ข่าวประชาสัมพันธ์..
เปิดแนวคิด Converse To Convert ทำไมการสร้างบทสนทนาใน Twitter ถึงช่วยสร้างยอดขาย
เวลาที่เราเปิดร้านขายของ เป้าหมายที่สำคัญที่สุด คือ “ตัวเลขยอดขายของสินค้า” หรือ “ตัวเลขยอดคลิกจากการยิงโฆษณา” ?
แน่นอนว่าแทบจะทุกคนก็คงตอบว่า “ยอดขาย” คือเรื่องสำคัญที่สุด ในโลกที่ทุกแบรนด์กระโดดลงมาทำการตลาดออนไลน์กันหมด เพราะรู้ว่ากลุ่มเป้าหมาย หรือกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ พวกเขากระจุกตัวอยู่ในโลกโซเชียล หรือชอปปิ้งอยู่ในตลาด eCommerce ทำให้การแข่งขันเพื่อยอดขายสูงขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อพูดถึงคำว่า “การตลาดออนไลน์” สิ่งที่แบรนด์นิยมทำช่วงนี้ก็คือ
การเฟ้นหาเทคนิคยิงโฆษณา เพื่อเอาชนะอัลกอริทึ่ม
การยิงโฆษณาก็เป็นทางเลือกที่มีโอกาสทำให้คนรู้จักแบรนด์ หรือนำไปสู่การสร้างยอดขายได้จริง แต่การพุ่งโฟกัส ทุ่มเวลาไปที่การใช้กลยุทธ์เดียวอาจไม่เพียงพอแล้วในยุคนี้
ทุกวันนี้เรานิยมให้ทีมงานหลายคนเฝ้าดู Stat หลังบ้าน วิเคราะห์เวลาโพสต์ที่จะได้ Engage เยอะที่สุด หรือแม้แต่การประชุมระหว่างแบรนด์และเอเจนซี ก็มักจะวนอยู่ในเรื่อง Advertising Format ต้นทุนค่าคลิก (CPC) อัตราการคลิก (CTR), การปรับเรื่องราวให้ดูครีเอทีฟ, และปรับกลุ่มเป้าหมายของโฆษณา
นอกจากที่กล่าวมาก เราอยากให้หลายแบรนด์เริ่มตั้งคำถามว่า นอกจากการยิงโฆษณาแล้ว เรามีกลยุทธ์อื่น ๆ อีกหรือไม่ ที่ทำให้คนเกิดความผูกพันธ์กับแบรนด์ หรือพูดคุยกันจนนำไปสู่การทดลองใช้ และนำไปบอกต่อ ไม่เพียงแค่กดคลิกเข้าชมเพจหรือเว็บไซต์แล้วผ่านเลยไป
ดังนั้นถ้าเรากำลังประสบปัญหาที่มียอดคลิกเยอะ แต่คนไม่ค่อยซื้อสินค้า เราก็ควรเริ่มมองหากลยุทธ์ใหม่ๆ
แล้วอะไรบ้างที่ทำให้คนสนใจแบรนด์อย่างแท้จริง ไม่ผ่านมาแล้วผ่านไป?
แบรนด์ควรถอยกลับมาตั้งคำถาม เหมือนเป็นการเช็คลิสต์ตัวเองตามสเต็ปเหล่านี้
1.Core Value หรือแก่นหลักของแบรนด์คืออะไร ?
2.แล้ว Core Value นี้ เราได้สื่อสารมันออกไปครบถ้วนหรือไม่ ?
3.วิธีการสื่อสาร Core Value ของเราที่ผ่านมา มันทำให้ลูกค้ามีอารมณ์ร่วมกับสินค้านี้หรือเปล่า ?
คำถามข้อที่ 3 นี้ ถือเป็นจุดสำคัญ เพราะถ้าทุกอย่างเราดีมีคุณภาพ แต่ทำให้ลูกค้า “รู้สึกร่วม” ไม่ได้ การเน้นไปที่ยอดเข้าถึง หรือเน้นไปที่จำนวนคลิกก็คงไม่มีพลังมากพอ ที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึก “อยากควักเงินออกจากกระเป๋า”
ดังนั้น “ก่อนทำให้ผู้บริโภคอยากคลิกไปซื้อสินค้า” ผู้บริโภคต้องถูกแรงดึงดูดจากแบรนด์ ให้เขารู้สึกเห็นคุณค่าของสินค้านั้นๆ
ตัวอย่างเช่น ชานมแบรนด์ ฉุน ชุ่ย เฮ้อ หรือ Just Drink ที่เถ้าแก่น้อยเอามาวางขายใน 7-Eleven เป็นชานมชื่อดังจากไต้หวัน ที่สินค้าหมดก่อน 8 โมงเช้า และกลายเป็นของหายากในชั่วข้ามคืน นั่นก็เพราะคนไทยได้อ่านรีวิวจากคนที่ไปเที่ยวไต้หวันบอกว่าเป็นชานมที่รสชาติดี และเป็นสิ่งที่คนมักจะซื้อมาเป็นของฝากกัน
และไม่ว่าจะปรากฏการณ์รอซื้อกระเป๋า รองเท้า เครื่องสำอางแบรนด์ดัง หรือเทรนด์ตามล่าหาเซิร์ฟสเก็ต ก็ล้วนเกิดมาจากการได้รับฟีดแบ็ก หรือเห็นการใช้งานของคนจริงๆ จึงทำให้เกิดการบอกต่อ จนสินค้าขาดตลาด หรือมีการขึ้นราคากันหลายเท่าตัว
จากเรื่องนี้เราเห็นอะไรบ้าง?
ยุคนี้คนเราชอบการเล่าเรื่อง หรือฟังรีวิวมากขึ้น เพราะมันคือการช่วยยืนยันว่า แบรนด์หรือสินค้านี้น่าเชื่อถือ น่าสนใจ หรือเข้ามาแก้ปัญหาชีวิตของพวกเขาได้อย่างแท้จริงหรือไม่ ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ต้องมีคนเดินไปตื๊อให้พวกเขาซื้อ เขาถึงจะรู้จักและสนใจ
และบางครั้งการที่คน ๆ หนึ่งตัดสินใจซื้อสินค้า อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเห็นโฆษณาตามหน้าเพจหรือบิลบอร์ดเพียงอย่างเดียว แต่อาจเพราะมีคนพูดถึงสินค้านั้น ๆ กันเป็นวงกว้าง จนทำให้เกิดความรู้สึกอยากลอง หรือเจอคนเขียนรีวิวในโลกออนไลน์ ทำให้ต้องลองค้นหาต่อ และนำไปสู่การซื้อในที่สุด
ดังนั้นในยุคที่ eCommerce และการซื้อขายหรือทำโฆษณาในโลกออนไลน์กำลังเฟื่องฟู สิ่งที่แบรนด์ห้ามลืมคือเรื่องของ “Converse To Convert” แม้เรื่องนี้จะเป็นเรื่องเก่า หรือเป็นเรื่องที่พูดกันมายาวนาน แต่สุดท้ายแล้ว มนุษย์ก็ต้องการการสื่อสาร ถึงจะนำไปสู่ความเข้าใจ และวางใจที่จะซื้อสินค้าของแบรนด์
แนวคิด Converse To Convert คืออะไร?
แนวคิด Converse To Convert คือการที่แบรนด์ให้ความสำคัญกับบทสนทนาต่อสินค้าหรือบริการ โดยผู้ที่สามารถเริ่มต้นสร้างบทสนทนาที่เกี่ยวกับแบรนด์ ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวแบรนด์ ซีอีโอ หรือทีมงานเสมอไป
แต่คนที่เป็นผู้บริโภค อินฟลูเอนเซอร์ ผู้ที่มีชื่อเสียง หรือแม้แต่คนที่ไม่เคยเป็นลูกค้ามาก่อนก็ตามก็สามารถกลายมาเป็นผู้ที่ช่วยกระตุ้นอารมณ์ และสร้างบรรยากาศ “ความน่าซื้อ” ได้
หรือพูดง่ายๆ ก็คือ การอ่านหรือดูรีวิวจากคนทั่วไป ที่ไม่ใช่มาจากแบรนด์โดยตรง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ช่วยสร้างบรรยากาศความน่าซื้อ หรือความน่าสนใจของแบรนด์
จากข้อมูลของ Global Consumer Survey โดย Statista ระบุว่า 59% ของคนไทยที่ซื้อสินค้าออนไลน์เห็นด้วยว่า Consumer Reviews หรือ การรีวิวจากกลุ่มผู้บริโภคเองในโลกออนไลน์ มีประโยชน์ในแง่การช่วยพวกเขาในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ
จากข้อมูลงานศึกษาของ GlobalWebIndex ที่ศึกษากลุ่ม Mobile Shoppers ในไทย พบว่า คนกว่า 1 ใน 3 ของนักช้อปผ่านมือถือ เห็นด้วยว่า คำสนทนาที่ดีต่อสินค้าหรือบริการมี ผลอย่างมากต่อการตัดสินใจซื้อของในออนไลน์
โดยรองจาก การส่งฟรี (61%) และ ส่วนลดที่ดึงดูดใจ (53%) และนอกจากนั้น การได้อ่านหรือเห็นคำสนทนาที่ดีในสินค้าหรือบริการ ยังทำให้ Mobile Shoppers มีแนวโน้มจะคลิกเข้าชม เว็บไซต์ของแบรนด์เพิ่มมากขึ้นอีก 15%
นั่นก็แปลว่า หากแบรนด์ขยับมามองเรื่องของ Conversation To Commerce มองเรื่องการผลักดันให้เกิดการสร้างบทสนทนาเกี่ยวกับแบรนด์ ก็จะส่งผลให้แบรนด์มีโอกาสที่จะได้ลูกค้าจริงๆ มากขึ้น หรือช่วยสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์มากขึ้นด้วย ซึ่งแน่นอนว่ามันก็จะนำไปสู่การมียอดคลิก หรือยอดชมเว็บไซต์ที่ดีตามไปด้วย
ในยุคนี้มีพื้นที่อะไร ที่มาช่วยผลักให้เกิดพลังของสร้างบทสนทนา ?
หากย้อนกลับไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว พื้นที่ที่สร้างบทสนทนามากที่สุดก็จะเป็นเว็บบอร์ด อย่างเช่น Pantip, Dek-D.com, PRAMOOL.COM และ Blog ต่างๆ อีกมากมาย และจะเต็มไปด้วยบุคคลธรรมดาที่ไม่เปิดเผยตัวตน มาสนทนาในห้องต่างๆ ซึ่งก็จะมีตั้งแต่การรีวิวสินค้า สอบถามเรื่องร้านอาหาร สถาบันเรียนพิเศษ หนังสือ และพูดคุยในประเด็นอื่นๆ
แต่ทุกวันนี้นอกจาก Pantip ก็มี Twitter ที่เป็นพื้นที่แห่งการสนทนา ที่ค่อนข้างมีอิมแพคไม่น้อย เพราะการทวีตหรือโพสต์ออกไปนั้น จะใช้ข้อความแค่ไม่กี่ตัวอักษร หรือลงเพียงโพสต์เดียว ก็สามารถส่งต่อไปที่คนอื่นๆ เป็นหมื่นเป็นแสนคน ผ่านการรีทวิตเป็นหมื่นเป็นแสนครั้งได้ ซึ่งถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ส่งต่อข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็วอันดับต้นๆ ของโลก
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งของ Twitter* ที่ศึกษาเกี่ยวกับพลังของการสนทนาที่มีต่อแบรนด์ ระบุว่า หากแบรนด์สามารถเพิ่มจำนวนการสนทนาที่ดีในสินค้าหรือบริการได้เพียงแค่ 10% โอกาสในการสร้างยอดขายจะเพิ่มอีกถึง 3%
และจากการสำรวจในสหรัฐอเมริกา พบว่า ถ้ามีการซื้อโฆษณาหรือดัน Hashtag ใน Twitter จำนวนคนที่จะเข้ามาสนทนาเกี่ยวกับแบรนด์จะเพิ่มขึ้นถึง 105% ซึ่งเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นๆ Twitter เป็นพื้นที่ที่ขับเคลื่อนการสนทนาได้มากกว่า 3 เท่า
เพราะ Twitter กลายเป็นเหมือน Marketplace ที่คนรุ่นใหม่ หรือกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อ จะสามารถเข้ามาถามหาสินค้าได้ ถามหารีวิวได้ ผ่านการใช้ Hashtag อย่างเช่น #รีวิวเซเว่น #รีวิวเครื่องสำอางค์เกาหลี #ตามหาเคส #รีวิวบ้าน #รีวิวคาเฟ่ต์ เป็นต้น
และการพิมพ์สิ่งที่ต้องการ พร้อมกับติด Hashtag ก็จะมีคนมาเห็น และ Reply เข้ามาบอกพิกัด บอกร้าน หรือแปะลิงค์ช่องทางการซื้อให้โดยทันที
อีกทั้งเราก็คงจะเห็นได้ว่ามีคนจำนวนไม่น้อย หรือคนรอบตัวของเราที่ไปร้านกาแฟ ร้านอาหาร หรือซื้อสินค้าจากการที่ “โดนรีวิวใน Twitter ป้ายยา” ซึ่งก็แปลว่า Twitter กลายเป็นแหล่งสร้างพลังของบทสนทนาที่ดีที่จะช่วยให้คนสนใจสินค้า บริการ
Twitter มีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจอีกบ้าง ขั้นตอนการสนทนาเกิดขึ้นได้อย่างไร?
Conversation Flow หรือการสนทนาของกลุ่มคนบนทวิตเตอร์ มี Flow หลักอยู่ 5 ช่วง
1.Conversation starts: ก็คือช่วงก่อนถึงจุดพีคจะมาประมาณ 1 สัปดาห์ จะมีบางคนที่เริ่มเปิดประเด็นขึ้นมาก่อน เช่น ร้านนี้มีจุดขายอย่างไร ดีกว่าที่อื่นอย่างไร หรือบอก Tips ในการได้ Code ลับ เพื่อเป็นส่วนลดสินค้าหรือบริการ
2.Warm-up: หลังจากนั้นจะเข้าสู่ช่วงที่เครื่องเริ่มติด โดยจะมีกลุ่มคนเริ่มมาคุยถึงประเด็นที่กล่าวไปมากขึ้น คนจะเริ่มมาถกเถียงหรือให้ข้อมูลกันว่า อันไหนน่าสนใจหรืออันไหนไม่ควรซื้อ
3.Event Day: วันที่ Conversation พุ่งสูงสุดแตะค่าเฉลี่ยที่มีคนพูดถึงสูงสุด ทำให้เกิดกระแสแฮชแทคติด Trending ขึ้นมา ถ้าจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็อย่างเช่น วันที่เทศกาล อย่างเช่น 11.11 เทศกาลคนโสด ก็จะมีกลุ่มคนกลัวตกรถ อดได้สินค้าราคาโปรโมชัน ทำให้ต้องติดตามแฮชแทคใน Trending ที่เกี่ยวกับ 11.11
4.Unboxing: ช่วงนี้คือช่วงที่คนเริ่มออกมารีวิวสิ่งที่ได้ซื้อตาม ซึ่งจะเกิดขึ้น 2-3 วันหลังจากช่วง Event Day ถ้าของดีสินค้าดี นี่คือช่วงเวลาที่คนกำลังทวิตบอกต่อๆ กัน หรือเรียกว่าช่วงเวลาทองในการ Advocacy ของแบรนด์
5.Aftermath: ช่วงกระแสเริ่มซา แต่ช่วงนี้เราจะได้ Insight จากลูกค้าที่จริงมากขึ้น เพราะถ้ายังมีคนพูดถึงอยู่ แปลว่าสินค้าของเรายังได้รับความสนใจ และถ้าการสนทนานี้มีการสนทนาในทางบวก แบรนด์ก็จะยิ่งได้รับความสนใจในทางที่ดีมากขึ้น
ในขณะเดียวกันถ้ามีฟีดแบ็กไม่ดีเกิดขึ้น Twitter จะเป็นแหล่งที่ทำให้แบรนด์ได้ข้อมูลจริงจากปากลูกค้า เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาสินค้า โดยที่ไม่ต้องออกไปทำรีเสิร์ชให้วุ่นวายยุ่งยาก เพียงแค่เสิร์ชสินค้าหรือชื่อแบรนด์ของเรา
และนี่คืออีกข้อมูลที่น่าสนใจจาก GlobalWebIndex โดยทีมงานได้ไปทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง นักช้อปออนไลน์บน Twitter ที่ได้อ่านบทสนทนาที่ดีเกี่ยวกับสินค้าและบริการ กับ นักช้อปออนไลน์บน Twitter ที่ไม่ได้อ่านบทสนทนาที่ดีเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
สถิติเหล่านี้ก็ถือเป็นการตอกย้ำว่า ในยุคนี้คือยุคแห่งพลังของบทสนทนา ยิ่งมีการพูดคุยเกี่ยวกับสินค้าและบริการนั้นมากเท่าไหร่ โอกาสที่กลุ่มลูกค้าจะเห็นแบรนด์ เข้าใจคุณค่าของแบรนด์ จนนำไปสู่การซื้อหรือโดนป้ายยา ก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น
ดังนั้นนักการตลาด หรือคนที่ทำแบรนด์ ที่กำลังลงมาเล่นในสมรภูมิออนไลน์ยุคนี้ อย่าเพิ่งมองข้ามไปที่เรื่องของเทคนิค หรือทางลัดล้ำๆ ให้ได้ยอดวิวยอดคลิกเยอะๆ เพียงอย่างเดียว ควรมองกลับไปที่จุดสำคัญ ที่เป็นตัวผลักให้ “คน” รู้สึกอยากมีส่วนร่วมในสินค้าและบริการมากขึ้น เพราะถ้ากลุ่มลูกค้า “เห็นคุณค่าของสินค้า” จากการพูดคุยหรือสนทนาจากผู้ใช้งานคนอื่นๆ มาก่อน เขาถึงจะตัดสินใจคลิก และตัดสินใจซื้อตามมา
เพราะเป้าหมายที่แท้จริงของการทำแบรนด์คือ ทำให้เกิดยอดขาย ไม่ใช่แค่ยอดคลิก
ดังนั้นในวันนี้ เราอยากชวนให้แบรนด์กลับมาถามตัวเองว่า เราได้เริ่มทำให้สินค้าและบริการของเราเป็นที่ถูกพูดถึงหรือยัง?
หากนักการตลาดยุคใหม่ อยากทำให้แบรนด์เป็นหนึ่งในบทสนทนาสำคัญในโลกออนไลน์อย่าง Twitter สามารถติดต่อได้ที่ MediaDonuts ตัวแทนจำหน่ายโฆษณาของ Twitter ประจำประเทศไทย ผ่านทาง marketingSEA@mediadonuts.com
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
core value คือ 在 สาระศาสตร์ Facebook 的最讚貼文
"คนที่ประสบความสำเร็จ และคนที่ประสบความล้มเหลว มักจะทำทุกอย่างเหมือนกัน แต่ทำด้วยทัศนะและวิธีคิดที่แตกต่างกัน" - Napoleon Hills
ระบบความคิดทำให้คนซึ่งมีพื้นเพความรู้การศึกษาเหมือนๆกัน มีชีวิตที่แตกต่างกัน ระบบวิธีคิดและการมองโลกของคนเราจึงเป็นพื้นฐานสำคัญของความสำเร็จต่างๆ ผู้คนจำนวนมากพยายามตามหาสูตรสำเร็จ เพื่อที่จะได้เข้าใจว่า ผู้ที่ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ เขาดำเนินชีวิตอย่างไร คิดอย่างไร โดยหวังว่าเมื่อเราได้เรียนรู้เงื่อนไขแห่งความสำเร็จของผู้อื่น เราเองก็จะสามารถนำวิธีการเหล่านั้นมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการดำเนินชีวิต ให้ประสบความสำเร็จทั้งในเรื่องครอบครัว การงาน และการเงิน
เราทุกคนต่างรู้กันดีว่า จะประสบความสำเร็จได้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยการล้มเหลว การลองผิดลองถูก และต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ มากมาย และการเลือกเส้นทางชีวิตนั่นคือสิ่งที่ยากที่สุด เพราะไม่มีใครรู้ว่าเส้นทางที่กำลังเดินนั้นจะนำเราไปสู่เป้าหมายที่เราต้องการรึเปล่า
ดังนั้น การรู้กฎเกณฑ์การใช้ชีวิตก็เหมือนกับแสงสว่าง นำพาให้เราไปสู่จุดหมายได้โดยไม่หลงทาง และกฎทั้ง 9 ข้อของ Napoleon Hills ก็เปรียบได้กับแผนที่ชีวิตเพื่อให้เราเลือกลงมือทำในสิ่งที่สำคัญตรงตามเป้าหมายในชีวิตของเรา
กฎข้อ 1 เราคือผู้เลือกที่จะเป็นผู้ประสบความสำเร็จ หรือผู้ที่ล้มเหลว
ถ้าเราสังเกตดูดีๆจะพบกับความจริงที่ว่า "ในชีวิตเรามีเส้นทางให้เราเลือกเดินเพียง 2 ทางเท่านั้น คือ เส้นทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ กับเส้นทางที่นำเราไปสู่ความล้มเหลว"
เส้นทางสู่ความสำเร็จไม่เคยโรยด้วยกลีบกุหลาบ และไม่มีคำว่า " บังเอิญ " สำหรับความสำเร็จ แต่ต้องการอาศัยความพากเพียรอย่างหนักและต่อเนื่อง ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็มักจะยอมแพ้เสียก่อน ดังนั้น ถ้าเมื่อเลือกเส้นทางที่นำเราไปสู่ความสำเร็จ วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ศึกษาว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จเขามีเส้นทางในการดำเนินชีวิตอย่างไร
กฎข้อ 2 เราคือผู้สร้างประสบการณ์ให้ตัวเราเอง
เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าสถานการณ์จะเลวร้ายขนาดไหน เราก็ยังคงเป็นผู้เลือกที่จะสุขหรือทุกข์ต่อเหตุการณ์นั้นๆ ถ้าเราอยากมีความสุข เราจะไม่ปล่อยให้สถานการณ์ภายนอกควบคุมพฤติกรรม ความคิด ความรู้สึกของเรา
เราทุกคนมีเสรีภาพในการเลือก บนโลกใบนี้มีทางเลือกมากมาย แต่คนส่วนใหญ่มักคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงไม่กล้าที่จะเลือกเส้นทางใหม่ๆ สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับตนเอง ซึ่งความจริงแล้วเราสามารถเลือกได้ตลอด ในหนึ่งวันเราก็เลือกได้ว่าจะไปไหน ทำอะไร ให้ความสนใจอะไร สมมติถ้าเราอยู่กับคน 100 คนเราก็เลือกได้ว่าจะเลือกไว้วางใจใคร ฟังใคร ไม่สนใจใคร จะเห็นด้วย หรือจะคัดค้านในใจ เป็นต้น
กฎข้อ 3 ปฏิกิริยาต่างตอบแทน
เราจะเลือกประสบการณ์ของเราได้จริงๆอย่างนั้นเหรอ ? คำตอบอยู่ในกฎข้อนี้ คือขึ้นอยู่กับหลักต่างปฏิบัติต่างตอบแทนเท่าเทียมกัน เช่น มีคนพูดจาไม่ดีกับเรา แล้วเราพูดกับเขาอย่างไร เราเลือกที่จะโต้ตอบในแบบเดียวกับเขา หรือ เลือกที่จะพูดอ่อนหวานกลับไป แน่นอนประสบการณ์ที่เราเลือก ก็คือผลจากการกระทำของเรานั่นเอง ดังนั้น ตัวเราเองที่เป็นคนเชื้อเชิญปฏิกิริยาภายนอก เช่น เราไม่ยิ้มให้ เขาก็ไม่ยิ้มให้เรา และแต่ละคนก็จะมีวิธีการปฏิบัติกับผู้อื่นที่แตกต่างกันไป
• คนที่คิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด มักจะเป็นคนไม่มีน้ำใจ ซึ่งทำให้เพื่อนๆ ไม่ค่อยชอบ และเมื่อไหร่ที่คนประเภทนี้พบกับความทุกข์ก็จะไม่มีใครเข้ามาให้กำลัง เพราะท่านไม่เคยใส่ใจ หรือใยดีใคร
• คนที่คิดว่าตัวเองไม่ได้รับการไว้วางใจจากคนอื่น ๆ ซึ่งเป็นไปได้ว่า คนเหล่านี้ทำตัวเป็นคนอ่อนแออยู่ตลอดเวลา บ่นถึงปัญหาส่วนตัว ร้องไห้เสียใจ เมื่อคนอื่นเห็นก็เกิดความไม่ไว้วางใจ จึงไม่มอบหมายงานให้เรา เพราะพฤติกรรมของเราเองคือตัวกำหนด
• คนที่คิดว่าตัวเองไม่เคยได้รับการช่วยเหลือ คนเหล่านี้มักมีลักษณะ เป็นพวกหนีปัญหาไปวันๆ ใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อยไม่คิดแก้ปัญหาของตัวเองอย่างจริงจัง ซึ่งตามปกติคนเราจะช่วยเหลือคนที่ช่วยเหลือตัวเองอย่างที่สุดก่อน ดังนั้น ถ้าเรายังไม่สามารถดึงศักยภาพในตัวมาใช้แก้ปัญหาแบบสุดๆ ก็อย่าหวังได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น และยังใช้ชีวิตไปเรื่อยเปื่อย หรือหนีปัญหาไปวัน ๆ
กฎข้อ 4 จะแก้ไขปัญหาได้ต่อเมื่อเรายอมรับความจริงได้
จะแก้ปัญหาได้ต้องยอมรับความจริงเสียก่อน คนส่วนใหญ่มักไม่กล้ามองปัญหา ไม่กล้ายอมรับว่าตัวเองคือสาเหตุของปัญหา นอกจากปัญหาจะไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว ก็เหมือนยิ่งไปสร้างปมปัญหาใหม่เพิ่มขึ้นอีก เช่น เป็นผู้บริหารแต่ไม่ยอมรับว่า ตัวเองบริหารงานไม่เก่ง ก็ย่อมทำให้บริษัทขาดทุน แต่ถ้ายอมรับได้ ก็จะเกิดทางแก้ไข อาจไปจ้างมืออาชีพมาทำแทน เป็นต้น ดังนั้น การกล้าที่จะยอมรับความจริง คือ การเริ่มต้นแก้ปัญหา
กฎข้อ 5 ชีวิตนี้ให้รางวัลกับการกระทำเสมอ
แค่มีความคิด มีไอเดียนั้นไม่เพียงพอ เพราะต้องบวกการกระทำไปด้วยจึงเห็นผล มีคนจำนวนมากที่รู้สึกว่าตัวเอง เป็นนักคิดที่ชาญฉลาดแต่ทำไมชีวิตยังอยู่ห่างจากเป้าหมายเหลือเกิน นั่นเพราะ ความคิดเหล่านั้นไม่เคยได้ลงมือทำ
โลกใบนี้ไม่สนใจคนที่มีความคิดดี แต่จะสนใจการกระทำที่ดีมากกว่า ดังนั้น ถ้ามีความคิดดีๆเมื่อไหร่การลงมือทำเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้เราได้ในสิ่งที่คุณต้องการ
กฎข้อ 6 ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับมุมมองของเรา
เราเป็นคนเลือกที่จะให้ความหมายกับชีวิตของเราเอง เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเห็น หรือคิด เป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์สมมติขึ้น และความทุกข์จริง ๆ ก็ไม่มี มีแต่ความคิดของเราที่ตีความเหตุการณ์ต่างๆ
วิธีการสร้างมุมมองแบบ Positive ง่าย ๆ ดังนี้
• เขียนบันทึกสิ่งดีงามที่เกิดขึ้นกับคุณในแต่ละวัน ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อยๆก็ตาม เช่น ตื่นมารู้สึกดีที่วันนี้ ฝนไม่ตก เป็นต้น
• ค้นหาความหมายใหม่ๆ ห้กับชีวิตอยู่เสมอ จะช่วยทำให้เรามีพลังชีวิตมากขึ้น
กฎข้อ 7 ชีวิตต้องบริหารจัดการ
คนส่วนใหญ่มักตามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยมองข้ามความจริงที่ว่า ชีวิตต้องการการจัดการ ควรมีการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อป้องกันปัญหาไว้ล่วงหน้า ในการวางแผนเราต้องพูดคุยกับผู้จัดการชีวิตของเรา ซึ่งก็คือ ตัวเราเอง โดยการตั้งคำถามกับตัวเอง ดังนี้
• เราได้เคยค้นหาและดึงเอาศักยภาพสูงสุดของเราออกมาใช้เพื่อก่อประโยชน์หรือยัง ?
• เราเคยหาทางสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับชีวิตหรือไม่ ?
• เราเป็นคนที่อดทนต่อปัญหาอย่างเดียว หรือแก้ปัญหาได้ด้วย ?
ซึ่งเป็นธรรมดาที่คนที่กล้าแก้ปัญหาต้องกล้าที่จะตัดสินใจและรับผิดชอบต่อผลที่จะเกิดขึ้น จึงเป็นสาเหตุให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะอยู่สบาย ๆ ซึ่งก็หมายความว่า คุณเลือกที่จะเป็นผู้แพ้ แต่ถ้าคุณพอใจกับสถานะดังกล่าวก็ไม่มีใครสามารถไปเปลี่ยนแปลงคุณได้
กฎข้อ 8 พลังอำนาจของการให้อภัย
ในบรรดาอารมณ์ทั้งหมดของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกเบื่อ ความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ หรือความโกรธ คืออารมณ์ที่ทรงพลังและทำให้มนุษย์เป็นทุกข์มากที่สุด ซึ่งเปรียบเสมือนการจุดไฟเผาผลาญตัวเอง จะรู้สึกร้อนรนอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผหมดพลังงานไปอย่างเปล่าประโยชน์ ในที่สุดจะพบว่าเราได้เผาผลาญโอกาสแห่งความสำเร็จของเราจนหมดไปแล้ว ดังนั้น จงมอบความรักให้กับผู้อื่นบ้าง และการให้อภัยคือหลักการสำคัญสำหรับความเป็นผู้นำ
กฎข้อ 9 รู้จักตนเอง
คนที่จะประสบความสำเร็จได้ขั้นแรกต้องรู้จักตัวเองเป็นอย่างดี จึงจะรู้ว่า ตัวเองต้องการอะไรจากชีวิต ในการสร้างอนาคตให้ตัวเองจำเป็นต้องสร้างเป็นภาพ ต้องเห็นภาพตัวเองในอนาคตให้ได้ จึงจะรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร การหา core value มีอยู่ 2 ประเภท คือ ตามกระแส หรือทวนกระแส ดังนั้น หัวใจสำคัญที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จ คือ "การรู้จักตัวเอง"
core value คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
สรุปการนำ “อิคิไก” มาใช้ในธุรกิจ
การนำ “อิคิไก” มาใช้ในธุรกิจ - MarketThink
หลักคิด “อิคิไก (IKIGAI)” ที่หมายถึง การค้นหาความหมายของการมีชีวิตอยู่
ซึ่งมาจากการคำว่า อิคิรุ (IKIRU) ที่แปลว่า การมีชีวิต และ ไก (GAI) แปลว่า คุณค่า
แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า นอกจากเรื่องชีวิตแล้ว
เราสามารถนำหลักคิดนี้ มาปรับใช้กับตัวธุรกิจได้
ซึ่งคุณดั่งใจถวิล อนันตชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทจ (ประเทศไทย) จำกัด เคยอธิบายไว้ว่า
“โมเดล อิคิไก ถ้าเปลี่ยนเป็นมุมธุรกิจ
เราสามารถนำแกนหลัก 4 แกนของ อิคิไก มาตั้งคำถามกับธุรกิจของตัวเองได้”
โดย 4 แกนหลัก ประกอบด้วย
1) สิ่งที่เรารัก ชอบ และมีความสุขที่ได้ทำ (What you love ?)
2) สิ่งที่มีประโยชน์ต่อโลกและผู้อื่น (What the world needs ?)
3) สิ่งที่สร้างรายได้ให้เรา (What you can be paid for ?)
4) สิ่งที่เราทำได้ดีกว่าคนอื่นๆ (What you are good at ?)
แล้วนำ 4 แกนนี้ มาตั้งคำถามกับธุรกิจของตัวเองว่า
-Passion :
อะไรคือสิ่งที่เรารัก ชอบ และมีความสุขที่ได้ทำ ?
ต้องตอบได้ว่า Core Business หรือแก่นธุรกิจของเราคืออะไร
เราอยากประสบความสำเร็จในสิ่งไหน
สิ่งไหนที่แม้แต่ต้องเจออุปสรรคต่างๆ เราก็อยากจะเดินหน้าทำต่อไป
-Mission :
อะไรคือสิ่งที่มีประโยชน์ต่อโลกและผู้อื่น ?
ธุรกิจของเราสามารถสร้างประโยชน์ต่อคน สังคม ในแง่มุมไหนได้บ้าง
เช่น สะท้อนออกมาเป็นการทำ CSV (Creating shared value) หรือ SB (Sustainability brand)
-Vocation :
อะไรคือสิ่งที่สร้างรายได้ให้เรา ?
ธุรกิจต้องสร้างรายได้และเลี้ยงตัวเองได้ เมื่อเราแข็งแรง เราจะมีกำลังในการสร้างสิ่งดีๆ ให้ผู้อื่น
-Profession :
อะไรคือสิ่งที่เราทำได้ดีกว่าคนอื่นๆ ?
หาจุดเด่น หรือความเชี่ยวชาญที่เราถนัด ทำให้จุดเด่นนั้นแข็งแรงขึ้น และต่อยอดธุรกิจต่อไป
เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ
จะเห็นได้ว่า “อิคิไก” ซึ่งเป็นหลักคิดสร้างสุขยั่งยืนของคนญี่ปุ่น ก็สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจได้
สรุปแล้ว
สำหรับการค้นหา อิคิไกของตัวเรา คือ การค้นหาความหมายของการมีชีวิตอยู่
แต่ อิคิไก ในแง่มุมธุรกิจ ก็คือ ความหมายในการมีอยู่ของธุรกิจนั้น นั่นเอง..
#อิคิไก
#ธุรกิจ
---------------------------------------------------
อ้างอิง:
-หนังสือ อิคิไก: ความหมายของการมีชีวิตอยู่ ของ เคน โมงิ
-https://thestandard.co/podcast/readery14
-https://mgronline.com/management/detail/9600000114439
Implementing ′′ Ikikai ′′ in business - MarketThink
The principle of ′′ IKIGAI (IKIGAI) ′′ that means finding the meaning of living.
Which comes from Ikiru (IKIRU) meaning living and gai (GAI) means value.
But many people may not know that apart from life.
We can apply this concept to business.
Which is your heart, Wil Anantchai, Chief Operations Officer and Director, Interage Company Limited, has explained.
′′ Ikikai model, if you turn into a business corner.
We can bring Ikikai's 4 core studs to question their business
By 4 main axis consists of
1) What we love, like and are happy to do (What you love? )
2) What is useful to the world and others? (What the world needs? )
3) What make money for us (What you can be paid for? )
4) What we do better than others. (What are you good at? )
And bring these 4 axis to question their business.
-Passion :
What is something we love, like and are happy to do?
What is Core Business or our business?
What do we want to accomplish?
Any obstacle that we have to go through, we want to keep going.
-Mission :
What is it that benefits the world and others?
What extent can our business benefit social people?
For example, reflecting on making CSV (Creating shared value) or SB (Sustainability brand)
- Vocation:
What is it that proceeds us?
Businesses must make money and raise themselves. When we are strong, we will have the strength to create good things for others.
-Profession :
What is it that we do better than others?
Looking for highlights or expertise that we're good at making our highlights stronger and further business ventures.
To strengthen the business
It can be seen that ′′ Ikikai ′′ which is the main principle to create sustainable happiness of Japanese people. It can be applied to business.
In conclusion,
For finding our own Ikikai is finding the meaning of living.
But Ikiki in business aspect is the meaning of business..
#อิคิไก
#ธุรกิจ
---------------------------------------------------
Reference:
- Ikikai Book: The meaning of living of Kenyan
-https://thestandard.co/podcast/readery14
-https://mgronline.com/management/detail/9600000114439Translated