดิน? รู้ไหมว่าลึกกว่าหน้าดินก็คือ ชั้นหิน ที่มันใช้เวลานานราว 5 หมื่นปีกว่าจะสลายกลายเป็นดินได้เมตรนึง (อ้างอิงลิ้งค์ 3, 5) กระบวนการเกิดอย่างช้าๆ และดินพวกนี้ก็อุดมไปด้วยธาตุอาหาร เพื่อเหมาะแก่การเพาะปลูกหรือป่าไม้ หากหน้าดินพวกนี้ถูกกัดเซาะหลังฝนตกและพัดพาไปลงแม่น้ำ (จึงเห็นว่าแม่น้ำจะสีขุ่นขลั่ก รูป 2-3 คือแม่น้ำน่านหลังฝนตก 2 วัน ในปีนี้) ด้วยอัตราที่รวดเร็ว ด้วยฝีมือมนุษย์ จากการเผาป่า หินข้างล่างมันก็เปลี่ยนเป็นดินด้วยกระบวนการทางเคมีธรณีหรือฟิสิกส์ธรณี (เรียกว่า weathering) ไม่ทันในยุคข้างหน้าอันใกล้ (10-50 ปี) สักวันความอุดมของดินก็จะหมดไปในบริเวณนั้น ไม่สามารถใช้เพาะปลูกหรือทำป่าไม้อะไรได้อีกต่อไป เหลือแต่โขดหินเป็นหย่อมๆ .....ปกติ ทั้งรากต้นไม้ ไส้เดือน สัตว์ใต้ดิน พวกนี้ก็ช่วยกระบวนการสร้างดินจากหินด้วย (หลักๆคือเคมี)
ที่หน้าเศร้าคือ ด้วยอัตราการสูญเสียหน้าดินทั่วโลกในปัจจุบัน นักวิทย์ในอเมริกาคำนวณว่า อีก 60 ปีแค่นั้น หน้าดินก็แทบจะไม่เหลือเลยทั่วโลก รายงานนี้ UN ได้กล่าวแถลงอย่างทางการ เดือน ธค 2014 (ดูลิ้งสุดท้าย) ปัญหาพวกนี้ซีเรียสมาก ทั้งในจีน แอฟริกา อินเดีย อเมริกาใต้ (แอดมินเคยบ่นบ่อยๆ ว่าประชากรล้นโลก ไม่งั้นจะมีคนอดตาย ยากจน ดิ้นรนกันขนาดนี้รึ อีกหน่อย สัก 40-50 ปี เมื่อเกษตรกรรมทำได้ยาก หน้าดินหดหาย อาหารขี้คร้านจะแพงสุดๆ คนที่ไม่ค่อยมีเงินก็จะซื้อไม่ได้) ..... นอกจากการเผาป่าแล้ว การใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ในการเกษตร การพรวนดินทำเกษตร วัวควายกินหญ้า การเปลี่ยนป่าเป็นพื้นที่เกษตร พวกนี้ต่างทำให้หน้าดินหมดไปเร็วมากๆ
ไฟป่าตามธรรมชาตินั้นก็มีในไทย สมัย 25 ปีก่อน แอดมินนั่งรถทัวร์จากเชียงใหม่ไป กทม ก็เห็นได้ยามค่ำคืน ... แต่การเผาโดยมนุษย์นั้นทำให้มันแย่กว่าที่ธรรมชาติจะสมดุลได้ ....55 ปีก่อน ไทยมีประชากรแค่ 26 ล้านคน ตอนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 67 ล้าน ทั้งการเกษตรกรรม การทำเพื่อส่งออก เพื่อความอยู่รอดของคนไทย และยังมีการอุตสาหกรรม ที่นายทุนส่งเสริมให้เผาป่า ...คิดไหมว่า ราว 50-60 ปีที่ผ่านมา ผืนป่าหน้าดินในไทยเสียสมดุลจากสิ่งต่างๆเหล่านี้โดยมนุษย์ด้วยอัตราที่รวดเร็วมากๆๆๆๆ มันใช้เวลาเป็นหลายแสนปีที่จะเปลี่ยนจากชั้นหินให้เป็นดิน ในภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ไทย ลึกสัก 5 เมตร (ภาคกลางเป็นเดลต้า ไม่เกี่ยว) แต่ใช้เวลาหลักไม่ถึง 100 ปีในการทำลายหน้าดินพวกนี้อย่างไว .... อย่างที่งานวิจัยข้างต้นแนะนำ การกัดเซาะผิวดินหลังไฟป่านั้น ในช่วง 12 เดือนหลังไหม้ ไวกว่าปกติ (ที่มีป่า) ถึงหลายพันเท่าตัว หากป่าในไทยยังถูกเผาและตัดและหัวโล้นไปเรื่อยๆ ครอบคลุมบริเวณมากขึ้น สักวันเราก็จะไม่เหลืออะไรเลย ไวกว่า “60 ปีข้างหน้า” ที่ UN ว่าไว้อีก ปลูกป่าก็ไม่ค่อยขึ้น ทำการเกษตรก็ไม่ได้ เพราะดินที่อุดมไปด้วยธาตุอาหาร ลงแม่น้ำ ลงอ่าวไทยไปหมดแล้ว .... ทีนี้ ปัจจุบัน ป่าไทยถูกเผาไปด้วยพื้นที่มากแค่ไหน ลองไปหาข่าวอื่นนะฮะ เพราะแอดมินไม่ทราบชัด แต่เท่าที่เห็นก็เยอะพอควร และมันควรจะหยุดได้แล้ว ....
ฝีมือมนุษย์ไม่ใช่แค่เผาป่าเท่านั้น ที่มีผลกระทบ ภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ที่ CO2 ในบรรยากาศโลกสูงก็เพราะยุคอุตสาหกรรมที่ผ่านมา (โรงไฟฟ้าเผาถ่านหิน ควันรถ ฯลฯ) เมื่อโลกร้อนขึ้น หน้าร้อนร้อนมากแห้งมาก อย่างที่เห็นทุกวันนี้ ไฟป่าก็เกิดบ่อยขึ้นโดยธรรมชาติ เพราะอากาศร้อนและกิ่งไม้เสียดสีกัน อย่างที่เกิดขึ้นที่แคนาดา ไม่นานมานี้ (แอดมินเคยโพสท์ไป) และเป็นไปได้ว่าที่ไฟไหม้ใกล้พระธาตุดอยสุเทพเดือนก่อนก็คงภัยธรรมชาติเช่นกัน ...ในอเมริกาเป็นต้น น้อยมากที่ไฟป่าเพราะคนมือบอนเผา (แบบในไทย อินโดฯ) ส่วนมากแล้วเกิดเอง และงานวิจัยพบแล้วว่า เพราะโลกร้อนทำให้ไฟป่าเกิดบ่อยขึ้นและวงกว้างขึ้น
รูปที่เอามาให้ดูนี้ คือในไทยทั้งสิ้น ผลข้างเคียงของแม่น้ำโคลน ยังมีต่อสัตว์น้ำอีกด้วย แม่น้ำน่านดังรูป ปลาจำนวนมากในแม่น้ำเกิดอาการน็อกน้ำ ปรับสภาพไม่ทัน ขาดออกซิเจน ลอยคอตายเป็นเบือ ดูข่าวลิ้งข้างล่าง ดูเหมือนจะดีที่ชาวบ้านได้ปลาไปง่ายๆ แต่ลูกปลาก็ตายไปด้วย ไม่ทันโตไว้ให้จับทานกันต่อไปภายหน้า
บางคนอาจสงสัยว่า อ้าว ก่อนหน้าที่สยามประเทศจะกำเนิดมามีคนอยู่ เป็นล้านๆปี ธรรมชาติไม่สร้างดินลึกเป็นร้อยๆเมตรรึ ...คำตอบคือไม่ เมื่อดินถูกสร้างจากหินได้สัก 5-10 เมตร มันก็แทบจะหยุดสร้างละ เพราะอัตราการสร้างดินจะลดลงอย่างมากเมื่อชั้นดินหนาขึ้น เหตุเพราะกระบวนการเคมีที่ว่า มันอาศัย อากาศ ความร้อน ความชื้น เป็นปัจจัย...อันนี้คือ พื้นที่ๆเป็นเขา อย่างภาคเหนือไทยน่ะ ....แต่อย่างพื้นที่ กทม และปริมลฑล นี้เป็นเดลต้า/สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (ดินเหนียว ที่ตวัดกวัดแกว่งในช่วงน้ำหลากน้ำท่วมทำให้ทับถมเป็นชั้นดินในที่ราบลุ่ม) จึงมีดินเหนียวลึกเป็น 30 เมตรได้
ก่อนจบ คนที่อยากรู้ลึกเรื่องธรณีวิทยา ว่า ดร. Pelletier รู้ได้ไงว่า การกัดเซาะหลังไฟป่า เร็วกว่าปกติถึง 1พัน-1 หมื่นเท่า ...เดี๋ยวนี้ในแวดวงธรณีในอเมริกา มีการบินเครื่องบินเล็กและยิงเลเซอร์ที่เรียก LiDAR เยอะมาก ผลที่ได้คือแผนที่แสดงระดับผิวดิน (เรียก topographic map or DEM) ในบริเวณกว้าง (ดูรูปสุดท้าย) เรียกได้ว่า pixel ขนาด 1 X 1 เมตรเลย และสามารถลบเอาต้นไม้ออกได้ด้วยในแผนที่ จึงได้แผนที่ ที่ละเอียดมาก แผนที่พวกนี้มีประโยชน์ในหลายด้าน เช่นการเปรียบเทียบแผนที่ก่อนและหลังไฟป่า (หลังไฟป่า เขาบินเก็บ LiDAR อีก 4 ครั้งใน 2 ปี) เพื่อคำนวณหาปริมาตรดิน/หินที่ถูกพัดพาไปตอนฝนตกหลังไฟป่า และการวัดหาอัตราการกัดเซาะของดินหรืออายุของมันในพื้นที่อื่นๆนั้น ยังใช้วิธีเคมีธรณีที่เรียก Geochronology กรณีนี้เขาใช้การวัดหาธาตุ beryllium-10 ในตัวอย่างน้ำที่เก็บในแม่น้ำในลุ่มน้ำบ่อยๆ ตลอด 5 ปี ธาตุนี้ถูกใช้บ่อยๆในการหาอายุของดิน/หิน (เช่นอายุของชั้นทรายจากสึนามิที่อินโดนีเซีย ทำให้รู้ว่า สึนามิตอนนั้นเกิดเมื่อไหร่? 500 ปีก่อน ทำนองนั้น) ...ปริมาณของธาตุไอโซโทป beryllium-10 นี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามการ expose ของดิน/หินต่อแสงอาทิตย์ …….พวกเขาพบว่า การกัดเซาะหน้าดินในป่าธรรมชาตินั้น 90% เกิดหลังไฟป่านี้เอง ในช่วงที่ไม่โดนเผาแทบจะไม่ค่อยกัดเซาะเท่าไหร่
โดย
ดร. ไพโรจน์ ฉัตรอนันทเวช
University of Arizona, USA, และที่ปรึกษา ศูนย์ภัยพิบัติ สถาบันนิด้า กทม.
อ้างอิง
https://uanews.arizona.edu/…/postwildfire-erosion-can-sculp…
http://onlinelibrary.wiley.com/…/10.1…/2015JF003663/abstract
https://en.wikipedia.org/wiki/Topsoil
http://www.thaiday.com/Local/ViewNews.aspx…
http://world.time.com/…/14/what-if-the-worlds-soil-runs-out/
http://www.scientificamerican.com/…/only-60-years-of-farmi…/
erosion wiki 在 Eric's English Lounge Facebook 的精選貼文
[英語小知識] 相信不少人都聽過 Black Friday「黑色星期五」,但是同學有聽過 Buy Nothing Day 嗎?
★★★★★★★★★
Buy Nothing Day is a day to protest consumerism. Participants of the event refuse to purchase any products for 24 hours to raise public awareness on the issue of over-consumption by industrialized nations. In the USA and Canada, this event is held a day after Thanksgiving, which is also known as Black Friday, one of the busiest shopping days in the United States.
「不消費日」或「無消費日」是抗議消費主義的一個日子。參加者24小時拒絕購買任何商品以去喚起公衆關注工業化國家浪費資源的消費習慣。在美國和加拿大,這項活動在美國感恩節後一天擧行。這天被稱為商店的「黑色星期五」,是美國最繁忙的購物日之一。
★★★★★★★★★
Here are some vocabulary words and collocations that will help you better understand over-consumption and its effects:
這裡有一些詞彙和短語有助於你更理解過度消費與這樣的行為所帶來的影響:
★★★★★★★★★
Consumerism 消費主義
the fundamental flaws of capitalism 資本主義的根本缺陷
high levels of consumption 高消費水平
economic materialism 經濟唯物主義
acquisition of goods and services 獲取貨物和服務
emergent middle class 新興中產階級
way of life 生活方式
shopping malls and retail stores 購物中心和零售商店
commercialization of holidays 節日商業化
encourage consumption 鼓勵消費
spur economic growth 促進經濟增長
gross national product 國民生產總值
perpetual growth 永續增長
★★★★★★★★★
Impact of Consumption 消費的影響
the production, processing, and consumption of commodities
商品的生產、加工、和消費
exploitation of natural resources 開發自然資源
cash crops 商業作物
extraction and processing of raw materials 提取和加工原料
deplete the resources of other countries 耗盡其他國家的資源
deforestation 採伐森林,森林開伐
ozone depletion 臭氧耗竭
soil erosion 土壤侵蝕,水土流失
creation of toxic byproducts 創造有毒副產品
environmental sustainability 環境可持續性
environmental degradation 環境惡化
consumerist lifestyles 消費主義的生活方式
advocacy for simple living 提倡簡單生活
sustainable development 可持續發展
★★★★★★★★★
Sources:
http://www.economist.com/node/423693
http://www.globalissues.org/article/238/effects-of-consumerism
https://en.wikipedia.org/wiki/Buy_Nothing_Day
http://www.huffingtonpost.com/matt-walsh/shopping-on-thanksgiving_b_4310109.html
Image source:
https://www.adbusters.org/sites/default/files/magazine/splash_image/Buy_Nothing_Day_2009_s.png
erosion wiki 在 Glacial Erosion Definition, Processes & Features - YouTube 的推薦與評價
... <看更多>