รู้จัก AUKUS ของสหรัฐ และการโต้กลับด้วย CPTPP ของจีน /โดย ลงทุนแมน
เรื่อง AUKUS เป็นประเด็นใหม่ที่คนทั้งโลกจับตา
สนธิสัญญา AUKUS เป็นข้อตกลงที่สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร จะสนับสนุนการสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ให้แก่ออสเตรเลีย
คำว่า AUKUS ย่อมาจาก
Australia (AU)
United Kingdom (UK)
United States (US)
แต่รู้ไหมว่าสนธิสัญญา AUKUS ยังเกี่ยวข้องกับจีน และอาจทำให้เกิดความตึงเครียดในภูมิภาคทะเลจีนใต้ระหว่าง สหรัฐฯ กับ จีน มากขึ้น
เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร อ้างว่า การทำสัญญา AUKUS กับออสเตรเลีย เพราะอยากให้มีความปลอดภัยและสันติภาพ เพิ่มขึ้นในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
แต่หลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มองว่า สนธิสัญญานี้จะทำลายความสงบสุขในเอเชียมากกว่า เพราะอย่างที่รู้กันคือ สนธิสัญญานี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพออสเตรเลีย
การที่ออสเตรเลียได้เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ในครั้งนี้ ออสเตรเลียจะกลายเป็นประเทศที่ 7 ของโลก ที่มีเทคโนโลยีดังกล่าว
เรื่องทั้งหมดนี้ก็คงเป็นเพราะเหตุผลเบื้องหลังคือ สหรัฐฯ ต้องการคานอำนาจและท้าทายอิทธิพลของจีน ในเขตทะเลจีนใต้
แล้วสำหรับจีน มีมุมมองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร ?
จีนกล่าวหลังจากทราบเรื่องดังกล่าวว่า สหรัฐฯ นั้นใจแคบ และไร้ความรับผิดชอบ ที่อาจนำพาให้ประเทศอื่นเข้าสู่ยุคสงครามเย็น
และที่ทำให้ทุกคนประหลาดใจ หลังจากการแถลงข่าวเรื่อง AUKUS ได้ 1 วัน รัฐบาลจีนเลยเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรี CPTPP ในทันที
แล้ว CPTPP คืออะไร ?
CPTPP คือ ข้อตกลงสำหรับประเทศที่อยู่ใกล้เคียงกับมหาสมุทรแปซิฟิก ในประเด็นเรื่อง การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน และกฎหมายสิ่งแวดล้อม
จริง ๆ แล้ว CPTPP เกิดจากโมเดลของ TPP ที่สหรัฐฯ ออกแบบมา เพื่อกีดกันทางการค้ากับจีนโดยเฉพาะ ดังนั้นหลายคนคิดว่าจีนอาจไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนด CPTPP ได้เพราะติดเกณฑ์หลายเรื่องในข้อตกลง
แต่การที่จีนยอมเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP นี้ นอกจากจีนจะทำการโต้กลับเรื่อง AUKUS แล้ว จีนคงเห็นอะไรบางอย่างที่จะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้
โดยก่อนหน้านี้ ในสมัยที่ดอนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดี สหรัฐฯ ได้ออกจากข้อตกลง TPP มาแล้ว ซึ่งการออกจากข้อตกลง TPP ในครั้งนั้นทำให้ขนาดเศรษฐกิจของประเทศทั้งหมดที่อยู่ในข้อตกลง ได้ลดลงจาก 27% ของ GDP โลก มาอยู่ที่ 15%
แต่การเข้ามาของจีนในครั้งนี้ จะทำให้ CPTPP มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 30% ของ GDP โลก และมีประชากรรวมเป็น 1,900 ล้านคน หรือ 25% ของประชากรโลกเลยทีเดียว
แต่เรื่องนี้คงต้องติดตามกันอีกยาว ว่าจีนจะเข้าร่วม CPTPP ได้หรือไม่
เพราะตอนนี้หลายประเทศที่อยู่ใน CPTPP ก็ยังคงทำตัวไม่ถูก เนื่องจากในข้อตกลงนี้มีแต่ประเทศที่เป็นมหามิตรของสหรัฐฯ เช่น ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และแคนาดา ในขณะที่ จีนนั้นอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับสหรัฐฯ อย่างชัดเจน
ซึ่งน่าติดตามว่า พันธมิตรของสหรัฐฯ ในข้อตกลง CPTPP จะคิดเห็นอย่างไร ?
ประเทศสมาชิกใน CPTPP ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะ ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย มองว่าการเข้ามาใน CPTPP ของจีนเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคแปซิฟิกมากขึ้น
สำหรับญี่ปุ่นยังมีกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้กับจีน และนอกจากนั้นญี่ปุ่นเคยเจรจาเรื่อง CPTPP กับไต้หวันไว้ว่าจะยอมรับเข้าเป็นสมาชิก
ดังนั้นไต้หวันย่อมกังวลว่า ถ้าจีนได้เข้าร่วม CPTPP ไต้หวันจะถูกกีดกันในการเป็นสมาชิกของ CPTPP ในอนาคต
สำหรับออสเตรเลียเอง ก็ยังมีข้อพิพาทกับจีนเช่นกัน
โดยจีนได้เพิ่มอัตราการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากออสเตรเลีย ซึ่งมีเจตนาเพื่อโต้กลับออสเตรเลีย หลังจากที่ออสเตรเลียเรียกร้องให้จีนออกมารับผิดชอบว่าเป็นต้นเหตุของโรคระบาดโควิด
อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย อาจไม่มีอำนาจมากพอที่จะห้ามจีนเข้า CPTPP ได้
แต่ทั้ง 2 ประเทศก็คงใช้วิธีเน้นย้ำว่า จีนต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ CPTPP ให้ได้
ที่น่าสนใจก็คือ พันธมิตรของสหรัฐฯ ที่ยังไม่ได้อยู่ใน CPTPP อย่างสหราชอาณาจักร ก็ต้องการเข้าร่วม CPTPP เพื่อขายสินค้าเกษตรกับประเทศอื่นเพิ่มมากขึ้น หลังไม่มีข้อผูกมัดกับสหภาพยุโรปแล้ว
คำถามต่อไปก็คือ จีนจะปฏิบัติตามเกณฑ์ของ CPTPP ได้หรือไม่
โดยในข้อตกลง CPTPP จะเน้นเรื่องความเป็นเสรี และรัฐบาลต้องไม่ไปอุดหนุนรัฐวิสาหกิจเพื่อบิดเบือนตลาด
ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับรัฐบาลจีนเองที่มีแผนจะลดเงินสนับสนุนแก่รัฐวิสาหกิจ และดึงเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อผลักดันให้บริษัททำกำไรและดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยังได้ประกาศเข้าร่วมพันธกรณีข้อตกลงปารีส และยุติโครงการสร้างโรงงานถ่านหินในต่างประเทศ เพื่อช่วยลดมลพิษทางอากาศและแก้ปัญหาโลกร้อน
ดังนั้น กฎเกณฑ์ในการเข้าร่วม CPTPP ในประเด็นเรื่องรัฐวิสาหกิจ และกฎหมายสิ่งแวดล้อม ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับจีน
อย่างไรก็ตาม จีนยืนยันว่าการเข้าร่วม CPTPP ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องสนธิสัญญา AUKUS เพราะจีนต้องการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ มากกว่าจะผลักดันให้เกิดสงครามเหมือนสหรัฐฯ
แล้วสหรัฐฯ มีท่าทีอย่างไร หลังจีนต้องการเข้าร่วม CPTPP ?
การร่วมมือของสหรัฐฯ ทางการทหาร ผ่านสนธิสัญญา AUKUS อาจไม่พอที่จะหยุดอำนาจของจีนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เพราะสหรัฐฯ ยังขาดบทบาทการเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในเอเชีย
ซึ่งนักธุรกิจ และสมาชิกในสภาคองเกรส ต้องการให้สหรัฐฯ กลับเข้ามาเป็นสมาชิก CPTPP ก่อนประเทศจีน เพื่อลดกำแพงภาษี และรองรับการเป็นสมาชิกของไต้หวันก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
แต่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน อาจจะไม่เข้าร่วม CPTPP ในทันที จนกว่าการปฏิรูปเศรษฐกิจภายในประเทศ หรือนโยบาย “Build Back Better” จะสำเร็จเสียก่อน
ซึ่งนโยบายนี้ กีดกันทางการค้าและเทคโนโลยีกับจีนในทางอ้อม ด้วยการส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศและใช้สินค้าที่ผลิตโดยคนอเมริกัน
ซึ่งดูเหมือนว่า สงครามการค้า หรือ สงครามเทคโนโลยี ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ตั้งแต่สมัยทรัมป์ ยังคงดำเนินต่อ เพียงแค่อยู่ในรูปแบบที่เปลี่ยนไป
และสำหรับประเทศที่เหลือบนโลกใบนี้ ก็ยังต้องปรับตัวให้อยู่กับ 2 ขั้วทางการเมือง ที่ไม่น่าจะมีวันมาบรรจบกันได้อย่าง สหรัฐฯ และจีน ไปอีกนานเป็นทศวรรษ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.reuters.com/world/china/china-officially-applies-join-cptpp-trade-pact-2021-09-16/
-https://apnews.com/article/united-nations-general-assembly-joe-biden-6dd0382e93987500d714f9fa497602af
-https://www.bbc.com/news/world-asia-china-58647481
-https://www.posttoday.com/world/663460
-https://www.prachachat.net/economy/news-765984
-https://www.cnbc.com/2021/09/27/analysts-on-chinas-bid-to-join-cptpp-strategic-competition-with-us.html
-https://www.bbc.com/news/explainers-55858490
-https://www.globaltimes.cn/page/202109/1234584.shtml
-https://www.reuters.com/article/uk-davos-meeting-trade-truss-idUSKBN29Y14U
-https://www.cnbc.com/2021/01/11/control-risks-on-biden-administration-rejoining-tpp-trade-deal.html
-https://www.piie.com/blogs/trade-and-investment-policy-watch/chinas-cptpp-bid-puts-biden-spot
-https://www.economist.com/leaders/2021/09/25/america-is-at-last-getting-serious-about-countering-china-in-asia
-https://www.economist.com/leaders/2021/09/25/america-is-at-last-getting-serious-about-countering-china-in-asia
同時也有1376部Youtube影片,追蹤數超過1萬的網紅菜班長,也在其Youtube影片中提到,Please subscribe to 《菜班長》 Channel on YouTube if you like my videos 喜歡請按讚分享訂閱唷 《iPhone13》信義A13 - Apple 直營店 預購取貨 iPhone13 PRO開箱 Apple信義A13(英語:Apple Xi...
「apple china」的推薦目錄:
- 關於apple china 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於apple china 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於apple china 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於apple china 在 菜班長 Youtube 的最讚貼文
- 關於apple china 在 豐富 Youtube 的最佳解答
- 關於apple china 在 Nini Music Youtube 的最佳解答
- 關於apple china 在 The Old Record - Apple (China) 2015 Lunar New ... - YouTube 的評價
- 關於apple china 在 老唱片- 苹果(中国)2015 新春广告 的評價
apple china 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
BREAKING: จีนเจอปัญหา ขาดแคลนไฟฟ้าหนัก กระทบการส่งมอบ สินค้าทั่วโลก
จีนกำลังเจอกับวิกฤติด้านพลังงาน ที่ทำให้ประเทศขาดแคลนไฟฟ้า และส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมการผลิต และระบบซัปพลายเชนทั้งระบบ เนื่องจากจีนเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้ารายใหญ่ที่สุดของโลก
ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีต้นตอมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ๆ คือ
1) ทางการจีนต้องการลดมลพิษภายในประเทศ จึงได้ออกคำสั่งให้ 20 มณฑลของจีน จะต้องถูกตัดไฟบางส่วน เพื่อลดการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นต้นเหตุของการสร้างมลพิษ
พร้อมกับขอให้ประชาชนช่วยกันประหยัดไฟ และลดการใช้ไฟฟ้า
ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว ที่ถูกสั่งให้ตัดไฟฟ้าบางส่วน ครอบคลุม GDP มากกว่า 66% ของประเทศ
และมาตรการนี้ ยังมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น โรงงานผลิตสิ่งทอ, โรงงานอะลูมิเนียม
2) ราคาถ่านหินที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าสูงขึ้น โดยส่วนหนึ่งก็เพราะปัญหาที่จีนกับออสเตรเลียมีข้อพิพาทระหว่างกัน ซึ่งเดิมออสเตรเลียเคยส่งออกถ่านหินให้จีนเป็นจำนวนมาก แต่ในตอนนี้จีนต้องพยายามจัดหาถ่านหินจากแหล่งอื่นแทน
ในขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลด้านราคาไฟฟ้าของจีน ก็มีการควบคุมค่าไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนและธุรกิจ ให้อยู่ในระดับต่ำ จึงทำให้โรงงานไฟฟ้าขึ้นราคาได้ไม่มาก
จนทำให้โรงงานไฟฟ้าประสบปัญหาขาดทุนในทุก ๆ หน่วยไฟฟ้าที่ผลิตออกมาได้
พอเรื่องเป็นแบบนี้จึงทำให้โรงงานไฟฟ้าเลือกที่จะชะลอการผลิตไฟฟ้า ซึ่งสวนทางกับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกที่ต้องการสินค้าจากจีนในช่วงนี้
และนั่นก็เป็นที่มาของการขาดแคลนไฟฟ้าในประเทศจีนตอนนี้
ซึ่งถ้าถามว่า พลังงานไฟฟ้าจากการเผาถ่านหิน สำคัญกับจีนมากแค่ไหน ?
ก็ตอบได้เลยว่า คิดเป็นการผลิตพลังงาน 2 ใน 3 ของพลังงานที่จีนใช้ทั้งประเทศ..
ดังนั้น เรื่องนี้จึงกลายเป็นวิกฤติครั้งใหญ่ของจีน ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง
เพราะมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้า, สิ่งทอ และของเล่น จะได้รับผลกระทบหนัก เนื่องจากในช่วงปลายปีนี้ เป็นฤดูแห่งการช็อปปิง
ซึ่งตามปกติแล้ว ตอนนี้ก็ควรมีการเร่งการผลิต เพื่อให้ผลิตสินค้าได้ทันเวลา และเพียงพอต่อความต้องการ
นอกจากนี้ ผลกระทบของวิกฤติขาดแคลนไฟฟ้านี้ ยังลามไปถึงโรงงานที่ผลิตสินค้าให้กับบริษัทระดับโลก อย่าง Apple และ Tesla ด้วย
โดยเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ได้มีข่าวออกมาว่า ลูกค้าที่สั่งจอง iPhone 13 กับทาง Apple อาจต้องรอนานกว่า 1 เดือน
เนื่องจากติดปัญหาในระบบซัปพลายเชน ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากโรงงานในจีน ที่ลดกำลังการผลิตลง ตามมาตรการของทางการจีน ที่ต้องการลดมลพิษ
ทั้งนี้ ด้านผู้ผลิตในจีน ได้ออกมาเตือนว่ามาตรการที่เข้มงวดดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
เพราะพื้นที่แค่ 3 มณฑล ซึ่งได้รับผลกระทบต่อมาตรการดังกล่าว เช่น เจียงซู, เจ้อเจียง และกวางตุ้ง รวมกัน
ก็คิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของ GDP ทั้งประเทศแล้ว
นอกจากนี้ การลดกำลังการผลิตของโรงงานในจีน จะทำให้ร้านค้าหลายแห่งทั่วโลก มีปัญหาในการจัดการสินค้าในสต็อก ทำให้ของขาดตลาด และอาจทำให้สินค้าแพงขึ้น จนเกิดเงินเฟ้อได้
ซึ่ง ณ ตอนนี้ ตลาดโลกก็จะเริ่มรู้สึกถึงการขาดแคลนสินค้าต่าง ๆ ตั้งแต่สิ่งทอ, ของเล่น, เสื้อผ้า ไปจนถึงชิ้นส่วนเครื่องจักร
เรียกได้ว่า ส่งผลกระทบต่อซัปพลายเชนทั้งระบบ ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม
แน่นอนว่าพอเรื่องเป็นแบบนี้ หลายสถาบันการเงิน จึงได้ออกมาปรับลดการคาดการณ์ GDP ของจีน ในปีนี้
เช่น ทางด้าน Nomura สถาบันการเงินของญี่ปุ่น ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของ GDP ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ เป็น 3% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 4.4%
ที่สำคัญคือ เรื่องนี้อาจส่งผลกระทบและลามมาถึงประเทศไทยด้วย
เพราะหากไปดูในปี 2020 ที่ผ่านมา มูลค่าสินค้าที่ไทยนำเข้าจากจีน สูงถึง 1.7 ล้านล้านบาท
โดยสินค้าที่นำเข้ามากที่สุด คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักรต่าง ๆ
นอกจากนี้ ไทยยังมีสินค้าแฟชั่น ที่มีการนำเข้าจากจีนในปริมาณที่สูงมากเช่นกัน
ดังนั้น ถ้าโรงงานในจีนลดกำลังการผลิตลง จนสินค้าในตลาดมีน้อยลง หรือขาดตลาด
และราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ก็จะกระทบต่อการนำเข้าของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
พอเห็นแบบนี้ ก็ยิ่งต้องลุ้นกันต่อไป ว่ารัฐบาลจีนจะแก้ปัญหานี้อย่างไรบ้าง
และประเทศไทย จะได้รับผลกระทบแค่ไหนจากวิกฤติไฟฟ้าของจีนในครั้งนี้..
References
-https://www.bloomberg.com/news/newsletters/2021-09-28/supply-chain-latest-china-s-power-curbs-to-hit-global-economy
-https://www.reuters.com/technology/many-apple-tesla-suppliers-halt-production-china-amid-power-pinch-2021-09-27/
-https://www.straitstimes.com/business/economy/chinas-electricity-shock-is-latest-supply-chain-threat-to-world
-https://tradingeconomics.com/thailand/imports/china
apple china 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
เศรษฐีรวยสุดในเอเชีย มีน้องชาย เป็นบุคคลล้มละลาย ได้อย่างไร ? /โดย ลงทุนแมน
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า Mukesh Ambani เจ้าของ Reliance Industries กลุ่มธุรกิจที่ใหญ่สุดในอินเดียและเป็นมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในเอเชีย มีน้องชายชื่อ Anil Ambani
สำหรับน้องชายของมหาเศรษฐีคนนี้ ก็เป็นเจ้าของธุรกิจที่แยกตัวออกมาจาก Reliance Industries ของพี่ชาย มีชื่อบริษัทว่า Reliance ADA Group
ในปี 2008 Mukesh Ambani มีทรัพย์สิน 1.4 ล้านล้านบาท รวยเป็นอันดับ 5 ของโลก
ในขณะที่ Anil Ambani ตามมาติด ๆ ด้วยทรัพย์สิน 1.37 ล้านล้านบาท และรวยเป็นอันดับ 6 ของโลก
โดยในปีนั้น เศรษฐี 4 อันดับแรกของโลก ได้แก่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ (อเมริกัน), คาร์ลอส สลิม (เม็กซิโก),
บิลล์ เกตส์ (อเมริกัน) และลักษมี นิวาส มิตตัล (อินเดีย)
หลังจากผ่านไป 13 ปี Mukesh Ambani มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านล้านบาท
กลายมาเป็นมหาเศรษฐีรวยสุดในอินเดียและเอเชีย และรวยเป็นอันดับ 10 ของโลก
แต่ในปี 2019 Ambani คนน้องกลับมีทรัพย์สิน เพียง 5.6 หมื่นล้านบาท
จนล่าสุด มีหลายคนกล่าวว่าความมั่งคั่งตอนนี้ของ Ambani คนน้อง ลดลงจนเกือบเป็นศูนย์
แล้วมันเกิดอะไรขึ้นกับน้องชาย ของคนที่รวยสุดในเอเชีย ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในปี 1948 หรือเมื่อ 73 ปีก่อน ชายชาวอินเดียวัย 16 ปี
ที่ชื่อ Dhirubhai Ambani ได้ตัดสินใจเดินทางออกจากบ้านเกิดไปทำงานที่ประเทศเยเมน
ผ่านไป 10 ปี Dhirubhai กลับมาที่อินเดียพร้อมกับเงินเก็บ เพื่อมาเริ่มสร้างธุรกิจเอง
Dhirubhai เริ่มจากการนำเข้าเส้นใยสังเคราะห์และส่งออกเครื่องเทศ ก่อนจะเริ่มทำธุรกิจสิ่งทอ ซึ่งก็เติบโตอย่างรวดเร็ว จน Dhirubhai ได้ขยายกิจการไปในอุตสาหกรรมอื่น และเปลี่ยนมาใช้ชื่อบริษัทว่า “Reliance Industries” ในปี 1973
Reliance Industries สามารถ IPO ได้ในปี 1977 ซึ่งหุ้นของบริษัทก็มีชาวอินเดียสนใจลงทุนเป็นจำนวนมาก ถึงขนาดเคยจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่สเตเดียม
ตั้งแต่ที่กิจการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว Dhirubhai ก็เริ่มให้ลูกชายทั้ง 2 คนของเขา เข้ามาช่วยบริหารงานที่บริษัท
Mukesh Ambani ลูกชายคนโต เป็นประธาน
Anil Ambani ลูกชายคนรอง เป็นกรรมการผู้จัดการ
แต่แล้วในปี 2002 Dhirubhai ได้เสียชีวิตลงและได้ทิ้งกิจการ Reliance Industries ไว้กับลูกชายทั้ง 2 คน
Dhirubhai ที่จากโลกนี้ไปไม่ได้ทำพินัยกรรมและข้อตกลงแบ่งกิจการให้กับลูกแต่ละคนไว้ ซึ่งเขาก็คงไม่คิดว่า จะเกิดปัญหาตามมา
โดยปัญหาที่ว่านั้นเริ่มเกิดขึ้นเพราะลูกชายทั้ง 2 คน ที่เริ่มเข้าทำงานและมีบทบาทในบริษัทมาพร้อม ๆ กัน
กลับตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะเป็นเจ้าของและใครจะดูแลและรับผิดชอบบริษัทไหนบ้าง
สุดท้ายแล้ว ในช่วงปี 2004 ถึง 2005 ผู้เป็นแม่ต้องเข้ามาช่วยแก้ปัญหา
โดยการจ้างบุคคลที่ 3 ให้เข้ามาจัดการเรื่องการแยกบริษัทออกจากกันไปเลย
Mukesh Ambani คนพี่ได้ธุรกิจหลักคือปิโตรเลียม ซึ่งเขามีบทบาทสำคัญในการขยายกิจการในส่วนนี้มาตั้งแต่แรก และยังได้ธุรกิจอื่น ๆ อย่างเช่นปิโตรเคมี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจยุคเก่า โดยกลุ่มบริษัทของ Mukesh ใช้ชื่อว่า Reliance Industries
Anil Ambani คนน้องได้ธุรกิจหลักคือ Reliance Communications ธุรกิจโทรคมนาคมที่เพิ่งเริ่มกิจการได้ไม่นาน แต่ก็กลายเป็นบริษัทเทเลคอมที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในอินเดีย ซึ่งแม้ว่า Mukesh จะมีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่ต้น แต่ Anil ก็อยากได้ธุรกิจนี้เช่นกัน
นอกจากธุรกิจเทเลคอมแล้ว กิจการอื่นที่ Anil Ambani ได้รับไปดูแลอีกก็อย่างเช่น ธุรกิจพลังงาน และบริการทางการเงิน ซึ่งส่วนมากจะเป็นธุรกิจยุคใหม่ โดยกลุ่มธุรกิจของ Anil Ambani ใช้ชื่อว่า “Reliance ADA Group”
หลังจากจบเรื่องการแบ่งธุรกิจแล้ว แต่ละคนก็เริ่มต่อยอดธุรกิจตามเส้นทางของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น
Mukesh Ambani เริ่มทำธุรกิจค้าปลีกในปี 2006 จน Reliance Retail กลายมาเป็นธุรกิจค้าปลีกที่ใหญ่สุดในอินเดีย
ในขณะที่ Anil Ambani ก็ได้ต่อยอดทำธุรกิจบันเทิง อย่างเช่นในปี 2005 ได้ซื้อบริษัท Adlabs Films ที่เป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์ Big Cinemas ซึ่งกลายมาเป็นโรงภาพยนตร์ที่มีสาขามากสุดในอินเดียในอีก 3 ปีถัดมา
ในปี 2008 Reliance Entertainment ของ Anil Ambani ก็ได้เซ็นสัญญากับบริษัทผลิตภาพยนตร์ DreamWorks ของผู้กำกับ Steven Spielberg ซึ่งได้ร่วมผลิตภาพยนตร์ที่ได้รางวัลมากมาย อย่างเช่น The Help และ Lincoln
และปีเดียวกันนี้ Anil Ambani ก็ได้นำบริษัทพลังงานอย่าง Reliance Power จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยมูลค่าการระดมทุนที่สูงเป็นประวัติการณ์ในขณะนั้น
ผ่านไป 6 ปีหลังจากการเสียชีวิตของ Dhirubhai
ดูเหมือนว่าลูกชายของเขาทั้งคู่ก็ต่อยอดกิจการไปได้อย่างสวยงาม
จนทำให้ในปี 2008 Mukesh มีทรัพย์สิน 1.4 ล้านล้านบาท รวยเป็นอันดับ 5 ของโลก และ Anil มีทรัพย์สิน 1.37 ล้านล้านบาท รวยเป็นอันดับ 6 ของโลก
แต่หลังจากนั้น เส้นทางความมั่งคั่งของพี่น้องคู่นี้ กลับเริ่มมีทิศทางที่สวนทางกัน
คนพี่รวยขึ้น ส่วนคนน้องความมั่งคั่งหายไปเกือบหมด
แล้วมันเกิดอะไรขึ้น ?
เรื่องทั้งหมดมีจุดเริ่มต้นมาจากเงินที่บริษัท Reliance Power ของ Anil Ambani ได้มาจากการ IPO มีแผนจะใช้สร้างโรงไฟฟ้าที่ส่วนใหญ่จะผลิตจากก๊าซ
โดยก๊าซที่ Reliance Power ใช้ ก็มาจากบริษัทก๊าซธรรมชาติในเครือ Reliance Industries ของ Mukesh นั่นเอง
ซึ่งในตอนที่แยกบริษัทกัน สองพี่น้องก็ได้เซ็นสัญญาว่าบริษัทก๊าซของ Mukesh Ambani จะขายก๊าซให้โรงไฟฟ้าของน้องชายที่ราคาหนึ่ง
แต่ในวันที่โรงไฟฟ้าสร้างใกล้จะเสร็จและถึงเวลาที่พี่ชายจะขายก๊าซให้กับน้อง ราคาก๊าซในตลาดโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นไปเกือบเท่าตัว
Anil Ambani จึงต้องการซื้อก๊าซในราคาที่ตกลงกัน เพื่อที่จะไม่ต้องเผชิญต้นทุนก๊าซที่สูงขึ้น
แต่ทาง Mukesh Ambani ไม่สามารถขายก๊าซตามราคาที่ตกลงกันไว้ได้เพราะบริษัทของเขาจะขาดทุน
แต่แทนที่จะเจรจาตกลงกัน Anil Ambani กลับเลือกที่จะยื่นฟ้องบริษัทพี่ชายในปี 2010 เพื่อให้ซื้อก๊าซได้ในราคาเดิมที่เคยตกลงกัน
แต่ศาลก็ได้มีคำสั่งให้ Anil Ambani ซื้อก๊าซในราคาใกล้เคียงกับราคาตลาดโลก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายราคาก๊าซของประเทศ
สุดท้ายแล้ว Anil Ambani ที่ต้องแบกรับต้นทุนก๊าซเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว จึงไม่สามารถจัดหาก๊าซเพื่อไปใช้ผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าที่สร้างรอไว้แล้วได้
Reliance Power จึงกลายเป็นบริษัทที่มีหนี้มหาศาล จนต้องขายทรัพย์สินและกิจการบางส่วนออกไป เพื่อเอามาใช้หนี้ ซึ่งรวมถึงกิจการโรงภาพยนตร์ Big Cinemas ที่ซื้อมาเมื่อปี 2008 ด้วย
แต่ความผิดพลาดทางธุรกิจของ Anil Ambani ยังไม่ได้จบลงแค่นี้ เพราะเรื่องราวที่ร้ายแรงกว่านั้น เกิดขึ้นกับธุรกิจโทรคมนาคมอย่าง Reliance Communications (RCom)
ในปี 2002 ซึ่งเป็นช่วงที่ RCom เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ RCom เลือกใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่เรียกว่า CDMA ซึ่งใช้เงินลงทุนน้อยกว่า ขณะที่บริษัทคู่แข่งอย่างเช่น Airtel เลือกใช้เทคโนโลยีที่ชื่อ GSM
แม้เทคโนโลยีทั้ง 2 แบบจะใช้ได้ดีกับ 2G และ 3G เหมือนกัน แต่ปัญหาก็คือ CDMA ที่ RCom เลือกใช้ ไม่สามารถรองรับ 4G และ 5G ได้แบบ GSM ที่เหล่าคู่แข่งเลือกใช้
นั่นจึงทำให้ช่วงเวลาที่ทั่วโลกเปลี่ยนผ่านจาก 3G มาเป็น 4G อย่างรวดเร็ว RCom เลยตามคนอื่นไม่ทัน จน RCom กลายเป็นบริษัทที่เริ่มมีหนี้มากขึ้น
และจุดพลิกผันครั้งใหญ่ของ RCom รวมไปถึงทั้งอุตสาหกรรมเทเลคอมของอินเดีย ก็เกิดขึ้นในปี 2016
เมื่อ Mukesh Ambani ได้ก่อตั้งบริษัทย่อยของ Reliance Industries ในชื่อ “Jio” ซึ่งเป็นบริษัท
ที่เน้นบริการด้านเทคโนโลยี รวมถึงการให้บริการโทรคมนาคมแบบเดียวกับ RCom ด้วย
ด้วยชื่อเสียงของ Reliance Industries ก็ทำให้ Jio มีจำนวนผู้ใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กำไรของบริษัทที่เป็นหนึ่งในผู้นำตลาดอย่าง Airtel ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และทำให้อีก 2 บริษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดรองลงมาอย่าง Vodafone และ Idea ต้องควบรวมกิจการกัน
ในเวลาต่อมาบริษัท Jio ของ Mukesh Ambani ก็กลายมาเป็นบริษัทเทเลคอมที่ใหญ่สุดในอินเดีย ส่วน RCom ของ Anil ที่ย่ำแย่อยู่แล้ว ก็หายไปจากการแข่งขันในตลาดเทเลคอม จนทำให้บริษัทขาดทุนและกลายเป็นหนี้มหาศาล
RCom ต้องยอมขายสินทรัพย์ของกิจการบางส่วนให้กับ Jio เพื่อลดหนี้
แต่นั่นก็ยังไม่ช่วยให้สถานการณ์ของ RCom ดีขึ้น
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2013 RCom ได้ทำข้อตกลงกับ Ericsson โดยจ้างให้ Ericsson มาเป็นผู้บริหารเครือข่ายในบริเวณทางเหนือและตะวันตกของอินเดีย แต่ผลจากการขาดทุนต่อเนื่องก็ทำให้ RCom ไม่มีเงินจ่ายให้ Ericsson ตั้งแต่ปี 2016
RCom ติดหนี้ Ericsson 2.46 พันล้านบาท ซึ่ง RCom ก็ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตามกำหนด และขอเลื่อนเวลาการจ่ายหนี้ออกไปเรื่อย ๆ ซึ่งสุดท้ายแล้ว RCom จ่ายหนี้ได้เพียง 528 ล้านบาท นำไปสู่การถูกฟ้องร้องในเวลาต่อมา
ศาลสูงสุดจึงมีคำตัดสินว่า ถ้าภายใน 1 เดือน RCom ยังจ่ายหนี้ให้ Ericsson ไม่ได้ Anil จะต้องถูกจำคุก 3 เดือน
สุดท้ายแล้วพี่ชายของ Anil Ambani อย่าง Mukesh ก็เข้ามาช่วย
โดยการจ่ายหนี้ที่เหลือ มูลค่ากว่า 2 พันล้านบาทให้
ในขณะที่ บริษัท RCom ก็ต้องยื่นล้มละลาย
แต่เรื่องราวยังไม่จบแค่นั้น เพราะ RCom ยังมีหนี้ก้อนใหญ่อีกก้อน ที่กู้ยืมมาจาก 3 ธนาคารขนาดใหญ่ของจีน ทั้ง ICBC, China Development Bank และ EXIM Bank of China เป็นมูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท
ทั้ง 3 ธนาคารจึงยื่นฟ้อง RCom และ Anil Ambani..
ช่วงต้นปี 2020 ที่ผ่านมา ซึ่ง Anil ได้พูดระหว่างพิจารณาคดีออนไลน์กับศาลของประเทศอังกฤษว่า เขาไม่มีเงินใช้หนี้ เพราะความมั่งคั่งของเขาตอนนี้ใกล้จะเป็นศูนย์แล้ว.. ซึ่งจนถึงตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าเขาจะหาเงินจากไหนมาใช้หนี้
จากความขัดแย้งเพื่อแย่งกิจการกันเองในครอบครัว บวกกับการบริหารธุรกิจที่ผิดพลาด การทุ่มเงินลงทุนขนาดใหญ่แต่ได้ผลลัพธ์แย่กว่าที่คาด ทำให้บริษัทก่อหนี้ก้อนโต
ทั้งหมดนี้ก็ได้ส่งผลไปยังทรัพย์สินของผู้ที่เคยรวยติดอันดับ 6 ของโลกอย่าง Anil Ambani ได้หายไปเกือบหมด ในขณะที่พี่ชายที่เติบโตมาพร้อมกัน กลับเดินสวนทางกัน เพราะประสบความสำเร็จในธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นเศรษฐี ที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย นั่นเอง
ถ้าใครเชื่อว่าชีวิตของเราถูกกำหนดมาแล้วตั้งแต่เกิด
เกิดมาในครอบครัวที่รวย ก็ย่อมมีแรงส่งให้พวกเขารวยขึ้น
ซึ่งมันก็เป็นจริงในหลายกรณี
แต่ในบางกรณี มันก็อาจเป็นตรงกันข้าม
ซึ่งอย่างน้อย มันก็เกิดขึ้นแล้วกับ Anil Ambani น้องชายของ มหาเศรษฐี ที่รวยสุดในเอเชีย นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.businessinsider.in/thelife/personalities/news/anil-ambanis-journey-from-42-billion-net-worth-to-claiming-poverty/articleshow/74028627.cms
-https://www.scmp.com/magazines/style/celebrity/article/3093874/mukesh-vs-anil-why-did-one-ambani-brother-go-bankrupt
-https://economictimes.indiatimes.com/industry/telecom/telecom-news/from-glory-to-dust-an-ambani-brands-journey-to-bankruptcy/articleshow/67837769.cms?from=mdr
-https://www.businesstoday.in/latest/economy-politics/story/anil-ambani-road-to-bankruptcy-how-the-brother-of-indias-richest-man-lost-his-way-271119-2020-08-25
-https://www.moneycontrol.com/news/business/a-timeline-of-reliance-communications-versus-ericsson-case-3661261.html
-https://youtu.be/dBH0E20kc30
-https://www.forbes.com/forbes/2008/0324/080.html?sh=3e185f910f2e
-https://en.wikipedia.org/wiki/Reliance_Industries
-https://en.wikipedia.org/wiki/Reliance_Group
apple china 在 菜班長 Youtube 的最讚貼文
Please subscribe to 《菜班長》 Channel on YouTube if you like my videos
喜歡請按讚分享訂閱唷
《iPhone13》信義A13 - Apple 直營店 預購取貨 iPhone13 PRO開箱
Apple信義A13(英語:Apple Xinyi A13)是蘋果公司在臺灣臺北市信義區開設的一家Apple Store(蘋果直營店),於2019年6月15日正式開業,是繼Apple 臺北101之後在臺灣及臺北市的第二家Apple Store[註 1],亦是全球第506家、在臺第一家獨立街邊店、以及在臺第一家旗艦店規格的Apple Store[1]。店名源自其所在的信義計畫區A13號地塊,與其建築後方於2019年12月25日開幕的遠百信義A13屬同一地塊,位處信義商圈的核心區域。建築設計為地上、地下各一層,地下一樓與遠百信義A13相連通。
該店目前提供產品的體驗和購買、Today at Apple講座、Genius Bar天才吧等,155名店員有一半來自其他蘋果直營店,總計可說超過10種語言。
apple china 在 豐富 Youtube 的最佳解答
主持人:陳鳳馨
來賓:丁學文
主題:一週國際經濟趨勢
📌《經濟學人》The real lessons from 9/11 談 911 二十週年美國外交政策變化
📌《經濟學人》Why nations that fail women fail 談女性問題在全球外交政策的地位
📌《經濟學人》High-wire act 談全球經濟政策緊縮的影響
📌《經濟學人》China has become a laboratory for the regulation of digital technology 談中國科技監管的背後考量
節目時間:週一至週五 7:00-9:00am
本集播出日期:2021.09.15
#陳鳳馨 #TheEconomist #一週國際經濟趨勢
🔔 圖片取自:The Economist
https://www.economist.com/weeklyedition/2021-09-11
📣 更多 #財經起床號 專題影音:https://bit.ly/2QvBR55
🔍 馨天地
Apple Podcast:https://apple.co/3uVbXdQ
Google Podcast:https://reurl.cc/O0VrrA
KKBOX:https://bit.ly/3bezcYP
-----
▍九八新聞台@大台北地區 FM98.1
▍官網:http://www.news98.com.tw
▍粉絲團:https://www.facebook.com/News98
▍線上收聽:https://pse.is/R5W29
▍APP下載
• Apple App Store:https://news98.page.link/apps
• Google Play:https://news98.page.link/play
▍YouTube頻道:https://www.youtube.com/user/News98radio
▍Podcast
• Himalaya:https://www.himalaya.com/news98channel
• Apple Podcast:https://goo.gl/Y8dd5F
• SoundCloud:https://soundcloud.com/news98
apple china 在 Nini Music Youtube 的最佳解答
Join My Patreon + Get your own cover: https://www.patreon.com/ninimusic
Download My Music (for free): https://ninimusic.bandcamp.com/releases
♬Stream It ▹
► Spotify: https://spoti.fi/3pw57Jl
► Apple Music: https://apple.co/3nr0AWH
♬SUPPORT ▹ Venmo/Cashapp: ninimusic
paypal.me/ninimusic1001 or ninimusic1001@gmail.com
♬FOLLOW ME ▹ Inst- http://instagram.com/ninimusic1001
FB- https://www.facebook.com/NINIMUSIC1001/
#volare #gipsykings #deanmartin #asianinstrument #chienseinstrument #folkinstrument #instrumental #remix #loungemusic #relaxing #studymusic #chillhop #lofi #liuqin
apple china 在 老唱片- 苹果(中国)2015 新春广告 的推薦與評價
Find out why and what happens. Less. Wei Siong · Ads / Marketing / brand advertising promo Research Board · Movie Talk · Brand Advertising · Chinese Movies. ... <看更多>
apple china 在 The Old Record - Apple (China) 2015 Lunar New ... - YouTube 的推薦與評價
Copyright claimed by 上海灿星文化传媒股份有限公司(Shanghai Canxing Culture & Media Co. Limited) 老唱片- 苹果(中国)2015 新春广告2015.02.01 ... ... <看更多>
相關內容