สรุปอาณาจักรดูโฮม 6 หมื่นล้าน ที่เริ่มต้นจาก ร้านตึกแถวต่างจังหวัด /โดย ลงทุนแมน
รู้ไหมว่า ตลาดวัสดุก่อสร้างในไทย มีมูลค่าสูงถึงประมาณ 810,000 ล้านบาท
จึงไม่แปลก ที่เราจะเห็นผู้เล่นรายเล็กรายใหญ่เข้ามาแข่งขันในตลาดนี้กันจำนวนมาก
และหนึ่งในอาณาจักรวัสดุก่อสร้างรายใหญ่ของไทย ก็คือ บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) หรือ “ดูโฮม”
ดูโฮม เริ่มต้นจากการเป็นร้านค้าวัสดุก่อสร้างเล็ก ๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี จนตอนนี้ได้ก้าวมาเป็นแนวหน้าของผู้ค้าวัสดุก่อสร้างในไทยและมีมูลค่าบริษัทมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท
เส้นทางของอาณาจักรค้าวัสดุก่อสร้างรายนี้ เป็นมาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จุดเริ่มต้นของดูโฮม เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2526
คุณอดิศักดิ์ ตั้งมิตรประชา และคุณนาตยา ตั้งมิตรประชา ได้ก่อตั้งร้านขายปลีกวัสดุก่อสร้าง จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด “ศ. อุบลวัสดุ” ในจังหวัดอุบลราชธานี
ศ. อุบลวัสดุ ในช่วงเริ่มต้นเป็นแค่ร้านตึกแถว 2 ห้อง แต่ด้วยความที่เป็นร้านขายวัสดุก่อสร้างครบวงจรร้านแรก ๆ ในจังหวัด จึงทำให้กิจการเติบโตขึ้น
พอกิจการใหญ่ขึ้น ศ. อุบลวัสดุ จึงได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด
มีการปรับรูปแบบร้านค้าให้เป็นโกดังขายสินค้าขนาดใหญ่ และมีการนำเทคโนโลยีทันสมัยมาจัดการคลังสินค้าและจัดการการขาย
ในปี พ.ศ. 2550 ศ. อุบลวัสดุ ก็เริ่มขยายสาขาไปตั้งในจังหวัดอื่น รวมถึงขยับขยายเข้าสู่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้ชื่อ “ดูโฮม” อย่างเป็นทางการ
รายได้ของดูโฮม เติบโตจากหลักร้อยล้าน สู่พันล้าน และสู่ระดับหมื่นล้าน
จนในปี พ.ศ. 2561 บริษัทก็แปรสภาพจากบริษัทจำกัด เป็นบริษัทมหาชนและได้เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ภายใต้ชื่อว่า บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน)
ปัจจุบัน ดูโฮม ก้าวขึ้นเป็นอาณาจักรค้าวัสดุก่อสร้างที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ในประเทศไทย
ลองมาดูส่วนแบ่งการตลาดของ 5 บริษัทวัสดุก่อสร้างในปี พ.ศ. 2562 อ้างอิงตามข้อมูลจากศูนย์วิจัยกรุงศรี
1. โฮมโปร 10%
2. โกลบอลเฮ้าส์ 4.3%
3. ไทวัสดุ 4.3%
4. ดูโฮม 2.7%
5. บุญถาวร 1.6%
ปัจจุบันดูโฮมขายสินค้าทั้งแบบค้าปลีกและค้าส่งสินค้าวัสดุก่อสร้าง ซ่อมแซม ตกแต่ง และยังให้บริการอื่น ๆ เช่น บริการซ่อมแซม ติดตั้ง และบำรุงรักษา
โดยดูโฮม ขายสินค้าผ่านสาขาทั่วประเทศทั้งหมด 25 แห่ง แบ่งเป็นสาขาขนาดใหญ่ ทั้งหมด 13 สาขา
ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่แถบชานเมืองและอยู่ตามต่างจังหวัด
ในขณะที่สาขาขนาดเล็ก เรียกว่า ดูโฮม ทูโก ทั้งหมด 12 สาขา ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ตามพื้นที่ศูนย์การค้า เจาะตลาดกลุ่มคนเมืองในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ต้องการซื้อวัสดุอุปกรณ์เร่งด่วน
นอกจากนั้นยังมีบริการช่องทางสั่งของผ่านการโทรสั่ง และช่องทางออนไลน์
โดยสินค้าที่บริษัทขาย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งมีสัดส่วนรายได้ในระหว่างปี พ.ศ. 2561-2563 คือ
- วัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็กเส้น, ปูน, สีทาบ้าน ประมาณ 42-45%
- วัสดุซ่อมแซม เช่น เครื่องมือช่าง, อุปกรณ์ประปา, เครื่องมือทางการเกษตร ประมาณ 35-38%
- วัสดุตกแต่ง เช่น เฟอร์นิเจอร์, โคมไฟ, เครื่องนอน ประมาณ 17-20%
แล้วผลประกอบการของ ดูโฮม ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ?
ปี 2561 รายได้ 18,535 ล้านบาท กำไร 439 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 17,972 ล้านบาท กำไร 726 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 18,925 ล้านบาท กำไร 727 ล้านบาท
ไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ. 2564 รายได้ 6,139 ล้านบาท กำไร 543 ล้านบาท
สังเกตดี ๆ จะเห็นว่า กำไรในไตรมาสแรกปีนี้เพียงไตรมาสเดียว คิดเป็น 75% ของกำไรทั้งปีที่ผ่านมา
จากการเปิดเผยของบริษัทระบุว่า มีสาเหตุหลัก ๆ มาจาก การเพิ่มขึ้นของอัตรากําไรขั้นต้นของทุกกลุ่มสินค้า อีกทั้งการบริหารจัดการต้นทุนขายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ภาพรวมแล้ว อัตรากำไรสุทธิของบริษัทนั้นเพิ่มสูงขึ้น
อีกกลยุทธ์ที่ ดูโฮม กำลังผลักดันเพื่อให้อัตราการทำกำไรของบริษัทสูงขึ้นก็คือ การเพิ่มยอดขายสินค้าที่เป็นแบรนด์ของตัวเอง หรือ House Brands ที่บริษัทไปสั่งผลิตจากผู้ผลิตที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือ
จุดเด่นของ House Brands ที่บริษัทสั่งทำเองก็คือ จะขายได้อัตรากำไรที่ดีกว่าการรับสินค้าของแบรนด์อื่นมาขาย หมายความว่ายิ่งขายสินค้ากลุ่มนี้ได้มาก อัตรากำไรของบริษัทก็มีโอกาสขยับสูงขึ้นได้นั่นเอง
โดยในปี พ.ศ. 2563 ส่วนแบ่งยอดขาย House Brands ต่อยอดขายสินค้ารวมของดูโฮม อยู่ที่ 16.5% ซึ่งเติบโตขึ้นจาก 14.6% ในปี พ.ศ. 2561 และบริษัทตั้งเป้าจะขยับสัดส่วนนี้เป็น 20% ภายในปี พ.ศ. 2565
มาถึงตรงนี้ ก็ไม่น่าเชื่อเหมือนกันว่า
จากร้านขายวัสดุก่อสร้างเล็ก ๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี
ได้เติบโตมาเป็นบริษัทมหาชน ที่มีมูลค่ากว่า 63,000 ล้านบาท
ซึ่งก็น่าติดตามต่อไปว่า ดูโฮม จะขยายอาณาจักรของพวกเขาให้ใหญ่โตขึ้น ได้อีกแค่ไหน..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นตัวนี้ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-รายงานประจำปี 2563 บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน)
-แบบฟอร์ม 56-1 ประจำปี 2563 บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน)
-https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/Building-materials-store-z3201.aspx
-https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Construction-Construction-Materials/Construction-Materials/IO/io-construction-materials-21
-https://www.youtube.com/watch?v=_868kaL2HKc
-https://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=DOHOME&ssoPageId=5&language=th&country=TH
-https://www.youtube.com/watch?v=AiP9nooX88A&t=821s
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過80萬的網紅果籽,也在其Youtube影片中提到,At a closer look, paper tiles are actually all around the city – on the walls of public housing estates, the stairs of tenement houses, the pavilions ...
「apple symbol」的推薦目錄:
- 關於apple symbol 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於apple symbol 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於apple symbol 在 Goodbye HK, Hello UK Facebook 的最佳貼文
- 關於apple symbol 在 果籽 Youtube 的最佳解答
- 關於apple symbol 在 夏榮慶Jimmy Youtube 的最佳貼文
- 關於apple symbol 在 Apple logo pocket design - YouTube 的評價
- 關於apple symbol 在 Apple Logo Animation - Pinterest 的評價
apple symbol 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ใครคิดค้น #แฮชแท็ก เครื่องหมายสำคัญของโลก /โดย ลงทุนแมน
สมัยก่อน ถ้านึกถึงเครื่องหมาย # ในชีวิตประจำวันเรา
เครื่องหมายดังกล่าวคงเป็นเพียงปุ่มบนโทรศัพท์มือถือ
แต่ในปัจจุบันเครื่องหมาย # หรือที่เรียกกันว่า “แฮชแท็ก” สามารถพบเห็นได้ทั่วไปบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อย่างเช่น Instagram, Facebook และ TikTok รวมทั้งยังเป็นฟีเชอร์หลักของ Twitter
นอกจากนั้นเครื่องหมายแฮชแท็กยังถูกใช้อย่างแพร่หลายจนออกไปสู่นอกโลกอินเทอร์เน็ต เช่น การนำไปเป็นแคมเปนการตลาดอีกด้วย
แล้วเราเคยสงสัยหรือไม่ว่าใครกันเป็นคนคิดแฮชแท็ก
มันถูกนำมาใช้บนโซเชียลมีเดียครั้งแรกเมื่อไหร่
และมันสามารถเปลี่ยนแปลงโลกอินเทอร์เน็ตไปได้อย่างไรบ้าง ?
#ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปเมื่อ 14 ปีก่อน หรือในปี 2007 แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ชื่อว่า Twitter เพิ่งเริ่มเปิดตัวไปได้ไม่นาน ซึ่งทางผู้พัฒนาได้เริ่มให้ผู้คนที่อยู่ในละแวกเดียวกัน นั่นก็คือที่ซิลิคอนแวลลีย์ เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มทดลองใช้แพลตฟอร์มนี้เป็นกลุ่มแรก
หนึ่งในนั้นก็คือคุณ “Christopher Reaves Messina” ซึ่งในขณะนั้นมีอายุ 26 ปี และทำงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และเป็นที่ปรึกษาด้านอินเทอร์เน็ต อยู่ที่ซิลิคอนแวลลีย์
เขามองว่าสิ่งสำคัญที่ Twitter ยังขาดอยู่ก็คือ ไม่มีการจัดหมวดหมู่ของข้อความที่เป็นประเด็นเดียวกัน
จึงทำให้การพูดคุยแบบกลุ่มหรือการค้นหาเรื่องราวตามความสนใจในแต่ละประเด็นทำได้ยาก
ด้วยความที่ Messina คุ้นเคยกับระบบแช็ตออนไลน์อยู่แล้ว เขาจึงนึกถึงการใช้เครื่องหมาย # ที่ใช้กันมาตั้งแต่ปี 1988 ในระบบแช็ตบนอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Internet Relay Chat หรือ IRC ซึ่งคล้ายกับ MSN ที่หลายคนน่าจะคุ้นเคย
การใช้งานเครื่องหมาย # บนระบบ IRC คือการใช้พิมพ์นำหน้าคำหรือวลีที่เป็นหัวข้อสนทนา
เขาเลยเกิดไอเดียว่าน่าจะนำเครื่องหมาย # มาใช้จัดหมวดหมู่ประเด็นการพูดคุยใน Twitter บ้าง
โดยสิ่งที่พิมพ์อยู่หลังเครื่องหมาย # จะทำให้สามารถคลิกเข้าไปได้และจะนำไปสู่คลังข้อความที่โพสต์โดยใครก็ตามที่พิมพ์ # แล้วตามด้วยคำคีย์เวิร์ดเดียวกัน
ที่สำคัญก็คือนอกจากด้านการเป็นผู้ติดตามประเด็นต่าง ๆ แล้ว
ประโยชน์ของเครื่องหมาย # ยังทำให้ผู้ใช้งาน Twitter ทุกคนเป็นผู้สร้างประเด็นขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง
Messina จึงเขียนอธิบายไอเดียทั้งหมดของเขา แล้วนำไอเดียนี้ไปเสนอที่สำนักงานของ Twitter ซึ่งในตอนนั้นยังเป็นออฟฟิศขนาดเล็กที่ไม่มีแม้แต่ผู้ดูแลตรงประตูทางเข้า ทำให้เขาเดินเข้าไปได้เลย และได้เจอกับ Biz Stone หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Twitter
Stone รับฟังไอเดียที่ Messina นำเสนอแบบผ่าน ๆ และบอกเขาว่า มันดูเนิร์ดเกินไป ไม่มีทางได้รับความนิยมหรอก
แม้ว่าไอเดียของเขาจะถูกปฏิเสธ แต่ Messina ยังเชื่อว่าการจัดกลุ่มประเด็นสนทนาเป็นสิ่งที่ Twitter ควรมี
เขาเลยลองทวีตถามผู้ใช้งาน Twitter เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ปี 2007 ว่า
"how do you feel about using # (pound) for groups. As in #barcamp [msg]?"
หรือก็คือ คิดเห็นอย่างไรกับการใช้เครื่องหมาย # สำหรับการจัดกลุ่มประเด็นสนทนาแบบใน BarCamp ซึ่งเป็นชื่อของแพลตฟอร์มแช็ตออนไลน์
อีก 3 วันถัดมา Stowe Boyd ผู้เป็นบล็อกเกอร์ที่มีชื่อเสียงในวงการเทคโนโลยีอยู่แล้ว
ได้เขียนบทความที่ชื่อว่า “Hash Tags = Twitter Grouping” ซึ่งอธิบายการใช้เครื่องหมาย # ใน Twitter ของ Messina โดยคำว่า Hash ก็มาจากชื่อเรียกเครื่องหมาย # ของคนอังกฤษและเหล่าโปรแกรมเมอร์
นั่นจึงทำให้เครื่องหมาย # ที่ใช้ใน Twitter มีชื่อเรียกว่าแฮชแท็กตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และวันที่ 23 สิงหาคม ปี 2007 ได้กลายเป็นวันเกิดของแฮชแท็ก โดยมี #barcamp เป็นแฮชแท็กแรกของโลก
2 เดือนถัดมา แฮชแท็กได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายเป็นครั้งแรก และในเดือนตุลาคม ปีเดียวกันนั้นเอง
ก็ได้เกิดเหตุการณ์ไฟป่าที่เมืองซานดิเอโก เพื่อนของ Messina ได้ใช้ Twitter เพื่อโพสต์ข้อความอัปเดตสถานการณ์ เขาเลยบอกเพื่อนให้ลองใช้แฮชแท็ก #sandiegofire
หลังจากทวีตข้อความที่มีแฮชแท็กไป ก็มีผู้ใช้งาน Twitter เริ่มใช้แฮชแท็กนี้ตามกันมากมาย จนกลายเป็นประเด็นสนทนาที่มีผู้ร่วมพูดคุยเป็นวงกว้าง ทั้งเพื่อติดตามและช่วยกันอัปเดตสถานการณ์ไฟป่าที่กำลังเกิดขึ้น
และนั่นก็เป็นครั้งแรกที่แสดงให้ผู้พัฒนา Twitter เห็นถึงความสำคัญของการจัดกลุ่มประเด็นสนทนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเชื่อมโยงผู้ใช้งานทั้งหมดบนแพลตฟอร์มเข้าด้วยกันได้
หลังจากนั้นการใช้แฮชแท็กใน Twitter ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จน 2 ปีถัดมา หรือในปี 2009 Twitter ได้เพิ่มทางเลือกในการเซิร์ชด้วยแฮชแท็กเข้าไปอย่างเป็นทางการ
และในปีถัดมา Twitter ก็ได้เริ่มจัดทำ Trending Topics ซึ่งแสดงแฮชแท็กหรือคำที่ถูกพูดถึงมากที่สุดแบบเรียลไทม์
จากความสำเร็จของแฮชแท็กบน Twitter แพลตฟอร์มอื่นอย่างเช่น Instagram จึงเริ่มพัฒนาระบบแฮชแท็กมาตั้งแต่วันที่เปิดตัวแอปพลิเคชันในปี 2010 และตามมาด้วย Facebook ที่เริ่มให้ผู้ใช้งานใช้แฮชแท็กได้ในปี 2013
หลังจากนั้นการใช้แฮชแท็กก็กลายเป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปบนโลกอินเทอร์เน็ต
โดยในแต่ละวันมีแฮชแท็กเกิดขึ้นใหม่ทั่วโลกกว่าร้อยล้านแฮชแท็ก
แล้วถ้าถามว่าการคิดค้นแฮชแท็ก จนถูกใช้อย่างแพร่หลายไปทั่วโลกมาตลอด 14 ปี
ทำเงินให้ Messina ไปได้มากขนาดไหน ?
คำตอบก็คือ 0 บาท
ซึ่งนั่นก็เป็นความตั้งใจของ Messina ที่ไม่คิดจะจดสิทธิบัตรแฮชแท็ก
ทั้งที่ความจริงแล้วเขาสามารถจดสิทธิบัตรเพื่อรับเงินจำนวนมหาศาลได้
เพราะเขาไม่ได้คิดแฮชแท็กขึ้นมาเพื่อ Twitter หรือแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ต้องการให้เครื่องหมายและการใช้งานรูปแบบนี้ เป็นของใครก็ตามที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต ไม่ควรมีใครคนใดคนหนึ่งเป็นเจ้าของ ซึ่งเขายังคงรู้สึกดีใจทุกครั้งว่าสิ่งที่เขาคิดขึ้นมา ถูกนำไปใช้ต่อโดยผู้คนมากมาย
แม้ว่าผู้ที่คิดค้นแฮชแท็กจะไม่ได้รับผลตอบแทนในรูปของเงิน แต่การใช้แฮชแท็กกลับสามารถสร้างมูลค่าให้กับกลุ่มคนอื่น ๆ รวมไปถึงสังคมได้มากมาย
ไม่ว่าจะเป็นการนำแฮชแท็กไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำการตลาด อย่างการใช้แฮชแท็กเพื่อสร้างกระแสบนโลกโซเชียลในวันเปิดตัวสินค้า เช่น #นี่มาแน่ ของการเปิดตัว Disney+ Hotstar ในประเทศไทย หรือการใช้แฮชแท็กเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางการตลาด เช่น #Lazada77 แจกคูปองช้อปกระจาย ของ Lazada
ที่มากกว่านั้นก็คือ แฮชแท็กยังเป็นเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคม ยกตัวอย่างเช่น
#MeToo ที่ร่วมกันรณรงค์ให้ยุติการคุกคามทางเพศ
#BlackLivesMatter ที่ร่วมกันรณรงค์ให้ยุติการเหยียดสีผิว
#StopAsianHate ที่ร่วมกันรณรงค์ให้ยุติความเกลียดชังต่อชาวเอเชีย รวมถึงยุติการเหยียดเชื้อชาติ
ซึ่งประเด็นเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นเพียงการรณรงค์ที่เกิดขึ้นเฉพาะกลุ่มคนหรือในประเทศใดประเทศหนึ่ง
แต่ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นที่มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นและช่วยกันขับเคลื่อนในระดับโลก
ถึงตรงนี้ ก็คงไม่มีใครคาดคิดว่าต้นกำเนิดของแฮชแท็กจะเกิดขึ้นจากนักออกแบบผลิตภัณฑ์อย่าง Messina ที่มองว่าเครื่องหมายนี้จะทำให้ Twitter มีการจัดหมวดหมู่ประเด็นและคีย์เวิร์ดที่เป็นระบบมากขึ้น
ซึ่งไอเดียดังกล่าว ก็ได้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ Twitter กลายเป็นโซเชียลมีเดีย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
จนวันนี้กลายมาเป็นบริษัทที่มีมูลค่าเกินกว่า 1.8 ล้านล้านบาท
นอกจากแฮชแท็กจะนำพาความสำเร็จให้กับแอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียแล้ว
เครื่องหมายนี้ ก็ยังมีบทบาทอีกมากมายทั้งในเชิงธุรกิจ การรณรงค์เพื่อเพื่อนมนุษย์
การอัปเดตประเด็นสำคัญ ไปจนถึงการรายงานอุบัติเหตุหรือภัยธรรมชาติ
ทั้งหมดนี้ ก็ทำให้เราสรุปได้ว่า “#แฮชแท็ก” ได้กลายมาเป็นหนึ่งในเครื่องหมายสำคัญของโลก ไปแล้วนั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.cnbc.com/2020/01/09/how-chris-messina-got-twitter-to-use-the-hashtag.html
-https://stoweboyd.com/post/39877198249/hash-tags-twitter-groupings
-https://www.nytimes.com/2012/11/04/magazine/in-praise-of-the-hashtag.html
-https://www.wsj.com/articles/BL-DGB-29742
-https://medium.com/@biz/the-hashtag-at-ten-years-young-d1454f4dd785
-https://www.vox.com/culture/2017/8/23/16188868/hashtag-cultural-influence-twitter-demthrones-rap
-https://socialmediaweek.org/blog/2018/02/history-hashtags-symbol-changed-way-search-share/
-https://twitter.com/chrismessina/status/223115412?lang=en
apple symbol 在 Goodbye HK, Hello UK Facebook 的最佳貼文
好耐未見過(其實唔想見)嘅英美傳媒國際版頭條,其他媒體(全部)都前排報導。
Sorry,實在太多,不能盡錄....
#集體回憶
國際版頭條:
《BBC》Apple Daily: Hong Kong pro-democracy paper announces closure
https://www.bbc.co.uk/news/world-asia-china-57578926
《The Telegraph》Hong Kong's pro-democracy Apple Daily newspaper to close this week after crackdown
https://www.telegraph.co.uk/news/2021/06/23/hong-kongs-apple-daily-newspaper-close-week/
《The Guardian》Hong Kong’s Apple Daily, symbol of pro-democracy movement, to close
https://www.theguardian.com/world/2021/jun/23/hong-kong-apple-daily-symbol-of-pro-democracy-movement-to-close
《Wall Street Journal》Hong Kong’s Apple Daily Newspaper to Close After Government Choked Off Funds
https://www.wsj.com/articles/hong-kongs-apple-daily-will-close-after-government-choked-funds-11624437029
《The New York Times》Apple Daily, Pro-Democracy Newspaper in Hong Kong, Says It Will Close
https://www.nytimes.com/2021/06/23/world/asia/apple-daily-hong-kong.html
報導:
《The Times》Hong Kong newspaper Apple Daily prepares for final edition as Beijing clamps down
https://www.thetimes.co.uk/article/hong-kong-newspaper-editorial-writer-arrested-for-colluding-with-foreign-forces-wztkdhgr8
《Financial Times》Hong Kong pro-democracy tabloid Apple Daily to shut down
https://on.ft.com/3jaqFdF
《Reuters》Hong Kong pro-democracy tabloid Apple Daily to print final edition on Thursday
https://www.reuters.com/world/asia-pacific/hong-kong-police-arrest-apple-daily-columnist-under-security-law-media-2021-06-23/
《The Independant》Apple Daily: Hong Kong’s pro-democracy newspaper says last edition will be Thursday due to safety concerns
https://www.independent.co.uk/asia/south-asia/apple-daily-hong-kong-closure-b1871073.html
《Sky News》Hong Kong pro-democracy paper Apple Daily announces closure after police freeze assets
https://news.sky.com/story/hong-kong-pro-democracy-paper-apple-daily-announces-closure-after-police-freeze-assets-12339701
《The Washington Post》Hong Kong’s pro-democracy Apple Daily newspaper to shut under government pressure
https://www.washingtonpost.com/world/asia_pacific/hong-kong-apple-daily/2021/06/21/544ddb80-d26f-11eb-b39f-05a2d776b1f4_story.html
apple symbol 在 果籽 Youtube 的最佳解答
At a closer look, paper tiles are actually all around the city – on the walls of public housing estates, the stairs of tenement houses, the pavilions in parks and the floors of old cafés.
Paper tiles became prevalent in Hong Kong in the ’50s and ’60s. According to a survey published in 1984, 80% of the 500 buildings investigated were decorated mainly with paper tiles. The small squares may not be the most noticeable, but they are an important symbol of the old Hong Kong.
影片:
【我是南丫島人】23歲仔獲cafe免費借位擺一人咖啡檔 $6,000租住350呎村屋:愛這裏互助關係 (果籽 Apple Daily) (https://youtu.be/XSugNPyaXFQ)
【香港蠔 足本版】流浮山白蠔收成要等三年半 天然生曬肥美金蠔日產僅50斤 即撈即食中環名人坊蜜餞金蠔 西貢六福酥炸生蠔 (果籽 Apple Daily) (https://youtu.be/Fw653R1aQ6s)
【這夜給惡人基一封信】大佬茅躉華日夜思念 回憶從8歲開始:兄弟有今生沒來世 (壹週刊 Next) (https://youtu.be/t06qjQbRIpY)
【太子餃子店】新移民唔怕蝕底自薦包餃子 粗重功夫一腳踢 老闆刮目相看邀開店:呢個女人唔係女人(飲食男女 Apple Daily) https://youtu.be/7CUTg7LXQ4M)
【娛樂人物】情願市民留家唔好出街聚餐 鄧一君兩麵舖執笠蝕200萬 (蘋果日報 Apple Daily) (https://youtu.be/e3agbTOdfoY)
果籽 :http://as.appledaily.com
籽想旅行:http://travelseed.hk
健康蘋台: http://applehealth.com.hk
動物蘋台: http://applepetform.com
#果籽 #paper tiles #Hong Kong #mosaics
#post-war colonial times #public housing estates #StayHome #WithMe #跟我一樣 #宅在家
apple symbol 在 夏榮慶Jimmy Youtube 的最佳貼文
Adobe和Apple簽訂了PS授權合約後,1985年 第一台搭配Postscript的印表機正式出貨,一台7000美元,在當時的美國,可以買一台福斯金龜車。
這台Apple LaserWriter印表機,只有內建Helvetica 及Times,另外加上 Courier 及 Symbol 就沒了。所以,Adobe碰到了問題,需要Postscript字體,於是就成立Adobe字型部門,推出 Adobe Original 原創字型。
Adobe在開發字型的過程建立了產業標準, Adobe藉由一個看起來微不足道的字體,切入出版市場,建立了新的標準,也為公司的發展鋪了一條康莊大道
~~~
聲明:這支影片是我自己在Adobe的工作經驗,不代表Adobe官方立場
Music
● Mo Vibez X Creepa - DR777 of Majestic Color
● Link - https://youtu.be/aglY_eFY4I8
免費下載思源黑體及宋體- https://www.google.com/get/noto/
| 訂閱頻道 |
https://goo.gl/NZzSgM 只要有新影片上架,你就會收到通知,立刻可以觀賞內容。
| FB | https://www.facebook.com/jimmyh519/ 我在FB會介紹Adobe軟體使用技巧、設計精采案例
| 好學校 |【Photoshop最重要的基本課】 https://hahow.in/cr/jhsiapscc
apple symbol 在 Apple Logo Animation - Pinterest 的推薦與評價
Nov 1, 2016 - Apple Logo Animation designed by Alexandr Ivchenko. Connect with them on Dribbble; the global community for designers and creative ... ... <看更多>
apple symbol 在 Apple logo pocket design - YouTube 的推薦與評價
FOR WEEKLY GROUP CLASSES KINDLY JOIN OUR TELEGRAM CHANNEL VIA THIS LINK; https://t.me/sewingworkshopFOR PRIVATE AND INTENSIVE CLASS ENROL IN ... ... <看更多>