คอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นเพียงแค่เครื่องมือสำหรับใช้งานเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถสอนให้เด็กๆคิดสร้างสรรค์ วางแผน และรู้จักการทำงานเป็นลำดับขั้นตอนได้อีกด้วย ดังนั้นคงจะดีกว่านี้ถ้าหากการศึกษาไทยหันมาเน้นทางด้าน computer science มากขึ้นครับ ..ลองมาอ่านบทความดีๆจาก รศ.ยืน ภู่วรวรรณ์ กันครับ :D
การศึกษาขั้นพื้นฐานกับวิทยาการคำนวณ Computing Science และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ Computer Science
การศึกษาขั้นพื้นฐานสิบสองปี K12 เป็นการวางรากฐาน ความพร้อมของชีวิต ที่สามารถไปเรียนวิชาชีพที่ตนเองสนใจ การเตรียมความพร้อมจึงมีความหลากหลาย ต้องเรียนทั้งวิทยาศาสตร์พื้นฐาน คณิตศาสตร์ ภาษา สังคม พละ สุขศึกษา ฯลฯ เรียนเรื่องเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม และอื่นๆที่จำเป็น รวมถึงการสร้างทักษะสำหรับการดำรงชีวิตในอนาคต ที่พูดกันมากคือ ทักษะแห่งศตรวรรษที่ 21
ในช่วงการทำหลักสูตร 2543 หลักสูตรแปดกลุ่มสาระที่ใช้ในการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ใช้อยู่ในขณะนี้ ขณะนั้นผมได้มีโอกาสช่วยงาน สสวท และเป็นผู้หนึ่งที่พยายามผลักดัน นำเอาเรื่องพื้นฐานวิชาการคำนวณ Computing Science และ Computer Science ให้รวมอยู่กับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ ได้ทำการเขียนและแจกแจงเนื้อหาที่จะเรียนทั้งสิบสองปี เน้นให้เห็นว่าเป็นเรื่องพื้นฐานจำเป็นอย่างไร ซึ่งก็เกือบทำได้สำเร็จ แต่เมื่อมีการประกาศใช้หลักสูตรสิบสองปี กรมวิชาการฯขณะนั้นนำไปเปลี่ยนแปลงหมด และจัดให้อยู่ในกลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพ ให้นักเรียน เรียนเป็นผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เรียนเวิร์ด เรียนตารางคำนวณ เรียนเพาเวอร์พอยต์โดยให้เหตผลว่า ถ้าทำแบบที่ผมเสนอ ครูในระบบที่สอนในโรงเรียนจะมาเดินขบวน เพราะเป็นงานของครูในกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ ไม่สามารถย้ายกลุ่มได้ จะต้องสอนแบบพื้นฐานวิชาชีพ
ในชีวิตจริง เราเรียนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เพื่อสร้างผู้คนให้เข้าใจธรรมชาติ อยู่กับความจริง พื้นฐานทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ก็เพื่อสร้างผู้คนคิด ถ่ายทอดจินตนาการ วางแผนเป็นระบบ ให้สมบูรณ์ ผมมีโอกาสจัดค่ายทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และใช้วิทยาการคำนวณ ให้กับเด็กที่มีอายุประมาณสิบขวบ ค่ายเยาวชนสมองแก้ว มากว่าสามสิบปี รู้ดีว่า การเรียนรู้ต้องเหมาะสมกับวัยของเด็ก สร้างทักษะที่จำเป็น และต้องสนุก ที่สามารถเรียนรู้ได้
การเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์และการโค้ด และพื้นฐานวิทยาการคำนวณ เพื่อ ให้เด็กได้ซึมซับ เรื่องความคิดเป็นระบบ (Systematic idea) การวางโปรแกรม ลำดับขั้นตอน (Sequencing) การทำงานตามลำคับ การวางแผน เป็นขั้นตอนเหมือนการเขียนโปรแกรม ตัวอย่างว่า ถ้าเด็กต้องการกินมาม่า เด็กจะมีขั้นตอนการได้กินมาม่าอย่างไร จะเขียนอธิบายวิธีดำเนินการอย่างไร การสลับขั้นตอนมีผลอย่างไร การทอดไข่เจียว ทำได้กี่วิธี การถ่ายทอดจากจินตนาการเป็นโปรแกรม การหาวิธีการต่างๆที่เหมาะสม การแก้ปัญหา ลองนึกถึงการวางแผนการทำงานใดๆ ก็คือการเขียนโปรแกรม การวางขั้นตอน การตัดสินปัญหา
พื้นฐานวิทยาการการคำนวณ ช่วยทำให้การเรียนคณิตศาสตร์เป็นรูปธรรมมากขึ้น มีการใช้เครื่องช่วยการคำนวณ ทำให้คณิตศาสตร์ เป็นเรื่องง่ายขึ้น เป็นห้องทดลองของวิชาคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ยังเน้นเรื่อง การแก้ปัญหา (Problem solving) การคิดอย่างมีเหตุผล (Reasoning thinking) คิดแบบตรรกศาสตร์ (Logical thinking) ปัญหาที่ต้องเลือกทางเดิน Selective เลือกที่ดีที่สุด Power of Choice การนำหลักการของการคิด แบบขนาน Paralelism การทำ Piping และการวางแบบหลายงานซ้อนกัน (Multi trading) การทำงานพร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) การวางแผนการทำงานต่างๆ
การเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ ยังเน้นเรื่องการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีเหตุผล ลำดับวิธีการแก้ปัญหา Algorithmic เข้าใจความซับซ้อนของปัญหา Complexity การวางระบบ การจินตนาการ การใช้ข้อมูล การแทนข้อมูล การจัดเก็บ ประมวลผล การวิเคราะห์ข้อมูล Data Analytic - Datafication การทำ Data visualizer การให้เหตุผล Reasonal thinking การดูผลที่เกิดต่อเนื่อง ที่สำคัญคือการวางรากฐานในเรื่องการทำงานร่วมกัน การทำงานแบบเป็นระบบ การวางแผนงาน การใช้เครื่องมือเพื่อช่วยในการคำนวณแบบต่างๆ
ศาสตร์ที่จะเรียนเป็นวิชาขั้นพื้นฐาน จึงต้องเป็นศาสตร์แบบพื้นฐาน ไม่ใช่วิชาชีพ เป็นการสร้างความพร้อมของคนเพื่อจะเข้าสู่วิชาชีพของตนเอง เช่น ถ้านักเรียนสนใจเป็นนักกฎหมาย ศาสตร์ทางด้านวิทยาการนี้ จะช่วยให้คิดแบบมีเหตุผล คิดแบบมีขั้นตอน เป็นระบบ ทำให้วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายได้ดี ซึ่งต้องช่วยเสริมงานในวิชาชีพนั้นๆ หากอยากเป็นเกษตรกร ก็สามารถเป็นเกษตรกรที่รู้จักการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล ทำงานเป็นระบบ
Computing Science และ Computer Science จึงเป็นวิชาพื้นฐานในการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ วิทยาการเกี่ยวกับการคำนวณ และการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ ที่สอนจึงต้องไม่เน้นแบบวิชาชีพ การสอนโค้ด จะเหมือนกับที่มีการสอนใน code.org ที่ในปัจจุบัน ไม่ต้องสอนเขียนโปรแกรมเหมือนนักคอมพิวเตอร์ เขียนภาษาซีหรือจาวา แต่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เน้นเรื่องหลักการ วิธีคิด สร้างขั้นตอนการแก้ปัญหา การวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหาได้
ก็คงได้เห็นแล้วว่า นายกรัฐมนตรี ลีเซียนหลุง ของสิงค์โปร์ ก็เคยเน้นไว้ก่อนหน้าแล้วว่า จะให้นักเรียนสิงค์โปร์ทุกคนได้เรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ ล่าสุด โอบามา ประกาศว่าจะหาเงิน สี่พันล้านดอลลาร์ เพื่อให้คนอเมริกันทุกคนได้เรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในโครงการ Computer Science for All
น่าเสียดายที่ไทยยังติดกับดัก ที่การเรียนการสอนเพื่อให้เป็นผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ไม่ได้สอนศาสตร์พื้นฐานเพื่อการสร้างคนให้สมบูรณ์ คิดเป็น วิเคราะห์ สร้างสรรค์เป็น วางแผนเป็น รู้ระบบ ทำงานเป็นขั้นตอน มีเหตุมีผล และคิดแบบวิทยาศาสตร์
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...