ทำไม อิตาลี จึงเป็นประเทศแห่ง แฟชั่นและดีไซน์? / โดย ลงทุนแมน
รสนิยมด้านศิลปะของอิตาลีคือความเป็นเลิศ
ทั้งความสง่างาม เสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ และเต็มไปด้วยทักษะในงานฝีมือ
ทั้งหมดล้วนถ่ายทอดผ่านแบรนด์เครื่องแต่งกายอิตาลีที่คนทั้งโลกรู้จัก
Giorgio Armani คือนิยามของความเรียบหรูที่มีสไตล์
Prada เป็นต้นตำรับของคำว่า “น้อยแต่มาก”
ส่วนความฉูดฉาด และเซ็กซี่คือเสน่ห์อมตะของ Versace
แต่เอกลักษณ์ที่ทุกแบรนด์อิตาลีล้วนมีเหมือนกัน
ก็คือ การทำให้จินตนาการสามารถนำมาสวมใส่ได้ในโลกแห่งความเป็นจริง
ชาวอิตาลีมีความพิถีพิถันในการแต่งกายอยู่ในสายเลือด
ฟลอเรนซ์เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมการแต่งกายของโลกตะวันตกในยุคเรอแนซองซ์
และปัจจุบัน มิลานคือ 1 ใน 4 เมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดของวงการแฟชั่นระดับโลก
อะไรที่ทำให้งานออกแบบของอิตาลีอยู่ในระดับแถวหน้าของโลกแห่งเครื่องแต่งกาย?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม อิตาลี จึงเป็นประเทศแห่ง แฟชั่นและดีไซน์?
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ. 2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
แฟชั่นอิตาลีถือกำเนิดก่อนที่อิตาลีจะก่อตั้งเป็นประเทศ..
ในยุคเรอแนซองซ์ นครรัฐฟลอเรนซ์ที่ตั้งอยู่ ณ ใจกลางคาบสมุทรอิตาลี
ทำให้เมืองนี้เป็นศูนย์กลางการค้าขนสัตว์ของยุโรป
Arte della Lana หรือสมาคมค้าขนสัตว์แห่งฟลอเรนซ์ถูกก่อตั้งในศตวรรษที่ 15 ซึ่งก่อให้เกิดการค้าขายที่คึกคัก ผลักดันให้เมืองแห่งนี้เติบโตจนกลายเป็นศูนย์กลางการเงินของโลกตะวันตก
ภายใต้การอุปถัมภ์ของตระกูลเมดิชี ฟลอเรนซ์รุ่งเรืองจนพ่วงตำแหน่งศูนย์กลางศิลปะ เป็นแหล่งรวมช่างฝีมือสาขาต่างๆ ทั้งสถาปัตยกรรม ประติมากรรม รวมไปถึงเครื่องแต่งกาย
มีช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญการผสมสีและทอผ้าเฉพาะตัว ไปจนถึงเทคนิคการฟอกหนังที่ไม่เหมือนใคร และขึ้นชื่อว่าดีที่สุดในโลก
แคทเทอรีน เดอ เมดิชี ชาวฟลอเรนซ์ที่ต่อมากลายมาเป็นราชินีของฝรั่งเศส เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้หญิงที่แต่งตัวดีที่สุดในยุคเรอแนซองซ์
แต่แฟชั่นคือกิจการของชนชั้นสูง เมื่อนครรัฐบนคาบสมุทรอิตาลีเริ่มเสื่อมถอย และความเจริญเคลื่อนย้ายไปยังยุโรปเหนือ แฟชั่นของอิตาลีก็ค่อยๆ เลือนหายไป โดยมีแฟชั่นฝรั่งเศสก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในโลกตะวันตกแทน
เวลาผ่านไปจนเข้าสู่ศตวรรษที่ 19 นครรัฐน้อยใหญ่บนคาบสมุทรอิตาลีก็รวมประเทศสำเร็จในปี ค.ศ. 1861 พร้อมรับอิทธิพลการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป โดยมีเขตอุตสาหกรรมหนาแน่นในที่ราบตอนเหนือ
แต่ผลของการรวมประเทศ กลับทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ
รัฐทางภาคเหนือของอิตาลี ซึ่งมีเมืองใหญ่อย่าง มิลานและตูริน
ที่ร่ำรวยจากการเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมเหล็กกล้า ต่อเรือ สิ่งทอ และผลิตอาหาร
ในขณะที่รัฐทางภาคใต้ ยังคงเป็นเขตเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่จึงยังคงมีฐานะยากจน
ซ้ำยังต้องเสียภาษีเพื่อนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตภาคเหนือ
ความเหลื่อมล้ำนี้ ทำให้ในช่วงปี ค.ศ. 1890 - ค.ศ. 1910 ชาวอิตาลีหลายล้านคน ที่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ ตัดสินใจอพยพหนีความแร้นแค้นไปตั้งถิ่นฐานยังสหรัฐอเมริกา
แต่การรวมชาติก็ทำให้เกิดค่านิยมในการต่อต้านสินค้าแฟชั่นจากฝรั่งเศส และหันมาใช้เสื้อผ้าที่ผลิตภายในอิตาลีมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่อิตาลีเข้าสู่การปกครองในระบอบเผด็จการฟาสซิสต์
เหล่านักออกแบบของอิตาลีจึงเริ่มสร้างสรรค์ “แบรนด์” เป็นของตัวเอง
โดยมีเวทีแห่งแรกก็คือ ฟลอเรนซ์ ซึ่งเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงด้านเครื่องหนังและการฟอกหนังมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 15
Gucci
หลังจากทำงานที่โรงแรมในกรุงลอนดอน และได้สัมผัสกระเป๋าของนักเดินทางมากมาย Guccio Gucci ได้กลับมาเปิดร้านเครื่องหนังที่ฟลอเรนซ์บ้านเกิดในปี ค.ศ. 1921 โดยมีสินค้าหลักคือกระเป๋าหนัง
ด้วยคุณภาพของเครื่องหนัง Gucci จึงสามารถตั้งราคาให้สูงขึ้น และวางตำแหน่งให้กลายเป็นสินค้าสำหรับชนชั้นสูง ก่อนจะขยายสินค้าไปทำถุงมือ เข็มขัด และเครื่องหนังสำหรับการขี่ม้าในเวลาต่อมา
Salvatore Ferragamo
นอกจากกระเป๋า อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้เครื่องหนัง ก็คือ “รองเท้า”
หลังจากเรียนกายวิภาคศาสตร์และใช้ชีวิตในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลานับสิบปี ช่างทำรองเท้า Salvatore Ferragamo ก็ได้กลับมาเปิดร้านรองเท้าของตัวเองที่ฟลอเรนซ์ในปี ค.ศ. 1927
และเป็นผู้ริเริ่มการออกแบบรองเท้าส้นเตารีด
หลายร้อยปีหลังจากยุคเรอแนซองซ์ ฟลอเรนซ์ก็ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางแฟชั่นของอิตาลีอีกครั้ง และยังเป็นศูนย์กลางของห้องเสื้อชั้นสูงของอิตาลี หรือเรียกในภาษาอิตาลีว่า Alta Moda
แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่ห่างไกลจากเขตอุตสาหกรรมทางตอนเหนือของประเทศ ทำให้การคมนาคมขนส่งไม่สะดวกเท่าที่ควร อีกทั้งยังห่างไกลจากลูกค้านักธุรกิจ ทำให้บรรดาดีไซเนอร์ต่างเริ่มย้ายโชว์รูมแฟชั่นไปตั้งยังเมืองทางตอนเหนือ คือ “มิลาน”
มิลาน ตั้งอยู่ใจกลางที่ราบกว้างใหญ่ทางตอนเหนือของอิตาลี รายล้อมด้วยเขตอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดของประเทศ มีระบบโครงข่าย ทั้งรถไฟ ถนน และแม่น้ำ และที่สำคัญ มิลาน เป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์แห่งเดียวของอิตาลี สำนักของสื่อมวลชน และสถาบันการเงินมากมาย
มิลานยังเป็นที่ตั้งของสถาบันศิลปะและการออกแบบมากมาย ที่ถ่ายทอดความสามารถด้านศิลปะสืบต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น ทั้ง Brera Academy สถาบันศิลปะที่มีอายุมากกว่า 200 ปี
Domus Academy มีชื่อเสียงในด้านการออกแบบแฟชั่น
และ University of Milan มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในมิลาน ซึ่งมีศิษย์เก่าคือ Giorgio Armani และ Miuccia Prada
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้อิตาลีจะบอบช้ำจากสงคราม แต่ก็ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากสหรัฐอเมริกาผ่านแผนการมาร์แชลล์ ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจอิตาลีเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษ 1950s-1970s
เมื่อมีทั้งเงิน ลูกค้า และสถาบันการออกแบบ เศรษฐกิจของมิลานก็โตวันโตคืน
อุตสาหกรรมที่ถูกวางให้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอิตาลีก็คือ “อุตสาหกรรมแฟชั่น”
โดยหนึ่งในแรงผลักดันสำคัญ ก็คือ ชาวอิตาลีที่อพยพไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกาหลายล้านคน..
เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ที่อพยพจากอิตาลีไปอยู่ในสหรัฐอเมริกาก็เติบโตเป็นพ่อค้าหรือนักธุรกิจ
อุปนิสัยที่โดดเด่นของชาวอิตาลี ก็คือการคงความสัมพันธ์กับเครือญาติอย่างแน่นแฟ้น
ถึงแม้จะมาเป็นผู้อพยพในทวีปใหม่ ก็ยังคงไปมาหาสู่ ให้ความช่วยเหลือญาติในบ้านเกิดอยู่เสมอ และพร้อมสนับสนุนสินค้าจากอิตาลี บ้านเกิดของตนเองอย่างเต็มที่
ในฟลอเรนซ์ มีการจัดงานแฟชั่นโชว์เสื้อผ้าชั้นสูงในระดับนานาชาติเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1951
ส่วนในมิลาน ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจยุคหลังสงคราม ดึงดูดให้เหล่าดีไซเนอร์พากันมาเปิดโชว์รูมแห่งแรกของแบรนด์ที่นี่ นำมาสู่การจัดตั้งหอการค้าแฟชั่นแห่งชาติอิตาลี หรือ Camera Nazionale della Moda Italiana ซึ่งเป็นผู้ผลักดันให้เกิด Milan Fashion Week เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1958
ด้วยการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ และฐานลูกค้าที่เหนียวแน่น
ไม่นาน มิลานก็ก้าวขึ้นมาเป็นผู้กำหนดเทรนด์แฟชั่นโลกในช่วงทศวรรษ 1970s
ด้วยการนำเสนอเสื้อผ้าสำเร็จรูป (Ready-to-wear) หรือศัพท์ในวงการแฟชั่นว่า Prêt-à-porter ที่มีความสวยงาม สะดวก ราคาถูกลง แต่ยังคงความโก้หรู นับเป็นการปฏิวัติวงการแฟชั่นครั้งสำคัญ และแจ้งเกิดแบรนด์เนมอิตาลีชื่อดัง
Giorgio Armani
หลังจากเป็นดีไซเนอร์ฟรีแลนซ์มาหลายปี Giorgio Armani ได้ตัดสินใจขายรถเพื่อก่อตั้งแบรนด์ของตัวเองในปี ค.ศ. 1975
ด้วยสไตล์ที่เรียบง่าย แต่ชัดเจน
เลือกใช้สีกลางๆ แต่ทำให้เสื้อผ้างามสง่า
เมื่อได้ถูกเผยแพร่มายังสหรัฐอเมริกา ผ่านการออกแบบเสื้อผ้าให้ดาราฮอลลีวูดอย่าง Richard Gere แบรนด์ Giorgio Armani ก็ได้รับความนิยมอย่างสูง และก้าวสู่จุดสูงสุดด้วยชุด “Power Suit” ในช่วงทศวรรษ 1980s
Versace
นักออกแบบจากอิตาลีตอนใต้ Gianni Versace ก่อตั้งแบรนด์ตัวเองในปี ค.ศ. 1978
โดยมีการนำสีสันที่อบอุ่นจากตอนใต้ และการใช้คู่สีที่สะดุดตามาผสมผสานในงานออกแบบเสื้อผ้า ทำให้ได้เสื้อผ้าที่ฉูดฉาดและเซ็กซี่
Prada
จุดเริ่มต้นของ Prada ย้อนไปไกลถึงปี ค.ศ. 1913 จากการก่อตั้งโรงงานเครื่องหนังของ Mario Prada แต่ผู้ที่ทำให้ Prada โด่งดังไปทั่วโลก คือหลานสาว Miuccia Prada
Miuccia Prada เป็นผู้ที่เลือกผ้าไนลอนมาทำเป็นกระเป๋าถือแทนการใช้หนังสัตว์ จนทำให้กระเป๋าสีดำ Black Nylon Backpack โด่งดังไปทั่วโลกในช่วงปี ค.ศ. 1985 และเปลี่ยนโฉมหน้าของ Prada ให้มีสินค้าอื่นๆ นอกจากกระเป๋า ทั้งเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องประดับ ซึ่งภายหลัง Miuccia ก็ได้ตั้งแบรนด์ลูกขึ้นมาภายใต้ชื่อ “Miu Miu”
ด้วยความสามารถในการออกแบบของดีไซเนอร์อิตาลี
นอกจากเสื้อผ้าแล้ว เหล่าแบรนด์เนมต่างก็ต่อยอดไปสู่สินค้าและบริการอื่นๆ
ทั้ง Giorgio Armani ที่มีกิจการร้านอาหารและโรงแรมหรู
ส่วน Versace มีกิจการโรงแรม เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ในครัวเรือน
อิตาลี คือดินแดนแห่งอารยธรรมล้ำค่า นับตั้งแต่จักรวรรดิโรมัน นครรัฐในยุคเรอแนซองซ์ มาจนถึงยุครวมชาติอิตาลี
ถึงแม้อารยธรรมจะรุ่งเรืองและเสื่อมสลาย
แต่สิ่งที่ผ่านกาลเวลามาได้คือศิลปะและความคิดสร้างสรรค์
ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไร กลับไม่สามารถทำลายคุณค่าของดีไซน์อิตาลี
แม้เหล่าสินค้าแฟชั่นจะเจอความท้าทายจาก Fast Fashion
แต่ด้วยการออกแบบที่เปี่ยมไปด้วยรสนิยม และคุณภาพที่สั่งสมมานาน
แฟชั่นของอิตาลีจึงยังคงครองใจผู้คนทั้งโลก อย่างที่สินค้าเทคโนโลยีล้ำสมัยก็ทำอะไรไม่ได้
เทคโนโลยีผ่านเข้ามาและผ่านไป แต่ดีไซน์อิตาลีก็น่าจะยังคงยืนหยัดตั้งตระหง่าน ไม่แพ้เสาโรมัน ที่เห็นทันทีก็รู้ว่า ต้นแบบแห่งการดีไซน์ ได้ถือกำเนิดขึ้น ที่ดินแดนแห่งนี้..
อ่านซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit blockdit.com/download
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ. 2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-Fashionary, The Live of 50 Fashion Legends
-https://www.researchgate.net/profile/Simona_Segre_Reinach/publication/318591733_The_meaning_of_%27Made_in_Italy%27_in_fashion/links/59fadce7458515d20c7d962b/The-meaning-of-Made-in-Italy-in-fashion.pdf?origin=publication_detail
-https://www.crfashionbook.com/fashion/a26330899/history-of-italian-fashion-designers/
-https://www.metmuseum.org/toah/hd/itfa/hd_itfa.htm
-https://fashionweekweb.com/milan-fashion-week
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過160萬的網紅ブライトサイド | Bright Side Japan,也在其Youtube影片中提到,皆さんは、普段、目にする食品や日用品について良く知っていますか?実はそれらの裏には、科学的なトリビアが色々と隠れているんです。市販のクッキーやクラッカーに穴があいているのはなぜでしょう? 今回ご紹介するのは、そんな毎日に隠れた様々な科学トリビアです! 視覚素材: Warp and weft yar...
「1980s fashion history」的推薦目錄:
- 關於1980s fashion history 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於1980s fashion history 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於1980s fashion history 在 Joyce's Mama Note Facebook 的最佳貼文
- 關於1980s fashion history 在 ブライトサイド | Bright Side Japan Youtube 的最佳貼文
- 關於1980s fashion history 在 THE ULTIMATE FASHION HISTORY: The 1980s - YouTube 的評價
- 關於1980s fashion history 在 1980s Fashion: Styles, Trends & History - Pinterest 的評價
- 關於1980s fashion history 在 The History of '80s Fashion in Vogue, Narrated by Sarah ... 的評價
1980s fashion history 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
ทำไม ฝรั่งเศส จึงเป็นประเทศแห่ง แบรนด์หรู? ตอนที่ 2 /โดย ลงทุนแมน
ปลายศตวรรษที่ 19 ความสำเร็จจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ทำให้เหล่ามหาอำนาจในยุโรปต่างแข่งขันกันล่าอาณานิคมเพื่อตอบสนองความต้องการวัตถุดิบ
ฝรั่งเศสเติบโตจนกลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้อังกฤษ
อาณานิคมของฝรั่งเศสแผ่ขยายจากแอฟริกาตะวันตก ไล่ไปจนถึงคาบสมุทรอินโดจีน
กรุงปารีสที่งามสง่า ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงาน World Expo ในปี ค.ศ. 1889
โดยมีสัญลักษณ์ของงาน ซึ่งต่อมากลายเป็นสัญลักษณ์ของฝรั่งเศส ก็คือ “หอไอเฟล”
ฝรั่งเศสซึ่งเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของยุโรปมานานตั้งแต่สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ในเวลานี้ วัฒนธรรมฝรั่งเศสกำลังแผ่ขยายไปทั่วโลก
เช่นเดียวกับวงการแฟชั่นฝรั่งเศส..
ชายคนหนึ่งจะเป็นผู้เปลี่ยนแปลงวิธีการนำเสนอเครื่องแต่งกาย
และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งที่เรียกว่า “การเดินแฟชั่นโชว์”
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ. 2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม ฝรั่งเศส จึงเป็นประเทศแห่ง แบรนด์หรู? ตอนที่ 2
Charles Frederick Worth นักออกแบบชาวอังกฤษ
ผู้ข้ามมาเปิดห้องเสื้อ House of Worth ที่ปารีสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1858
เสื้อผ้าของ Worth ล้วนตัดเย็บด้วยมือ ใช้เนื้อผ้าราคาแพง และวัสดุตกแต่งที่หรูหรา
ถึงแม้จะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดโรงงานสิ่งทอ
แต่ลูกค้ากลุ่มที่มีฐานะ กลับต้องการเสื้อผ้าที่ตัดเย็บด้วยมือ เพื่อแสดงเอกลักษณ์เฉพาะตัว และไม่อยากซ้ำกับใคร เสื้อผ้าของ Worth จึงได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้าเหล่านี้
Worth ยังเป็นผู้เปลี่ยนวิธีการนำเสนอเสื้อผ้าให้กับลูกค้า
จากเดิมที่ลูกค้าจะเป็นคนแนะนำแบบของเสื้อผ้าให้กับช่างตัดเสื้อ
คราวนี้ช่างตัดเสื้อจะเป็นผู้คิดและแสดงแบบให้แก่ลูกค้าเอง โดยไม่โชว์บนหุ่นอีกต่อไป
แต่โชว์บนร่างคนจริงๆ
และนี่คือจุดเริ่มต้นของการจัดแสดงแฟชั่นโชว์เป็นครั้งแรกของโลก
การแสดงแฟชั่นโชว์ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ฤดูกาลแฟชั่น” ที่จะมีการเปลี่ยนแบบเสื้อผ้ากันปีละ 2 ถึง 4 ครั้ง ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการแฟชั่น จากชุดที่สามารถสวมใส่ได้ตลอด
ก็อาจกลายเป็นชุดที่ล้าสมัยได้เมื่อเวลาผ่านไป..
ต่อมาลูกชายของ Charles ชื่อว่า Gaston Lucien Worth
เป็นผู้ผลักดันให้มีการก่อตั้งสมาคมช่างเสื้อชั้นสูง
“La Chambre Syndicale de la Haute Couture”
ซึ่งเป็นการยกระดับการตัดเย็บเสื้อผ้า จากช่างฝีมือให้กลายเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง
คำว่า Haute Couture หรือ “โอตกูตูร์” มีความหมายถึงศิลปะการตัดเย็บชั้นสูง
ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1908
ตามมาด้วยการจัดตั้งวิทยาลัยเสื้อผ้าชั้นสูง École de la Chambre Syndicale de la Couture Parisienne (ECSCP) ในปี ค.ศ. 1927
เพื่อให้เป็นสถาบันเพื่อสร้างนักออกแบบเสื้อโอตกูตูร์โดยเฉพาะ
การจะเป็นห้องเสื้อโอตกูตูร์นั้น ไม่ได้เป็นกันง่ายๆ จะต้องได้รับการรับรองจากสมาคมโอตกูตูร์ ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีข้อจำกัดดังต่อไปนี้
1. ต้องเป็นงานออกแบบด้วยมือทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ โดยไม่มีการใช้เครื่องจักรใดๆ
2. ต้องเป็นการดีไซน์แบบ Made-to-order สำหรับลูกค้าเฉพาะรายเท่านั้น
3. ต้องมี Atelier หรือสตูดิโออยู่ในกรุงปารีสเท่านั้น และใน Atelier ต้องมีพนักงานแบบทำงานเต็มเวลาอย่างน้อย 15 คน
4. ในทุกฤดูกาล จะต้องมีการโชว์ Collection อย่างน้อย 35 ดีไซน์ ทั้งชุดกลางวันและชุดราตรีสู่สาธารณชน
แบรนด์ฝรั่งเศสมี Story ของความหรูหราที่ดึงดูดลูกค้าทั่วโลกมาเป็นเวลาหลายร้อยปี
แต่การมีทั้งสมาคมรับรอง และมีโรงเรียนสอนการตัดเย็บเสื้อผ้าโอตกูตูร์
ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่กำหนดความหรูหรา ให้มี “มาตรฐาน”
และสร้างแบรนด์เสื้อผ้าฝรั่งเศสให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความหรูหราอย่างเป็นทางการ
แล้วแบรนด์ฝรั่งเศส แบรนด์ไหนบ้างที่อยู่ในโอตกูตูร์?
ส่วนใหญ่แล้ว ล้วนเป็นแบรนด์ที่คนทั่วโลกคุ้นเคยกันดี
ทั้ง Chanel, Dior และ Jean Paul Gaultier
นอกจากความหรูหราแล้ว แต่ละแบรนด์ล้วนทรงอิทธิพลต่อวงการแฟชั่นของโลกตลอดช่วงเวลาต่างๆ
ทศวรรษ 1920s-1930s
สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1918 ทศวรรษนี้จึงเป็นช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ ในขณะที่เหล่าบรรดาเศรษฐียังคงใช้ชีวิตกันตามปกติ
Gabrielle Chanel เริ่มต้นเส้นทางสายแฟชั่นจากการเปิดร้านขายหมวกให้กับเหล่าบรรดาเศรษฐี ก่อนจะพัฒนามาเปิดร้านขายเสื้อผ้าในปี ค.ศ. 1913
ชื่อเสียงของ Chanel โด่งดังด้วยการนำเสนอชุดผู้หญิงที่สลัดกระโปรงยาวรุ่มร่ามในยุคก่อน
ออกไปจนหมด เปลี่ยนเป็นชุดเรียบง่าย เก๋ไก๋ และนำความเป็นผู้ชายมาประยุกต์ให้เข้ากับชุดของผู้หญิง เกิดเป็นชุดสูทของ Chanel ที่เป็นเอกลักษณ์มาจนถึงปัจจุบัน
ทศวรรษ 1940s-1950s
สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 โดยที่กรุงปารีสไม่ได้รับความเสียหายอะไรเลย เนื่องจากในตอนนั้นกองทัพนาซีเยอรมันยึดครองกรุงปารีสได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ได้มีการต่อสู้กันหนักในกรุงปารีส
อย่างไรก็ตาม ผู้คนที่ผ่านความหดหู่และสูญเสีย ต่างคิดถึงวิถีชีวิตหรูหราช่วงก่อนสงคราม
ส่งผลให้วงการแฟชั่นฝรั่งเศสหวนกลับไปหาสไตล์ออกแบบเดิมอีกครั้ง คือ การใช้ผ้าฟุ่มเฟือย
Christian Dior ปฏิวัติวงการด้วยการนำเสนอแฟชั่น “New Look” ในปี ค.ศ. 1947
ด้วยชุดเข้ารูป เข้าเอว อวดทรวดทรง และกระโปรงสุ่มบาน
การเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงหลังสงคราม ทำให้วงการแฟชั่นเติบโตขึ้น
มีการตั้งนิตยสารแฟชั่นชื่อดังของฝรั่งเศสชื่อ ELLE ในปี ค.ศ. 1945
การมีพร้อมทั้งนักออกแบบ และสื่อแฟชั่น ยิ่งตอกย้ำความเป็นศูนย์กลางแฟชั่นของกรุงปารีสในช่วงทศวรรษที่ 1950
แต่สิ่งที่ทุกคนไม่คาดคิดก็คือ Christian Dior จากไปในปี ค.ศ. 1957 ด้วยวัยเพียง 52 ปี
โดยมีการวางตัวผู้สืบทอดคือ Yves Saint Laurent
ทศวรรษ 1960s-1970s
ท่ามกลางการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และวิถีชีวิตที่เร่งรีบของชาวอเมริกันได้แพร่หลายไปทั่วโลก ทำให้แฟชั่นหรูหราราคาแพงอย่าง โอตกูตูร์ เริ่มไม่ตอบโจทย์กับชีวิตจริง
Yves Saint Laurent ได้ปฏิวัติวงการแฟชั่นด้วยการบุกเบิกเสื้อผ้าสำเร็จรูป Ready to Wear
หรือภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า “Prêt-à-Porter” (เพร-อา-ปอร์เต)
Prêt-à-Porter มีความสวยงาม สะดวก ราคาถูกลง แต่ยังคงความโก้เก๋ เพื่อยังครอบครองตลาดแฟชั่นส่วนใหญ่ได้
แบรนด์เนมต่างๆ จึงหันมาให้ความสำคัญกับฐานลูกค้ากลุ่มนี้ มีการนำกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมมาใช้ในการผลิตเสื้อผ้า ทำให้สามารถขยายฐานการผลิตได้มากขึ้น
และในช่วงนี้เอง โอตกูตูร์ที่มีฐานลูกค้าที่จำกัด จึงค่อยๆ หมดความสำคัญลงในแง่ของการตลาด
ทศวรรษ 1980s
การสื่อสารที่สะดวกสบายมากขึ้น ทำให้มีการนำสื่อมวลชน และดาราระดับโลกมาเป็นพรีเซ็นเตอร์แบรนด์ รูปลักษณ์และการสร้างแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญมากขึ้น
Jean Paul Gaultier มีการนำเสนอความยั่วยวนผ่านรูปแบบแฟชั่นที่หวือหวา เช่น การนำชุดชั้นในมาไว้ด้านนอก ผ่านดาราฮอลลีวูดชื่อดัง Madonna เป็นผู้นำเสนอแบบเสื้อผ้า
ในช่วงทศวรรษนี้ แฟชั่นฝรั่งเศสเผชิญความท้าทายมากมาย
ทั้งการแข่งขันกับเมืองอื่นๆ ในการเป็นศูนย์กลางแฟชั่นของโลกทั้งมิลาน นิวยอร์ก และกรุงลอนดอน
รวมถึงแบรนด์แฟชั่นเริ่มถูกนำทางด้วยธุรกิจ ผลกำไร แทนความคิดสร้างสรรค์ที่เคยมีอย่างอิสระ ทำให้บทบาทของโอตกูตูร์ลดความสำคัญลงมามาก แบรนด์ต่างๆ เปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่ โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม การสั่งสม Story มาอย่างยาวนาน
ความพร้อมทั้งการมีสมาคมและภาคอุตสาหกรรมที่เข้มแข็ง
มีสถาบันการศึกษา มีนักออกแบบ มีสื่อแฟชั่นและนักวิจารณ์
ทำให้แฟชั่นฝรั่งเศสยังคงสามารถกำหนดเทรนด์แฟชั่นของโลกได้ และดึงดูดลูกค้ากระเป๋าหนักจากทั่วโลกให้มาจับจ่ายใช้สอย
เพราะในสายตาของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นคนอเมริกัน ญี่ปุ่น เกาหลี จีน หรือคนไทย
เสื้อผ้าแบรนด์ฝรั่งเศสยังคงมีความหรูหรา ดูดี และมีสไตล์เป็นเอกลักษณ์อยู่เสมอ
แต่รู้หรือไม่ว่า สำหรับคนฝรั่งเศสผู้มีความเป็นตัวของตัวเองสูง กลับนิยมชมชอบร้านแฟชั่นท้องถิ่นมากกว่าแบรนด์เนมชื่อดัง โดยเฉพาะร้านขายเสื้อผ้าวินเทจ ไปจนถึงเสื้อผ้ามือสอง
ครัวเรือนชาวฝรั่งเศสใช้จ่ายเงินไปกับเสื้อผ้าคิดเป็นสัดส่วนเพียง 3.8%
ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปเกือบ 2 เท่า
แต่สิ่งที่ชาวฝรั่งเศสให้ความสำคัญมาก จนใช้จ่ายเกินค่าเฉลี่ยของสหภาพยุโรปก็คือ
“ค่าใช้จ่ายด้านอาหาร”
เพราะสำหรับคนฝรั่งเศสแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้การมีชีวิตอยู่ ก็คืออาหารการกิน
และสาเหตุนี้เองจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของอาชีพที่เราเรียกกันว่า “Chef”..
เตรียมพบกับซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ทำไมฝรั่งเศส จึงเป็นประเทศแห่ง Chef ทำอาหาร? ได้ในสัปดาห์หน้า..
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ. 2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.harpersbazaar.com/uk/fashion/fashion-news/news/a31123/the-history-of-haute-couture/
-https://ec.europa.eu/eurostat/web/products-eurostat-news/-/DDN-20180103-1?inheritRedirect=true
-https://ec.europa.eu/eurostat/de/web/products-eurostat-news/product/-/asset_publisher/VWJkHuaYvLIN/content/DDN-20181204-1/pop_up?_101_INSTANCE_VWJkHuaYvLIN_viewMode=print&_101_INSTANCE_VWJkHuaYvLIN_languageId=de_DE
-ประวัติศาสตร์แฟชั่น, ศาสตราจารย์ ดร.พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง
1980s fashion history 在 Joyce's Mama Note Facebook 的最佳貼文
雖然當記者時我不是跑時裝的,在巴黎也未見過Karl本尊,但這個噩耗確是令很多人也接受不了😢
Coco Chanel 的一切元素由 #老佛爺 去傳承至今,令整個品牌也展現出活力又不失優雅一面,還記得Chanel 以外,最深刻是Karl 也曾與 #DomPerignon 及 #ShuUemura 的Crossover ,總令人驚喜又不落俗套
有人形容這是 #一個時代的殞落 ,是,因為老佛爺真的太有才了,也是一個很可愛的老人家,怕胖只喝 Diet Coke ,坐私人飛機總要把咕𠱸墊在肚上有點安全感,有隻很矜貴的Choupette 貓🐈,愛攝影,也愛Art Direction ,堪稱 #Slash 之王,張張刀卻瓣瓣精,難得,前無古人,謝謝你曾帶給我們如此豐富流行元素,可以說即使是黑白及間條打扮也是由你帶領的
願好好安息🕊
It is with deep sadness that the House of CHANEL announces the passing of Karl Lagerfeld, the Creative Director for the CHANEL Fashion House since 1983.
An extraordinary creative individual, Karl Lagerfeld reinvented the brand’s codes created by Gabrielle Chanel: the CHANEL jacket and suit, the little black dress, the precious tweeds, the two-tone shoes, the quilted handbags, the pearls and costume jewelry. Regarding Gabrielle Chanel, he said, “My job is not to do what she did, but what she would have done. The good thing about Chanel is it is an idea you can adapt to many things.”
A prolific creative mind with endless imagination, Karl Lagerfeld explored many artistic horizons, including photography and short films. The House of CHANEL benefited from his talent for all the branding campaigns related to Fashion since 1987. Finally, one cannot refer to Karl Lagerfeld without mentioning his innate sense of repartee and self-mockery.
Alain Wertheimer, CEO of CHANEL, said: “Thanks to his creative genius, generosity and exceptional intuition, Karl Lagerfeld was ahead of his time, which widely contributed to the House of CHANEL’s success throughout the world. Today, not only have I lost a friend, but we have all lost an extraordinary creative mind to whom I gave carte blanche in the early 1980s to reinvent the brand.”
Bruno Pavlovsky, President of Fashion at CHANEL, said: “Fashion show after fashion show, collection after collection, Karl Lagerfeld left his mark on the legend of Gabrielle Chanel and the history of the House of CHANEL. He steadfastly promoted the talent and expertise of CHANEL’s ateliers and Métiers d’Art, allowing this exceptional know-how to shine throughout the world. The greatest tribute we can pay today is to continue to follow the path he traced by – to quote Karl – ‘continuing to embrace the present and invent the future’.”
Virginie Viard, Director of CHANEL’s Fashion Creation Studio and Karl Lagerfeld’s closest collaborator for more than 30 years, has been entrusted by Alain Wertheimer with the creative work for the collections, so that the legacy of Gabrielle Chanel and Karl Lagerfeld can live on.
The House of CHANEL offers his family, relatives and friends its deepest condolences.
1980s fashion history 在 ブライトサイド | Bright Side Japan Youtube 的最佳貼文
皆さんは、普段、目にする食品や日用品について良く知っていますか?実はそれらの裏には、科学的なトリビアが色々と隠れているんです。市販のクッキーやクラッカーに穴があいているのはなぜでしょう?
今回ご紹介するのは、そんな毎日に隠れた様々な科学トリビアです!
視覚素材:
Warp and weft yarns in weaving: By Alfred Barlow, Ryj, PKM - Adapted from The History and Principles of Weaving by Hand and by Power by , 1878, S. Low, Marston, Searle & Rivington, London., CC BY-SA 3.0 https://creativecommons.org/licenses/by-sa/3.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=94725908 Felis silvestris gordoni in Zoo Olomouc, the Czech Republic: By Michal Maňas, CC BY 2.5 https://creativecommons.org/licenses/by/2.5, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=9729904 CC BY-SA 4.0 https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0: 1980s fashion: pleated acid-washed jeans: By Abroe23, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=44879271 An unripe tomato, growing in a garden, Oxford, UK: By Prosthetic Head, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=65486290 Neanderthal Skeleton, AMNH: By Claire Houck, CC BY-SA 2.0 https://creativecommons.org/licenses/by-sa/2.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=4544692
アニメーション:
Bright Side
アニメーションはブライトサイドにより作成されています。
----------------------------------------------------------------------------------------
エピデミックサウンド https://www.epidemicsound.com
ブライトサイドのチャンネル登録 https://goo.gl/31w525
----------------------------------------------------------------------------------------
ストックマテリアル (写真、動画など):
https://www.depositphotos.com
https://www.shutterstock.com
https://www.eastnews.ru
1980s fashion history 在 1980s Fashion: Styles, Trends & History - Pinterest 的推薦與評價
Mar 31, 2014 - 1980s fashion can be commended for its creativity. What did people wear in the 1980s? Research 1980s fashion with a year-by-year timeline ... ... <看更多>
1980s fashion history 在 The History of '80s Fashion in Vogue, Narrated by Sarah ... 的推薦與評價
Sarah Jessica Parker narrates the history of 1980s fashion in Vogue. ... The History of ' 80s Fashion in Vogue, Narrated by. Sarah Jessic. ... <看更多>
1980s fashion history 在 THE ULTIMATE FASHION HISTORY: The 1980s - YouTube 的推薦與評價
In this episode of The Ultimate Fashion History, we head into The Eighties, where fashion was marked by an excess of excess, be it in terms ... ... <看更多>